เจาะเวลาหาอดีตที่ถูกลบเลือน อนาคตที่ไร้หนทาง และความหวังที่จะก้าวต่อไป ในหนังไซไฟไทย ‘Taklee Genesis ตาคลี เจเนซิส’

การเดินทางข้ามเวลา ไคจู ไดโนเสาร์ โลกอนาคต ความไซไฟทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาดูเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏบนประวัติศาสตร์หนังไทย และน้อยครั้งมากที่จะประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรายได้ หลายครั้งที่คนทำหนังไทยริอ่านท้าทายขนบ ทะเยอทะยานจินตนาการถึงสิ่งเหล่านี้ แต่สุดท้ายล้วนแล้วแต่ออกมาเป็นภาพที่เกินฝันชาวไทยเสมอ และต้องเจอข้อครหามากมายรอบด้านจนต้องละทิ้งความฝันนี้ไปในที่สุด ทั้งที่หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไซไฟเชื้อสายไทยนั้นก็ไม่ได้มีให้พบเห็นบ่อยมากอยู่แล้ว นับตั้งแต่ ‘มันมากับความมืด’ (2514), ‘ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ’ (2532), ‘กาเหว่าที่บางเพลง’ (2537), ‘สลิธ โปรเจกต์ล่า’ (2566) มาจนถึง ‘Uranus 2324’ (2567) แต่ดูเหมือนความฝันในการพยายามเนรมิตไซไฟแบบไทยๆ จะยังไม่หมดลงแต่อย่างใด ผู้กำกับ ‘มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล’ ที่แม้จะเพิ่งผ่านผลงานที่มีความเป็นไซไฟผสมอยู่อย่าง ‘มอนโด รัก | โพสต์ | ลบ | ลืม’ (2566) มาไม่นาน ก็ขอสานต่อความกล้าที่จะท้าทายผู้ชมชาวไทยด้วยผลงานไซไฟเต็มรูปแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ‘Taklee Genesis’ ซึ่งถือว่าเป็นวาระสำคัญของประวัติศาสตร์หนังไทย ที่จะมีทั้งผู้กำกับไทย และค่ายหนังอย่าง ‘เนรมิตรหนัง ฟิล์ม’ ร่วมด้วยสตูดิโอระดับโลกอย่าง ‘Warner Bros.’ ที่กล้าบ้าบิ่นกันขนาดนี้ […]

ปอกเปลือกความเหลื่อมล้ำดั่งหนามทิ่มแทง และความยุติธรรมที่ไม่มีวันออกผลใน วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)

‘วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)’ ผลงานล่าสุดจากค่าย GDH ร่วมกับ ‘ใจ สตูดิโอ’ ผ่านการกำกับของ ‘บอส-นฤเบศ กูโน’ (ซีรีส์แปลรักฉันด้วยใจเธอ) ด้วยเรื่องราวที่แปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่ค่ายหนังอารมณ์ดีของไทยเคยทำมา พร้อมการแสดงของศิลปินที่พลิกบทบาทมาสู่การเป็นนักแสดงอย่าง ‘เจฟ ซาเตอร์’ และ ‘อิงฟ้า’ นักร้องและนางงามที่สลัดบทบาทมารับบทใหม่ในแบบที่ผู้ชมไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งหมดนี้คงทำให้หลายคนรู้สึกอยากดูวิมานหนามขึ้นมาทันที แต่อีกความน่าสนใจสุดๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ความต้องการนำเสนอประเด็นสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ ด้วยการมองเห็นถึงปัญหาของช่องโหว่ทางกฎหมายมากมายที่ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ผู้คนชายขอบที่ไม่ได้เป็นที่สนใจในสังคม ประเด็นหนึ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ สิทธิตามกฎหมายของคู่รัก LGBTQ+ ที่ทำให้หลายคนพลาดโอกาสในการมีชีวิตอย่างที่ควรจะเป็นไปอย่างน่าเสียดาย สิ่งเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านเรื่องราวของ ‘ทองคำ’ (เจฟ ซาเตอร์) และ ‘เสกสรร’ (เต้ย พงศกร) คู่รักที่ร่วมกันสร้างสวนทุเรียนขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองกว่า 5 ปี โดยทองคำเป็นคนหยิบยื่นเงินในการไถ่ถอนที่ดินติดจำนองและมอบที่ดินผืนนี้ให้เสกไว้เป็นดั่งทะเบียนสมรสของทั้งสอง แต่ยังไม่ทันได้มีความสุขนานพอที่จะเห็นผลผลิตผลิดอกออกผล เสกก็ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตไปในที่สุด ทำให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดกลับไปตกอยู่กับ ‘แม่แสง’ (สีดา พัวพิมล) ผู้เป็นมารดาของเสก และได้พา ‘โหม๋’ (อิงฟ้า วราหะ) ลูกสาวที่เก็บมาเลี้ยง รวมทั้ง […]

