ได้ประดับบ้านแถมสร้างกลิ่นหอม ‘Bloom’ น้ำหอมปรับอากาศในต้นไม้ปลอมที่มีเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว

ถ้าคุณกำลังประสบปัญหาอยากให้บ้านหอมน่าอยู่ด้วยน้ำหอมปรับอากาศแบบเนียนๆ จนแขกที่มาเยี่ยมจับผิดไม่ได้ ขอนำเสนอ ‘Bloom’ น้ำหอมปรับอากาศสุดสดชื่นที่ซ่อนตัวอยู่ในกระถางต้นไม้ปลอมขนาดเล็ก ที่วางตรงไหนของบ้านก็แนบเนียนกลมกลืน Bloom เกิดจากการระดมทุนใหญ่ของ ‘P&G’ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลก ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักออกแบบ และนักประดิษฐ์ ที่ต้องการพลิกโฉมตลาดผลิตภัณฑ์น้ำหอมปรับอากาศให้รูปลักษณ์ภายนอกดูดีพอๆ กับกลิ่นที่อยู่ภายใน จนสุดท้ายก็ได้ออกมาในรูปลักษณ์ของกระถางต้นไม้ปลอมสุดน่ารักที่มีชนิดพืชอวบน้ำให้เลือกถึง 4 สายพันธุ์ และน้ำหอมปรับอากาศภายในอีก 3 กลิ่น ได้แก่ Fresh Dewdrop, Lavender Fields และ Crisp Greenery โดยกลิ่นเหล่านี้จะถูกปล่อยอัตโนมัติออกมาทันทีเมื่อเซนเซอร์ตรวจพบว่ามีการเคลื่อนไหวภายในบริเวณใกล้เคียง และแสดงแสงสว่างบริเวณฐานตามการตรวจจับการเคลื่อนไหวในเวลากลางคืน นอกจากนี้ Bloom ยังใช้งานได้นานถึง 30 วันผ่านการชาร์จไฟด้วยสาย USB หนึ่งครั้ง และหากแคปซูลน้ำหอมภายในหมดลง เราก็แค่ซื้อน้ำหอมแบบรีฟิลมาเติมเองได้ง่ายๆ ในราคาเพียง 5 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 168 บาท) ใครสนใจอยากมี Bloom ติดบ้านไว้สร้างบรรยากาศและกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อได้ในราคา 40 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,350 […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ

เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]

‘Deleted Scenes in SEA’ หนังสั้นจากบทละครที่ถูกเซนเซอร์ในเทศกาลหนังออนไลน์ FTP 2022

‘ห้องเรียนประวัติศาสตร์’, ‘INSURGENCY (ลุกฮือต่อสู้)’ , ‘Suksesi (ผู้สืบทอด)’ ทั้ง 3 คำนี้คือชื่อตอนจากบทละครของประเทศไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียที่ถูกตัดออกจากการแสดงจริงเพราะการเซนเซอร์จากรัฐและตัวศิลปินเอง  และนี่คือที่มาของภาพยนตร์ความยาว 47 นาที ในชื่อ ‘Deleted Scenes in SEA’ บทละครที่ถูกตัดออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฝีมือกำกับของธนพล อัควทัญญู และ อีรฟานูดิน กอซาลี (Irfanuddien Ghozali)  ภาพยนตร์นำบทละครทั้งสามเรื่องมาเล่าใหม่ ผ่านวิธีการอ่านบทละคร บันทึกการแสดง เทคนิคแสง-เสียง หรือแม้แต่การประชุมผ่านซูม และเสริมด้วยแง่มุมทางศิลปะการละคร การเปรียบเปรยในเนื้อหา แม้แต่เสียดสีสภาพสังคม ตลอด 47 นาที ภาพยนตร์จะพาเราไปทำความรู้จักกับบทละคร รวมถึงดูว่าส่วนที่ถูกแบนนั้นเนื้อหาเป็นแบบไหน แล้วทำไมถึงถูกกดดัน คณะผู้เขียนและนักแสดงในเวลานั้นถูกคุกคามจากทางภาครัฐอย่างไรบ้าง  กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ที่ชื่อ ‘The Segal Center Film Festival on Theatre and Performance’ (FTP) ซึ่งเป็นเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ที่รวมผลงานของศิลปิน นักการละครกว่า […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.