เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน

หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น  นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]

‘ลองเอาตัวเองมาก่อนคนอื่นบ้าง’ รู้จักสร้างขอบเขตความสบายใจและปลอดภัยด้วยตัวของเรา

ผู้เขียนชอบล้อเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ว่า ‘My favorite B’ หรือ คำโปรดของฉันที่ขึ้นต้นด้วยตัวบี ไม่ใช่ เบสต์เฟรนด์ (Best Friend) หรือ เบบี้ (Baby) ที่รักอะไรหรอก แต่คือคำว่า ‘Boundary’ ต่างหาก หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว อาจจะบ่อยหน่อยในช่วงหลังๆ ที่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตใจกันมากขึ้น คำแปลจากพจนานุกรมของเคมบริดจ์ (Cambridge) อธิบายความหมายของคำศัพท์นี้ไว้ได้เห็นภาพ นั่นคือ ‘a real or imagined line that marks the edge or limit of something.’ (การมีเส้นแบ่งเขตที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นมาก็ได้ ที่กำหนดขอบเขตของบางอย่าง) ก็คล้ายๆ กับการอธิบายที่ผู้เขียนชอบใช้เวลาพูดถึง Boundary ในแง่สุขภาพจิตใจ ว่ามันคือ ‘ขอบเขตความสบายใจและความปลอดภัยของตัวเอง’ ซึ่งเราเป็นคนกำหนด และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีใครเข้ามารุกราน Boundary ของเราตอนที่ยังไม่พร้อม เราจะรู้สึกอึดอัดและลำบากใจทันที ดูชัดเจนและเห็นภาพง่ายดีใช่ไหมล่ะ ก็ถ้าไม่ได้อยากยุ่งกับใคร หรือช่วยเหลือใครตอนนี้ เราก็บอกเขาไปว่าไม่พร้อมแค่นั้นเอง […]

รู้จักตัวเอง รับมือกับความกังวล ผ่านชุดปฐมพยาบาลใจเบื้องต้น ‘Anxiety First Aid Kit’ 

รู้หรือไม่ ‘ความวิตกกังวล (Anxiety)’ ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยมากที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การงาน ความรัก ความปลอดภัย หรือสายตาคนภายนอก ต่างสร้างความวิตกกังวลทั้งเล็กและใหญ่ได้ทั้งนั้น เพราะอยากให้ผู้คนเตรียมพร้อมรับมือกับความกังวลใจได้อย่างรู้เท่าทันตัวเอง เพจและเว็บไซต์ ‘Cozybara’ ที่นิยามตัวเองว่าเป็นพื้นที่แห่งความอบอุ่น เป็นมิตร โดยนำเสนอเรื่องราวจิตวิทยาและการดูแลใจแบบง่ายๆ เหมือนคุยกับเพื่อน จึงทำ ‘Anxiety First Aid Kit’ ที่เปรียบเหมือนชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับจิตใจ เพื่อให้ทุกคนหยิบไปใช้รับมือกับความกังวลได้เพียงแค่มีปากกาหนึ่งด้ามและกระดาษหนึ่งแผ่น Anxiety First Aid Kit เป็นแบบฝึกหัดหนึ่งหน้ากระดาษที่จะชวนให้พวกเราได้สำรวจความกังวลใจ ทั้งในแง่ที่มาที่ไปและความเข้มข้นของความกังวล รวมไปถึงการจัดการที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ผ่านการรับฟังเสียงหัวใจและใช้เวลาอยู่กับตัวเองให้มากขึ้น เป้าหมายของ Anxiety First Aid Kit คือการสร้างการรับรู้ เพิ่มความเข้าใจ และอยากให้ทุกคนได้ลองสำรวจวิธีการรับมือความกังวลในมุมมองใหม่ๆ โดยไม่จำเป็นต้องซีเรียสว่าต้องทำแบบฝึกหัดให้ได้ทั้งหมด ตอบให้ได้ทุกข้อ หรือควรรับมือกับความกังวลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์  ดาวน์โหลดไฟล์ JPG และ PDF ของ Anxiety First Aid Kit เพื่อนำไปใช้สำรวจความกังวลใจของตัวเองได้ที่ https://cozybara.com/content/anxiety-firstaid หมายเหตุ […]

Climate Anxiety เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้คน ‘เครียดไม่ไหว’ จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องด้วยตัวเอง

สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนหนักและคาดเดายาก อาจทำให้คนเครียดและวิตกกังวลจากปรากฏการณ์นี้มากขึ้น จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ย้อนไปเมื่อปี 2018 ฝรั่งเศสเคยประกาศเป้าหมายที่จะปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดในประเทศภายในปี 2022 เพื่อต่อสู้กับ ‘การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก’ หรือ ‘Climate Change’ ซึ่งอีกราวสองเดือนก็ถึงเส้นตายแล้ว แต่ดูเหมือนว่าฝรั่งเศสจะทำตามแผนการไม่สำเร็จแน่ๆ เพราะอาจจำเป็นต้องกลับมาเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ ด้านเมืองที่ท็อปฟอร์มเรื่องความยั่งยืนของโลกอย่าง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็อาจรักษาสัญญาที่จะเป็นเมืองปราศจากคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวตัวอย่างแผนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่ล้มเหลวของนานาชาติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศยังไม่เอาจริงเอาจังเรื่องโลกร้อนเสียที และมองว่าวิกฤตนี้คือเรื่องที่รอได้ เป้าหมายที่ถูกผัดวันประกันพรุ่ง นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกปัดตก และคำมั่นสัญญาของบรรดาผู้นำที่เป็นเพียงลมปาก ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลและท้อมากขึ้นทุกที นึกภาพไม่ออกว่าทั่วโลกจะควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ยังไง และเป้าหมายของนานาประเทศที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะเป็นเพียงแค่ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงหรือเปล่า Urban Creature ชวนทุกคนไปทำความรู้จัก ‘Climate Anxiety’ อาการวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตโลกรวน ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนพวกเขาไม่ขอนิ่งเฉย ลุกขึ้นมาเรียกร้องถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง หายนะโลกร้อน คงหน้าตาประมาณนี้สินะ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก […]

‘พาใจกลับบ้าน’ กิจกรรมที่ชวนหยุดพักเพื่อเยียวยาผ่านหนัง เวิร์กช็อป และ Interactive Art

ทุกวันนี้โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวันจนตามไม่ทัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นก็ต้องแข่งขัน บางครั้งต้องแกล้งหัวเราะทั้งที่เครียด กดดัน บางครั้งทุกความรู้สึกประดังประเดเข้ามาพร้อมกันจนไม่รู้จะรู้สึกยังไงดี ถ้าคุณเคยผ่านอะไรแบบนี้ ‘พาใจกลับบ้าน’ อาจเป็นกิจกรรมที่คุณต้องการมากที่สุด หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดีกับการจัดฉายสารคดีเรื่อง Mental-Verse จักรวาลใจ ในงาน Bangkok Design Week ตอนต้นปี Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบประสบการณ์กลับมาอีกครั้งกับงาน ‘CONNE(X)T HOMECOMING : พาใจกลับบ้าน’ ที่อยากพาทุกคนเดินทางกลับไปสำรวจใจตัวเองซึ่งเป็นดั่งบ้านอีกครั้ง พวกเขาจำลองงานให้เป็นเหมือน Spiritual Village หรือหมู่บ้านทางจิตวิญญาณที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ให้ทุกคนมาตรวจเช็กสุขภาพใจ ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ และกระโจนเข้าหาความสนุกในกิจกรรมต่างๆ ที่มีทั้ง Interactive Art, การดูหนัง และเวิร์กช็อปเยียวยาใจ  งานจัดที่ชั้น 2 ของ RIVER CITY BANGKOK ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 7 สิงหาคมนี้ เวลา 11.00 – 20.00 น. เช็กรายละเอียดของทุกกิจกรรมได้ทางเพจ Eyedropper […]

ASICS 15:09 UPLIFT CHALLENGE ออกกำลัง 15:09 นาที ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และร่วมบริจาคให้ Wall of Sharing

ASICS (เอซิคส์) เปิดตัวกิจกรรม ASICS 15:09 Uplift Challenge ชวนทุกคนมาออกกำลังกายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกจิตใจคนและสังคมตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องในโอกาสวันวิ่งโลก พร้อมทั้งเผยผลลัพธ์จากการทดลอง Mind Race ซึ่งเป็นการทดลองผลกระทบที่เกิดกับสภาวะทางจิตใจเมื่อคนเราไม่ออกกำลังกาย  โดยการทดลอง Mind Race ได้แสดงให้เห็นว่าการที่เราหยุดออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบกับจิตใจใกล้เคียงกับคนที่นอนหลับไม่สนิทมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมในการทดลองได้รายงานถึงการเกิดสภาวะคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ ​​ศาสตราจารย์เบรนดอน สตับส์ (Brendon Stubbs) นักวิจัยด้านการออกกำลังกายและสุขภาพจิต ได้เฝ้าสังเกตดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต (State of Mind Scores) ของผู้เข้าร่วมในงานวิจัย ซึ่งเป็นคนที่มีสุขภาพดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยผู้เข้าร่วมจะหยุดออกกำลังกายเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อเข้าร่วมการทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพบว่าการไม่ออกกำลังกายส่งผลต่อการรับรู้และอารมณ์ของพวกเขา เพราะเมื่อคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่แอ็กทีฟหยุดออกกำลังกาย ความมั่นใจของพวกเขาจะลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ความคิดเชิงบวกลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ ระดับพลังงานลดลง 23 เปอร์เซ็นต์ และความสามารถในการจัดการความเครียดลดลง […]