The Cursed Land คนต่างแดนที่ถูกสาปด้วยความแตกต่างในพื้นที่ ความเชื่อ วัฒนธรรม และสิ่งเร้นลับของชาวไทยมุสลิมในสายตาชาวไทยพุทธ

ตั้งแต่เริ่มต้น ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถือว่าเป็นโปรเจกต์ภาพยนตร์ไทยที่น่าสนใจ ตั้งแต่พลอตเรื่องของพ่อลูกชาวไทยพุทธที่ย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนชาวไทยมุสลิม และถูกคุกคามโดยบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เหนือกว่าความเข้าใจของศาสนา เรื่องราวแบบพหุวัฒนธรรมของชาวไทยแบบที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอมากนักบนจอภาพยนตร์ นอกจากนี้ แดนสาปยังเป็นผลงานจาก 2 บุคลากรในวงการภาพยนตร์อย่าง ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่รับบทบาทเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ และ ‘ก้อง ฤทธิ์ดี’ ที่ลองข้ามจากดินแดนนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาเป็นผู้เขียนบท และยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อทั้งคู่ต่างเป็นชาวไทยมุสลิม เคยมีผลงานสารคดีเกี่ยวกับชีวิตคนมุสลิมไทยอย่าง มูอัลลัฟ (2008), Baby Arabia (2010) และ กัดดาฟี (2013) ทำให้มีสายตาของชาวไทยเชื้อสายมุสลิมที่จับจ้องเห็นถึงประเด็นความเป็นมุสลิมบางอย่างในสังคมไทยที่จะได้รับการนำเสนอออกมาจากคนใน เพียงแต่คราวนี้มาในรูปแบบของหนังสยองขวัญ แรกเริ่มแม้จะมีดราม่าของการโปรโมตที่ก่อให้เกิดประเด็นอันทำให้หลายคนมองตัวหนังผิดไป แต่เมื่อได้ชมตัวหนังจริง มันเป็นสิ่งที่ต่างจากการโปรโมตในเชิงภาพผีอิสลามอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสื่อสารว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังจะได้รับชมนี้ไม่ใช่เรื่องราวของผีแต่เป็นความลี้ลับแบบอื่น ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่แปลกประหลาด แต่เป็นสายตาอคติของคนภายนอก ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถูกระบุเรื่องราวไว้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นในย่านหนองจอก ที่ซึ่งถูกเรียกขนานนามว่าเป็น ‘ดงแขก’ เพราะมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเสียยิ่งกว่าชาวไทยพุทธตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวมลายู ย่านนี้กลายเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณขอบเกือบจะหลุดออกนอกของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร อันเต็มไปด้วยชุมชนมัสยิดของชาวมุสลิมที่ใช้ชีวิตกันเสมือนยังเป็นชนบทต่างจังหวัดมากกว่าเมืองแบบภาพกรุงเทพฯ ในความคิดของหลายคน เมื่อสืบค้นข้อมูลพื้นที่ดังกล่าวลงไปจะค้นพบว่าเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันบอบช้ำในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเชลยศึกจากปัตตานีถูกกวาดต้อนมาใช้เป็นแรงงานในการขุดคลองแสนแสบบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี และคลองสามวา ที่นี่เองคือถิ่นฐานที่สองพ่อลูก […]

