‘Ignacy Jan Paderewski Academy of Music’ พาไปดูรางวัลชนะเลิศการออกแบบสถาบันดนตรีที่โปแลนด์ ที่ผสมผสานโครงสร้างใหม่กับสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของเมือง

จำเป็นหรือไม่ที่สถาบันดนตรีจะต้องเป็นอาคารที่ภายในเต็มไปด้วยเครื่องดนตรีและห้องหับต่างๆ ที่จัดตามประเภทการสอนเท่านั้น ‘Ignacy Jan Paderewski Academy of Music’ คือสถาบันดนตรีในเมือง Poznań ประเทศโปแลนด์ ที่อยากให้สถาบันของตนไม่ใช่แค่ที่เรียนดนตรี แต่ต้องเป็นสถานที่ที่รวมไว้ทั้งวัฒนธรรมและการศึกษา  ทางสถาบันจึงร่วมมือกับ Association of Polish Architects จัดการแข่งขันด้านสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมและการศึกษาแห่งใหม่ รองรับทั้งนักเรียนและผู้อยู่อาศัยในเมือง Poznań โดยการลงทุนนี้รวมถึงพื้นที่ทางวิชาการ ตลอดจนศูนย์กลางดนตรีระดับภูมิภาคที่มีห้องโอเปร่า โรงละคร และพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ ‘WXCA’ สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมชื่อดังของโปแลนด์ก็เป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศไป จากการนำเสนอภาพสถาปัตยกรรมที่มีความทันสมัย ในขณะที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของเมืองเอาไว้ โดยสะท้อนบริบทเมืองในศตวรรษที่ 19 ได้เป็นอย่างดี WXCA ตั้งใจออกแบบให้อาคารมีรูปร่างเป็นกลางระหว่างอดีตและปัจจุบันของ Poznań โดยแบ่งอาคารออกเป็นบล็อกขนาดเล็กตามฟังก์ชันการใช้งานและความสูงที่ต่างกัน ซึ่งช่องว่างระหว่างบล็อกจะเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ เป็นการเชื้อเชิญให้ผู้คนเดินเข้ามาภายในด้วย  ส่วนตัวอาคารด้านในมีการแบ่งโซนกันอย่างชัดเจน สำหรับทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะ โซนสำหรับการศึกษา และโซนอื่นๆ เพื่อความสะดวกสบายในการทำงานของสถาบัน รวมถึงตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทำให้มั่นใจได้ว่าแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในอาคารแห่งนี้จะแยกจากกันอย่างเป็นอิสระ ไม่รบกวนกันและกัน Source :WXCA | tinyurl.com/4z6mh228 

‘Shenzhen Women & Children’s Center’ ศูนย์บริการสตรีและเด็กในเมืองเซินเจิ้นที่ปรับปรุงจากอาคารเก่า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้โลก

อาคารบางแห่งในเมืองใหญ่ก่อสร้างขึ้นในสมัยก่อนตามมาตรฐานอาคารของยุคนั้นๆ ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป ตัวโครงสร้างอาคารอาจไม่ตอบโจทย์มาตรฐานอาคารในยุคนี้ ทำให้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นอาคารแห่งใหม่แทน เช่นเดียวกับอาคาร Mixed-use เก่าที่มีอายุกว่า 29 ปี ในย่าน Futian ประเทศจีน ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่เมืองเซินเจิ้นเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อาคารนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานสมัยก่อน ทำให้เกิดข้อกังวลด้านความปลอดภัยจนทำให้ร้านค้าภายในอาคารค่อยๆ ปิดตัวลง และถูกทิ้งให้กลายเป็นอาคารที่ว่างเปล่าเป็นเวลานาน เนื่องจากประเทศจีนมีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุด (Carbon Peak) ภายในปี 2573 และความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2603 อาคารแห่งนี้จึงเป็นหนึ่งใน 24 ตัวอย่างของการฟื้นฟูโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ และเพื่อเป็นการแก้ไขตัวอาคารที่ไม่ตอบโจทย์เมือง ‘MVRDV’ บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและชุมชนเมือง จึงวางแผนออกแบบให้อาคารนี้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งโดยไม่ต้องรื้อถอนหรือสร้างใหม่ ปัจจุบันอาคารนี้อยู่ในฐานะของ ‘Shenzhen Women & Children’s Center’ โรงแรมและสถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้หญิงและเด็ก ซึ่งภายในประกอบไปด้วยห้องสมุด หอประชุม โรงละครเด็ก Discovery Hall รวมไปถึงห้องบำบัดและสำนักงานสำหรับพนักงาน MVRDV ทำการเปลี่ยนแปลงส่วนด้านหน้าของอาคารด้วยตารางหลากสีที่สามารถลดความร้อนที่เพิ่มขึ้น และติดตั้งแผงที่เปิดได้จากด้านในซึ่งจะช่วยให้มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ เพิ่มความสะดวกสบาย และลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนสีโทนเหลือง ส้ม […]

นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสีชนิดใหม่ ช่วยสะท้อนแสงอินฟราเรด ทำให้บ้านเย็นและอุ่นได้ตลอดปี

ปัจจุบันหลายคนเริ่มหันมาใช้สีทาบ้านที่มีคุณสมบัติช่วยทำให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นขึ้น แต่สีที่ปล่อยรังสีในระดับต่ำมักเป็นสีขาว สีเงินเมทัลลิก หรือสีเทา ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่หลากหลายเท่าไรนัก นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดจึงคิดค้นสีชนิดใหม่ที่มีเฉดสีหลากหลายมากกว่าเดิม เช่น สีส้ม สีเหลือง สีน้ำเงิน ที่จะช่วยทำให้บ้านและอาคารมีสีสันสวยงามไปพร้อมๆ กับให้ความอบอุ่นในฤดูหนาวและความเย็นในฤดูร้อน รวมถึงยังมีคุณสมบัติที่ทนทานต่ออุณหภูมิ ความชื้น และรังสีอัลตราไวโอเลตระดับสูงได้มากกว่าสีชนิดอื่นๆ หลังจากทำการทดสอบพบว่า สีชนิดนี้ช่วยลดพลังงานในการทำความร้อนในช่วงอากาศเย็นได้ประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ และลดพลังงานที่จำเป็นสำหรับการทำความเย็นในช่วงอากาศอบอุ่นเกือบ 21 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งนักวิจัยมองว่าสีเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจากการช่วยลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอาคาร คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั่วโลก และ 11 เปอร์เซ็นต์จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยองค์ประกอบของสีมีสองชั้น ชั้นล่างทำจากเกล็ดอะลูมิเนียมที่ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนแสงอินฟราเรดกลับได้มากกว่าเดิม ส่วนชั้นบนทำจากอนุภาคนาโนอนินทรีย์ที่มีสีหลากหลาย ทำหน้าที่ให้ความสวยงามและช่วยปกป้องสีชั้นล่างจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำให้เกิดสนิมอีกด้วย นอกจากจะช่วยป้องกันบ้านและอาคารแล้ว สีเฉดใหม่ยังสามารถนำไปใช้กับพื้นผิวอื่นๆ ได้ เช่น รถบรรทุกหรือตู้รถไฟที่มีห้องเย็นสำหรับขนส่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการใช้งานในอนาคต ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ยังคงปรับปรุงสูตรสีสำหรับการใช้งานจริงๆ โดยกำลังมองหาทางเลือกที่จะทำให้เฉดสีสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นด้วย Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/4h3b98crNature World News | tinyurl.com/nhk32evpStanford | tinyurl.com/26mb797z

เจ้าของพื้นที่รู้ ผู้อยู่สบายใจ ตึกสูงแบบไหนถูกกฎหมายควบคุมอาคาร

‘กฎหมายควบคุมอาคาร’ อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน ชนิดที่ว่าถ้าไม่ได้กำลังจะซื้อที่ดินสำหรับปลูกสิ่งก่อสร้างหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ไหนสักแห่ง เราคงไม่มีทางหยิบตัวบทกฎหมายนี้ขึ้นมาศึกษาอย่างจริงๆ จังๆ แต่จากหลากหลายเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา เราเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังสนใจตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างกันมากขึ้น เพราะเริ่มร้อนๆ หนาวๆ ว่าตึกสูงที่เรากำลังใช้ชีวิตกันอยู่ มีส่วนไหนที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เขียนไว้ในข้อกฎหมายบ้างหรือไม่ วันนี้ Urban Creature ขออาสาขมวดย่อกฎหมายควบคุมอาคารในหมวด 1 ที่ว่าด้วยลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคารและแนวอาคารออกมาให้ทุกคนทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น เผื่อเป็นเช็กลิสต์คร่าวๆ สำหรับคนที่กำลังจะเช่าหรือซื้อคอนโดฯ ในตึกสูงช่วงนี้ เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ‘พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร’ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันจนติดปากว่า ‘กฎหมายอาคาร’ คืออะไร พ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่เราใช้กันทุกวันนี้เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยของอาคาร เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ถ้าพูดถึงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในตัวกฎหมายจะใช้วิธีการแบ่งจากขนาดพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นได้ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร และกรณีพื้นที่อาคารเกิน 30,000 ตารางเมตร ดูอาคารยังไง ออกแบบแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ใน 2 กรณีที่ว่านี้มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่ที่ขนาดของถนนสาธารณะที่ติดกับตัวพื้นที่ โดยกรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเช่นกัน […]

