BPMC2021 คอนเซปต์ Wish เตรียมเติมสีสัน ให้กรุงเทพฯ ด้วยการฉายภาพเคลื่อนไหว ไอเดียจากทั่วโลกบนอาคาร East Asiatique

Bangkok Projection Mapping Competition 2021 หรือ BPMC2021 ฉายภาพเคลื่อนไหวบนอาคาร East Asiatique ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

London Design Biennale 2021 ธีม Design in An Age of Crisis รวมศิลปะยุคโควิด-19 จากทั่วโลก

ข้ามโพ้นทวีปเดินเสพงานศิลป์ที่นิทรรศการ London Design Biennale 2021 จุดรวมพลของนักออกแบบ ภัณฑารักษ์ และสถาบันการออกแบบจากทั่วทุกมุมโลก ที่นำเสนองานในธีม ‘Design in An Age of Crisis’ เพื่อใช้ศิลปะและการออกแบบแก้ปัญหาความยากจน ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม และจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศในยุคที่ทุกคนต่างเผชิญหน้ากับวิกฤตระดับโลก  London Design Biennale 2021 รับผิดชอบโดย Es Devlin ศิลปินและนักออกแบบฉากชื่อดังจากลอนดอน โดยนำผลงานทั้งหมด 500 ชิ้น จาก 50 ประเทศมาตั้งโชว์ในนิทรรศการ ซึ่งเธอได้จำแนกงานศิลปะทั้งหมดออกเป็น 4 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม : เราจะออกแบบสถานที่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร สุขภาพ : งานดีไซน์จะช่วยให้คนมีสุขภาพที่ดีได้ง่ายขึ้นอย่างไร สังคม : การออกแบบจะช่วยเราทุกคนได้อย่างไร ผลงาน : เราจะออกแบบผลงานให้มีความหมายได้อย่างไร ซึ่ง Sir John Sorrell CBE ผู้ก่อตั้งนิทรรศการ London […]

Man & Art แปลงโฉม ‘มนุษย์’ เป็นงานศิลปะระดับโลก! ด้วยฝีมือ นศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

เปลี่ยนภาพจำการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับ ‘ศิลปะ’ มากยิ่งขึ้น เพราะมนุษย์กับศิลปะเป็นของคู่กัน!  เมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ลุกขึ้นมาเลียนแบบ ‘ภาพศิลปะ’ โดยใช้ร่างกายของตัวเองเป็นแคนวาส บรรจงแต่งองค์ทรงเครื่อง มาประชันความครีเอทีฟผ่านโปรเจกต์ ‘ภาพถ่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ’ ในรายวิชา ‘มนุษย์กับศิลปะ’ (Man & Art)  นอกจากจะให้นักศึกษาได้ระเบิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้ว ยังให้ความสนุกกับการเรียนศิลปะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! เรามาส่องไอเดียเจ๋งๆ ของเด็กรุ่นใหม่ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ต้นฉบับ : The Fortune Teller โดย Frederic Bazilleชื่อผลงาน : “Fortune Uno” โดย ชลดา ผาติเสถียร ต้นฉบับ : Girl Running with Wet Canvas โดย Norman Rockwell ชื่อผลงาน : “Girl running to class with […]

5 อีเวนต์ทิพย์ สร้างความสุขที่บ้าน

โควิด-19 เจ้ากรรมทำไมใจร้ายอย่างนี้! (หรือเป็นเพราะรัฐบาลยังไม่มีวัคซีนให้ประชาชนฉีดทั่วประเทศกันแน่) แกทำให้ฉันติดแหง็กอยู่ในบ้าน ออกไปไหนไม่ได้ แม้หัวใจจะเรียกร้องให้ออกไปเดินเล่น เอ็นจอยกับการใช้ชีวิต และทำกิจกรรมเพิ่มพลังใจก็เถอะ แต่ความหาทำก็ไม่เป็นสองรองใคร ออกไปไหนไม่ได้ใช่ไหม ได้! Urban Creature ขออาสาพาทำกิจกรรมทิพย์ๆ ที่บ้าน ตั้งแต่ดูคอนเสิร์ตวง PREP เข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส อ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา ปลูกป่า หรือช้อปหนังสือที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 49 เพราะทั้งหมดนี้ถูกมัดรวมอยู่ในช่องทาง ‘ออนไลน์’ หมดแล้ว! 01 ตุนหนังสือ ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ เข้ากอง ถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 49 ในคอนเซปต์ ‘อ่านเท่’ ที่ไบเทค บางนาคราวนี้จะถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 5 – 23 พฤษภาคม 2564 แต่ใครว่าทุกสำนักพิมพ์จะยอมถอยทัพง่ายๆ เพราะตอนนี้กองหนังสือเล่มเด็ดตั้งแต่หนังสือประวัติศาสตร์ การเมือง ปรัชญา นิยาย ไปจนถึงมังงะ (ไฮคิว โคนัน วันพีซ ขนมาหมด) เปิดให้ช้อปกันกระหน่ำพร้อมส่วนลดและโปรโมชันพิเศษแบบจัดเต็มเหมือนการออกบูทจริงทุกอย่าง ป.ล. แอบกระซิบว่าแต่ละวันจะมีชั่วโมง Flash […]