‘สรรพสิ่งล้วนถูกกัดเซาะไปตามคลื่นลม’ สำรวจกรอบและเขตแดนที่กางกั้นใน Solids by the Seashore

ปกติแล้วหนังที่มีประเด็นใหญ่ๆ ชัดๆ มักจะนำเสนอเรื่องราวโดยให้ตัวละครชี้ไปยังปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเห็นสถานการณ์เหล่านั้นอย่างชัดเจน ก่อนจะพยายามนำพาให้ตัวละครชักจูงผู้ชมไปหาหนทางต่อสู้แก้ปมปัญหานั้นๆ ทว่าสำหรับภาพยนตร์ ‘Solids by the Seashore’ หรือ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ ผลงานกำกับของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ที่ก็ดูเป็นหนังไทยที่เต็มไปด้วยหัวข้อประเด็นใหญ่ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำแพงกันคลื่นของรัฐ ความแตกต่างทางศาสนาไทยพุทธและมุสลิม และความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสอง ซึ่งแตะทั้งมิติการเมือง ศาสนา เพศสภาพ ที่เป็นเรื่องอ่อนไหว เล่าด้วยน้ำเสียงที่เป็นกลางค่อนข้างยาก และยากที่จะจับประเด็นทั้งหมดมาเล่าพร้อมกันให้ออกมากลมกล่อม กลับไม่ได้พยายามตะโกนป้อนข้อมูลเหล่านี้ให้แก่ผู้ชมเลยสักนิด ทั้งที่ประเด็นต่างๆ ทับซ้อนเกาะเกี่ยวกันมากมาย แต่การเล่าเรื่องก็เป็นไปดั่งชื่อ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ หนังเพียงแค่ทำหน้าที่พาผู้ชมไปจับจ้องคลื่นลมทะเล หาดทราย ภูมิลำเนาของจังหวัดสงขลาผ่านตัวละครทั้งสอง จนไม่แปลกใจที่หลายคนจะรู้สึกว่าเป็นหนังส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด เนื่องจากฉายภาพวิวทิวทัศน์ความสวยงามของหาดทราย สถานที่ต่างๆ ในจังหวัด มากกว่าการถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่นั่นแหละ การค่อยๆ จับจ้องความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งจากธรรมชาติที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปอยู่แล้ว สิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยจุดประสงค์บางอย่าง รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อแบบเก่า และความคิดแบบใหม่ที่ค่อยๆ ผ่านเข้ามา ก็เป็นวิธีการบอกเล่าที่เรียบง่ายและทำให้คนเห็นปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจนเช่นกัน สิ่งปลูกสร้างของภาครัฐที่ยับยั้งความเป็นไปของธรรมชาติ […]

สำรวจคลื่นทะเลในใจและปัญหาชายหาดสงขลาใน ‘Solids by the Seashore’ หนังแซฟฟิกไทยที่ไปคว้ารางวัลที่เกาหลีใต้

ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน (Busan International Film Festival : BIFF) ครั้งที่ 28 ที่ผ่านมา มีสองหนังไทยที่ได้เข้าฉายในเทศกาลและได้รับรางวัลติดไม้ติดมือกลับมาด้วย หนึ่งในนั้นคือ ‘Solids by the Seashore ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ โดยผู้กำกับ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ น่าเสียดายที่แม้ว่าจะไปคว้าถึงสองรางวัลจากเทศกาลหนังระดับนานาชาติ แต่ Solids by the Seashore กลับมีที่ทางในการฉายแสนจำกัดแค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น เพราะนอกจากรางวัลที่การันตีคุณภาพแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งไม่ค่อยมีหนังไทยเลือกหยิบมาบอกเล่านัก ตั้งแต่การพาไปสำรวจความซับซ้อนในใจของมุสลิมที่มีหัวก้าวหน้าและเป็นเควียร์ การเมืองท้องถิ่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมชายหาดกัดเซาะ ไปจนถึงการใช้งานศิลปะสะท้อนความในใจของสองตัวละครหลัก ซึ่งคนหนึ่งเป็นหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม และอีกคนคือศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ พ้นไปจากความรักความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสองที่พยายามหาที่ทางให้ตัวเองภายใต้กรอบที่ขีดกั้น การที่ฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและความอัปลักษณ์ของเขื่อนหินกันคลื่นกับเม็ดทรายแปลกปลอม ก็สื่อสารถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมืองได้อย่างแยบคาย คงดีไม่น้อยถ้าคนในจังหวัดอื่นๆ จะได้ชมหนังเรื่องนี้ด้วย Solids by the Seashore ฉายแล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub.

รอชม ‘ดอยบอย’ ที่ได้ไปฉายในเกาหลีใต้ หนังไทยว่าด้วยชนกลุ่มน้อยที่ลี้ภัยมาในไทย สตรีมทั่วโลก 24 พ.ย. 66 ทาง Netflix

หาก ‘ดินไร้แดน (Soil without Land)’ คือภาพยนตร์สารคดีที่ว่าด้วยชาวไทใหญ่ผู้อยากมีชีวิตที่ดีแต่ต้องไปเข้ากองทัพในรัฐฉานเพื่อปลดแอกจากรัฐพม่า ‘ดอยบอย (Doi Boy)’ ก็คือเรื่องปรุงแต่งที่ยังคงมีกลิ่นอายความรู้สึกของชาวไทใหญ่ในดินไร้แดนนั้นอยู่ หากแต่คราวนี้ได้เสริมเติมแต่งเรื่องราวหรือความรู้สึกของชีวิตที่มากกว่าใครคนใดคนหนึ่งในประเทศแห่งนี้เพียงคนเดียว ‘นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ยังคงนำเรื่องราวของความเป็นชนกลุ่มน้อยที่คราวนี้ยิ่งทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ชาวไทใหญ่เท่านั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่คือเราทุกคนที่อยู่ในชนชั้นใดของสังคมก็ตามด้วยเช่นกัน เพราะหากโครงสร้างทางการเมืองยังไม่ถูกแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เราในฐานะประชาชนของประเทศมีอำนาจมากพอที่จะเป็นเจ้าของอำนาจ หรืออย่างน้อยที่สุดในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่พึงมีสิทธิเสรีภาพ ผู้มีอำนาจในโครงสร้างนั้นก็จะยังคงกดขี่หรือคอยกัดกินหาผลประโยชน์จากเราไล่ลงมาเรื่อยๆ และพยายามทำให้โครงสร้างนี้ยังคงอยู่ต่อไป อย่างในเรื่องดอยบอย หากพื้นที่และโครงสร้างของรัฐพม่าโอบอุ้มชีวิตทุกชีวิตมากพอ ‘ศร’ เด็กหนุ่มไทใหญ่ที่ลี้ภัยเข้ามาทำงานค้าประเวณีในบาร์เกย์ที่เชียงใหม่ อาจไม่ต้องเข้าไปร่วมกับกองกำลังเพื่อต่อสู้กับรัฐพม่า หรือหากรัฐไทยเป็นประชาธิปไตยที่รองรับสิทธิมนุษยชนมากพอ เขาอาจได้สิทธิในการเป็นพลเมืองเฉกเช่นมนุษย์คนหนึ่ง หรือหากรัฐไทยมีมาตรการรองรับในช่วงโควิด-19 มากพอ เขาอาจไม่ต้องเข้าไปพัวพันกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยจนกลายเป็นเพียงแค่หมากตัวหนึ่งที่รัฐใช้ผลประโยชน์จากเขา หรือหากรัฐไทยให้สิทธิเสรีภาพมากพอ สถานการณ์ของศรที่ต้องไปพบเจอกับนักกิจกรรมทางการเมืองอาจถูกเปลี่ยนไปเป็นสิ่งอื่น ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ เราไม่อาจบอกได้เลยว่าทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในรัฐไทย อาจกล่าวได้ว่า ดอยบอยคือภาพยนตร์ที่บันทึกปัญหาของรัฐไทยที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังบันทึกเรื่องราวของชาวไทใหญ่ให้พวกเขาได้มีตัวตนมากขึ้น ให้สังคมได้รับรู้ถึงปัญหาของชายแดนไทย-พม่าที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดมา มากกว่าประเด็นที่จะได้พบเจอในภาพยนตร์ สิ่งที่ดอยบอยกำลังแสดงออกมาคือหัวจิตหัวใจของมนุษย์ที่มีทั้งดี เลว เทา สุข เศร้า และปลง ชีวิตของตัวละครที่ไม่ได้มีเฉดสีขาวหรือดำแต่ล้วนเป็นสีเทาทั้งหมด ทุกคนมีความฝันหรือความหวังในชีวิตที่อยากจะมีความสุขหรืออย่างน้อยก็ปกติสุขที่สุดในขณะที่เรามีลมหายใจ แต่ความฝันเหล่านี้ก็คงเป็นไปได้ยากหากโครงสร้างของรัฐยังกดขี่พวกเราทุกคน ความรู้สึกนี้จึงหนักอึ้งเสียกว่าประเด็นในหนังที่แสดงออกมาเสียอีก ที่ผ่านมา ดอยบอยได้ไปฉาย World Premiere ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 28 […]

