Resonance of Lives at 1527 : เสียงสะท้อนความเป็นไปของเมืองบนร่องรอยของตึกแถวสามย่าน

ถ้าพูดถึงการทุบตึกรื้อถอน ชื่อแรกที่ผุดขึ้นมาคงเป็น “ศักดาทุบตึก” กับป้ายโฆษณาที่มีวลีเด็ด “เลือก สส.เข้าสภา แล้วอย่าลืมเลือกศักดาไปทุบตึก” ความหมายของคำว่า “รื้อถอน” คงใกล้เคียงกับการทำลาย ลบล้าง ขจัด ฟังดูเป็นการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ แต่อันที่จริงแล้ว เมืองมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกนาทีเพื่อเดินต่อไปข้างหน้า

มองเปลือกใหม่ศาสนาพุทธ กับทีม ‘โพธิเธียเตอร์’

คุยเรื่องความห่างไกลของศาสนากับผู้คน และเปลือกของพุทธที่แท้จริง กับ ‘พระสุธีรัตนบัณฑิต’ เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม และทีม ‘โพธิเธียเตอร์’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รวมตัวกันจัดงานศิลปะ ‘BODHI THEATER: Buddhist Prayer RE-TOLD’

ศิลปินชาวออสซี่ ‘Jack Irvine’ อดีตเด็กมือบอน เบื้องหลังปกอัลบั้มวง Skegss

‘เด็กมือบอน’ คำสบประมาทในวัยเด็กผลักดันให้เขาเป็นศิลปิน เบื้องหลังงานปกอัลบั้มของ ‘Skeggss’ วงร็อกขวัญใจวัยรุ่นชาวออสซี่ที่มีฐานแฟนเพลงทั่วโลก

ไขความลับ “ดอกทานตะวัน” ของ ‘แวน โก๊ะ’

เราเชื่อว่า หลายคนเคยเห็นภาพเซ็ท “Sunflowers” หรือ “ดอกทานตะวัน” ผลงานของ ‘วินเซนต์ แวน โก๊ะ’ (Vincent van Gogh) จิตรกรชาวดัชต์ สายอิมเพรสชันนิสต์ระดับตำนาน ที่อุทิศทั้งชีวิตให้กับการสะบัดพู่กัน ปาดลวดลายด้วยเหล่าสีสัน และหยิบสิ่งรอบตัวที่สนใจ มาสร้างภาพศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ดอกทานตะวัน’ ที่แวน โก๊ะหลงใหล และให้คุณค่า

Singapore Art Guide : เสพศิลป์ ถิ่นสิงคโปร์

ดินเล่น “สิงคโปร์” ที่ไม่ได้มีแค่ตึกสูงระฟ้า เจ้าเมอร์ไลออน และความก้าวหน้าด้านธุรกิจ แต่ตอนนี้ สิงคโปร์ กำลังผลิดอกออกผลเมล็ดพันธ์ของ “ศิลปะและวัฒนธรรม” ด้วยการสะท้อนผ่านงานศิลปะ และดีไซน์ ซึ่งซุกซ่อนอยู่ตามบ้านเมือง ย่านต่างๆ พิพิธภัณฑ์ ตลอดจนงานเทศกาลศิลปะ สิงคโปร์ จะถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะ และความสวยงามของวัฒนธรรมจนชุ่มฉ่ำขนาดไหน เรามีลิสต์สถานที่สำหรับเสพศิลป์ ให้สายอาร์ตไปเติมเต็มแพชชั่นด้านศิลปะวัฒนธรรมที่สิงคโปร์มาฝากกัน