พีระ โองาวา ศิลปินผู้เปลี่ยนเสียงแว่วในหูให้เป็นศิลปะเรขาคณิตและความสุขของวัย 75

ยามผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลายามหลังเริ่มงองุ้มตามกาลเวลายามที่สายตาเริ่มพร่าเลือนยามที่คุณอายุเข้าวัยเลข 7ลองจินตนาการสิว่า ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ สำหรับเรา…ยังเป็นนักเขียน? ยังไปคอนเสิร์ตของนักร้องวงโปรด? ยังชอบเข้ามิวเซียม?คำตอบคือ ยังไม่รู้เลย ว่าวันนั้นจะยังทำสิ่งที่รักอยู่หรือเปล่า  แต่สำหรับ พีระ โองาวา ศิลปินวัย 75 ปีท่านนี้ ชีวิตทุกวันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ยังเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นตอนเที่ยงคืนมาเปิดเพลงบรรเลงของโมซาร์ตและบีโทเฟน แล้วลงมือสร้างสรรค์ ศิลปะเรขาคณิต จนถึงยามฟ้าเริ่มสางช่วง 5 นาฬิกา เขาทำทุกวันอย่างไม่มีหยุดพัก และจะมีความสุขทุกครั้งที่วาดภาพออกมาได้ดั่งใจคิด เสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงสแล็กสีดำ และรอยยิ้มใจดีของคุณพ่อพีระต้อนรับเรา เมื่อ แตง-ประกายจิต โองาวา ลูกสาวคนโตของครอบครัวเชื้อเชิญเข้าบ้าน ตามด้วยคำทักทายของ คุณแม่สว่าง โองาวา และลูกชายคนเล็ก เต้-ยุทธจิต โองาวา  ครอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่นยิ้มแย้มอย่างเป็นกันเอง ก่อนรวมตัวนั่งล้อมวงบนชั้น 2 เพื่อพูดคุยถึงโลกศิลปะของคุณพ่อพีระ ท่ามกลางงานศิลปะเรขาคณิตนับสิบชิ้นที่รายล้อมอยู่ในห้องรับแขก และอีกหลายร้อยชิ้นที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่น ศิลปะไร้อุปกรณ์ ชีวิตศิลปะของศิลปินอายุ 75 ปีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยไม่ถึงสิบขวบ เขามักหยิบดินสอมาวาดภาพ Freehand หรือการวาดภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเป็นเหล่าสัตว์นานาชนิดตามที่ใจคิด เพราะมองว่าสัตว์ทุกตัวมีความสวยงามเฉพาะแบบ บ้างวาดสัตว์ตัวนั้นตามแบบที่เป็น บ้างเอาสัตว์หลายตัวมาผสมกันจนมีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากเดิม อย่างรูปไก่ที่มีขนเป็นงู รูปต้นไม้ที่กิ่งก้านของมันกลายเป็นงูเลื้อย […]

‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามถึงการพัฒนาสามย่านที่สวนทางกับชุมชน

ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่  นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน  นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้

หอสมุดแห่งชาติ ชวนย้อนประวัติศาสตร์ ผ่านนิทรรศการ ‘หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด’

รู้หรือไม่ หนังสือการ์ตูนเล่มแรกของไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2387 หรือเมื่อ 177 ปีที่แล้ว! เริ่มตั้งแต่ลายเส้นอิทธิพลตะวันตกของ ‘ขรัวอินโข่ง’ จิตรกรชื่อดังยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สู่การ์ตูนสะท้อนสังคมและการเมืองเมื่อประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตย จนครองใจคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างในปัจจุบัน กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จึงอยากเชิญชวนคนรักการ์ตูนมาร่วมย้อนประวัติศาสตร์วิวัฒนาการแต่ละยุคของการ์ตูนไทย ผ่านนิทรรศการ ‘หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด’ ที่จัดขึ้นเพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมาของหนังสือการ์ตูนไทยรวมถึงหนังสือการ์ตูนหาชมยาก ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงยุคการ์ตูนดิจิทัลในปัจจุบัน  ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 เมษายน 2564 ที่ห้องวชิรญาณ 2 และ 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 17.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์) Source : SARAKADEE LITE | https://bit.ly/3txsTpg