สำรวจพื้นที่ระหว่างความเชื่อ ความตาย และความเป็นชุมชนในภาพยนตร์ ‘สัปเหร่อ’

หลังจากการเดินทางของหนังชุด ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ที่เล่าเรื่องของบรรดาตัวละครมาเป็นจำนวน 3 ภาค โดยมีภาคแยกของตัวละครในจักรวาลนี้ด้วยกันหนึ่งเรื่อง นั่นคือ ‘หมอปลาวาฬ’ รวมไปถึงหนังที่แยกออกจากจักรวาลหลักอย่าง ‘รักหนูมั้ย’ และ ‘เซียนหรั่ง’ ในที่สุดก็มาถึงคราวหนังภาคแยกเรื่องราวของตัวละครที่ทุกคนต่างรอคอยใน ‘สัปเหร่อ’ ซึ่งเป็นเสมือนภาคที่จะคลี่คลายเรื่องราวของตัวละคร ‘เซียง’ และ ‘ใบข้าว’ เมื่อดูผิวเผินจากตัวอย่างและใบปิด เราอาจรู้สึกเหมือนว่า หรือทีมคนทำหนังชุดไทบ้านต้องการทำหนังผีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดหนังไทย เพราะด้วยภาพต่างๆ ที่เผยออกมาให้ได้ชม เป็นเรื่องราวของคนในหมู่บ้านที่ถูกวิญญาณผีใบข้าวตามหลอกหลอนจนหัวโกร๋น แต่เมื่อได้รับชมตัวหนังจริงๆ ปรากฏว่าเรื่องราวในเรื่องกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกนำเสนอบ่อยนักในหนังไทย เราจึงไม่แปลกใจที่ผู้ชมที่เริ่มต้องการสิ่งแปลกใหม่จากหนังไทยจะแห่กันไปดูหนังเรื่องนี้อย่างล้นหลาม จนรายได้จะทะลุ 1,000 ล้านแล้วในขณะนี้ นอกจากความแปลกใหม่ของรสชาติที่หนังไทยไม่ค่อยนำเสนอ หนังเรื่องนี้ยังหยิบเอาประเด็นความเป็น-ความตาย ที่เชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนในต่างจังหวัดมาบอกเล่าได้อย่างเรียบง่ายและสมจริง ผ่านสายตาของลูกหลานผู้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ คอลัมน์เนื้อหนังขอถือโอกาสพาผู้อ่านไปสำรวจแง่มุมเหล่านี้ในสัปเหร่อ เพื่อทำความเข้าใจบริบทประเทศไทยในพื้นที่ที่อาจห่างไกลจากตัวผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพหรือความเข้าใจก็ตาม พื้นที่ของความเชื่อ สิ่งที่ทำให้สัปเหร่อโดดเด่นกว่าหนังไทยเรื่องอื่นๆ คือการเข้าไปลงลึกถึงอาชีพของสัปเหร่อ ราวกับเป็นสารคดีงานศพตามหลักความเชื่อและความต้องการของผู้ตายหรือผู้จัดงานให้ หนังค่อยๆ พาผู้ชมไปสำรวจการแสดงความรักต่อผู้ที่จากไปในรูปแบบต่างๆ นานา จากการที่ ‘เจิด’ (นฤพล ใยอิ้ม) ลูกชายคนเล็กของ ‘ศักดิ์’ (อัจฉริยะ ศรีทา) สัปเหร่อประจำหมู่บ้านที่กลับมาบ้านหลังจากไปร่ำเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ซึ่งนำพาเขาไปพบกับความหลากหลายของการจัดทำพิธีแก่ผู้ที่จากไป ไม่ว่าจะแบบท้องถิ่นของชาวไทยอีสานที่มีวัฒนธรรมการตั้งวงเล่นพนันกันในงานศพ […]

