COP26 the Other Side: 5 ประเด็นชวนเอ๊ะ! สรุปรักษ์โลกกันจริงไหมในการประชุม COP26
ชวนดู 5 ประเด็นในการประชุม COP26 ที่ผ่านมาที่ชวนคิดชวนสงสัยว่าการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศควรจะเดินต่อไปอย่างไร
ชวนดู 5 ประเด็นในการประชุม COP26 ที่ผ่านมาที่ชวนคิดชวนสงสัยว่าการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศควรจะเดินต่อไปอย่างไร
คุณคิดว่า Printer 1 เครื่อง เซฟโลกได้ไหม? . ชีวิตพนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ จะพรินต์งานแต่ละที ก็ต้องอาศัย Printer ที่สุดท้ายกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ยากแก่การทำลายและเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมวนไป . เหมือนจะดูเป็นเรื่องเล็กจิ๋วที่ไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่ Epson คิดมาแล้ว ว่าพวกเราชาวออฟฟิศและ Printer เครื่องเดียวก็ช่วยโลกได้ด้วย Epson EcoTank L15150 เครื่องพรินต์ที่ตอบโจทย์ทั้งการพรินต์และความยั่งยืน . ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายของออฟฟิศด้วยการพิมพ์สูงสุดถึงขนาด A3 ทั้งยังช่วยสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน เจ้าเครื่องนี้จะเจ๋งแค่ไหนนั้น ตามมาดูกันเลย #UrbanCreature #UrbanEyes #Epson #EpsonEcoTankPrinter
เมื่อเชื่อว่าเราทุกคนต้องอยู่ด้วยกันให้ดีและมีความสุขให้ได้ Good Society หรือเครือข่ายสังคมดี เลยชักชวนทุกคนออกมาสร้างสรรค์สังคมที่พวกเราอยากจะอยู่ไปพร้อมกันในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564 ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่หมดไป ในปีนี้เครือข่าย Good Society จึงกลับมาอีกครั้งในรูปแบบ Virtual Event ที่ชวนทุกคนมาร่วมกิจกรรมดีๆ อย่าง Good Society Summit 2021 และในช่วงเวลาเช่นนี้ ที่ ‘ความหวัง’ เป็นสิ่งสำคัญ งานในครั้งนี้จึงมาในธีม “Hope In Crisis ในวิกฤติยังมีหวัง” ครอบคลุมกิจกรรมที่น่าสนใจถึง 3 รูปแบบ ทั้ง Learn, Action และ Scale Impact จัดเต็มตลอด 3 วันแบบจุใจ หนึ่งคือ Learn เวทีระดมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคม ที่จะชวนทุกคนร่วมกันคิดและพูดคุยถึงเป้าหมายของประชาชน ในประเด็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิต โดยไม่ลืมที่ชวนจะเป็น Active Citizen พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม […]
Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19 หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้ ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้ หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]
หลายปีมานี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ หรือแม้แต่รายการใน Netflix ก็พูดถึง Fast Fashion อยู่บ่อยครั้ง โดยมักจะหยิบยกแง่มุมที่เลวร้าย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเน้นความเร็วและสู้กับเทรนด์ตลอดเวลา แรงกระเพื่อมนี้ก็ส่งต่อไปยังแบรนด์ยักษ์ใหญ่ พวกเขาเริ่มออกไลน์เสื้อผ้าที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล คอตตอน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมประกาศความตั้งมั่นในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ซึ่งถือเป็นการขยับตัวที่น่าชื่นชม ถึงจะอย่างนั้นก็ตามที Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ก็ยังมองว่าไม่ซื้อเลยต่างหากถึงจะดีที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน แต่ในทุกครั้งที่เสื้อผ้าถูกผลิต ก็มีการใช้ทรัพยากรและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดไปนะครับ เพราะไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเย็บต้องซ่อมเสื้อผ้าเท่านั้น ห้ามซื้อใหม่เด็ดขาด ไม่ใช่แบบนั้นเลย แต่เรื่องที่ว่าจะซื้อแบบไหนนั้นขออนุญาตเบรกไว้สักครู่ แล้วมาทำความรู้จักกับ Reviv ก่อนดีกว่า Reviv The Fashion ภายใต้ร่มเงาไม้ ร้านรวง และที่พักของโครงการ The Yard Hostel มีออฟฟิศขนาดเล็กที่โครงสร้างหลักเป็นตู้คอนเทนเนอร์เก่า และมีเนื้อที่ไม่ถึงห้องสตูดิโอในคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง มุมห้องด้านหนึ่งมีลังกระดาษเอาไว้ใส่ตัวอย่างเสื้อผ้าที่ทดลองปักและซ่อมแซมวางไว้ ถัดมาเพียงก้าวเดินจะเป็นเก้าอี้พลาสติกที่ตั้งคู่กับโต๊ะสีขาว มีหน้าต่างบานเล็กคอยส่องแสงที่ค่อนข้างอิ่มตัวในฤดูกาลที่ฝนตกกันเป็นว่าเล่น ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา และ ฝ้าย-ฐนิตา เขตกิตติคุณ 2 ตัวแทนจาก Co-founder ทั้งหมด 5 คน […]
แต่ละวันเรากินไข่ไก่เฉลี่ยคนละ 1 – 2 ฟอง แล้วลองคูณจำนวนคนทั้งโลกเข้าไป คิดดูว่าเปลือกไข่ถูกทิ้งต่อวันจะมีกี่พันล้านฟองกัน ซึ่งพอรวบรวมเป็นสถิติรายปีพบว่าเรามีขยะเปลือกไข่ราว 250,000 ตัน/ปี และมักใช้การฝังกลบในการกำจัดขยะ โดยพื้นที่ 1 ตร.ม. ฝังเปลือกไข่ได้ประมาณ 2,000 ฟอง และใช้ระยะเวลา 20 วันเพื่อย่อยสลาย ดูเหมือนการกำจัดเปลือกไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่ดีไซเนอร์ชาวฮ่องกง ‘Elaine Yan Ling Ng’ อยากหาปลายทางใหม่ของเศษเปลือกไข่ที่ครีเอต เพิ่มมูลค่า และทำประโยชน์ได้มากกว่าการ ‘ทิ้ง’ จึงรีไซเคิลเปลือกไข่ให้กลายเป็น ‘CArrelé’ คอลเลกชันกระเบื้องปูผนัง โดยกระเบื้อง 1 ตร.ม. ช่วยลดจำนวนขยะได้มากถึง 20,000 ฟอง และใช้เวลาผลิตเพียง 2 วันเท่านั้น ด้วยภาพจำของคนมักมองว่าเปลือกไข่มีความเปราะบาง หารู้ไม่ว่ามันแข็งแรงกว่านั้นมหาศาล แถมยังทนต่อรังสี UV ธรรมชาติด้วย โดยขั้นตอนการทำกระเบื้อง พวกเขาจะรวบรวมเปลือกไข่ที่ถูกทิ้งจากร้านเบเกอรี ครัวโรงแรม และตามชุมชนที่ตั้งรอบโรงงานในเมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำมาบดให้ละเอียด ก่อนจะผสมเข้ากับสารเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้วัสดุยึดเกาะกันได้แน่นขึ้น […]
ประวัติศาสตร์โลกต้องจารึกไว้เลยว่า ‘อาร์เจนตินา’ เป็นประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายห้ามทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิล โดยรัฐสภาของรัฐเตียร์ราเดลฟวยโก (Tierra del Fuego) หมู่เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศมีมติในเรื่องนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ การทำฟาร์มแซลมอนเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อใช้ในทางพาณิชย์ที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในหลายด้าน เพราะแซลมอนไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นของแหล่งน้ำบริเวณนั้น แค่การนำสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาก็ส่งผลกระทบต่อจำนวนสัตว์พื้นถิ่นอื่นๆ แล้ว ทั้งยังต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงดูเพื่อให้แซลมอนแข็งแรง สารเคมีจากยาแพร่กระจายในน้ำเป็นวงกว้าง รบกวนระบบนิเวศโดยรอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่แค่สัตว์และระบบนิเวศได้รับผลกระทบเท่านั้น ผู้อยู่อาศัยที่มีวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับระบบนิเวศของ Tierra del Fuego มาอย่างยาวนานก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน การตัดสินใจครั้งนี้ของรัฐบาลจึงถือเป็นการตระหนักประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้การปฏิเสธการทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิลในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าฟาร์มแซลมอนทุกแห่งในอาร์เจนตินาที่ดำเนินกิจการอยู่จะต้องปิดตัวลง แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่มีความหมายอย่างมากต่อทรัพยากรธรรมชาติของโลก เพราะ Tierra del Fuego เป็นหมู่เกาะที่มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ การออกกฎหมายในครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทั้งยังเป็นต้นแบบให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี ที่มีปัญหาเรื่องการทำฟาร์มแซลมอนเช่นเดียวกัน Sources : Patagonia works | https://tinyurl.com/2ephr8u6The Fish Site | https://tinyurl.com/72cz4x49
