The Cursed Land คนต่างแดนที่ถูกสาปด้วยความแตกต่างในพื้นที่ ความเชื่อ วัฒนธรรม และสิ่งเร้นลับของชาวไทยมุสลิมในสายตาชาวไทยพุทธ

ตั้งแต่เริ่มต้น ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถือว่าเป็นโปรเจกต์ภาพยนตร์ไทยที่น่าสนใจ ตั้งแต่พลอตเรื่องของพ่อลูกชาวไทยพุทธที่ย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนชาวไทยมุสลิม และถูกคุกคามโดยบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เหนือกว่าความเข้าใจของศาสนา เรื่องราวแบบพหุวัฒนธรรมของชาวไทยแบบที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอมากนักบนจอภาพยนตร์ นอกจากนี้ แดนสาปยังเป็นผลงานจาก 2 บุคลากรในวงการภาพยนตร์อย่าง ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่รับบทบาทเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ และ ‘ก้อง ฤทธิ์ดี’ ที่ลองข้ามจากดินแดนนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาเป็นผู้เขียนบท และยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อทั้งคู่ต่างเป็นชาวไทยมุสลิม เคยมีผลงานสารคดีเกี่ยวกับชีวิตคนมุสลิมไทยอย่าง มูอัลลัฟ (2008), Baby Arabia (2010) และ กัดดาฟี (2013) ทำให้มีสายตาของชาวไทยเชื้อสายมุสลิมที่จับจ้องเห็นถึงประเด็นความเป็นมุสลิมบางอย่างในสังคมไทยที่จะได้รับการนำเสนอออกมาจากคนใน เพียงแต่คราวนี้มาในรูปแบบของหนังสยองขวัญ แรกเริ่มแม้จะมีดราม่าของการโปรโมตที่ก่อให้เกิดประเด็นอันทำให้หลายคนมองตัวหนังผิดไป แต่เมื่อได้ชมตัวหนังจริง มันเป็นสิ่งที่ต่างจากการโปรโมตในเชิงภาพผีอิสลามอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสื่อสารว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังจะได้รับชมนี้ไม่ใช่เรื่องราวของผีแต่เป็นความลี้ลับแบบอื่น ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่แปลกประหลาด แต่เป็นสายตาอคติของคนภายนอก ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถูกระบุเรื่องราวไว้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นในย่านหนองจอก ที่ซึ่งถูกเรียกขนานนามว่าเป็น ‘ดงแขก’ เพราะมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเสียยิ่งกว่าชาวไทยพุทธตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวมลายู ย่านนี้กลายเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณขอบเกือบจะหลุดออกนอกของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร อันเต็มไปด้วยชุมชนมัสยิดของชาวมุสลิมที่ใช้ชีวิตกันเสมือนยังเป็นชนบทต่างจังหวัดมากกว่าเมืองแบบภาพกรุงเทพฯ ในความคิดของหลายคน เมื่อสืบค้นข้อมูลพื้นที่ดังกล่าวลงไปจะค้นพบว่าเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันบอบช้ำในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเชลยศึกจากปัตตานีถูกกวาดต้อนมาใช้เป็นแรงงานในการขุดคลองแสนแสบบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี และคลองสามวา ที่นี่เองคือถิ่นฐานที่สองพ่อลูก […]

สำรวจเหตุผล ทำไมหลายประเทศถึงใช้ธุรกิจทางศาสนาพัฒนาเมืองได้

ศาสนาและความเชื่อเหนือธรรมชาติกำเนิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคหิน จากความเกรงกลัวในธรรมชาติ สู่การกำเนิดเทพเจ้า ไปจนถึงหนทางของการดับทุกข์ เราจึงไม่สามารถปฏิเสธถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของมนุษย์และศาสนาที่ฝังรากลึกในตัวเรา นั่นทำให้คุณค่าของศาสนาไม่อาจประเมินเป็นตัวเลขได้ เพราะผู้คนที่ศรัทธายอมจ่ายทุกสิ่งอย่างแม้กระทั่งชีวิตตนเองเพื่อเป้าประสงค์ที่ต้องการ แน่นอนว่าเรื่องเงินทองเป็นเพียงเรื่องขี้ปะติ๋ว หากเทียบกับการได้พบกับพระเจ้าหรือขึ้นสวรรค์ ความศักดิ์สิทธิ์จึงกลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่ามหาศาลแต่ต้นทุนน้อยนิด สร้างโมเดลธุรกิจอันเก่าแก่ที่มีมานานกว่าพันปี ตั้งแต่มนุษย์กำหนดให้ทองและเงินเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า เมืองต่างๆ ทั่วโลกก็เริ่มอ้างถึงความศักดิ์สิทธิ์และนำมาเป็นจุดขายของเมือง ทั้งการเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่านักแสวงบุญจากทั่วโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่สวยงาม การขายของฝากที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นพื้นที่สำหรับความหวังในการขอพร ทำให้ไม่แปลกที่เหล่าองค์กรทางศาสนาทั่วโลกจะมีฐานะร่ำรวยเป็นพิเศษ จวบจนปัจจุบัน ศาสนายังคงมีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะในระบอบทุนนิยม หลายเมืองมีการพัฒนาจัดการธุรกิจศาสนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการป้องกันการทุจริตที่จริงจัง คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงความเป็นมาของการเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ การสร้างแบรนดิ้งด้านความเชื่อในเมืองเล็ก และการบริหารจัดการกับธุรกิจแห่งความศรัทธาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตัวอย่างของเมืองแห่งศาสนาจากทั่วทุกมุมโลก นครศักดิ์สิทธิ์ จุดเริ่มต้นของธุรกิจศาสนา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางศาสนามักมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เหมาะแก่การตามรอยแสวงบุญหรือเข้าร่วมพิธีในศาสนานั้นๆ ผู้คนมากมายจึงต่างหลั่งไหลเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มศาสนาที่มีความนิยมและทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอย่างกลุ่มศาสนาตระกูลอับราฮัม (Abrahamic Religions) นั่นก็คือ ศาสนาคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ ที่ทั้งสามศาสนามีความเชื่อถึงต้นกำเนิดของศาสนาตนว่า มาจากชายนามอับราฮัมที่ได้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้าและออกเดินทางอพยพไปยังดินแดนคานาอัน (Canaan) ซึ่งต่อมากลายเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญานาม ‘อิสราเอล’ (Israel) และศูนย์กลางของอาณาจักรคือนครศักดิ์สิทธิ์ ‘เยรูซาเลม’ (Jerusalem) ภายใต้ดินแดนแห่งพันธสัญญา ได้เกิดเรื่องราวสำคัญทางศาสนามากมาย ส่งผลให้สถานที่ต่างๆ ในเมืองเยรูซาเลมกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสามศาสนา โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วโลกที่เดินทางมาเข้าร่วม […]

