‘Holy Water’ สระว่ายน้ำสาธารณะในโบสถ์เก่า ที่ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลายกิจกรรม

ปกติแล้วสถานที่ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ใช้งาน หากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็มักถูกปล่อยทิ้งร้างจนเสียหาย หรือถ้าอยู่ในพื้นที่ชุมชนก็อาจมีการรีโนเวตเพื่อทำธุรกิจใหม่ๆ แต่ถ้าหากเป็นสถานที่เก่าแก่ทางศาสนา มีประวัติศาสตร์และองค์ประกอบที่สวยงาม จะเปลี่ยนให้เป็นอะไรได้บ้าง โบสถ์ St. Francis of Assisi ใน Heerlen ประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างขึ้นในปี 1923 และเคยเป็นพื้นที่พบปะทางสังคม ทว่ากลับถูกปล่อยทิ้งให้ว่างเปล่า ไม่ได้ใช้งานมานานกว่าสองปีแล้ว สตูดิโอระดับโลกสัญชาติดัตช์ ‘MVRDV’ และ ‘Zecc Architecten’ จึงร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงให้โบสถ์เก่าแห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง Winy Maas ผู้ร่วมก่อตั้ง MVRDV มองว่า โบสถ์ที่ว่างและไม่ได้ใช้งานแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เขาอยากสร้างสรรค์อาคารทางศาสนาเหล่านี้ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์ และพักผ่อนหย่อนใจ เกิดเป็นไอเดียของสระว่ายน้ำ ‘Holy Water’ ขึ้นมา ภายในอาคารแห่งนี้ประกอบด้วยสระว่ายน้ำซึ่งเป็นพื้นที่หลัก โดยความท้าทายในพื้นที่นี้คือ การให้ความร้อนแก่พื้นที่สระว่ายน้ำอย่างเพียงพอ และต้องระวังเรื่องความชื้นของสระว่ายน้ำที่จะทำปฏิกิริยากับวัสดุเก่าของโบสถ์ ดังนั้นการออกแบบจึงออกมาในลักษณะของผนังกระจกรอบสระว่ายน้ํา หลังคาของโบสถ์หุ้มฉนวนจากภายนอกเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนมากเกินไป ในขณะที่ยังคงมองเห็นอิฐเดิมจากด้านใน การออกแบบลักษณะนี้จะช่วยประหยัดพลังงานภายในอาคาร รวมถึงยังช่วยรักษาองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์ของโบสถ์เอาไว้มากที่สุดด้วย เช่นเดียวกับม้านั่งเก่าที่นำกลับมาใช้งานสำหรับคนที่เข้ามาว่ายน้ำ มีที่นั่งด้านนอกบริเวณทางเดินที่มองเข้ามาเห็นสระว่ายน้ำได้ และโต๊ะร้านกาแฟซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งภายในโบสถ์แห่งนี้ นอกจากสระและร้านกาแฟแล้ว พื้นของสระว่ายน้ำแห่งนี้ยังปรับขึ้น-ลงได้ เพื่อให้โบสถ์ใช้พื้นที่ได้หลากหลายมากขึ้น […]

The Domcenter ส่วนต่อขยายจากอาสนวิหารใหม่เมืองลินซ์ ประตูเชื่อมคนรุ่นใหม่เข้าหาศาสนา