O_building เปลี่ยนเส้นทางระหว่างอาคารที่มืดทึบให้น่าเดิน ด้วยกระจกครึ่งบาน รับแสงแดดและเพิ่มพื้นที่

เมื่อพูดถึงอาคารที่อยู่อาศัย เรามักนึกถึงตึกสูงที่ตั้งชิดกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ว่างให้เดิน เช่นเดียวกันกับเมือง Musashino ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารพาณิชย์ตั้งเรียงรายจนทำให้เกิดทางเดินที่คับแคบและมืดทึบ สตูดิโอ Yohei Kawashima Architects จึงออกแบบ ‘O_building’ อาคารที่ล้อมรอบไปด้วยกระจกครึ่งบานและทางเดินที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมุมมองที่สวยงามของเมืองโตเกียว O_building เป็นอาคารสามชั้นที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ ‘Yohei Kawashima’ มีลักษณะเป็นอาคารที่อยู่อาศัยรูปทรงเสาธง (Flagpole-shaped Residence) ที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติทั้งทิศเหนือและทิศใต้ของโครงสร้างอาคาร Yohei Kawashima Architects พยายามออกแบบให้พื้นที่ทางเดินด้านข้างมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการวางแผ่นกระจกครึ่งบานไว้ตามทาง เพื่อทำหน้าที่รับแสงและเงาของแดดที่ส่องผ่านเข้ามาตามช่องว่าง ทั้งยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่ามีพื้นที่มากขึ้นจากการสะท้อนภาพอาคารและด้านหลังของอาคารอีกฝั่งหนึ่งที่อยู่ติดกันด้วย นอกจากนี้ ทางทีมสถาปนิกยังเสริมความน่ามองของทางเดินด้วยต้นไม้เขียวขจี เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมาใช้เวลาพักผ่อนตรงบริเวณนี้ หรือผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้สัมผัสกับธรรมชาติ และพวกเขายังเชื่อว่าทางเดินเล็กๆ ข้างอาคารแห่งนี้จะช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การเดินท่ามกลางแสงแดดให้สดชื่นขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคุณภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารได้อย่างแน่นอน Source :Designboom | bit.ly/40A77Cm

Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม

การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา  ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]

ชวนดูการออกแบบ Wayfinding ของ Totetsu Training Institute ที่ทั้งเก๋ไก๋ สื่อถึงรางรถไฟ และตอบโจทย์การนำทาง

