นวัตกรรมใหม่ ‘Smart Registration’ ใช้ AI ช่วยลงทะเบียนผู้ป่วยที่ รพ.กรุงเทพ ช่วยเจ้าหน้าที่ทำงานได้ดีขึ้นถึง 45 เปอร์เซ็นต์

ความเหนื่อยหน่ายที่ทุกคนต่างต้องเจอทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลคือ การรอคิวและการเสียเวลาไปกับการลงทะเบียนผู้ป่วยที่บางครั้งก็กินเวลานาน ด้วยหลายๆ ครั้งเจ้าหน้าที่เองก็มีงานล้นมือ ทำให้ดูแลผู้เข้ารับการรักษาได้อย่างไม่ทั่วถึง ‘Agnos Health’ บริษัทสตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ ร่วมมือกับ ‘โรงพยาบาลกรุงเทพ’ พัฒนาระบบ ‘Smart Registration’ เพื่อยกระดับการลงทะเบียนผู้ป่วยด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และผลักดันให้โรงพยาบาลก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Hospital อย่างเต็มตัว หลังจากที่ใช้เวลาในการพัฒนามากว่าสองปี ตอนนี้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สามารถใช้งานระบบ Smart Registration ผ่านตู้ Kiosk หรือบนแท็บเล็ตของเจ้าหน้าที่ได้แล้ว โดยการใช้เทคโนโลยี AI นี้มีส่วนช่วยในการทำงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาการรอของคนไข้ใหม่และคนไข้เก่า ลดการกรอกเอกสารต่างๆ และลดการใช้กระดาษ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืน ESG (Environment, Social, Governance) ในการลดใช้กระดาษและลดปริมาณขยะ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ให้ความสำคัญอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ลง ช่วยให้ดูแลและให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทาง Agnos Health ก็ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง เพื่อยกระดับการให้บริการทางสุขภาพของประเทศให้ดีขึ้น .ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.agnoshealth.com/smart-hospital-and-clinics

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

NIA และ กทม. มุ่งหน้าใช้ ARITech เปลี่ยนย่านอารีย์เป็นย่านนวัตกรรม รองรับการลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน

คนกรุงเทพฯ ย่อมรู้ว่า ‘อารีย์’ เป็นย่านแห่งไลฟ์สไตล์ที่มีชื่อมากที่สุดในเมือง มีความเป็นชุมชนกึ่งเก่ากึ่งใหม่ ที่หากเดินเข้าไปจะพบว่าอาคารที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านค้าประเภทมัลติแบรนด์ ที่สร้างสีสันและความมีชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ จนกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและทำเลทองของนักธุรกิจยุคใหม่ แต่ในอีกมุมหนึ่ง อารีย์ก็เป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ โคเวิร์กกิงสเปซ ไปจนถึงออฟฟิศให้เช่าชั่วคราว ซึ่งส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศของสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จึงเลือกพัฒนาย่านนี้ให้เป็นย่านนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ดีขึ้น การพัฒนาครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีเชิงลึกด้านอารีเทค (ARITech) ได้แก่ AI, Robotics, Immersive และ IoTs มาผลักดันย่านสู่เมืองฉลาดรู้ และยกระดับให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่เพื่อรองรับธุรกิจนวัตกรรม การลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน กลุ่มธุรกิจเทคจากต่างประเทศ และนำร่องให้ย่านอารีย์ได้เป็นพื้นที่ทดสอบทดลองนวัตกรรม ส่วนองค์ประกอบสำคัญของย่านอารีย์ที่หากเชื่อมโยงกันแล้วจะทำให้ย่านเกิดความก้าวหน้ามากขึ้น ประกอบด้วย 1) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ จากการเป็นที่ตั้งของบริษัท หน่วยวิจัย และสตาร์ทอัพ ARITech ที่กระจายตัวภายในย่าน ครอบคลุมบริษัทชั้นนำระดับนานาชาติ2) สินทรัพย์ทางกายภาพ จากการเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง มีการเข้าถึงด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีความสะดวก และการใช้งานพื้นที่แบบผสมผสาน3) สินทรัพย์ทางเครือข่าย จากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มองค์กรทางสังคม ที่มีความสนใจในการร่วมพัฒนาย่าน4) สินทรัพย์ดิจิทัล […]

OpenAI เปิดตัวโมเดลใหม่ GPT-4 แชตบอตบน ChatGPT ที่ฉลาดขึ้น ผิดพลาดน้อยลง และรับข้อมูลรูปภาพได้

