‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

ชวนมองสังคมผู้สูงอายุแบบนอกกรอบที่งาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023 Out of the Box Aging’ เข้าร่วมฟรี 18 พ.ย. 66 ที่ True Digital Park

การก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ’ (Aged Society) เป็นความท้าทายสำคัญที่ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนวัยเกษียณทุกคน เพราะเชื่อว่าชีวิตดีๆ สร้างได้ทุกวัย สื่อที่ถ่ายทอดเรื่องราวของสังคมผู้สูงวัยในมุมที่สนุกและสร้างสรรค์อย่าง มนุษย์ต่างวัย ได้จัดงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023 Out of the Box Aging’ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะชวนให้คนทุกวัยมองสังคมผู้สูงอายุแบบนอกกรอบ และลบภาพจำเดิมๆ ที่มีต่อประชากรกลุ่มนี้ ภายในงานจะมี ‘เวทีทอล์ก’ ที่ช่วยเปิดมุมมอง กระตุกต่อมคิด สร้างแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลอินไซต์จากเหล่าผู้บรรยายจากไทยและต่างประเทศ ที่จะมานำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองทางธุรกิจในสังคมสูงวัย ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพดีๆ ที่อาจเปลี่ยนชีวิตเราไปอย่างคาดไม่ถึง รวมถึงเรื่องราวการร่วมมือกันระหว่างคนต่างวัย และประสบการณ์ชีวิตของคนรุ่นใหญ่ที่จะทำให้ใจผู้เข้าร่วมงานมีพลังในการเติบโตอย่างไม่รู้จบ เท่านั้นยังไม่พอ งานนี้ยังมี 5 เวิร์กช็อปด้านการงานและการใช้ชีวิตสำหรับคนเตรียมตัวเกษียณและทุกคนที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องการท่องเที่ยว แฟชั่นวินเทจ การเสริมสร้างพลังกายและพลังใจ โอกาสในโลกดิจิทัล และการเงิน รวมถึงโซน Market & Space ตลาดที่ไม่ได้ขายแค่สินค้าเท่านั้น แต่ยังนำเสนอไอเดีย สร้างแรงบันดาลใจ ชวนคนรุ่นใหญ่ให้มองเห็นโอกาสในการงานและการใช้ชีวิตในหลากหลายแง่มุม เพื่อสร้างรายได้ สร้างคุณค่าในตัวเอง […]

Song from the Past เสียงเพลงจากวันวาน

เสียงขับร้องเพลงลูกกรุงที่ผมได้ยินอย่างไม่ตั้งใจ ทำให้ขาของผมก้าวตามไปอย่างอดใจไม่ได้ อาจเพราะความทรงจำในวัยเยาว์ที่ทำให้ผมหวนรำลึกถึงท่วงทำนองและ เสียงเพลงอันคุ้นเคย ร้านคาราโอเกะเป็นแหล่งรวมตัวของผู้สูงอายุที่ล้วนมีความชอบในสิ่งเดียวกัน บางคนมาเพื่อร้องเพลง บางคนมาเพื่อนั่งฟัง และบางคนมาเพื่อคลายเหงา มาบ่อยจนสถานที่แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและความทรงจำ น่าเสียดายอยู่ไม่น้อยถ้าสิ่งเหล่านี้กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา เพราะสำหรับผม สิ่งเหล่านี้เปรียบได้ว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่ผมผ่านมาเพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งไว้เท่านั้น ทั้งหมดเกิดจากความบังเอิญอย่างไม่ตั้งใจ ในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเหมาะแก่การออกไปข้างนอก วันนั้นผมมีธุระที่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไรนักที่ต้องออกไปทำ ผมโบกมือเรียกรถแท็กซี่จากหน้าคอนโดฯ แห่งหนึ่งย่านเตาปูน จุดหมายปลายทางคือวังบูรพา โชเฟอร์เลือกใช้เส้นทางผ่านหน้ารัฐสภา ซึ่งในเวลานั้นเองถนนเส้นนั้นมีการขุดถนนเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าอยู่พอดี ฝุ่นตลบอบอวลไปทั้งสองข้างทาง บดบังทัศนียภาพอันแสนสดใสของวันนั้นไป เวลาล่วงเลยมาเกือบชั่วโมงเศษๆ กับการที่ผมนั่งอยู่ในรถที่การสัญจรบนถนนเป็นไปอย่างยากลำบาก พร้อมกับสภาวะท้องไส้ปั่นป่วนของตัวเองที่ส่งสัญญาณให้รับรู้ว่าต้องการห้องน้ำที่ใกล้ที่สุด ผมตัดสินใจบอกกับลุงโชเฟอร์ว่าขอลงรถตรงตลาดศรีย่าน ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำตัวกับท่านผู้อ่าน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความสงสัยกันไปมากกว่านี้ว่าตัวผมเองนั้นคือใคร มาจากไหน ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน เติบโตมาในย่านสำเพ็งเยาวราช พออายุสิบสามปีก็ย้ายที่อยู่มาอยู่แถวสี่แยกพิชัย (แถวๆ ตลาดศรีย่านนั่นแหละ) นั่นทำให้ผมมีความชำนาญพื้นที่ละแวกนั้นอยู่พอสมควร ผมรีบเดินปรี่เข้าไปหาห้องน้ำที่ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งในย่านนั้น ภาพในหัวของผมเมื่อเข้าไปที่ห้างฯ แห่งนั้น ทำให้นึกย้อนถึงวันวานสมัยยังเด็กที่ได้แวะเวียนมาใช้บริการและซื้อของเล่นเป็นบางครั้งบางคราว แต่นั่นเป็นเพียงภาพในความทรงจำเท่านั้น เพราะสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือภาพห้างฯ ที่เปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมอยู่เลย ศูนย์อาหารที่แทบจะร้าง ประตูมู่ลี่ของร้านค้าต่างๆ ปิดลง หลงเหลือไว้แต่ร่องรอยของป้ายที่บอกว่าร้านค้าเหล่านั้นเคยเป็นร้านเครื่องเสียงมาก่อน ในขณะเดียวกัน ผมได้ยินเสียงเพลงที่ไม่สามารถห้ามไม่ให้ตัวเองเดินตามเสียงเหล่านั้นไป “แม้นใจเอื้อเชื่อคำน้ำใจ จะไม่เปลี่ยนกลาย คล้ายน้ำตกหลั่งไหลไม่วาย รักคงไม่หน่ายแนบเคียงทุกครา ขอรักจนกว่าชีวาสลายลาญ” เนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงวิมานรักห้วยแก้ว โดย […]