สำรวจร่างกายผ่านศิลปะที่เกิดจากการเฝ้ามองรอยเย็บแผลของ Visual Artist ‘อลิสา ฉุนเชื้อ’

เคยสังเกตไหม ว่าดวงตาของเราสีอะไรเคยสังเกตไหม ว่าไฝบนตัวเรามีตรงไหนบ้างเคยสังเกตไหม ว่าความเครียดทำให้หน้าตาไม่สดใสหรือเปล่าเคยสังเกตไหม ว่าเรากัดเล็บทุกครั้งเวลาเจอภาวะกดดัน จะมีสักกี่ครั้งในชีวิตของเรา ที่หันมาสังเกตร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง รอยแผลเป็น สภาพจิตใจ หรือบริบทรอบกายเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่ง ‘นุ้ย-อลิสา ฉุนเชื้อ’ Visual Artist ผู้สำรวจร่างกายและเบื้องลึกจิตใจของตัวเอง นำมาตีความใหม่ แล้วบอกเล่าผ่านศิลปะ โดยที่เราไม่ต้องอยู่ในเหตุการณ์ชีวิตของเธอก็เข้าใจได้ ฉันยืนมองโปรเจกต์ The Resonance ผลงานชิ้นล่าสุดของอลิสา ปรากฏลายเส้นที่วาดซ้ำกันไปมาอย่างเป็นระบบระเบียบบนกระดาษขนาด A3 ซึ่งถูกแขวนบนฝาผนังของแกลเลอรี SAC Gallery อ่านคำโปรยทำให้รู้ว่า งานชุดนี้ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘รอยเย็บแผล’ บนร่างกายของผู้ป่วยใกล้ตัว ซึ่งปลุกความสนใจของฉันต่อศิลปินอยู่ไม่น้อย จึงไม่รีรอที่จะต่อสายตรงถึงอลิสาเพื่อทำความรู้จักมุมมองของศิลปินให้ลึกซึ้งกว่าก่อน อลิสา คือศิลปินที่สมุดสเก็ตช์เต็มไปด้วย Mind Mapping วินาทีที่ฉันดูสมุดสเก็ตช์ของอลิสากลับต้องแปลกใจ เพราะสมุดของเธอเต็มไปด้วยร่องรอยขีดเขียน Mind Mapping ประโยค และคีย์เวิร์ดสั้นๆ ทั่วหน้ากระดาษ หลังจากอลิสาเปิดสมุดของเธอให้ฉันดู เธอก็หลุดขำถึงความย้อนแย้งในอาชีพศิลปินของตัวเอง “เราทำ Mind Mapping เพื่อขุดเบื้องลึกจิตใจของตัวเองออกมา มันเริ่มจากตอนทำธีสิส อาจารย์ที่ปรึกษาเขาให้เขียนสิ่งที่อยู่ในหัว เพราะการเขียนคือการเรียบเรียงความคิด ไม่จำเป็นต้องเป็นคำ […]

ตึกแถว ศิลปะชิ้นเอกของคนอยู่

ทุกครั้งที่เดินเที่ยวย่านเมืองเก่า จะเห็น ‘ตึกแถว’ เรียงตัวยาวต่อไปกันจนสุดหัวมุมถนนทั้งสองฝั่ง หากมองเจาะลึกลงไปยังโครงสร้างหน้าตาของตึกแถว มักมีความตายตัว เรียบง่าย และเน้นประโยชน์การใช้สอยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก  แต่หากมองลึกลงไปให้มากกว่านั้น จะเห็นเสน่ห์ของวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในตึกคูหา ผ่านทุกการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่หันออกมาทางหน้าบ้าน เปรียบได้กับ ‘ผ้าใบผืนใหญ่’ ที่วาดลวดลายโดยจิตรกรเอกอย่าง ‘ผู้อยู่อาศัย’ “เฟื่องฟ้า” “ดาวเรือง” “ปั๊มทองเคยันเสา” “ซ่าทั้งโค้ก ทั้งเฮีย ลองเลย” “กุมารเรนเจอร์ในตึกเรนโบว์” “ว่าง ที่ไม่มีที่ว่าง” “ห้ามหยุด ทำไมถึงหยุด” “ขาคู่” “คนละครึ่ง คนละบาน”