OpenAI เปิดตัวโมเดลใหม่ GPT-4 แชตบอตบน ChatGPT ที่ฉลาดขึ้น ผิดพลาดน้อยลง และรับข้อมูลรูปภาพได้ เมื่อปลายปี 2022 องค์กรวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ OpenAI ได้เปิดตัว ‘ChatGPT’ ซึ่งเป็น AI Chatbot หรือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยมและเป็นธรรมชาติ ทั้งยังมีฟังก์ชันที่ตอบคำถามได้เกือบจะทุกเรื่อง จนหลายคนมองว่า ChatGPT จะส่งผลกระทบและปฏิวัติวงการต่างๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ ดนตรี การศึกษา การท่องเที่ยว การเมือง และสื่อสารมวลชน แต่ความล้ำไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะล่าสุด OpenAI ได้เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ‘GPT-4’ ซึ่งทางบริษัทระบุว่าเป็น ‘โมเดลหลากหลายรูปแบบขนาดใหญ่ (Large Multimodal Model)’ ที่ฉลาดกว่าและมีความสามารถมากกว่าโมเดลตัวเก่าที่ใช้ใน ChatGPT อย่าง GPT-3.5 โมเดลตัวใหม่นี้ได้รับการพัฒนาให้มีข้อมูลที่เที่ยงตรงมากขึ้น ประมวลข้อความที่ยาวถึง 25,000 คำ ซึ่งมากกว่าโมเดลเก่าถึง 8 เท่า แถมยังรองรับการนำเข้าข้อมูล (Input) ที่เป็นรูปภาพได้ด้วย หมายความว่าผู้ใช้งานจะสามารถตอบคำถามโดยใช้รูปภาพได้ จากเดิมที่สามารถโต้ตอบได้ด้วยข้อความเพียงอย่างเดียว […]

เพิ่มประสบการณ์การเดินทางด้วยสีสัน BMW เปิดตัวรถไฟฟ้าเปลี่ยนสีได้ 32 สีพร้อม AI เพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้ขับขี่มากขึ้น

ถ้าพูดถึงรถยนต์แห่งอนาคต หลายคนอาจจินตนาการถึงยานพาหนะที่บินได้หรือไร้คนขับ แต่สำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกอย่าง BMW กลับมองว่ารถยนต์ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนในอนาคต ต้องเพิ่มประสบการณ์การขับขี่ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้งานต่างหาก ล่าสุดบริษัทยานยนต์สัญชาติเยอรมนีเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ ‘BMW i Vision Dee’ โดยคำว่า ‘Dee’ ย่อมาจาก ‘Digital Emotional Experience’ เพราะรถแห่งอนาคตคันนี้มุ่งเน้นเทคโนโลยีที่จะทำให้ผู้ขับและตัวรถมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น พูดง่ายๆ คือ ทำให้เจ้า Dee กลายเป็นเพื่อนร่วมทางอัจฉริยะของผู้ขับนั่นเอง รถยนต์ต้นแบบรุ่นนี้มาพร้อมกับฟังก์ชันล้ำๆ ที่จะเพิ่มอรรถรสตลอดการเดินทาง เริ่มจากระบบ AI ที่พูดคุยกับผู้ขับขี่ได้ตั้งแต่ยังไม่เปิดประตูรถจนถึงระหว่างนั่งจับพวงมาลัย กระจกฝั่งคนขับที่แสดงอวตารของผู้ขับเพื่อการต้อนรับอย่างเป็นส่วนตัว รวมไปถึงลูกเล่นอย่างไฟหน้ารถที่แสดงปฏิกิริยาและความรู้สึกของเจ้า Dee ได้ด้วย ส่วนไฮไลต์ที่หลายคนจับตามองคือภายนอกของ BMW i Vision Dee ที่เปลี่ยนสีได้มากถึง 32 สี ด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่ประกอบด้วย E Ink 240 แผง แค่กดปุ่มเดียวผู้ขับก็สามารถเปลี่ยนสีรถยนต์ภายนอกได้ทันที จะเลือกสีเดียวหรือสลับหลายๆ สีก็ได้ทั้งนั้น ทั้งยังเปลี่ยนสีได้ครอบคลุมตั้งแต่ตัวรถ หน้าต่าง กระจังหน้า ไปจนถึงล้อรถ มากไปกว่านั้น ภายในรถยังมีหน้าจอแสดงผลและข้อมูลที่ครอบคลุมคอนโซลหน้ารถ […]

7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

‘ทำไมสตาร์ทอัปไทยยังไประดับโลกไม่ได้’ คุยกับยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคม Thai Startup คนล่าสุด