ล่าสุดเทรนด์รักษ์โลกก็เข้าถึงโลกของวิดีโอเกม เมื่อ Free Lives บริษัทพัฒนาเกมสายโหดอย่าง Broforce และ Gorn ได้ประกาศวางขายเกมใหม่ที่ฉีกจากแนวเกมก่อนๆ อย่าง ‘Terra Nil’ เกมสร้างเมืองที่ไม่ได้ให้สร้างเมือง แต่ให้ผู้เล่นกู้คืนธรรมชาติและระบบนิเวศให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ใน ‘Terra Nil’ ผู้เล่นจะได้เริ่มฟื้นฟูระบบนิเวศตั้งแต่ทำความสะอาดผืนดิน หาระบบน้ำ ปลูกต้นไม้ ไปจนถึงรีไซเคิลสิ่งก่อสร้าง ฟื้นฟูสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง โดยในเกมจะมีการแบ่งพื้นที่เป็นภูมิภาค แต่ละภูมิภาคจะมีความต้องการในการฟื้นฟูต่างกัน เช่น พืชพรรณ สัตว์ป่า และรูปแบบสภาพอากาศ เพิ่มความสนุกให้กับการฟื้นฟูธรรมชาติมากขึ้น ทาง Free Lives ยังรับประกันอีกว่าทุกอย่างภายในเกม ตั้งแต่ภาพ แสง สี เสียง นั้นจัดเต็มอย่างแน่นอน ด้วยงานกราฟิกวาดมือ พร้อมระบบเสียง Soundtrack ที่ฟังสบาย ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมประสบการณ์การเล่นเป็นนักอนุรักษ์ได้สมจริงขึ้นไปอีก! บริษัทผู้ผลิตยังไม่ประกาศวันวางขาย ‘Terra Nil’ ที่แน่นอน แต่คาดว่าจะได้รู้กันจาก Devolver Direct ในช่วง Summer Game Fest ของงาน […]
Thailand หรือ ‘Trash’ land โควิด-19 ระลอก 3 ครานี้ อะไรที่ยังไม่เห็น ก็จะได้เห็น เช่น ขยะล้นประเทศ แต่รัฐบาลชุด พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หักงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในรอบ 5 ปี (อิหยังหว่า) ยอมรับว่าหลังจากเปิดร่างงบประมาณประจำปี 2565 ในวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่ผลการโหวตลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ‘ผ่านวาระ’ แล้ว เรารู้สึกตงิดใจอยู่พักหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ดูไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลยที่งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปี 2565 จะถูกหักจาก 16,143 ล้านบาท (ปี 2564) เหลือ 8,534 ล้านบาท หรือลดลงถึง 47.14 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับงบด้านอื่นๆ ที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญมากกว่าปกติในช่วงวิกฤตโรคระบาดก็ถูกลดลงเช่นกัน แม้รัฐบาลพร่ำบอกประชาชนเสมอว่า ‘การ์ดอย่าตก’ และโยนความผิดไปให้ประชาชนที่ต้องออกไปทำมาหากินเมื่อติดโควิด-19 (แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาครอบคลุมทุกคน) หลายๆ บริษัทจึงกำหนดนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านในระลอก 3 แน่นอนวัฏจักรชีวิตติดเดลิเวอรี่ของคนเมืองจึงวนอยู่แค่เข้าแอปฯ สั่งของ […]
วันที่ได้รับโจทย์จากกองบรรณาธิการ Urban Creature ให้ตามหาคำตอบว่า ‘ประเทศไหนตัดต้นไม้เยอะ แต่ยั่งยืนที่สุด’ ไม่ทันได้กดเสิร์ชกูเกิล ก็ใช้ความรู้ (เท่าที่มี) ตัดสินไปแล้วว่า ‘ไม่มี’ แต่เอาเข้าจริงพอนั่งค้นคว้าหามรุ่งหามค่ำ สารพัดตัวเลขและข้อมูลถาโถมจนระบบปฏิบัติการสมองเกือบ Error ก็พบข้อมูลที่น่าสนใจจนอยากค้นต่อ “สวีเดนเป็นเจ้าแห่งการส่งออกไม้เป็นอันดับ 3 ของโลก” แต่สวีเดนก็เป็นประเทศที่สิ่งแวดล้อมดีจนติดท็อปของโลกเหมือนกัน สรุปแล้วรักษ์โลกจริงหรือเปล่าวะ เพราะจำได้ว่าสมัยเรียนหนังสือคุณครูสอนว่าอย่าตัดต้นไม้ทำลายป่า เพราะสัตว์ป่าจะไร้ที่อยู่อาศัย ทำลายความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งปัญหาที่ตามมาอาจใช้เวลาแก้มากกว่าการปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่ จนเข้าใจว่า ‘คน’ และ ‘ป่าไม้’ ต้องแยกขาดออกจากกันเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ธรรมชาติยังคงอยู่แบบเดิม แล้วทำไมสวีเดนถึงยิ่งตัดต้นไม้เท่าไหร่ ยิ่งกอดตำแหน่งตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัดต้นไม้ ≠ ทำลายป่า เสมอไป ก่อนไปดูแนวคิดการสร้างป่าของสวีเดน เราขอเสนอความน่าสนใจเล็กๆ ของประเทศสวีเดนให้ฟัง นั่นคือ การใช้อุตสาหกรรมป่าไม้เป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งสร้างงานให้กับประชากรในประเทศ และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากการส่งออก แต่ลองค้นต่อไปอีกสักนิด เราพบว่าสวีเดนมีพื้นที่ประเทศทั้งหมด 40.8 ล้านเฮกตาร์ แต่มีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และมีต้นไม้ประมาณ […]
(ไม่) แก่ ใจดี สปอร์ต USA! ต้องยกตำแหน่งบุคคลแห่งการเปย์ให้ ‘Leonardo DiCaprio’ เจ้าของบทบาท ‘แจ๊ก ดอว์สัน’ จากภาพยนตร์เรื่องไททานิก และยังเป็นสปอนเซอร์ที่ให้เงินช่วยเหลือโครงการสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ฯ โดยรอบนี้ เขากลับมาแท็กทีมกับมูลนิธิและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดมทุน 43 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1,350 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูสัตว์ป่าในหมู่เกาะกาลาปากอส การทุ่มเงินจำนวนมหาศาลของ Leonardo ไม่ได้ให้เพราะเงินเหลือใช้ แต่เป็นความมุ่งมั่นที่อยากอนุรักษ์ธรรมชาติเอาไว้ก่อนสายเกินไป เขามองว่าตอนนี้สัตว์ป่าทั่วโลกกำลังลดลง เพราะมนุษย์ใช้พื้นที่ป่าไปกว่า 3 ใน 4 ของโลก ทำให้สัตว์มากกว่าหนึ่งล้านชนิดต้องสูญพันธุ์ Leonardo จึงเริ่มก่อตั้งองค์กรที่ชื่อว่า Re: wild โดยให้หมู่เกาะกาลาปากอส สถานที่ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นสนามแรกที่พวกเขาต้องการฟื้นฟู แน่นอนว่า Leonardo ดึงเหล่าสมาชิกมากฝีมือ ไปจนถึงกลุ่มชาวบ้านของเอกวาดอร์เข้าร่วมทีมด้วย โดยจำนวนเงินทั้งหมดถูกจัดสรรออกไป ไม่ว่าจะเป็นโครงการรื้อฟื้นสัตว์สูญพันธุ์ในท้องถิ่น 13 ชนิด โครงการเพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของ ‘อีกัวนาสีชมพู’ หรือเพิ่มการดูแลและปกป้องทรัพยากรทางทะเลจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของมนุษย์ รวมถึงฟื้นฟูเกาะฟลอรีนา […]
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอากาศที่เราใช้หายใจเข้า-ออกอยู่ทุกวันนี้ มีมลพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพปนเปื้อนอยู่เต็มไปหมด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากยานพาหนะที่เราใช้กันอยู่นั่นเอง IM Motors แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าน้องใหม่ของจีนได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า ‘Airo’ ซึ่งเป็นผลงานดีไซน์จาก Heatherwick Studio สตูดิโอออกแบบในลอนดอน โดยคุณสมบัติพิเศษของ Airo นอกจากไม่ปล่อยมลพิษในอากาศแล้ว มันยังมีระบบกรองอากาศประสิทธิภาพสูงจาก HEPA-filter รุ่นล่าสุด ที่จะช่วยดูดมลพิษจากรถยนต์รอบข้างมากรองให้สะอาดในขณะขับเคลื่อนอีกด้วย ภายในตัวรถถูกออกแบบให้เป็นเหมือนห้องอเนกประสงค์ มีเก้าอี้หมุนได้รอบทิศ มีโต๊ะตรงกลาง และมีหน้าจอไว้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกม สามารถปรับที่นั่งให้เป็นเตียงนอน ที่สำคัญมีทั้งโหมดควบคุมโดยคนขับ และโหมดควบคุมอัตโนมัติที่จะทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ในห้องมากกว่าอยู่ในรถ นอกจากนี้ Heatherwick Studio ยังได้ออกแบบสถานีชาร์จที่สร้างขึ้นจากเหล็กผุกร่อนและมีลวดพับเก็บได้สำหรับชาร์จไฟ ทั้งนี้คาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคันนี้จะเข้าสู่กระบวนการผลิตในปี 2023 Sources :Dezeen | https://bit.ly/2QkV10WHeatherwick | https://bit.ly/3v5uzHo