หมดไฟ ใจพัง ไม่มีพลังใช้ชีวิต ใช้ MENTAL HEALTH CHECK-IN ประเมินสุขภาพใจให้รู้เท่าทันความเครียด

ช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง? เครียดไหม หมดไฟ นอนไม่หลับ เบื่อชีวิต ไม่อยากตื่นไปทำงาน หรือกำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าหรือเปล่า? การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานและรุนแรงขึ้นทุกวันดึงสภาพจิตใจคนไทยให้ดิ่งลงเรื่อยๆ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ต่างคนต่างได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายคนมีภาวะเสี่ยงตกงาน กังวล กลัว คนใกล้ตัวหรือคนในครอบครัวติดโควิด-19 และอีกหลายปัจจัยส่วนบุคคลที่เข้ามาในช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่ไม่ว่าจะเหนื่อย ท้อ หดหู่ มากแค่ไหน อย่าลืมว่า ‘จิตใจ’ ของเราก็สำคัญนะ  กรมสุขภาพจิตชวนคุณเช็กสุขภาพใจฟรีๆ กับ MENTAL HEALTH CHECK-IN เครื่องมือประเมินสุขภาพจิตประชาชนเบื้องต้น และคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งประเมินจาก SBSD 4 แกนหลัก ได้แก่ S : Stress (เครียด) B : Burnout (ภาวะหมดไฟ) S : Suicide (เสี่ยงฆ่าตัวตาย) D : Depression (ซึมเศร้า) เพียงตอบคำถามง่ายๆ จากความรู้สึกลึกๆ ของเราในช่วงไม่เกินสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อทราบผลประเมิน […]

Elmhurst Ballet School โรงเรียนที่สนับสนุนให้นักบัลเลต์รุ่นใหม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง

จะดีไหมถ้าฉันผอมกว่านี้ แขนเล็กกว่านี้ หรือขาเล็กกว่านี้? ถ้ามีรูปร่างที่เพอร์เฟกต์จะทำให้ฉันเป็นนักเต้นที่เก่งที่สุดได้หรือเปล่า?  คำถามเหล่านี้คือสิ่งที่อยู่ในใจของนักบัลเลต์หลายคนที่ต้องแบกรับความรู้สึกกดดันกับค่านิยมการมีรูปร่างที่สมบูรณ์แบบ ต้องผอมเท่านั้นถึงจะดูเหมาะสมกับการเป็นนักบัลเลต์ การจะเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพได้ต้องทุ่มสุดตัวทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด แค่คิดว่าต้องซ้อมให้หนัก แต่กินให้น้อยเพื่อรักษาความผอมเอาไว้ให้ได้ ก็คงไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพของนักบัลเลต์เลย ค่านิยมความสมบูรณ์แบบนี้เองที่ทำให้นักบัลเลต์หลายคนต้องเจ็บปวดกับเส้นทางการตามฝันเพื่อที่จะเป็นมืออาชีพ เพราะระหว่างทางทำให้หลายคนมีปัญหาสุขภาพจิต ต้องไดเอตอยู่ตลอด จนทำให้มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ (Eating Disorder) หรือเป็นโรคกลัวอ้วน (Anorexia) ส่งผลเสียกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาว ที่สำคัญกระทบกับการยืนระยะเป็นนักบัลเลต์อาชีพด้วยเช่นกัน  Elmhurst Ballet School โรงเรียนสอนบัลเลต์คลาสสิกเก่าแก่ในอังกฤษที่ตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 เปิดสอนสำหรับเด็กอายุ 11 – 19 ปี ที่อยากเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพ เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญของคนรุ่นใหม่ และความกดดันเรื่องรูปร่างคือปัญหาที่เด็กในวัยนี้ไม่ควรต้องเผชิญโดยลำพัง จึงได้ก่อตั้งทีมพิเศษขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และช่วยให้พวกเขาเป็นนักบัลเลต์ที่เก่งกาจได้โดยที่ยังมั่นใจในรูปร่างของตัวเองด้วย Annelli Paevot หนึ่งในทีมผู้ดูแลด้านสุขภาพของนักเรียนเล่าว่า โรงเรียนจะมีขั้นตอนการให้การช่วยเหลือที่เป็นระบบ มีแนวทางในการปฏิบัติตัวให้กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติอย่างละเอียด สามารถให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองและรักษา และพร้อมให้ข้อมูลกับนักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้โดยเฉพาะ    เพื่อให้นโยบายนี้เกิดขึ้นจริง Elmhurst จึงใช้วิธีการประเมินสุขภาพนักเรียนทั้งหมด 6 ครั้งตลอด 1 ปี เพื่อติดตามดูพัฒนาการและปัญหาสุขภาพของนักเรียน หากทีมผู้ดูแลเริ่มสังเกตเห็นว่านักเรียนคนใดมีพฤติกรรมการกินที่เริ่มผิดปกติ จะมีการพูดคุยและให้คำแนะนำเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงแจ้งครอบครัวให้รับทราบเพื่อที่จะได้ช่วยดูแลอีกทาง เพราะเธอคิดว่ายิ่งรู้เร็วเท่าไรว่านักเรียนมีปัญหาจะทำให้โรงเรียนสามารถให้ความช่วยเหลือพวกเขาได้ทันท่วงที ก่อนที่สุขภาพของนักเรียนจะทรุดโทรมไปมากกว่านี้  […]

