Urban Eyes 31/50 เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

คราวนี้โปรเจกต์ Bangkok Eyes ขอมากับเขตที่อยู่ในตัวเมืองบ้าง เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเป็นเขตที่เราค่อนข้างคุ้นเคย และมีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ การเป็นเขตเมืองเก่าที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พื้นที่หลักๆ อยู่ในบริเวณเวทีมวยราชดำเนินถึงตลาดโบ๊เบ๊ และอีกมุมหนึ่งคือ วงเวียน 22 กรกฎาคม ไปถึงแถวเสือป่า จนไปสิ้นสุดอีกทีก็เกือบแถวคลองโอ่งอ่าง ความประทับใจของเราต่อเขตนี้คือ เราสามารถเดินเท้าถ่ายภาพได้อย่างสบายๆ เพราะนอกจากเส้นทางที่ค่อนข้างเอื้อแล้ว ระหว่างทางก็มีอะไรให้แวะชมอยู่ตลอด ทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีกลิ่นอายของอดีต และบรรยากาศชุมชนเก่าที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ส่วนสถานที่ไหนในเขตนี้ที่เราหยิบยกมานำเสนอบ้าง ไปชมกันในอัลบั้มได้เลย ตลาดโบ๊เบ๊ ━ ส่วนใหญ่ที่นี่จะขายส่ง-ปลีกเสื้อผ้า ชุดว่ายน้ำ กระเป๋า รองเท้า และของจิปาถะอีกหลากหลายอย่าง ถ้าไปถูกช่วงเวลาจะเจอพ่อค้าแม่ขายเอาของขึ้นลง เก็บสต็อก ยกเข้าร้าน ใครที่อยากไปถ่ายภาพ พยายามดูแสงดีๆ เพราะบางจุดเป็นซอกซอย ช่วงเวลาตอนเช้าหรือเย็นอาจไม่มีแสงลอดเข้าไป แต่ถ้าไปช่วงสายถึงบ่ายจะมีแสงลอดผ่านร่มร้านค้าหรือช่องระหว่างตึกให้ได้ปั้นซีนถ่ายรูปได้มากขึ้น วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง) ━ วัดนี้เรียกว่าเป็นไฮไลต์ของเขตเลยก็ว่าได้ ด้วยความสูงใหญ่เป็นดั่งแลนด์มาร์กของประเทศไทย ตามข้อมูลบอกว่าที่นี่มีบันไดทั้งหมด 344 ขั้น ถ้าใครจะไปเยือนต้องเผื่อแรงเดินขึ้นไว้ด้วย ส่วนสิ่งที่เราชอบมากๆ คือบันไดสีแดงที่ตัดกับสีขาวของตัวอาคาร มันเพิ่มความโดดเด่นทางสีสันให้วิชวลที่เราพยายามเสนอ บางทีแค่ใส่คนเข้าไปภาพก็สวยแล้ว ยิ่งเดินขึ้นไปถึงข้างบนตัวยอดเจดีย์ บวกกับผู้คนที่ไหว้พระเดินไปเดินมาหรือนั่งพัก ก็ยิ่งเป็นองค์ประกอบฉากชั้นดี ทีนี้เราแค่พยายามมองทิศทางของแสงให้เหมาะกับซีนที่พยายามจะถ่ายก็พอ […]

Open Bangkok นโยบายเปิดงบ กทม. ของชัชชาติ ที่ให้ประชาชนตรวจสอบได้ เว็บไซต์อ่านง่าย โหลดไฟล์ได้จริง

