มอง ‘เอกมัย’ แบบ ‘คนเอกมัย’
‘คนเอกมัย’ จริงๆ เขามองภาพ ‘เอกมัย’ เป็นอย่างไร ลองออกไปเดินสำรวจย่านเอกมัย และพูดคุยกับชาวเอกมัยพร้อมกับผมกันครับ
‘คนเอกมัย’ จริงๆ เขามองภาพ ‘เอกมัย’ เป็นอย่างไร ลองออกไปเดินสำรวจย่านเอกมัย และพูดคุยกับชาวเอกมัยพร้อมกับผมกันครับ
ถ้าเป็น “คน” สิ่งที่ทำเป็นประจำในแต่ละวัน คือกินข้าว ทำงาน ปาร์ตี้ อาบน้ำ เข้านอน แล้วถ้าเป็น “สุนัขจรจัด” ล่ะ มีใครเคยลองคิดบ้างไหมว่า วันๆ มันทำอะไรบ้าง มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร และทำไมเพื่อนสี่ขาเหล่านี้ถึงกลายมาเป็นสุนัขจรจัด เราเลยชวนทุกคนมาลองมองโลกในมุมของ “ขาว” เจ้าถิ่นสี่ขา ณ ย่านเอกมัยกัน
คุยกับ “แต๊บ-ธนพล มหธร” หนึ่งใน Music Director ทีมงานเบื้องหลังแห่ง “THE RAPPER” เพื่อค้นหาคำตอบที่ว่า “แต่งแร็ปเหมือนแต่งกลอนไหม ?” มา check it out กันเลยวัยรุ่น !
นอกจากการมีอาชีพที่ใฝ่ฝันและมั่นคงแล้ว หลายคนเลือกที่จะให้รางวัลตัวเองด้วยการมีบ้านสักหลัง ซึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรหลงลืมคือ “ความปลอดภัย” ในพื้นที่แห่งความสุขที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ดังนั้นการมีเวลาพักผ่อนที่บ้านอย่างอิ่มกายสบายใจจึงเป็นเรื่องที่คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพโหยหา ถึงแม้ว่าเวลาในการทำงานของแต่ละอาชีพจะแตกต่างกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นอาชีพไหน ทำงานที่ใด ก็จะรู้สึกปลอดภัยหายห่วงได้เสมอ ด้วย “Sansiri Security System” ระบบรักษาความปลอดภัยจากแสนสิริ ที่จะช่วยดูแลให้คุณคลายกังวล และอุ่นใจในทุกๆ วันที่ก้าวเท้าออกไปใช้ชีวิต Good Mood Good Life | ใช้ชีวิตสบายใจไร้กังวล ปัจจุบันโลกกำลังหมุนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คนส่วนใหญ่มักมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบและใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากกว่าอยู่ในบ้าน ดังนั้น “บ้าน” จึงไม่ได้เป็นแค่ที่พักอาศัย แต่ยังเป็นแหล่งรวมความรัก ความอบอุ่น และเป็นจุดศูนย์รวมความสุขของสมาชิกในครอบครัว เสมือนขุมพลังสำหรับคนที่ต้องเดินทางไกลบ้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเลือกที่พักอาศัยนั้น นอกจากทำเลที่ดี การเดินทางที่สะดวกแล้ว “ความปลอดภัย” ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์แบบในการใช้ชีวิต ซึ่งแต่ละอาชีพจะมีช่วงเวลาการทำงานที่แตกต่างกันไป หลายคนอาจเกิดความกังวลใจกับสิ่งที่ไม่คาดคิด ดังนั้นอย่าลืมมาตรฐานความปลอดภัยนอกจากพักแล้วสบายใจจะออกเที่ยวไหนก็ไม่ต้องกังวล บางวันกลับดึกบ้านก็ดันลึกในซอยเปลี่ยว บางทีกลับเช้า หรือบางทีเลิกเร็ว ก็ดันเจอรถติดกลับดึกเหมือนเดิม ดังนั้นความปลอดภัยในที่พักอาศัยจึงเป็นเป็นเรื่องสำคัญ “Sansiri Security System” จึงพร้อมตอบโจทย์ความปลอดภัยในทุกรูปแบบและทุกอาชีพในทุก Lifestyle รูปแบบการอยู่อาศัยที่แตกต่าง Work […]
การจะเริ่มลงมือทำของสิ่งหนึ่งขึ้นมา สิ่งสำคัญที่เราจะต้องพิถีพิถันเป็นอย่างแรก ก็คือการเลือกวัสดุ ซึ่งการจะได้วัสดุที่ถูกใจก็ต้องไปเดินหาซื้อวัสดุด้วยตัวเอง แต่หากยังไม่รู้แหล่งที่ถูกและดี วันนี้เราเลยจะชวนมาดู “แหล่งการค้าวัสดุต่างๆ ในกรุงเทพฯ” ที่เรียกว่าเป็นแหล่งเฉพาะ และมีวัสดุทุกอย่างที่เรามองหาเลยทีเดียว
เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปธรรมชาติก็ถูกกลืนกินด้วยความทันสมัยพื้นที่สีเขียวกลายเป็นสิ่งที่ใครๆก็ต่างโหยหา แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเพียงแค่คุณก้าวเท้าออกจากห้องก็สามารถสัมผัสกับธรรมชาติภายในที่อยู่อาศัย
“ท่าเรือ” ที่เราใช้ทุกวันนี้เป็นอย่างไร? เท่าที่เห็นกัน คงมีชำรุดหรือบางที่ก็ดีไซน์มาไม่ตอบโจทย์สำหรับคนทุกกลุ่ม เราจึงมีแนวคิดดีๆ จากเหล่า “คนเข้าท่า” มานำเสนอ กับโครงการ “Active River Station – สถานีเรือเพื่อทุกคน” ที่ต้องการสร้างสถานีเรือรูปแบบใหม่ให้คนเมืองได้ใช้
กรุงเทพฯ เมืองที่หลายคนรักแต่อีกใจหนึ่งก็เกลียด ขึ้นชื่อเรื่องไฟแดงนานและไฟเขียว 3 วิ เอาล่ะ วันนี้ไม่ได้จะมาบ่นกรุงเทพฯ แต่เรามีแนวคิดดีๆ ให้ชาวกรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้การเดินเท้าแทนการขับรถ ซึ่งก่อนที่แต่ละย่านจะสามารถเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ก็มีสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมากกว่าแค่ทางเท้า
เบื่อมั้ย? ออกจากบ้านแต่ลืมพกร่ม ฝนตก แบตฯ หมด แถมยังหอบหิ้วของพะรุงพะรัง ครั้นจะไปขอชาร์จตามร้านก็เกรงใจ แถมบางที่ยังผิดกฏหมายอีกต่างหาก หลายครั้งในชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับเหตุการณ์สุดเซ็งเหล่านี้ ที่แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ทำให้ใช้ชีวิตสะดุดได้เหมือนกัน ในหลายประเทศก็มีไอเดียดีๆ มาช่วยแก้ปัญหาหงุดหงิดใจของคนเมือง ตามไปดูไอเดียตู้สาธารณะในต่างประเทศที่เราต้องร้องว้าว! ให้กับตู้กดขายของอัตโนมัติ ไปจนถึงตู้ให้บริการสุดเจ๋ง แถมยังมองหาได้ทั่วเมือง ไม่ว่าจะเป็นสถานีรถไฟฟ้า จุดต่อรถ หรือตามท้องถนน แล้วมองย้อนกลับมาดูประเทศเราสิว่า มีเทคโนโลยีอะไรที่น่าสนใจบ้าง รับรองว่าตู้เหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นไหลลื่นเลยล่ะ How does it help? | ตู้สาธารณะ ตัวช่วยคนเมือง สังเกตไหมว่า? ตามเมืองใหญ่ที่มีประชากรเยอะ ผู้คนใช้ชีวิตเร่งรีบ และก้มหน้าก้มตาทำงาน จึงต้องมีตู้สาธารณะกระจายอยู่ทั่วเมือง แทนที่จะจ้างคนมาให้บริการ โดยเฉพาะ “ญี่ปุ่น” นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ ก็ได้ให้เหตุผลที่ว่า “ทำไมญี่ปุ่นถึงได้มีเจ้าตู้กดนี้อยู่มากมาย จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมือง” 1. ไม่ต้องจ้างแรงงานคน ในประเทศที่อัตราการเกิดต่ำ เป็นสังคมผู้สูงอายุ และไม่ค่อยเปิดรับแรงงานต่างด้าว เป็นปัจจัยให้ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงาน ค่าจ้างแรงงานก็พุ่งสูงไปด้วย แต่ตู้อัตโนมัติเหล่านี้ไม่ต้องใช้พนักงานเลยแม้แต่คนเดียว 2. ประหยัดพื้นที่ ญี่ปุ่นมีประชากรมากถึง 127 […]
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงอยู่ไม่น้อย ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวผ่าน ‘ทิดธรรม’ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวมุสลิมในชายแดนใต้ของไทย ซึ่งแวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรม วิถีคนท้องถิ่น ความรุนแรง และความไม่สงบในอำเภอเบตง, ยะลา
