สิงคโปร์ พลิกฟื้นสลัมสู่เมืองแนวตั้งและชุมชนทันสมัย สร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

จากชุมชนชาวประมงเล็กๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตเพียงเล็กน้อย ปัจจุบัน ‘สิงคโปร์’ กลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยโอกาสและเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก แต่ถึงอย่างนั้น ทุกเมืองทุกพื้นที่ย่อมมีข้อจำกัดของตัวเอง ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ ทำให้ดินแดนแห่งเมอร์ไลออนกลายเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ติดอันดับหนึ่งในสามของโลกอยู่เสมอ แต่ด้วยความสามารถในการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สิงคโปร์ยังรองรับผู้คนจากทั่วโลกได้โดยไร้ข้อบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการสร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยด้วย ‘HDB Flat’ หรือแฟลตรัฐบาลที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในราคาที่จับต้องได้ และนอกจากโมเดลที่อยู่อาศัยแนวตั้งสำหรับชาวสิงคโปร์ อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงความท้าทายใน ‘แฟลตของประชาชน’ ที่ยังมีข้อจำกัดในกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นงานของรัฐบาลที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป จากชุมชนแออัดสู่ตึกอาคารชุดโดยรัฐ หลังจากหลุดพ้นการเป็นหนึ่งในอาณานิคมของประเทศอังกฤษในปี 1959 เกาะสิงคโปร์ต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจากผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งชาวจีน อินเดีย และมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในเวลาต่อมา ด้วยเหตุดังกล่าว ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในปี 1960 รัฐบาลสิงคโปร์นำโดยนายกรัฐมนตรี ‘ลี กวน ยู’ ได้เริ่มต้นวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยจัดตั้ง Housing & Development Board (HDB) หรือหน่วยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินสลัมทั่วประเทศและเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาเมือง  ปัจจุบันประชากรในสิงคโปร์กว่า 80 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ใน HDB แฟลต ซึ่งเป็นตึกที่อยู่อาศัยแนวตั้งเพื่อป้องกันปัญหาความแออัด โดยที่รัฐเป็นผู้วางแผนทั้งหมด ผู้เช่าอาศัยจะได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยเป็นเวลา […]

‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]

สัมผัส ‘สิงคโปร์’ มุมใหม่กับ ‘Made in Singapore’ เดินสำรวจย่านและสัมผัสธรรมชาติในพื้นที่เมือง

‘สิงคโปร์’ ประเทศขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างธรรมชาติให้อยู่ร่วมกับชีวิตในเมืองได้อย่างสมดุล แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อพูดถึงสิงคโปร์และสถานที่ท่องเที่ยว หลายครั้งเราก็มักจะคิดถึงแต่จุดท่องเที่ยวแบบเดิมหรือแลนด์มาร์กที่ไม่ว่าไปกี่ครั้งก็ต้องแวะไปเยี่ยมชมทุกครั้ง แม้จะคลาสสิกแต่กลับทำให้การท่องเที่ยวนั้นไม่แปลกใหม่ขึ้นเลย เพราะเหตุนี้ แคมเปญ ‘Made in Singapore’ โดย ‘การท่องเที่ยวสิงคโปร์’ (Singapore Tourism Board : STB) จึงเกิดขึ้นเพื่อชวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาสัมผัสประสบการณ์ในสิงคโปร์ได้อย่างเต็มที่และต่างไปจากเดิม ผ่านจุดท่องเที่ยวธรรมชาติต่างๆ ที่แทรกตัวอยู่ในทุกที่ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่หลอมรวมอยู่ในเกาะแห่งนี้ ดังนั้นหากใครมีแพลนจะไปท่องเที่ยวสิงคโปร์เร็วๆ นี้ และยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง คอลัมน์ Urban Guide ขอแนะนำ ‘4 สถานที่’ และ ‘2 กิจกรรม’ ที่จะเปลี่ยนการเที่ยวสิงคโปร์แบบธรรมดาให้พิเศษมากกว่าเดิม รับรองว่าต่อให้เป็นการกลับไปเที่ยวซ้ำอีกครั้งก็จะไม่รู้สึกเบื่อหรือจำเจแน่นอน Jewel Changi สัมผัสธรรมชาติกลางศูนย์การค้าในสนามบิน ไปถึงสิงคโปร์ทั้งทีไม่ควรพลาดแลนด์มาร์กแห่งใหม่อย่าง ‘Jewel Changi’ ที่โดดเด่นด้วยลักษณะอาคารโดมกระจก มาพร้อม ‘น้ำตก’ ความสูงกว่า 40 เมตร รายล้อมด้วยสีเขียวของต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ จนแทบไม่เชื่อว่าธรรมชาติทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้าภายในสนามบิน โดมขนาดใหญ่ที่เห็นประกอบด้วยกระจกกว่า 9,000 […]

‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย

ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]

‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ในสิงคโปร์ เปิดพื้นที่ให้ใกล้ชิดกับนกในธรรมชาติกว่า 3,500 ตัว

เมื่อพูดถึงการศึกษาพันธุ์นกต่างๆ หรือการชมนกหายาก ภาพที่หลายคนนึกถึงอาจเป็นการต้องเข้าไปในป่าลึก ซ่อนตัวตามพื้นที่เพื่อรอนกสักตัวบินมาให้เห็น แต่ปัจจุบันใครที่อยากสัมผัสเจ้าสัตว์ชนิดนี้แบบง่ายๆ แค่ตีตั๋วไปประเทศสิงคโปร์ก็สามารถใกล้ชิดและสัมผัสชีวิตนกเหล่านี้ตามธรรมชาติได้ที่ ‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แห่งใหม่ สวนนก Bird Paradise เป็นหนึ่งในสวนนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 170,000 ตารางเมตรใน ‘เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามันได’ ให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนที่ชื่นชอบนกได้มาสัมผัสวิถีชีวิตของสัตว์ชนิดนี้ตามธรรมชาติอย่างใกล้ชิดกว่า 3,500 ตัวจาก 400 สายพันธุ์ ทั้งจากแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ภายในสวนนกมีทั้งหมด 10 โซน และกรงนกขนาดใหญ่จำนวน 8 กรงที่เชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกสบายในการเดินสำรวจและเรียนรู้วิถีชีวิตตามธรรมชาติของนกสายพันธุ์ต่างๆ อีกทั้งแต่ละกรงนั้นได้จำลองระบบชีวนิเวศจากทั่วโลกเอาไว้ ทั้งป่าฝนแอฟริกา พื้นที่ชุ่มน้ำในอเมริกาใต้ นาข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงป่ายูคาลิปตัสของออสเตรเลีย นอกจากนี้ สวนนกแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพืช สัตว์ และระบบนิเวศในท้องถิ่นจากสื่อการเรียนรู้เชิงโต้ตอบภายในพื้นที่ได้อีกด้วย รวมถึงมีการให้อาหารนกที่จะมีนกสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้ชมกันอย่างใกล้ชิด เช่น นกเอี้ยงกิ้งโครง นกเงือกแอฟริกัน และนกเงือก ที่โซน Heart of Africa, นกกระทุงที่โซน Kuok […]

EDEN Singapore Apartments อะพาร์ตเมนต์ในสวนแนวตั้ง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองได้ใกล้ชิดธรรมชาติ

ราว 50 ปีที่แล้ว ‘สิงคโปร์’ ถูกนิยามว่าเป็น ‘เมืองในสวน’ ด้วยนโยบายของประเทศที่วางแผนสร้างเมืองที่มีตึกสูงระฟ้า แต่ขณะเดียวกันก็อุดมไปด้วยพื้นที่สีเขียว มีวิวทิวทัศน์สบายตา ‘Heatherwick Studio’ บริษัทสถาปัตยกรรมในลอนดอน จึงได้นำแรงบันดาลใจจากแนวคิดเช่นนี้มาออกแบบ ‘EDEN Singapore Apartments’ อาคารที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ประวัติศาสตร์อย่างย่าน Newton ประเทศสิงคโปร์ สตูดิโอแห่งนี้ปรับเปลี่ยนวิธีการสร้างตึกสูงที่มีเพียงโครงสร้างแบบเหล็กและกระจก ทำการเพิ่มส่วนประกอบของธรรมชาติที่ให้อารมณ์แบบบ้านในสวน เพื่อเป็นส่วนเติมเต็มให้คนเมืองได้พบกับที่พักอาศัยบนตึกสูงที่อยู่ท่ามกลางทิวทัศน์ธรรมชาติ หากมองไกลๆ จะเห็นว่า EDEN Singapore Apartments แห่งนี้มีโครงสร้างแกนกลางคล้ายกระดูกสันหลัง จัดการออกแบบให้มีหน้าต่างบานเรียวแนวตั้งมีลักษณะคล้ายใบมีด และเมื่อมองจากด้านหน้าจะพบว่าตึกแห่งนี้มีระเบียงที่ดูคล้ายกับสวนแขวนขนาดใหญ่ ที่ถูกแบ่งพื้นที่ให้เป็นระเบียงซึ่งอัดแน่นไปด้วยพรรณไม้ที่ถักทอขึ้นด้านบนและแผ่ขยายไปรอบๆ อาคาร ทำให้พื้นที่สี่เหลี่ยมของอาคารที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยบริเวณด้านนอก เพื่อให้ผู้พักอาศัยมีสวนส่วนตัวบนท้องฟ้าอันเขียวชอุ่ม ได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติและโอบรับประสบการณ์การใช้ชีวิตที่เงียบสงบ นั่งคุย นั่งชิลได้ทุกเมื่อ เสมือนอยู่บนสวนสวรรค์สมชื่อ สิงคโปร์ยังคงพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดแบบ City in a Garden เสมอมา มีกลิ่นอายของความอุดมสมบูรณ์ หรูหรา และกลมกลืนกับสภาวะแวดล้อมแบบร้อนชื้น โดยให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียวและใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่สบายตา รวมถึงยังไม่หลงลืมที่จะผสมผสานพืชพรรณต่างๆ ให้เข้ากับตึกสูงได้อย่างลงตัว เพื่อให้ผู้คนในเมืองยังคงได้ใกล้ชิดความสวยงามของธรรมชาติตลอดไป Sources :Eden | bit.ly/43cBwIuParametric […]