งบ กทม. มีเท่าไหร่ ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง? เราเชื่อว่าคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องเคยตั้งคำถามนี้อยู่หลายครั้งแต่ไม่รู้จะไปหาข้อมูลจากไหน เพราะที่ผ่านมา กทม. ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารการใช้งบประมาณให้ประชาชนได้ทราบอย่างละเอียด ทำให้ประชาชนไม่รู้ว่าที่ผ่านมาภาษีที่จ่ายไปนั้นถูกใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง แต่ยุคสมัยของผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เปลี่ยนไปแล้ว จะว่าเป็นการเซตมาตรฐานใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะขณะได้เริ่มนโยบาย Open Bangkok ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลักใน 216 ข้อ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายและการทำสัญญาต่างๆ ของ กทม. เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้  โดยนโยบาย Open Bangkok ได้เริ่มทำ Open Data ด้วยการนำข้อมูลงบประมาณปี 2566 เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ กทม. (https://official.bangkok.go.th/page/127) เป็นข้อมูลแผนภาพแสดงงบประมาณรายจ่ายของ กทม. ตามหมวดต่างๆ มีไฟล์สรุปเป็น PDF แยกตามประเภทรายจ่ายและตามด้าน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลในรูปแบบ Machine Readable เป็นไฟล์ Excel โดยแยกตามสำนักของ กทม. สามารถดูได้จากเว็บไซต์สำนักงบประมาณกรุงเทพฯ ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานต่อได้ (http://data.bangkok.go.th/dataset/budget2566) สำหรับใครที่อยากดูตัวเลขแบบ […]

กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

“ทำไมคุณต้องอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง ที่ต้องอ้อนวอนร้องขอกับราชการ ทั้งที่เงินนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน” ประโยคสนนทนาที่แทงใจ จากการที่เราพูดคุยกับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’หรือที่หลายคนรู้จักจากฉายา ดาวเด่นสภา วันนี้เขาเดินทางอีกหนึ่งบทบาทในฐานะ  1 ในผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถึงแม้กรุงเทพฯ จะมีปัญหามากมาย แต่ในสายตาวิโรจน์ เชื่อว่า กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ถึงเวลาแก้ไขกรุงเทพฯ แบบตรงไปตรงมาในแบบฉบับวิโรจน์ จะเป็นอย่างไรนั้น ร่วมพูดคุยไปพร้อมกับเราในคลิปนี้เลย!

สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน

ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]

เปิดใจ “เอ้ สุชัชวีร์” ไม่มาขายฝัน พร้อมเจ็บ เพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น l Bangkok Hope EP.2

‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ สโลแกนปลุกใจชาวกรุงของ เอ้-สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์  บางคนอาจรู้จักเขาจากบทบาทอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บางคนอาจรู้จักเขาจากการเป็นไวรัลทายาทสายตรงไอน์สไตน์ บางคนอาจรู้จักเขาจากป้ายประกาศตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ หรือบางคนอาจรู้จักเขาในฐานะเจ้าของบ้านหลังงามที่มีชั้นสะสมฟิกเกอร์ Iron Man แต่ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในรูปแบบไหน ท้ายที่สุดแล้วเขาคือคนที่อาสาขอเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองหลวงของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติ อะไรทำให้เขาเชื่อว่าแนวคิด ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ จะเป็นไปได้ กรุงเทพฯ มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนในสายตาเขา เราเชิญคุณมาติดตามคำตอบไปพร้อมๆ กัน! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #เอ้สุชัชวีร์ #พรรคประชาธิปัตย์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ l Bangkok Hope EP.1

“ถ้าเกิดเรายังทำกรุงเทพฯ ให้ดีไม่ได้ ก็ยากที่ทำประเทศให้ดีได้”  Bangkok Hope Ep.1 ขอพามานั่งคุยกับ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการในฐานะผู้สมัครอิสระ ตลอดการพูดคุย ได้เห็นประเด็นกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยปัญหา ตั้งแต่รถติด น้ำท่วม ฟุตพาทเดินไม่ได้ ไฟติดๆ ดับๆ พื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ ฯลฯ แต่ในสายตาของ ‘ชัชชาติ’ ยังมีความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ให้ดีได้เสมอ ทำไมชัชชาติถึงมอง กรุงเทพฯ ยังมีหวังที่จะเปลี่ยนแปลง ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันได้ในวีดีโอนี้เลย! #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #ชัชชาติสิทธิพันธุ์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ 

‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ จากดาวสภาฯ สู่การท้าชิงผู้ว่าฯ กทม. ที่พร้อมฟาดระบบนายทุน

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใครติดตามการประชุมสภาฯ เป็นประจำคงคุ้นเคยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อคนหนึ่ง ที่วิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงการทำงานของประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อย่างมีอรรถรส ฟาดแบบดุเด็ดเผ็ดมัน ตรงไปตรงมา และอัดแน่นไปด้วยชุดข้อมูลและเหตุผลที่ถี่ถ้วน จนหลายคนต้องยอมรับเลยว่า เขาได้พูดแทนใจคนไทยจำนวนมากที่สิ้นหวังกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างหลากมิติ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล  ที่ผ่านมา เขามีผลงานโดดเด่นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่หลายๆ ประเด็น เช่น การเปิดหลักฐานแฉปฏิบัติการ Information Operation (IO) แผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จอมลวงโลก รวมไปถึงการที่รัฐคุกคามนักเรียนที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เขาประกาศตัดสินใจลาออกจากการเป็น ส.ส. และขอพิสูจน์ตัวเองในบทบาทใหม่ ด้วยการเป็น ‘แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ พร้อมชูนโยบายล้มระบบส่วย ยกเลิกราชการรวมศูนย์ ท้าชนนายทุนที่เอาเปรียบประชาชน และมุ่งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวกรุงภายใต้สโลแกน ‘หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพฯ’ วันนี้ เราจึงนัดพูดคุยกับวิโรจน์กับตำนานบทใหม่ของเขา เพื่อตอบข้อสงสัยว่า ทำไมเขาถึงยอมสละตำแหน่งดาวรุ่งในสภาฯ มาลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าฯ เขามีความหวังอย่างไรกับการแก้ปัญหาของเมืองที่ ‘นายทุนต้องมาก่อนใคร’ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้ ‘ทุกคน’ […]

“ขอเป็นผู้ว่าฯ ในหัวใจเธอ” เอ้ สุชัชวีร์ กับการอาสาเป็นพ่อบ้านและนายช่างใหญ่ให้คน กทม.

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ถ้าถามคนกรุงเทพฯ หลายๆ คนว่า เวลาก้าวเท้าออกนอกบ้านแล้วเห็นหน้าใครบ่อยที่สุด หนึ่งในคำตอบที่ได้รับ คงไม่พ้นใบหน้าของ เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์บนป้ายประกาศ ที่มาพร้อมกับสโลแกนปลุกใจชาวกรุง ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’  จากที่ปกติได้เห็นหน้าค่าตาของเขาบนป้ายตามจุดต่างๆ ของกรุงเทพฯ และได้ยินชื่อเขาผ่านกระแสไวรัลบนหน้าสื่อ อย่างกรณีทายาทสายตรงไอน์สไตน์ หรือบทบาทอธิการบดีแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใครในอดีต ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในมุมไหน แต่สุชัชวีร์ย้ำกับเราหลายต่อหลายครั้งว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่เขาจะเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ วันนี้ เรานัดหมายพูดคุยกับสุชัชวีร์ที่บ้านของเขาในย่านลาดกระบัง ใช่แล้ว บ้านหลังใหญ่หลังนั้นล่ะที่หลายคนได้เห็นคนแชร์จำนวนมากบนโลกออนไลน์ซึ่งเอาเข้าจริงการเปิดบ้านครั้งนั้นก็ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นไปอีก  เมื่อเข้าไปในบ้าน สุชัชวีร์ต้อนรับขับสู้เราเป็นอย่างดี เขาอยู่ในชุดสบายๆ เหมาะกับการอยู่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ เจ้าบ้านเล่าให้เราฟังว่า กิจวัตรประจำวันของเขามักเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย เพราะเชื่อว่าร่างกายที่แข็งแรง สมองที่แจ่มใส คือบ่อเกิดของความคิดที่ดี ที่ผ่านมา สุชัชวีร์หรือ ‘พี่เอ้’ ของเหล่านักศึกษาทำงานด้านวิศวกรรมและงานการศึกษามาตลอด  ตัวอย่างผลงานที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือ การเข้าไปดำรงอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงเวลาที่ประสบวิกฤติการเงิน เพราะเงิน 1,600 ล้านบาทสูญหายไปจากบัญชี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้ร่วมสมัยโดยใช้ระบบเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และถือกำเนิดคณะวิชาใหม่ๆ ให้เท่าทันต่อบริบทสังคม แต่เหตุผลใดที่ทำให้สุชัชวีร์ ผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้วยความรัก ตัดสินใจออกจากการงานฝั่งบริหารการศึกษามาลงสนามการเมืองหรืองานบริหารระดับเมือง เขามองเห็นความเป็นไปได้และอนาคตอะไรของกรุงเทพฯ จนต้องอาสาขอมาแก้ปัญหาให้เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติแห่งนี้ ทำไมคุณตัดสินใจลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ […]