โมงยามที่แดดยามบ่ายกำลังสาดแสงเต็มแรง ลิฟต์ของห้างฯ ICONSIAM พาเราขึ้นมาบนชั้น 7 ภาพมวลชนขวักไขว่ในงาน Techsauce Global Summit 2022 คือสิ่งแรกที่ทักทายเราหลังก้าวผ่านประตู เสียงบรรยายว่าด้วยเทคโนโลยีดังมาแต่ไกล สมเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่รวมหัวกะทิเรื่องเทคฯ และผู้สนใจจากทั่วโลกมาไว้ด้วยกัน เช่นเดียวกับสตาร์ทอัปไทยหลายเจ้าที่มารวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และคอนเนกชัน-สิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจไม่มีไม่ได้ แต่วันนี้ เราไม่ได้จะมาแลกเปลี่ยนอะไรกับใคร อันที่จริง หากมีสิ่งที่พอจะนับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ได้คือ เรามีนัดกับ ‘ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์’ ชายหนุ่มที่หลายคนอาจรู้จักในบทบาทการเป็นอาจารย์วิชากฎหมายภาษี ไม่ก็บทบาทของผู้ก่อตั้ง iTAX สตาร์ทอัปที่นำเทคโนโลยีมาช่วยให้คนไทยคิดคำนวณภาษีกันได้ง่ายๆ โดยไม่เปิดตำรา แต่บทบาทที่พาให้เรามาคุยกับเขาในวันนี้ คือนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยคนล่าสุด สรุปอย่างย่นย่อให้คนที่ไม่เคยรู้จักสมาคมนี้มาก่อน สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยหรือเรียกสั้นๆ ว่า THAI STARTUP คือสมาคมที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 8 ปี มีสมาชิกเป็นสตาร์ทอัปรายน้อยใหญ่กว่า 100 ราย และทำหน้าที่ในการผลักดัน ส่งเสริม รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมต่อให้สตาร์ทอัปไทยได้เติบโต เฉิดฉายได้ในระดับสากล แต่พูดก็พูดเถอะ ในยุคแห่งโรคระบาดที่ไม่ได้คร่าแค่ชีวิตผู้คนแต่ยังคร่าธุรกิจสตาร์ทอัปให้ปิดตัวลงหลายราย คนในวงการตอนนั้นแทบจะมองไม่เห็นอนาคต นั่นจึงทำให้เรามานั่งคุยกับ ผศ. ดร.ยุทธนา วันนี้ ว่าด้วยทิศทางของสตาร์ทอัปไทยในยุค Post-Covid และการกอบกู้ความเชื่อมั่นของสตาร์ทอัปไทยให้กลับมาแข็งแกร่ง […]

นักวิจัยพัฒนาแผงอิเล็กทรอนิกส์ยืดหยุ่นคล้ายผิวหนัง หมุดหมายสำคัญเทคโนโลยีสวมใส่

นักวิจัยพัฒนาแผงอิเล็กทรอนิสก์ยืดหยุ่นคล้ายผิวหนัง เป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับเทคโนโลยีสวมใส่ในอนาคต

สนุกกับประวัติศาสตร์นวัตกรรมผ่านโทรศัพท์กว่า 2,000 รุ่นที่ Mobile Phone Museum

เรามักได้ยินข่าวเปิดตัวโทรศัพท์ใหม่ พร้อมนวัตกรรมมากมายที่ชวนร้องว้าว เพราะเดี๋ยวนี้โทรศัพท์เครื่องหนึ่งทำอะไรได้มากมาย แต่คุณเคยสงสัยหรือนึกย้อนไปไหมว่าสมัยก่อนโทรศัพท์ที่เราใช้ๆ กันมีหน้าตายังไง ทำอะไรได้บ้าง เพราะนอกจากยี่ห้อดังๆ ที่คนไทยคุ้นเคยแล้ว ในโลกนี้ยังมีโทรศัพท์ยี่ห้ออื่นๆ และมีหน้าตาล้ำๆ อีกเยอะแยะเลย หากมีคำกล่าวว่าศิลปะสะท้อนถึงยุคสมัยได้ยังไง เราคิดว่าเทคโนโลยีก็ทำหน้าที่นี้ไม่ต่างกัน และหนึ่งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่บ่งบอกความสนใจ พฤติกรรมการใช้งานของผู้คน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นเจ้าโทรศัพท์หรือมือถือที่เปรียบเป็นอวัยวะอีกส่วนของร่างกายเราไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ กลุ่มคนทำงานสาย Tech ผู้มีความหลงใหลในโทรศัพท์จึงได้รวมตัวกันทำ mobilephonemuseum.com หรือพิพิธภัณฑ์โทรศัพท์มือถือขึ้นมา Ben Wood คือผู้ริเริ่มโปรเจกต์นี้ขึ้นในปี 2004 ก่อนจะจอยน์กับเพื่อนนักสะสมโทรศัพท์มือถือชื่อ Matt Chatterley และอีกหนึ่งปีต่อมาพวกเขาก็ทำงานร่วมกับทีมเล็กๆ กลายเป็นองค์กรนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร เพื่อดูแลป้องกันคอลเลกชันโทรศัพท์ที่มี ทั้งยังช่วยกันจัดการเรื่องกองทุนด้วย ปัจจุบันโทรศัพท์ในคอลเลกชันมีมากกว่า 2,000 รุ่นจากมากกว่า 200 แบรนด์ทั่วโลก โดยนับเป็นจำนวนทั้งหมด 3,500 เครื่องเมื่อรวมรายการที่ซ้ำกันแล้ว ครอบคลุมย้อนหลังไปถึงเครื่องที่ผลิตตั้งแต่ปี 1984 Ben เล่าว่า เมื่อมีคนบริจาคโทรศัพท์มา ทางทีมจะนำไปจัดทำทะเบียน ติดฉลาก ถ่ายภาพ และย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีผู้บริจาคอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นโทรศัพท์หายาก จึงจำเป็นต้องประกาศหาในเว็บไซต์ หากเข้าไปชมนิทรรศการ คุณจะได้พบกับเหล่าโทรศัพท์หลากหลายหน้าตาที่มีการจัดประเภทเป็นรุ่นแรก […]