ด้วยกาลเวลาและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน ทำให้ศาสนาถูกลดบทบาทลง ปัจจุบันเราจึงเห็นหลายศาสนสถานที่พยายามปรับตัวเข้ากับโลกใบใหม่ที่ทันสมัยขึ้น เพื่อดึงดูดและเชื่อมโยงคนให้กลับมาใกล้ชิดศาสนามากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ ‘อาสนวิหารใหม่เมืองลินซ์’ หรือ ‘New Cathedral, Linz’ สถาปัตยกรรมนีโอกอทิก หนึ่งในอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรีย ถึงแม้สังฆมณฑลได้เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีไปเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา แต่ชุมชนคาทอลิกยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากการที่จำนวนสมาชิกลดลงเรื่อยๆ มาโดยตลอด ความโชคดีของอาสนวิหารใหม่เมืองลินซ์คือ การมีอัครสังฆมณฑลแห่งลินซ์ที่เปิดกว้างและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิด ‘The Domcenter’ ขึ้นบริเวณฝั่งตะวันออกของตัววิหาร เพื่อทำหน้าที่เป็นร้านกาแฟและร้านหนังสือที่ทันสมัยและอบอุ่น เชิญชวนให้คนเข้ามาใช้บริการ การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากหลังคาเต็นท์เบาแบบดั้งเดิมและแผงขายของในตลาดเก่าแก่ที่คล้ายกับโครงสร้างหลังคาโค้งแบบกลับด้าน อีกทั้งยังใช้โครงสร้างคอนกรีตที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดอายุการใช้งาน และถึงแม้จะพูดกันว่า The Domcenter คือส่วนต่อขยายจากตัววิหาร แต่ในความเป็นจริง ด้วยเหตุผลด้านการอนุรักษ์มรดก อาคารส่วนต่อขยายนี้ไม่เชื่อมต่อกับตัววิหารโดยตรง แต่มีเสาค้ำยันเดี่ยวและยื่นออกไปทางด้านหน้าโดยไม่สัมผัสกับเสาค้ำยันเดิม ปัจจุบันนอกจาก The Domcenter จะเป็นร้านกาแฟและร้านหนังสือแล้ว ที่นี่ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่พบปะสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริสตจักรและงานฆราวาส รวมไปถึงให้บริการเก็บของ ห้องน้ำ และล็อกเกอร์อีกด้วย Source : Peterhaimerl | peterhaimerl.com/projects/1-1-domcenter-linz

ลัดเข้าวัด เลาะเข้าศาลเจ้า แวะเข้าโบสถ์ ทริปเดินสำรวจชุมชน ความเชื่อ และศรัทธาในพื้นที่สามย่านกับ TedxChula

เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึงสามย่าน หลายคนคงคิดถึงบรรทัดทอง หมาล่า หรือเขตอาหารที่คึกคักตลอดคืน แต่จริงๆ พื้นที่ตรงนี้ได้ชื่อ ‘สามย่าน’ จากจุดตัดถนน 3 สาย คือ ถนนพระรามที่ 4 ถนนพญาไท และถนนสี่พระยา ซึ่งไม่เพียงแต่จุดตัดของถนนสามสาย ที่นี่ยังมีสามความเชื่อ สามรูปแบบความศรัทธาที่ปรากฏตั้งแต่อดีตกาลยาวนานมา ยามบ่ายของวันเสาร์ที่ผ่านมา TEDXChulalongkornU ได้ชวน Urban Creature ไปเดินสำรวจหลากหลายความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่สามย่าน ในธีม How to train your jargon ที่มีไกด์ทัวร์ท้องถิ่นของแต่ละสถานที่ และนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาดำเนินกิจกรรม ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า สถานที่แห่งความศรัทธาที่ไม่อาจรักษาสัญญา “เขาขอเข้ามาปรับปรุง มีแพลนมาให้ดูว่าจะสร้างนู่นสร้างนี่ ย้ายเรามาตรงนี้ให้มีพื้นที่มากขึ้น สะดวกขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นอย่างที่บอก” เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าเล่าให้ฟัง สถานที่นี้คือศาลเจ้าที่เดิมเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของคนในชุมชน ด้วยความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของเทพทีกงและทีม่า ที่เล่าขานกันว่า ในวันที่เกิดเหตุไฟไหม้โดยรอบ ถึงแม้ศาลเจ้านี้สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแต่พวกเป็ดไก่ที่วิ่งพากันเข้ามาหลบไฟในศาลเจ้ากลับมีชีวิตรอดกันทั้งหมด แต่ตอนนี้ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าได้ย้ายเข้ามาตั้งอยู่ภายในโครงการ Dragon Town ซึ่งเป็นโครงการที่มีร้านค้า ร้านอาหาร ด้วยข้อต่อรองในการปรับปรุงพื้นที่ โดยสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงไป […]

MADE LIM Café เปลี่ยนโบสถ์คริสต์ 120 ปีในเกาหลีใต้ เป็นคาเฟ่และพื้นที่ศิลปะสมัยใหม่ แฝงด้วยร่องรอยประวัติศาสตร์และแนวคิดธรรมชาติ

กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ คือเมืองหลวงที่ใครหลายคนขนานนามให้เป็นเมืองแห่งคาเฟ่ เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็ต้องพบเข้ากับคาเฟ่สุดเก๋ ที่มาพร้อมคอนเซปต์หลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบสไตล์มินิมอลไปจนถึงแนวคิดล้ำๆ แต่ความจริงแล้ว ไม่ไกลจากตัวสนามบินอินชอนเองก็มีคาเฟ่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะแต่เดิมที่นี่คือ ‘โบสถ์วังซาน’ โบสถ์คริสต์อายุ 120 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ‘NONE SPACE’ สตูดิโอออกแบบและก่อสร้างสัญชาติเกาหลีใต้ ได้รีโนเวตโบสถ์ 3 ชั้นแห่งนี้ให้กลายเป็น ‘MADE LIM Café’ คาเฟ่และพื้นที่จัดแสดงศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ยังคงไว้ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ NONE SPACE เลือกใช้อิฐและกระจกสีเป็นวัสดุหลักในการรีโนเวต เพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่คงไว้ซึ่งวัสดุตกแต่งเดิมของโบสถ์ให้ได้มากที่สุด และไม่ทำการรื้อถอนภายในหากไม่จำเป็น โดยมีคอนเซปต์คือ ‘MADE 林’ ที่สะท้อนถึงปรัชญาที่มองว่ามนุษย์จะกลับคืนสู่ธรรมชาติ MADE LIM Café แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามการใช้งาน ได้แก่ ‘Forest Hall’ ห้องโถงหลักที่ประกอบด้วยคาเฟ่ ห้องรับประทานอาหาร และห้องโถงสำหรับจัดงาน ในขณะที่ ‘Detached Forest House’ และ ‘Heritage Hall’ ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะเชิงประสบการณ์ที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ […]

ต่างศาสนาก็อยู่ร่วมกันในที่เดียวได้ ‘Abrahamic Family House’ พื้นที่ที่รวมศาสนสถานของคริสต์ ยูดาห์ และอิสลามไว้ด้วยกัน

ใครจะคิดว่าในโลกนี้จะมีสถานที่ที่นำศาสนสถานของ 3 ศาสนาอย่างคริสต์ ยูดาห์ และอิสลาม มาอยู่รวมในพื้นที่เดียวกันที่มีขนาด 6,500 ตารางเมตรได้ ‘Abrahamic Family House’ คือชื่อเรียกของสถานที่แห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ในย่านศิลปวัฒนธรรมบนเกาะซาดิยาต เมืองอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และได้เปิดตัวให้สาวกทั้ง 3 ศาสนาได้เข้าใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากมีการลงนามในเอกสารว่าด้วยภราดรภาพของมนุษย์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และแกรนด์อิหม่าม อาเหม็ด อัล-ตอเยบ ให้สร้างขึ้นในปี 2019 การออกแบบครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างมากของสตูดิโอออกแบบ ‘Adjaye Associates’ เพราะต้องออกแบบให้ทั้ง 3 ศาสนสถานมีขนาดที่เท่ากัน เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าไม่มีอาคารใดในสามหลังที่โดดเด่นไปกว่ากัน และในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้ตัวอาคารเป็นพื้นที่ที่สาวกทั้ง 3 ศาสนาอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ขัดกับหลักคิดและแนวทางออกแบบศาสนสถานอื่นๆ Abrahamic Family House เป็นเสมือนศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้และการสนทนาระหว่างศาสนา ที่พร้อมเปิดรับคนทั่วไปที่ไม่ได้นับถือศาสนาใดให้เข้ามาเยี่ยมชม ทั้งยังเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาได้จริง โดยพื้นที่ภายใน Abrahamic Family House แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) Imam Al-Tayeb Mosque […]

ประกายแก้ว แบรนด์กระจกสีอายุ 29 ปี ที่รับทำตั้งแต่ซ่อมกระจกวัดจนถึงป้ายชื่อศิลปินเกาหลี

ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน อาจเป็นความโชคดีที่บางคนเจอสิ่งที่ชอบแล้วทำมันเป็นงานได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป กับบางคนที่ไม่ได้รักงานที่ทำมาก แต่งานนั้นมอบคุณภาพชีวิตดีๆ มีเวลาว่างให้ผ่อนคลาย นั่นอาจเป็นนิยามของชีวิตที่น่าพอใจแล้ว ถึงอย่างนั้น เราก็ยังรู้สึกสนุกทุกครั้งเวลาได้เจอคนที่ทำงานในสิ่งที่รัก เหมือนกับวันนี้ที่เรามาเจอ ‘พวงแก้ว นันทนาพรชัย’ เจ้าของร้านและผู้ก่อตั้งร้าน ประกายแก้ว แบรนด์รับทำ-ซ่อมกระจกสีที่เพิ่งเป่าเทียนฉลองวันเปิด 29 ปีไปหมาดๆ โดยมี ‘ฌัลลกัณฐ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา’ คอยหนุนหลังในฐานะทายาทผู้มารับช่วงต่อ ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน ความหลงใหลในอะไรบางอย่างจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหน ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์คือตัวอย่างของคนที่อยู่กับกระจกสีมาได้อย่างยาวนาน, อย่างน้อยๆ ก็ 29 ปี  แต่อยู่มานานก็ไม่ได้แปลว่าต้องทำแบบเดิมเสมอไป เพราะธุรกิจของพวกเธอดำเนินอยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน ในคำว่ายาวนานของร้านประกายแก้วนั้น มีการปรับตัวและพัฒนาบริการครั้งแล้วครั้งเล่า จากที่เคยรับทำกระจกสีซึ่งเราเห็นในบ้านและโบสถ์ ทุกวันนี้ประกายแก้วทำงานกระจกสีในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับกับกลุ่มลูกค้าอันหลากหลาย ตั้งแต่นักสะสมไปจนถึงแฟนคลับศิลปินเกาหลี  ลัดเลาะเข้าไปในหมู่บ้านมหาวงษ์ 3 ในบ้านหลังไม่เล็กไม่ใหญ่ริมคลองพระโขนงอันเป็นที่ตั้งของร้านประกายแก้ว ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์เล่าเบื้องหลังให้เราฟังท่ามกลางเสียงเจียกระจกในโรงงาน Puangkaew’s Glass Glitter Studio ถ้าจะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระจกสีกับป้าพวงแก้วเป็น ‘รักแรกพบ’ ก็คงไม่ผิดนัก ป้าพวงแก้วเรียนจบโรงเรียนคาทอลิก หลงใหลในกระจกสีหรือ Stained Glass ถึงขนาดไปเรียนกับช่างทำกระจกสีอยู่ 2 ปี […]

กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional

รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง  แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้  Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”

โบสถ์ในเวลส์จัดงานรำลึกผู้เสียชีวิตโควิด-19 เพื่อส่งต่อความหวังหลังการระบาดใหญ่

5,015,400 คน คือตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลกตั้งแต่เริ่มระบาดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการเสียชีวิตอย่างกะทันหันทำให้หลายครอบครัวไม่มีเวลาที่จะบอกลาหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้เหมือนการเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น และเป็นช่วงเวลาที่เศร้าโศกของผู้คนทั่วโลกที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการระบาดใหญ่ครั้งนี้  โบสถ์ Saint Giles ประจำเขตแพริชในเมืองเร็กซ์แฮม ประเทศเวลส์ ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงได้จัด ‘Festival of Angels’ ตกแต่งโบสถ์ด้วยทูตสวรรค์ทำด้วยมือกว่า 6,000 องค์เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในเวลส์ ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2021 ไปจนถึงช่วงปีใหม่  Revd Dr Jason Bray บาทหลวงของโบสถ์ Saint Giles กล่าวว่า “สำหรับคริสเตียนหลายคน ทูตสวรรค์เป็นตัวแทนของความหวังและแสงสว่าง ตอนนี้คือช่วงเวลาที่เราโผล่ออกมาจากวันที่มืดมนที่สุดของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แล้ว Festival of Angels จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ที่เราควรจะส่งต่อและแบ่งปันความหวังของคริสเตียนให้กับโลก” การจัดแสดงทูตสวรรค์เหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากทูตสวรรค์ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 15 ที่แกะสลักไว้บนหลังคาไม้ของโบสถ์ ซึ่งทูตสวรรค์กว่า 6,000 องค์เหล่านี้เป็นตัวแทนของจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั้งหมด 6,150 คน ในเวลส์นับตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ จากรายงานล่าสุดของสาธารณสุขของเวลส์  ทูตสวรรค์เหล่านี้เป็นงานทำมือจากกระดาษ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.