บันทึกจากคนเชียงใหม่ในวันที่กลายเป็นผู้ประสบภัย ใช้ชีวิตตายผ่อนส่ง จากฝุ่นควัน PM 2.5

สิบกว่าปีที่แล้วเวลานึกถึงเชียงใหม่ หลายคนมักนึกถึงอากาศเย็นๆ ในช่วงฤดูหนาว คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อชมภาพทะเลหมอกกับทิวดอยต่างๆ และบ้างที่มาเพื่อลองจิบกาแฟถึงแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพอันดับต้นของประเทศ นี่คือส่วนหนึ่งจากหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้คนมาเที่ยวที่เชียงใหม่ และทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันเมื่อหมดช่วงฤดูหนาวที่เป็นหน้าไฮซีซันของจังหวัดไป เชียงใหม่ก็กำลังมี ‘ชื่อเสีย’ จากปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จนติดอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายครั้ง และทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยถอยลงเพราะหนีจากฝุ่นไปจำนวนมาก ฝุ่นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ ต่อเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้คนเชียงใหม่ที่จำต้องสูดอากาศหายใจที่มีกลิ่นควันผสมกับกลิ่นเลือด จากการอักเสบของทางเดินหายใจของตนเองจากฝุ่น และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 ในฐานะ ‘ผู้ประสบภัย’ เมื่อทาง Urban Creature ติดต่อมาขอให้เขียนเรื่องปัญหาฝุ่นควันในคอลัมน์ One Day With… เราจึงตอบตกลงทันที ในฐานะของคนเชียงใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยโดยตรง เราขอเป็นตัวแทนคนเชียงใหม่ในการนำเสนอให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นประสบการณ์ของคนเชียงใหม่ที่ต้องทนอยู่กับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี คนเชียงใหม่ต้องเจออะไร ทนกับสิ่งไหน และมีความหวังกับอะไรบ้างที่จะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันนี้ให้หมดไป 01 แม้ ‘อากาศ’ จะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในปัจจัยสี่อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่เรามองว่าอากาศคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้โดยทั่วกันว่าคือ พื้นฐานสำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ แต่ปัจจุบันสำหรับคนเชียงใหม่รวมถึงคนในจังหวัดทางภาคเหนือ การหายใจเข้าลึกๆ ที่ควรจะเป็นเรื่องดีกลับกลายเป็นความเสี่ยง เป็นความหวาดกลัวไปแล้วว่า พวกเขากำลังจะสูดเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำร้ายสุขภาพของพวกเขาเอง จนบางคนเรียกการทนอยู่กับฝุ่นนี้ว่าเป็นการตายผ่อนส่ง สำหรับคนเชียงใหม่ […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]

FYI

เปลี่ยนห้องเป็นป่าด้วย ‘SCG Bi-ion’ ระบบไอออนที่ช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคาร

หนึ่งในปัญหากวนใจของคนเมืองหนีไม่พ้นเรื่องมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 หรือหมอกควันจากการเผาป่าที่พัดมาเยือนทุกปี จนพาลให้มนุษย์กรุงเทพฯ (รวมถึงปริมณฑล) รู้สึกว่าอากาศที่เราสูดเข้าปอดนั้นไม่สะอาดเอาเสียเลย แถมยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ครั้นจะมองหาอากาศดีๆ ก็ต้องหนีออกไปให้ไกลจากตัวเมือง เดินเข้าป่า ลุยภูเขา ออกไปทะเล ตามหาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ทำให้สูดลมหายใจได้อย่างสดชื่น แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตามธรรมชาติเหล่านี้ถึงทำให้เรารู้สึกเฟรช หายใจได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล “ยิ่งปริมาณไอออนในอากาศสูง คุณภาพอากาศบริเวณนั้นยิ่งดี” – ไอออนคืออะไร แล้วบริเวณที่ว่านี้มักจะอยู่ตรงไหนกันนะ? ไอออน (Ion) คืออนุภาคอิสระที่มีทั้งประจุบวกและลบ ซึ่งตามปกติแล้ว ธรรมชาติจะสร้างไอออนขึ้นมาหมุนเวียนอยู่ในอากาศรอบตัวเราอย่างสมดุล โดยเฉพาะจากปรากฏการณ์ที่เกิดความเคลื่อนไหวในธรรมชาติอย่างฟ้าผ่าตอนฝนตก คลื่นที่เข้ามากระทบกับชายหาด น้ำไหลตามลำธาร หรือน้ำตกที่ลงมากระทบกับหินเบื้องล่าง ล้วนแต่ทำให้เกิดประจุไอออนในอากาศ ทว่าพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็นบ่อเกิดของเหล่าประจุไอออนเลยคือ ‘ป่าไม้’ เพราะขณะที่ต้นไม้ผลิตออกซิเจน ก็มีสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาด้วย นั่นก็คือไอออนทั้งประจุลบและบวก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการดังกล่าว ‘อาบป่า’ ให้ร่มไม้โอบกอดเพื่อบำบัดร่างกายที่เหนื่อยล้า ยิ่งในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นแหล่งที่มีประจุไอออนมากกว่าใครเพื่อน ทำให้เวลาที่เรามีโอกาสได้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในป่า จึงรู้สึกว่าสูดลมหายใจได้เต็มปอดกว่าที่อื่น จนกระทั่งพักหลังมานี้เกิดเทรนด์ ‘อาบป่า’ (Forest Bathing) หรือการบำบัดร่างกายด้วยธรรมชาติ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก ‘Shinrin yoku’ ที่แปลตรงตัวว่าการอาบป่าในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าการเข้าไปให้ป่าไม้โอบกอดสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและลดความเครียดได้จริง […]

‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว

ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.