Trombia Free รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับคันแรกของโลก ลด CO2 ประหยัดพลังงาน และทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ

ขยับเข้าใกล้โลกอนาคตที่เราฝันถึงกันอีกนิด ด้วย ‘Trombia Free’ รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับแบบเต็มรูปแบบคันแรกของโลก นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก ‘Trombia Technologies’ บริษัทผลิตเครื่องมือทำความสะอาดถนนสัญชาติฟินแลนด์ที่นอกจากทำความสะอาดถนนแล้ว รถคันนี้ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ถึงปีละ 3 ล้านเมตริกตันอีกด้วย! Trombia Free ทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ และมีชั่วโมงทำงานรวมกันทั้งปีมากถึง 500 ชั่วโมงติดกัน ทั้งยังประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องกวาดถนนทั่วไปถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเทคโนโลยีทำความสะอาดใหม่ล่าสุดที่ไม่ได้ใช้น้ำ แต่ใช้ระบบกรองฝุ่นแบบ ‘Cyclone’ การทำงานแบบ ‘Aerodynamic’ รวมกับวิธีการเพิ่มความชื้นในการกรองฝุ่น ซึ่งเมื่อเทียบชั่วโมงทำงานและการใช้พลังงานของเครื่องกวาดถนนทั่วไปถือว่า Trombia Free ใช้พลังงานได้คุ้มค่ากว่าถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังเสียงเบากว่า เหมาะแก่การใช้งานตอนกลางคืนหรือในบ้านอีกด้วย  นอกจากนี้ ‘Trombia Free’ ยังติดตั้งระบบเผื่อระยะปลอดภัยรอบคันรถ ที่จะทำให้รถหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับสิ่งที่เข้าใกล้ ถึงในปี 2021นี้ ‘Trombia Free’ ยังจะอยู่ในช่วงทดสอบ แต่ภายในต้นปี 2022 เราจะได้ใช้รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับนี้กันอย่างทั่วถึงแน่นอน Source : Yanko Design | https://tinyurl.com/w6fe5j54

‘เอสโตเนีย’ สังคมดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก

เพื่อขจัดความยากจน เอสโตเนียจึงใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศ จนล่าสุดเอสโตเนียกลายเป็น “สังคมดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก” และเมืองหลวงอย่าง ‘ทาลลินน์’ ยังได้รับเลือกให้เป็น “ชุมชนอัจฉริยะแห่งปี 2020” ด้วย

FYI

หมดยุคธุรกิจแบบเดิม 4 เรื่องที่ต้องโฟกัสการวิจัยเพื่อให้ไทยอยู่รอดกับ The Stanford Thailand Research Consortium

ยุคนี้ใครๆ ต่างก็พูดถึง ‘ดิสรัปชั่น’ หรือยุคที่ทุกอย่างก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว เราจึงต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกวัน ทั้งข่าวสารมากมายที่หลั่งไหลเข้ามา หรือเทคโนโลยีที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แน่นอนว่านี่จะเป็นโอกาสของธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในอนาคต แต่อีกแง่หนึ่งธุรกิจที่มีแนวทางเดิมๆ ก็อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป หากไม่ปรับตัวและพัฒนาตัวเองตอนนี้ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังจะเจอทางตัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.