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

No one can save Bangkok? อ้าวเฮ้ย! เมื่อ ‘อัศวิน’ อาจไม่ได้ขี่ม้าขาวมากู้ กทม. อย่างที่คุยกันไว้นี่นา

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีและลงตัว จริงๆ หรือยัง? ถ้ามองอย่างเที่ยงตรง เรามั่นใจว่า คำตอบคนส่วนมากคือ ‘ไม่’ เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังในย่านต่างๆ การจัดการขยะที่ไม่เป็นระบบ ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้อาศัยจริงๆ สักที ทำให้การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างยากลำบาก เหมือนผจญด้านโหดในเกม Adventure ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาในเมืองกรุง ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาเมือง และการบริหารราชการของเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยปกติแล้ว ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเมืองหลวงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กันทุก 4 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของคนกรุง เข้าไปพัฒนาเมืองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบด้าน ว่าแต่…จำได้หรือเปล่าว่าชาวกรุงเทพฯ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เพราะตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ที่อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนอกจากจะอยู่ในวาระนานกว่ากำหนดแล้ว เขายังมาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยไม่ผ่านการเลือกจากประชาชนด้วย อัศวินในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผลงานของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับมรดกที่คณะรัฐประหารทิ้งไว้ให้ชาวกรุงเทพฯ นโยบายหลายข้อไม่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหา แถมเมกะโปรเจกต์หลายโครงการยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ทุ่มไปด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนี้ […]

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผู้ว่าฯ กทม. ก่อนความหวังครั้งใหม่ที่ปลายปากกา

ปี 2563 ที่ผ่านมา ในต่างจังหวัดมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน คอยทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิต อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  แต่เมื่อหันมามองที่กรุงเทพมหานคร ก็คิดว่า เมื่อไรจะมีการเลือกตั้งกับเขาสักที? คำถามนี้สะท้อนว่า เราไม่ได้เลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำงานเป็นปากเสียงให้มานานมากแล้ว หลังจากอยู่กับปัญหาสะสมเรื้อรังมากมาย ตั้งแต่ อากาศเป็นพิษ รถติดยาวเหยียด ทางเท้าพัง เหยียบแล้วชุ่มโชก รถเมล์ที่มาช้า กะเวลาไม่ได้ น้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตก รถไฟฟ้าราคาครึ่งร้อย หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจว่า จะใช้ชีวิตยังไงให้รอดในแต่ละวัน ฯลฯ  จริงๆ แล้วประเด็นพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นคนพื้นที่ และคนที่เข้ามาเรียน ทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในทุกๆ วันแบบนี้ จะแก้ไขหรือจัดการอะไรได้บ้าง ซึ่งหนทางแก้คงหนีไม่พ้นการกลับไปสำรวจว่า คนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองเป็นอย่างไร งบประมาณก้อนต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากภาษีที่ทุกคนจ่ายๆ กันแต่ละปีจัดสรรไปกับอะไรบ้าง ใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่า และที่สำคัญคือ เรามีสิทธิ์ ‘เลือก’ ‘ออกแบบ’ หรือ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.