PHKA STUDIO : นักจัดดอกไม้ในหลอดแก้ว ที่ปฏิเสธการใช้ Floral Foam

ไม่ต้องใช้ดอกไม้ราคาแพง  ไม่ต้องแต่งช่อด้วยของประดับสวยหรู ใช้เพียงดอกไม้ “Bad Taste” ราคาถูก และความจริงใจที่มีทำให้มันมีคุณค่า “เราพยายามย้อนกลับไปสำรวจว่า จริงๆ แล้ว เหล่าดอกไม้ bad taste ที่ดูไม่มีราคา อย่างของไทยจะเป็นดอกกล้วยไม้ ถ้ามันถูกนำกลับมาใช้งานจะเป็นอย่างไร มันเหมือนเป็นการตั้งคำถามกับความสวยงาม” นั่นคือ ช่อดอกไม้สำหรับคนรักแบบฉบับ “PHKA STUDIO (ผกา สตูดิโอ)” กลุ่มนักจัดดอกไม้ที่คำนึงถึงการใช้งาน มากกว่าความสวยงามของดอกไม้ ชอบตั้งคำถามกับความงาม และใช้ศาสตร์แห่งการจัดดอกไม้สะท้อนเรื่องราวของคน และสถานที่ ซึ่งในวันนี้ ภายในสตูดิโอที่มีดอกไม้ ประตู แจกัน ดินทราย ต้นไม้ใหญ่ เรามีนัดเจอกับ ‘คุณตุณ – ตุณ ชมไพศาล’ และ ‘คุณปอย – วิศทา ด้วงวงศ์ศรี’ สองนักช่างฝันที่ร่วมกันสร้างสรรค์ ผกา สตูดิโอ | เพราะเห็นความพิเศษเฉพาะตัวของดอกไม้ จึงสรรสร้าง ผกา สตูดิโอ ให้เกิดขึ้น PHKA STUDIO […]

ศิลปินชาวเคนย่า “CYRUS KABIRU” ผู้เสกขยะไร้ค่าให้กลายเป็นผลงานศิลปะ

ศิลปะที่แท้จริงย่อมไม่มีเส้นแบ่งขอบเขต หรือคำจำกัดความใดๆ “Cyrus Kabiru (ไซรัส คาบิรุ)” ศิลปินชาวเคนย่าผู้เสกขยะที่ถูกทิ้งขว้าง สร้างเป็นงานศิลปะ ที่ไม่เหมือนใคร และเขากำลังเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการแก้ปัญหาขยะที่ปัจจุบันกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังจะทำลายโลกใบนี้ | ปัญหาขยะในทวีปแอฟริกา ประเทศเคนย่า เกิดในแหล่งเสื่อมโทรมเจอแต่ขยะ ปัจจุบันประเทศเคนย่า และอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกา กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมือง โดยข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่า มีการพบถุงพลาสติกโพลีเอธิลีน รวมไปถึงขยะประเภทอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหารของวัวที่ถูกส่งไปโรงฆ่าสัตว์ในกรุงไนโรบี วัวบางตัวมีถุงพลาสติกอยู่ในท้องถึง 20 ใบ จนทำให้เกิดเหตุการณ์พลาสติกปนเปื้อนในเนื้อวัว ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเคนย่า จึงออกมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ โดยใครที่มีถุงพลาสติกจากร้านปลอดภาษีติดมาด้วยนั้น จะต้องทิ้งถุงพลาสติกไว้ที่สนามบิน ไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศ ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชากรเด็กที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับขยะกันถึงหน้าบ้าน หรือแม้กระทั่งในบ้านเลยทีเดียว | จุดเริ่มต้นของศิลปะจากขยะ เรียนจบม.ปลายไม่เรียนต่อ อยากทำงานศิลปะ ชอบแว่น โดนไล่ออกจากบ้าน เด็กชายไซรัส คาบิรุ ในวัย 7 ขวบ เริ่มต้นความสนใจด้านศิลปะ เพราะแว่นตาที่พ่อเขาสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งตอนนั้นเขาอยากได้นาฬิกาเรือนนั้นมาก แต่พ่อกลับบอกกับเขาว่า ถ้าอยากได้ก็สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองสิ และนั่นจึงเป็นก้าวแรกของความมุ่งมั่นที่จะสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเอง และสิ่งที่เขามองเห็นรอบข้างตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมานั่นคือ “ขยะ” สิ่งไร้ค่าที่ใครๆ ก็มองข้าม […]

มิวเซียม “เสื้อยืด” แห่งแรกในไทย เงาสะท้อนสตรีทคัลเจอร์ ตัวตน และความขบถที่กลายเป็นงานศิลปะ

เสื้อยืด เบสิกไอเทมที่ผ่านร้อนผ่านหนาว และใส่กันทั่วทุกมุมโลกมาหลายยุคหลายสมัย สู่ “MUSEUM OF TEEs THAILAND : MOTT” – มิวเซียม ‘เสื้อยืด’ แห่งแรกในไทย ที่ย่านลาดปลาเค้าของ “คุณเบียร์-พันธวิศ ลวเรืองโชค” แกนนำแห่ง Apostrophys Group เหล่านักสร้างประสบการณ์ที่เสกงานอีเว้นท์สุดเจ๋ง  ซึ่งตอนนี้คุณเบียร์ยังรับอาชีพเสริมเป็น ‘นักสะสมเสื้อยืด’ และ ‘ภัณฑารักษ์มาดเท่’ ที่จะพาทุกคนเปิดประสบการณ์การเสพศิลปะแบบใหม่ผ่าน “เสื้อยืด” ตั้งแต่ราคาหลักสิบไปจนถึงหลักล้าน !