District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์  

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นสิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด สิงคโปร์จึงจัดตั้งทีมวิจัยสำหรับดำเนินโครงการ […]

Jervois Mansion ที่พักรักษ์โลก แบบ super low energy แห่งแรกในสิงคโปร์

Serie Architects บริษัทสถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม และการออกแบบเมืองระดับโลก กำลังผลักดันเรื่องความยั่งยืนในประเทศสิงคโปร์ ด้วยโปรเจกต์ต่างๆ ที่ใช้ธรรมชาติมาสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้กับงานดีไซน์ ล่าสุด พวกเขากำลังพัฒนา Jervois Mansion ที่พัก Low-rise ขนาดไม่สูงซึ่งมีจำนวนน้อยชั้น ให้เป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบ Super Low Energy แห่งแรกของสิงคโปร์ ด้วยการนำบังกะโลสีดำและขาว ซึ่งเป็นอาคารสมัยอาณานิคมในศตวรรษที่ 19 และ 20 ของประเทศมาปรับปรุงเสียใหม่ โดยหยิบยืมองค์ประกอบมาจากบ้านที่เรียกว่า Malay Kampong ที่พักแห่งนี้มีเพดานสูง สร้างขึ้นบนไม้ค้ำเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศภายใน ซึ่งอาคารเหล่านี้มีลักษณะหลังคาที่ยื่นสูง เพื่อให้ร่มเงาและใช้หลบจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้นของสิงคโปร์ Jervois Mansion เกิดจากการร่วมมือระหว่าง Serie Architects ในลอนดอน และสิงคโปร์ เป็นอาคารอยู่อาศัยส่วนตัวแห่งแรกในประเทศที่ได้รับสถานะ Green Mark Gold Plus Super Low Energy ภายใต้การรับรอง Building and Construction Authority (BCA) ของประเทศ […]