Motive Inc. สตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นได้ออกแบบระบบการบอกเส้นทาง (Wayfinding) สำหรับสถาบันฝึกอบรมของบริษัทซ่อมบำรุงทางรถไฟ Totetsu Kogyo โดยใช้เครื่องหมายที่เก๋ไก๋แต่เรียบง่าย เพื่อนำทางผู้มาเยี่ยมชมอาคาร สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง Tsukubamirai จังหวัด Ibaraki ก่อตั้งขึ้นตามความต้องการของอดีตกระทรวงการรถไฟที่ทำหน้าที่บำรุงรักษาและพัฒนาระบบรางของญี่ปุ่น Wayfinding ของที่นี่มีลักษณะเป็นเส้นทางที่ชวนให้นึกถึงรางรถไฟที่ฝังอยู่ในพื้น มุ่งนำไปสู่ห้องต่างๆ โดยอ้างอิงการออกแบบจากเอกลักษณ์ของ Totetsu Kogyo ในฐานะบริษัทให้บริการระบบรางของญี่ปุ่น และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้ารับการอบรมที่ต้องมาใช้อาคารอยู่บ่อยครั้ง ทางสตูดิโอออกแบบเล่าว่า พวกเขาต้องการให้การออกแบบทำงานโดยเป็นไปตามสัญชาตญาณของผู้ใช้งาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นการตอบสนอง และพึ่งพาข้อความน้อยที่สุด นอกเหนือจากการใช้เส้นสีบริเวณชั้นล่างไกด์ผู้คนอย่างมีประสิทธิภาพ Takuya Wakizaki ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Motive Inc. ยังต้องการให้การออกแบบสร้างอิมแพกต์เมื่อมองจากด้านบนด้วย เนื่องจากอาคารมีเพดานที่เปิดโล่ง เส้นสีรางรถไฟที่ยึดโยงกันอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งพื้นที่สองส่วนในอาคาร กระเบื้องเคลือบใกล้กับทางเข้าฝังด้วยเหล็กเส้นที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนบนทางเดินก็มีการใช้พื้นไวนิลสองสีเพื่อสร้างแพตเทิร์น เหล่านี้คือการออกแบบ Wayfinding ที่สื่อสารถึงความเป็นบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับรางรถไฟได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจคือ บนพื้นที่ตีเส้นราวกับรางรถไฟนั้นมีการใช้สีแดงสนิมเพื่อให้นึกถึงรางรถไฟจริงๆ และมีข้อความสีขาวเป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษ ระบุถึงปลายทางที่เส้นทางนำไป นอกจากนี้ยังมีการใช้เศษโลหะจากอุตสาหกรรมมาทำแผ่นป้ายหลักของอาคาร และระบบรหัสสีในคีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูห้องต่างๆ บนชั้นสอง ก็มีการออกแบบเป็นคล้ายๆ ปริศนา อ้างอิงจากแผนที่เส้นทางรถไฟที่บริษัท Totetsu Kogyo ให้บริการ ถ้าใครได้ไปอบรมงานที่นี่ คงได้แรงบันดาลใจและสนุกกับการดูแลพัฒนารางรถไฟขึ้นแน่ๆ  […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

หวนรำลึกถึงอาคารสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ ที่กำลังหายไปใน ‘Something Was Here.’ โดย Foto_momo 15 – 27 มี.ค. 65 ที่ BACC

หากต้องการสำรวจว่าบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร นอกจากดูที่ความคิดความสนใจของคนในสังคมช่วงเวลานั้นแล้ว อาคารสถานที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายก็เป็นเครื่องมือบอกเล่าที่สำคัญว่าเรารับเอากระแสนิยมหรือมีอิทธิพลใดที่ส่งผลถึงประเทศบ้าง และเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรหาวิธีอนุรักษ์มรดกของกาลเวลาเหล่านี้เอาไว้ หลังจากตระเวนถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ มาหลายปี เบียร์-วีระพล สิงห์น้อย เจ้าของโปรเจกต์ Foto_momo ได้ร่วมมือกับ Docomomo Thai กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับคุณค่าของอาคารไทยสมัยใหม่ จัดนิทรรศการภาพถ่ายเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ‘Something Was Here.’ กับคอนเซปต์ The Fading Memories of Bangkok Modern Architecture. (ความทรงจำอันเลือนรางของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ) นิทรรศการนี้จะจัดแสดงภาพถ่ายอาคารประมาณ 20 หลังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงโรงละครสกาลาที่ถูกรื้อถอนเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม จุดประสงค์ของนิทรรศการ Something Was Here. คือการหวนรำลึกถึงความรุ่งโรจน์ของฝีมือการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในยุคสมัยหนึ่งที่เคยเป็นหน้าเป็นตาของความ “สมัยใหม่” ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานบันเทิง สถานศึกษา ที่พักอาศัย และออฟฟิศทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าสังคมไทยนั้นพร้อมปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่จากตะวันตกแล้ว  คำถามคือ เมื่อเวลาผ่านไป สงครามเย็นสิ้นสุดลงและเทคโนโลยีการก่อสร้างก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ความสมัยใหม่เหล่านี้ได้ไร้คุณค่าไปด้วยหรือไม่ ในฐานะคนที่ติดตามถ่ายภาพอาคารเก่ามาตลอด วีระพลอยากชวนทุกคนมาหาวิธีจัดการกับมรดกสถาปัตยกรรมเหล่านี้ภายใต้สมการของการอนุรักษ์และการพัฒนา มิฉะนั้นแล้ว เราอาจไม่มีอาคารเหล่านี้ให้จดจำ นิทรรศการจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC ผนังโค้งชั้น […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.