‘กรุงเทพกลางแปลง’ กลับมาอีกครั้ง ชมหนัง 22 เรื่อง ใน 7 สถานที่ทั่วเมือง ยาวๆ ตั้งแต่วันนี้ – 12 พฤศจิกายน 66

หนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้กรุงเทพฯ ปีที่แล้วมีสีสันและทำให้คนอยากออกไปนอกบ้านมากขึ้นคือเทศกาลฉายหนัง ‘กรุงเทพกลางแปลง’ ที่แม้จะจัดหน้าฝน แต่คนเมืองหลายคนก็พร้อมกางร่ม สวมชุดกันฝนไปชมภาพยนตร์ดีๆ ร่วมกัน ปีนี้กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และสมาคมหนังกลางแปลงแห่งประเทศไทย นำกรุงเทพกลางแปลงกลับมาอีกครั้งกับโปรแกรมภาพยนตร์ 22 เรื่องหลากหลายรสชาติ ตลอดทั้ง 6 สัปดาห์ ใน 7 สถานที่ทั่วเมือง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมน่าสนใจให้เข้าร่วมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฉายหนังสั้นนักศึกษาและหนังสั้นจากโครงการ Today at Apple ที่ทาง กทม.จัดอบรมร่วมกับสมาคมผู้กำกับฯ ในทุกสัปดาห์ การเสวนาพิเศษ คอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง รวมถึงการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศจากสถานทูต ที่สวนป่าเบญจกิติ ในวันที่ 3 – 5 พ.ย. และวันที่ 10 – 12 พ.ย. ที่เพิ่มเข้ามาจากโปรแกรมเดิม และนี่คือลิสต์หนังที่ฉายทั้งหมด พร้อมกับสถานที่ฉายที่มีทั้งรูปแบบอินดอร์และเอาต์ดอร์ เหมาะกับช่วงนี้ที่ฟ้าฝนไม่ค่อยเป็นใจให้อยู่กลางแจ้งเท่าไหร่ โดยหนังจะเริ่มฉาย 19.00 น. เป็นต้นไป 1) หัวลำโพง– 7 ต.ค. […]

ร่วมลุ้นรางวัลไปกับสองหนังไทย ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ในเทศกาลหนังปูซาน ครั้งที่ 28