เมื่อ Juli Baker and Summer หยิบประเด็นกรุงเทพฯ มาเล่าผ่านลายเส้นเด็กๆ และสีฉูดฉาด

เดรสสีเขียวอ่อน ตัดกับกระเป๋าถักสะพายข้างและรองเท้าสีเหลือง การแต่งตัวแบบคู่สีสดใสพร้อมแว่นกลมๆ ที่ประดับอยู่บนใบหน้ายิ้มแย้มผ่านมาทักทายสายตา เรารู้ทันทีว่าคนที่เรานัดไว้

เดินเล่นเช็กอิน Skywalk สยาม แลนด์มาร์กแห่งใหม่กรุงเทพฯ กับบทสัมภาษณ์ ‘จักรกฤษณ์ อนันตกุล’ นักออกแบบผู้ทำให้โลกนี้สดใส

ช่วงหลายเดือนนี้ชาวกรุงเทพฯ ที่ผ่านไปผ่านมาแถวสยาม น่าจะเกิดความสงสัยหรือรอดูการเปลี่ยนแปลงของสกายวอล์กแยกปทุมวันกันอยู่บ้าง เราจะมาบอกข่าวดีว่าโครงการปรับปรุงทางเดินลอยฟ้าเปิดให้ใช้งานแล้วอย่างสวยงาม วันนี้เราอาสาพาไปชมแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่เราคาดหวังให้กลายเป็น Art District ที่สำคัญของกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับสวนสาธารณะลอยฟ้า High Line ที่นิวยอร์ก!! สกายวอล์กแห่งนี้เชื่อมเป็นวงกลมระหว่างห้างสรรพสินค้า สยามดิสคัฟเวอรี่-สยามสแควร์-มาบุญครอง-หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีทางเดินต่อขยายยาวไปจนถึงสถานี BTS สนามกีฬา ผูกโยงไลฟ์สไตล์ของชาวเมือง โดยรวมเอาศูนย์กลางการค้า แหล่งการศึกษา และศิลปะเข้าไว้ด้วยกัน การออกแบบสถาปัตยกรรมโดดเด่นโค้งรับแนวรถไฟฟ้า และอิงกับความเป็นมาของแยกปทุมวันซึ่งแปลว่า ‘ดอกบัว’ ใช้ฟอร์มวงกลมที่มีความโมเดิร์นเป็นหลัก โดยรอบวาง Sculpture รูปทรงก้านใบบัวคลุมตลอดแนวทางเดิน เมื่อมองจากด้านบนจะเหมือนใบบัวลอยอยู่ในสระ ที่นอกจากความสวยงามยังให้ร่มเงา พื้นทางเดินเป็นแพตเทิร์นวงกลมสีเขียว Greenery สบายตา สลับฝาท่อระบายน้ำลักษณะคล้ายใบบัว ที่สำคัญยังออกแบบให้เหมาะกับคนทุกกลุ่ม รวมถึงผู้สูงอายุและผู้พิการเพราะให้ความสะดวกในการใช้วีลแชร์ มีพื้นที่กว้างขวางสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น ทั้งยังเพิ่มความปลอดภัยด้วยกล้อง CCTV ที่เจ๋งไปกว่านั้น เขาชวนศิลปินสตรีทอาร์ตถึง 13 คน ไม่ว่าจะเป็น จักรกฤษณ์ อนันตกุล, พีระพงศ์ ลิ้มธรรมรงค์, รักกิจ ควรหาเวช, ยุรี เกนสาคู และอีกหลายศิลปิน มาวาดลวดลายลงบน Installation […]

ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร? – EP.1

ถ้าเกิดคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ มหานครอันแสนวุ่นวายที่มีพร้อมทุกอย่าง ขาดบ้าง เกินบ้าง ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณอยากจะเปลี่ยนอะไร? พอนึกถึงว่ามีอะไรที่อยากให้ปรับปรุง เน้นความอยากให้เป็น ไม่ต้องเน้นความเป็นไปได้ อันดับแรกๆ เราก็นึกถึง Infrastructure หรือสิ่งก่อสร้างพื้นฐานก่อนเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันเปรียบเสมือนสิ่ง Built-in ที่ก่อให้เป็นเมือง ไม่ว่าจะเป็นถนน ตึก สะพาน เสาไฟ สายไฟ ระบบสาธารณูประโภคต่างๆ เพราะถ้ามีโครงสร้างพื้นฐานที่เปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ดีตั้งแต่ต้น เมืองก็น่าอยู่ไปแล้วครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดและโตและใช้ชีวิตในเมืองกรุงแห่งนี้ เวลาไปไหนมาไหนย่อมเห็นข้อดีและปัญหาของสิ่งต่างๆ รอบตัว เลยเกิดเป็นซีรีส์ “ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร?” ขึ้นมา ประเดิมตอนแรกด้วย ฟุตพาท สิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้ใช้ในทุกๆ วัน ฟุตพาทคือทางเท้าสำหรับคนเดิน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “foot = เท้า” “path = ทาง” แต่ทุกวันนี้น้อยฟุตพาทนักที่จะน่าเดิน หรือเอื้อกับการเดิน อุปสรรคในการเดินที่เราพบเจอนั้นมีมากมายหลากหลายรอบทิศทาง จากการสอบถามความเห็นประชากรชาวออฟฟิศใจกลางเมืองแห่งหนึ่งที่ต้องใช้ฟุตพาทเพื่อเดินมาทำงานและไปทานข้าวเที่ยงทุกวันจำนวน 4 คนถ้วน กับคำถามเดียวกันนี้ ก็ได้คำตอบว่า “อยากเปลี่ยนฟุตพาทไม่ให้เป็นกับระเบิดอะค่ะ” “ไม่เอาอิฐแผ่นๆ ค่ะ” […]

Art on Train : มาดูไอเดียดีๆ ในการเปลี่ยนรถไฟฟ้าให้กลายเป็นพื้นที่ศิลปะกัน

เช้าวันใหม่อันสดใสของคนกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับเพียงเพราะการขึ้นโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะ สำหรับหลายๆ คน ระบบขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกเดียวในการเดินทาง ซึ่งหากจะให้พูดว่าเป็นการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และราคาเหมาะสม ก็คงจะพูดกันได้อย่างไม่เต็มปาก นี่ยังไม่รวมไปถึงความยากลำบากในการพยายามใช้บริการระบบเหล่านั้นในชั่วโมงเร่งด่วน ที่ก่อนจะเดินทางไปถึงหน้าประตูออฟฟิศอันเป็นที่รัก พลังงานอันน้อยนิดของพวกเราก็ได้ถูกสูบสิ้นออกไปโดยขั้นตอนอันซับซ้อนของการโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะทั้งหลาย ตั้งแต่ยังไม่เข้าแถวซื้อบัตรด้วยซ้ำ ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็เป็นปัญหา Top Hit ของหลายประเทศบนโลกเช่นกัน ในยุคสมัยที่ชีวิตของมนุษย์รวมศูนย์เข้าสู่เมืองใหญ่ การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนเป็นสิ่งที่ไม่ว่ายังไงก็เลี่ยงไม่ได้ และความแออัดก็เป็นข้อเสียตามธรรมชาติของระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท โชคดีตรงที่ว่าเราสามารถใช้ประเทศเหล่านั้นเป็น Case Study ที่ดีในการแก้ปัญหาได้ หลากวิธีการสร้างสรรค์ที่เคยเกิดขึ้นอาจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้โดยสารได้ แน่นอนว่าวิธีเหล่านี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาวที่ดี แต่ก็เป็นการทำให้การใช้เวลาโดยสารไปกับระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันเป็นไปได้อย่างราบรื่น และน่าจะเป็นการเริ่มต้นวันที่ดีกว่าการเบียดเสียดไปกับคนทั้งเมืองในขบวนรถไฟที่เต็มไปด้วยโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารในร้านสะดวกซื้อแน่นอน 1. Art on Track The World’s Largest Mobile art Gallery Art on Track เป็นโปรเจกต์ศิลปะที่เริ่มต้นโดยนักศึกษาจาก School of Art Institute of Chicago เมื่อปี 2008 ด้วยไอเดียเริ่มต้นที่จะมองหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการแสดงงานของศิลปินในพื้นที่และเหล่านักศึกษาศิลปะ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นก็คือภายในตัวโบกี้ของรถไฟใต้ดินที่ชาวเมืองคุ้นเคยกันดี Art […]

1 6 7 8 9

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.