ต่างศาสนาก็อยู่ร่วมกันในที่เดียวได้ ‘Abrahamic Family House’ พื้นที่ที่รวมศาสนสถานของคริสต์ ยูดาห์ และอิสลามไว้ด้วยกัน

ใครจะคิดว่าในโลกนี้จะมีสถานที่ที่นำศาสนสถานของ 3 ศาสนาอย่างคริสต์ ยูดาห์ และอิสลาม มาอยู่รวมในพื้นที่เดียวกันที่มีขนาด 6,500 ตารางเมตรได้ ‘Abrahamic Family House’ คือชื่อเรียกของสถานที่แห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ในย่านศิลปวัฒนธรรมบนเกาะซาดิยาต เมืองอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และได้เปิดตัวให้สาวกทั้ง 3 ศาสนาได้เข้าใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากมีการลงนามในเอกสารว่าด้วยภราดรภาพของมนุษย์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และแกรนด์อิหม่าม อาเหม็ด อัล-ตอเยบ ให้สร้างขึ้นในปี 2019 การออกแบบครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างมากของสตูดิโอออกแบบ ‘Adjaye Associates’ เพราะต้องออกแบบให้ทั้ง 3 ศาสนสถานมีขนาดที่เท่ากัน เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าไม่มีอาคารใดในสามหลังที่โดดเด่นไปกว่ากัน และในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้ตัวอาคารเป็นพื้นที่ที่สาวกทั้ง 3 ศาสนาอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ขัดกับหลักคิดและแนวทางออกแบบศาสนสถานอื่นๆ Abrahamic Family House เป็นเสมือนศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้และการสนทนาระหว่างศาสนา ที่พร้อมเปิดรับคนทั่วไปที่ไม่ได้นับถือศาสนาใดให้เข้ามาเยี่ยมชม ทั้งยังเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาได้จริง โดยพื้นที่ภายใน Abrahamic Family House แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) Imam Al-Tayeb Mosque […]

ทริปเดินเรียนรู้ประวัติศาสตร์ 235 ปี ชุมชนมุสลิมจามบนแผ่นดินสยาม ที่ชุมชนบ้านครัว ราชเทวี 26 มิ.ย. 65

‘เปิดตำนานแขกจามนามบ้านครัว 235 ปี บนแผ่นดินสยาม’ คือกิจกรรม Walk Tour ที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักและสำรวจหลากหลายแง่มุมของ ‘บ้านครัว’ ชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ริมคลองแสนแสบ ที่อยู่คู่ประวัติศาสตร์ไทยมานานถึง 235 ปี หลายคนอาจไม่รู้ว่า ชุมชนบ้านครัวมีศิลปวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและน่าสนใจมากมาย เช่น ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมคุณภาพเยี่ยม เพราะที่นี่ทอผ้าด้วยมือมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และยังเคยเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมให้กับแบรนด์ระดับตำนานอย่าง ‘จิม ทอมป์สัน’ ด้วย  ส่วนด้านสถาปัตยกรรม ชุมชนแขกจามแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ ‘มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์’ มัสยิดแห่งแรกของฝั่งพระนคร และยังมีศาลาและบ้านไม้อายุกว่า 100 ปี ให้คนยุคใหม่ได้สัมผัสประวัติศาสตร์โลกเก่าแบบใกล้ชิด ในวันงานจะมีพิธีเปิด ‘ศูนย์ถักทอสายใยประสานใจบ้านครัว’ ซึ่งจะเป็นทั้งสำนักงานและพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่รวบรวมและจัดแสดงประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านครัวไว้ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมทัวร์นิทรรศการชุมชนบ้านครัว สำรวจการปรับปรุงชุมชนบ้านครัวและการปรับปรุงศาลา 100 ปี ปิดท้ายด้วยการเดินชมตลาดนัดอาหารพื้นบ้านชุมชนบ้านครัว ซึ่งจะทำให้ทุกคนได้สัมผัสและเข้าใจวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในพื้นที่ยิ่งขึ้น  กิจกรรม ‘เปิดตำนานแขกจามนามบ้านครัว 235 ปี บนแผ่นดินสยาม’ จะจัดขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายน 2565 เวลา 08.30 – 11.30 น. […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.