ณ ที่แห่งนี้มีอะไรซ่อนอยู่ Urban Creature จะพาไปเดินเที่ยวย่านเมืองเก่า “นานา-เยาวราช-ทรงวาด” แหล่งแฮงก์เอ้าท์สุดฮิปที่เป็นดั่ง Hidden Gem ใจกลางกรุงเทพฯ ดื่มด่ำบรรยากาศสุดชิล ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ ร้านดอกไม้ แกลเลอรี่ และบาร์ ดูตึกรามบ้านช่องที่แฝงมนต์เสน่ห์สถาปัตยกรรมโคโลเนียล ย่านที่เคยเงียบเหงาถูกปลุกให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจพัฒนาทำเลเมืองเก่า เราจะแวะไปเยี่ยมเจ้าของบ้าน ตั้งแต่ร้านดอกไม้และคาเฟ่สุดฮิป “Oneday Wallflowers”, ทายาทรุ่น 4 ของร้านขายยาโบราณ “บ้านหมอหวาน”, และสองสาวเจ้าของบาร์สุดคูล “Shuu Shuu” เพื่อชวนพูดคุยถึงแพชชั่นที่จะทำให้ตึกเก่าทรุดโทรมเหล่านี้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ตึกโคโลเนียล มีที่มาจากยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ที่เข้ามาสร้างอาคารบ้านเรือนในเมืองขึ้น แม้ประเทศไทยจะไม่เคยเป็นอาณานิคม แต่ก็ได้รับอิทธิพลด้านศิลปะ วัฒนธรรม การแต่งกาย รวมไปถึงสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ที่ผู้คนในสมัยนั้นเรียกว่า “ตึกฝรั่ง” ซึ่งแพร่หลายในช่วง ร.5- ร.6 ผสมผสานกับช่างพื้นถิ่น โดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพอากาศและวิถีชีวิตคนไทย หลอมรวมสองวัฒนธรรมจนเกิดเป็นสไตล์ที่มีเอกลักษณ์ สถาปัตยกรรมโคโลเนียลในไทย มีรูปแบบที่หยิบยืมมาจากศิลปะกรีกโรมัน เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า […]
ในพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรของเมืองกรุงเรานั้น รู้ไหมว่ายังมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์ ซึ่งนั่นทำให้ระบบการบริหารของภาครัฐ เช่น การเข้าถึงของน้ำประปา หรือไฟฟ้า ไม่สามารถเข้าถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต บึงบางซื่อ บึงน้ำกลางกรุงขนาด 61 ไร่ ที่ล้อมรอบด้วย 5 ชุมชน จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประมาณ 250 หลังคาเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ไม่มีทะเบียนราษฏร์ และเป็นพื้นที่ตาบอดที่ไม่มีทางเข้าออก ในอดีตเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว บึงบางซื่อเป็นแหล่งดินดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ SCG ได้สร้างบ้านให้กับคนงานและครอบครัวเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรอบบริเวณบึง แต่หลังจากเลิกใช้งาน บึงบางซื่อก็เริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชุมชนแออัดในที่สุด “ตอนที่บ้านยังไม่ขึ้น การเป็นอยู่มันก็อยู่ในสภาพบ้านโทรมๆ ย้อนหลังไปปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นทางผู้ใหญ่ยังไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย เราก็จัดตั้งคณะกรรมการ บุกเบิกกันมา การทำงานช่วงนั้นก็เหนื่อยกันมาก เพราะทั้งถูกด่า ถูกแช่ง ซ้ำเติมกันว่าบ้านจะขึ้นได้หรอ เพราะคำดูถูกคำนี้แหละ ทำให้เมื่อมีประชุมที่ชุมชนไหน เราก็ต้องไป กลับมาแล้ว เราก็มาทำที่บ้านเรา” […]