สิงคโปร์ทดลองใช้ Lego ปลูกปะการัง ทำฟาร์มแนวตั้งเพื่อประหยัดพื้นที่

สิงคโปร์เป็นแหล่งรวมความหลากหลายของสายพันธุ์ปะการังกว่า 1 ใน 3 จาก 800 สายพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมากสำหรับประเทศเล็กๆ แต่ในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ปะการังในสิงคโปร์ลดจำนวนลงเรื่อยๆ เนื่องจากการถมที่ดินและการพัฒนาชายฝั่งที่ทำให้บ้านของปะการังถูกทำลาย นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) จึงได้คิดค้นวิธีในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปะการัง ด้วยการทดลองใช้ตัวต่อเลโก้ (Lego) มาใช้เป็นบ้านในการอนุบาลปะการังขนาดเล็กหรือปะการังที่ถูกทำลาย ซึ่งเป็นการทดลองนำเลโก้มาใช้ในการอนุรักษ์ปะการังเป็นครั้งแรกของโลก  Jani Tanzil หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ของโครงการนี้ บอกว่า เลโก้เป็นวัสดุขนาดเล็กที่สามารถปรับแต่งได้ง่าย และยังมีปุ่มที่เหมาะกับการยึดเกาะของปะการัง หากมีปะการังชิ้นใหญ่ก็สามารถนำเลโก้มาต่อเพิ่มเพื่อให้ได้บ้านที่หลังใหญ่ขึ้น ไม่ต่างจากการต่อเลโก้เล่นในชีวิตประจำวัน ที่ถูกออกแบบมาให้ต่อได้หลากหลายรูปทรง โดยนักวิทยาศาสตร์จะดำน้ำเพื่อลงไปเก็บปะการังที่เสียหายออกจากแนวปะการังและตัดชิ้นส่วนออกมาเพาะใหม่บนตัวต่อเลโก้ และนำไปเพาะในอะควาเรียม จากชิ้นส่วนปะการังชิ้นเล็กๆ ก็สามารถเติบโตเป็นช่อใหญ่ได้  เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ และมีพื้นที่จำกัด การจะหาพื้นที่ที่กว้างมากพอเพื่ออนุบาลปะการังเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประชากรส่วนใหญ่ก็ล้วนอยู่อาศัยในตึกสูง การใช้เลโก้ในโครงการนี้จึงช่วยประหยัดพื้นที่ได้มาก เพราะสามารถนำตัวต่อมาห้อยต่อกันเพื่อทำฟาร์มแนวตั้ง (​​Vertical Farming) ได้ ถึงแม้จะไม่ใช่ไอเดียที่ใหม่เท่าไหร่ แต่เมื่อนำมาปรับใช้กับการปลูกปะการังแล้วมันเวิร์กมากๆ เพราะตัวต่อเลโก้กินพื้นที่น้อยและสามารถต่อร้อยกับเชือกให้ยาวขึ้นไปได้เรื่อยๆ และประหยัดพื้นที่ในอะควาเรียมที่พวกเขาใช้เป็นที่ทดลองไปได้เยอะ ซึ่งในขณะนี้กำลังทำการทดลองกันอยู่ที่ St. John’s Island National Marine […]

บราวนี่อึแมวจากสิงคโปร์ ไอเดียแกล้งกันวันฮาโลวีน

คุณก็รู้ว่าเดือนตุลาคมของทุกปีคือเดือนปล่อยผี ซึ่งนอกจากทั่วโลกจะเต็มไปด้วยบรรยากาศของธีมสยองขวัญแบบฉบับเทศกาลฮาโลวีน แต่อีกด้านหนึ่งยังมีความหอมหวานของขนมต่างๆ ที่ผู้คนหยิบยื่นให้แก่กัน ตามธรรมเนียมแล้วจะมีเด็กๆ หลายคนตั้งตารอการได้รับขนมหวานเต็มถัง และในฐานะผู้ใหญ่ หลายๆ คนต้องเป็นคนแจกขนมต่างๆ ให้เหล่าเด็กๆ แต่โจทย์ของ Nasty Cookie จะทำให้การมอบขนมให้แก่กันสนุกและขบขันขึ้นยิ่งกว่าเดิม เพราะ Nasty Cookie ร้านคุกกี้ที่มีอยู่หลายสาขาในประเทศสิงคโปร์ได้เปิดตัวบราวนี่ตัวล่าสุดที่ชื่อ Cat Poop Brownies ซึ่งเป็นขนมที่มีรูปลักษณ์เหมือนขี้แมว ใช่ เหมือนมากๆ จนเราก็ตกใจ ซึ่งความหัวใสนี้มาจากความตั้งใจดีไซน์ให้การมอบของหวานในฮาโลวีนปีนี้แปลกใหม่ สนุกล้ำขนาดที่มีคำเชิญชวนจากทางร้านว่า “ฮาโลวีนนี้ขอเชิญคุณมากินอึ” ตรงกับที่ Mothership สำนักข่าวในสิงคโปร์รายงานว่าร้านคุกกี้แห่งนี้ได้ส่งข่าวประชาสัมพันธ์การเปิดตัวสินค้าดังกล่าวมาทางอีเมลด้วยข้อความเดียวกัน สำหรับลูกค้าที่สนใจจะซื้อบราวนี่ Cat Poop ต้องจ่ายเงินจำนวน 5 ดอลลาร์สิงคโปร์ (คิดเป็นเงินไทยจำนวน 120 กว่าบาท) โดยคุณจะได้รับกล่องขนมบรรจุบราวนี่อึน้องแมวที่เสิร์ฟมาบน ‘ทรายแมว’ ซึ่งทำจากเศษผง สตรูเซล อันประกอบไปด้วยส่วนผสมของแป้ง เนย และน้ำตาล เรียกได้ว่าดีเทลหน้าตาของมันเต็มไปด้วยความใส่ใจในรายละเอียดจนมีความสมจริงอย่างไร้ที่ติ ชนิดที่ว่าถ้าคนที่ได้รับเป็นของขวัญไม่ขำหรือร้องหยีก็ให้มันรู้ไป ถ้าอยากจะลิ้มลองขนมอึชนิดนี้ เจ้าบราวนี่ขี้แมวของ Nasty Cookie จะวางจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และในร้านค้าตั้งแต่วันที่ 16 […]