แม้ว่าหนังไทยจะถูกปรามาสหรือวิจารณ์อยู่เนืองๆ ถึงเรื่องโปรดักชันไม่ปัง เนื้อหาที่พูดไม่ได้ พลอตเรื่องเก่าชวนให้เบื่อ ฯลฯ จนผู้ชมหันหน้าหนีหนังไทยไปหาดูอย่างอื่นกันแทน แต่หนังไทยที่ถูกแปะป้ายเช่นนั้นก็เป็นเพียงความจริงหนึ่ง เพราะในอีกหลายมิติของวงการภาพยนตร์ไทยก็ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นทั้งหมด เพราะหากเราดูรายชื่อใน ‘เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน’ (Busan International Film Festival : BIFF) จะเห็นหนังไทยที่มีชื่อเข้าร่วมลุ้นรางวัลหรือได้ไปฉายอยู่หลายเรื่อง อย่างเมื่อปีที่แล้ว ‘Blue Again’ ผลงานของผู้กำกับหญิง ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ ก็ได้เดินทางไปฉายในเทศกาลนี้มาแล้ว และในปี 2566 ก็มีรายชื่อสองหนังไทยอย่าง ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ที่ได้รับคัดเลือกเข้าประกวดชิงรางวัลด้วย ‘Solids by the Seashore (ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง)’ ของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ผู้กำกับที่เคยมีผลงานภาพยนตร์หลายเรื่องไปฉายยังหลากหลายประเทศ โดยเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ว่าด้วยหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม ซึ่งได้ใกล้ชิดกับศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ โดยมีฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและชีวิตชายฝั่งที่กำลังเผชิญความเสียหายทางธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าประกวดในสาย New Currents ซึ่งจะมอบให้กับผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกหรือเรื่องที่สองของผู้กำกับหน้าใหม่ชาวเอเชีย คัดเลือกโดยคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกเรื่องคือ ‘DOI BOY’ […]

ชวนดูสามหนังไทยว่าด้วยการเติบโตของผู้หญิง ที่ไปไกลถึงระดับสากล ใน Netflix เดือนสิงหาคมนี้

หลังจากพาหนังไทยทั้งเก่าและใหม่เข้าแพลตฟอร์มสตรีมมิงมากขึ้นในช่วง 2 – 3 ปีมานี้ จนเป็นที่ถูกอกถูกใจคอหนังไทยไปตามๆ กัน ล่าสุด Netflix ก็เปิดตัวลิสต์หนังไทยที่ Urban Creature อยากชวนทุกคนไปชมในเดือนสิงหาคมนี้ หนังไทยสามเรื่องที่เรายกมาเป็นหนังไทยที่ว่าด้วยการเติบโต นำแสดงโดยตัวละครหญิง และไปคว้ารางวัลระดับสากลมาแล้วทั้งสิ้น ทว่าน่าเสียดายที่ตอนฉายในไทยไม่ค่อยได้พื้นที่ในการฉายเท่าไรนัก เนื่องจากเป็นหนังนอกกระแส เรื่องแรกที่เข้าฉายใน Netflix ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมาคือ ‘LOST IN BLUE ระหว่างเราครั้งก่อน’ (2016) ที่เป็นเรื่องเด็กสาววัยรุ่นสามคนผู้หันกลับไปทบทวนความทรงจำในวัยเยาว์ ความรัก และมิตรภาพ ในหนังสั้นที่เรียงร้อยเรื่องราวแนวก้าวพ้นวัย ผลงานกำกับโดย ‘เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์’, ‘จิรัศยา วงษ์สุทิน’ และ ‘ปภาวี จิณสิทธิ์’ ส่วนเรื่องที่ 2 คือ ‘Blue Again’ (2022) ที่จะชวนดำดิ่งไปกับการเติบโตของหญิงสาวที่ไม่น่ารักเพราะไม่ได้อยากถูกรัก ในสังคมที่ต้องเป็นที่รักถึงจะอยู่รอด ผลงานกำกับโดย ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ เข้าฉายวันที่ 17 สิงหาคมนี้ เรื่องสุดท้ายคือ […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ

เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.