ภาพนู้ด ให้ร่างเปลือยเปล่งเสียงที่อยากสะท้อน : แมท โศภิรัตน์

เธอคือ ราวสองหรือไม่ก็สามปีก่อน ขณะเลื่อนฟีดเฟซบุ๊ก ซึ่งพลันสะดุดหยุดตรงภาพถ่ายนู้ดที่ใครสักคนแชร์ไว้ ผมไม่รีรอที่จะคลิกเข้าไปยังต้นทาง ภาพถ่ายแปลกตาปรากฏอยู่บนไทม์ไลน์ ความแปลกตาน่าสนใจที่ว่านี่มิได้เป็นเพราะบุคคลในภาพเปลือยเปล่าเพียงอย่างเดียว หากยังรวมถึงท่าทีเชิงสัญลักษณ์ชวนนิ่งนึก แฟนเพจนั้นชื่อ ผู้หญิง ถือกล้อง ชื่อเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่เมื่ออ่านย้ำกลับรู้สึกถึงนัยของคำประกาศที่แสดงตนท้าทายมาตรฐานความคิดความเชื่อเก่าอยู่ในที ใช่-เธอคือผู้หญิง ใช่-เธอถือกล้อง และก็ใช่อีก-เธอถ่ายภาพนู้ด แมท-โศภิรัตน์ ม่วงคำ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘ผู้หญิง ถือกล้อง’ คือศิลปินถ่ายภาพนู้ดที่กำลังถูกพูดถึงและน่าจับตามองมากที่สุดคนหนึ่งของยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมทางศิลปะ หรือแง่มุมทางขนบธรรมเนียมแบบอนุรักษนิยม อีกทั้งข้อครหาแคลงใจจากผู้ฝักใฝ่ศีลธรรมดั้งเดิม จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อแรกเริ่มนำผลงานออกแสดง สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในแรงปะทะที่เธอต้องรับมือ  หากก็เหมือนผู้มาก่อนกาล เหมือนพืชผลที่รอการเก็บเกี่ยว ในช่วงขวบปีหลังที่เรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมกลายเป็นกระแสหลักของสังคม ซึ่งช่วยขับเน้นวาววับที่มีอยู่ก่อนแล้วในผลงานให้ยิ่งเปล่งประกาย คำถามทั้งหลายที่เคยโถมถาถึงเธอจึงถูกผลงานของเธอโยนกลับไปตั้งคำถามกับผู้เคลือบแคลงสงสัย อาจแตกต่างกันตรงที่คำถามที่เกิดจากผลงานของเธอไม่ได้มีความมาดมั่นที่จะต้องได้รับคำตอบสุดท้าย หากกลับมุ่งหวังถึงการชักชวนให้ครวญคิด เป็นเสียงสะท้อน เป็นการทำความเข้าใจ และเป็นการต่อยอดสู่คำถามอื่น ศิลปินพำนัก หลังจากติดตามผลงานของพี่แมท ทั้งทางออนไลน์ ทั้งออกไปชมนิทรรศการในกรุงเทพฯ แต่ผมก็ยังไม่เคยพบเธอเลยสักครั้ง แถมนิทรรศการที่ไปชมล้วนเป็นการแสดงผลงานร่วมของศิลปินภาพถ่ายหลายท่าน จนกระทั่งเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ผมได้ทราบว่าพี่แมทกำลังมีนิทรรศการภาพถ่ายเดี่ยวที่จังหวัดขอนแก่น และทุกสิ่งก็พลันรวดเร็วราวกับสปีดชัตเตอร์ที่จับการโบยบินของนกให้นิ่งค้างบนภาพถ่าย ผมตัดสินใจทันที จับจองที่นั่งบนรถไฟด่วนพิเศษ ผ่านวันปีใหม่มาเพียงสัปดาห์เดียว ผมก็ยืนอยู่เบื้องหน้าภาพถ่ายของเธอ วันนั้นตัวเมืองขอนแก่นอากาศหนาว ผมออกจากที่พักก่อนเวลา เต็มใจเดินตากแดดให้ร่างกายอบอุ่น จนถึงเดอะวอลล์ […]

รอเช็กอิน! ศิลปะฝาท่อแบบไทย งานอาร์ตในเยาวราช-เจริญกรุง ที่ชวนให้ทุกคนมาปลุกประวัติศาสตร์ย่านเก่าให้มีชีวิตอีกครั้ง

เคยเห็นแต่ฝาท่อประเทศญี่ปุ่นที่มีลวดลายน่ารักจนต้องคว้ากล้องมาถ่ายรูป แถมยังต้องรีบไปเก็บลายอื่นๆ ในแต่ละย่านให้ครบคอลเลกชัน รู้ตัวอีกทีเราก็ได้ท่องเที่ยวในย่านต่างๆ และซึมซับวัฒนธรรมของแต่ละที่ไปอย่างแนบเนียน และสิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเราที่เยาวราช-เจริญกรุง เขตพระนคร

ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

1 2 3 4 5 6 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.