ที่ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน กลิ่นไม่แรง สมานแผลไว

เมื่อความหลงใหลในทุเรียนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากล้น นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์หัวใสเลยหยิบเอาความคลั่งไคล้นี้มาหวดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ  เรื่องมีอยู่ว่า เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (NTU) ได้แปลงร่างเจ้าเปลือกทุเรียนให้เป็นแผ่นเจลต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการนำส่วนเปลือกที่เรากินไม่ได้มาใช้ประโยชน์  กระบวนการสุดเจ๋งนี้ใช้การสกัดผงเซลลูโลสออกจากส่วนแกลบทุเรียนด้วยกรรมวิธี Free-Drying Process จากนั้นผงเซลลูโลสจะผสานเข้ากับสารกลีเซอรอล (ผลพลอยได้จากวิธีการรีไซเคิลรูปแบบหนึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและสบู่) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซอฟต์เจลที่ปรับให้เป็นที่ปิดแผลสุดมหัศจรรย์ได้ จากนั้นก็นำแผ่นเจลดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยสารประกอบจากยีสต์ขนมปัง เพื่อเตรียมการให้พร้อมสำหรับการใช้ปฐมพยาบาล ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาบริเวณบาดเจ็บให้เย็นและชุ่มชื้น แถมช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น แม้คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ จะชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้มากๆ แต่พวกเราก็ไม่ค่อยได้นึกถึงการใช้สอยเปลือกทุเรียน ก็ใครจะไปคิดล่ะว่ามันเป็นมากกว่าอาหารได้ “ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี นอกจากเนื้อผลไม้แล้ว เราไม่ได้นำแกลบและเมล็ดของมันมาใช้มากนัก เลยทำให้มันเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” William Chen ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านโปรแกรมวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกล่าว เฉินยังยืนยันแบบปังๆ ด้วยว่าเทคโนโลยีของทีมใช้ได้กับเศษอาหารอินทรีย์รูปแบบอื่นๆ ได้ อาทิ ธัญพืชและถั่วเหลือง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการแก้ไขปัญหาเศษอาหารของประเทศ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าปลาสเตอร์ทุเรียนนั้น ไม่มีกลิ่นและย่อยสลายได้ง่าย พร้อมทั้งยังได้รับการพิสูจน์ว่าใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าวัสดุแบบเดิมๆ ซึ่งมักใช้สารประกอบโลหะที่มีราคาแพงกว่า อย่างเงินหรือทองแดง  นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบมา ทีมงานก็ได้เจรจากับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการเพิ่มยอดการผลิตเจลปิดแผล ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เฉินกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อาจไปถึงร้านค้าภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น แค่นี้ก็มั่นใจได้เลยว่าราคาขายปลีกของที่ปิดแผลชนิดนี้จะแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน Source : […]

สิงคโปร์สร้างเมืองยั่งยืน ภายใน 2030 ด้วยการเพิ่มต้นไม้ ขยายพื้นที่ปั่นจักรยาน ลดการฝังกลบขยะและแบนรถยนต์ดีเซล

การให้เมืองและพื้นที่สีเขียวอยู่รวมกันอาจฟังดูเป็นเรื่องยากที่จะให้ทั้ง 2 อย่างเดินหน้าไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน แต่คงไม่เกินความสามารถของประเทศเล็กๆ แต่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพอย่างสิงคโปร์แน่นอน ‘Singapore Green Plan 2030’ คือแผนพัฒนาเมืองสิงคโปร์ให้อยู่ร่วมกับพื้นที่สีเขียวได้อย่างยั่งยืน โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มกว่า 1 ล้านต้น ขยายพื้นที่ปั่นจักรยานให้มากขึ้น แบนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลให้ได้ภายในปี 2025 ลดปริมาณขยะฝังกลบต่อครัวเรือนลง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วหันมาพัฒนาโครงสร้างการรีไซเคิลขยะแทน ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้บริษัทต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อขยะที่พวกเขาสร้าง รวมไปถึงเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น 5 เท่า นอกจากนี้ ตึกที่สร้างภายในปี 2030 จะต้องใช้พลังงานต่ำสุดตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด  ด้วยแผนนี้เอง สิงคโปร์จะกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก พื้นที่ 1 ใน 3 ของเมืองจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ นอกจากจะเป็นการช่วยลดมลพิษแล้ว ยังนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.