โควิด-19 วิกฤตแต่สุขภาพจิตต้องดี กรมสุขภาพจิตรุกลงพื้นที่แก้ความเครียดให้ระบายความอัดอั้นใน Sati App

ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา ทั้งสภาพแวดล้อม ฝุ่นควัน การเมืองที่ดุเดือด และโควิด-19 ที่ดูเหมือนจะไม่ได้ดีขึ้นเลย เหล่านี้อาจจะทำให้คุณเครียดจนไม่รู้จะทำอย่างไร อยากระบายออกไปให้ใครสักคนฟัง! กรมสุขภาพจิตเล็งเห็นปัญหาตรงนี้จึงร่วมมือกับ HR ของบริษัทต่างๆ รวมทั้งกลุ่มจิตอาสาที่ผ่านการอบรมจากกรมสุขภาพจิตแล้ว ลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่เกิดภาวะเครียดสะสม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่รู้สึกหมดหวัง กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว หรือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ให้ก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้ หากใครไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวแต่อยากขอคำปรึกษา กรมสุขภาพจิตยังมี ‘Sati App’ แอปพลิเคชันที่มีกลุ่มผู้ฟังอาสาที่ผ่านการอบรม ‘การฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ’ พร้อมเป็นพื้นที่ให้คุณระบายความคับคั่งในใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื่องใดก็ตาม หากคุณต้องการคนรับฟัง ผู้ฟังอาสาเหล่านี้จะฟังทุกเรื่องของคุณโดยไม่ตัดสิน เพราะเชื่อว่าการเยียวยาจิตใจที่ดีที่สุดคือการใช้ใจรับฟัง เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปฯ สร้างบัญชีโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อจริง ระบบจะนำคุณไปที่หน้า ‘คุย’ และเชื่อมต่อกับผู้ฟังอาสาที่พร้อมจะรับฟังคุณ หรือถ้าใครสนใจเป็นผู้ฟังอาสาก็สามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ https://www.satiapp.co/th/  ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้แล้วทั้งใน Google Play และ App Store Sources : FM91 BKK | https://www.fm91bkk.com/fm-91-103704กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | https://www.facebook.com/THAIDMH/

กำหนดลมปราณ ฝึกกำลังภายในกับ ‘หยาง เผยเซิน’ สุดยอดปรมาจารย์ ‘ศาสตร์ชี่กง’

ชี่ (气) หมายถึง พลังงาน หรือ ลมหายใจ คนจีนโบราณเชื่อว่า ชี่ เป็น พลังจุลภาคที่เล็กที่สุดและเป็นส่วนประกอบสำคัญของวัตถุทั้งมวลในจักรวาล รวมทั้งในร่างกายมนุษย์และสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกด้วย ส่วน กง (功) หมายถึงวิธีการฝึก การเคลื่อนไหว

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.