เดชรัต สุขกำเนิด กับปรัชญาการทำงานในสังคมต่างวัย

ในวันที่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีบทบาทในสังคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาแล้ว ‘ผู้อาวุโส’ จะอยู่ตรงไหนในสังคมการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน สนทนาถึงประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด’ ผู้อำนวยการ Think Forward Center แห่งพรรคก้าวไกล ที่ใครๆ ก็เห็นว่าเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ คนสูงวัยหรือผู้อาวุโสควรวางตัวอย่างไร ต้องปรับมายด์เซตแบบไหนให้ไม่เป็นพิษกับเด็กๆ รอบข้าง ตามไปฟังคำแนะนำจากผู้อาวุโสคนหนึ่งที่พยายามไม่ใช้ความอาวุโสไปกดทับใครในบทสัมภาษณ์นี้ ‘Super Seniors’ คือซีรีส์คอนเทนต์จาก Urban Creature ที่ต้องการฉายภาพสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุที่ไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ พร้อมกับชวนไปสำรวจโครงสร้าง นโยบาย และมายด์เซตที่เมืองของเราได้เตรียมพร้อมไว้ให้คนกลุ่มนี้

The Old Men and The Park สูงวัยในสวนสาธารณะ

ในเมืองใหญ่แห่งนี้มีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มาพบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างน้อย จะมีก็แต่สวนสาธารณะที่ดูเข้าถึงง่ายหน่อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักออกมาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง รำมวยจีน เต้นลีลาศ หรือแอโรบิก บางคนมาเป็นประจำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนเกษียณจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 10 – 20 ปี แต่หากพูดถึงการเดินทางมาสวนสาธารณะ เราได้พูดคุยกับผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มาสวนเป็นประจำ ได้รับคำตอบว่า เพราะสวนอยู่ใกล้บ้านมากๆ ทำให้พวกเขาเดินเท้ามาได้เลย ถึงอย่างนั้นกับบางคนก็ใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ยอมเดินทางมา เพราะพื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ไม่ได้มีตัวเลือกมากมายขนาดนั้น เราคิดว่า ถ้ามีสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่านี้ก็คงดี เพราะนอกจากส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่พื้นที่การออกกำลังกายและนัดหมายพบปะเพื่อนฝูงแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นและวัยทำงานได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แถมยังเป็นหนทางปลีกตัวออกจากสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วมาผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติ หากไปดูในต่างประเทศ ทุกชุมชนล้วนมีสวนสาธารณะขนาดย่อมตั้งอยู่ ทำให้ใครๆ ต่างอยากออกมาเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หรือในบางประเทศที่ออกแบบสวนสาธารณะได้สวยงามมากๆ ก็ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ด้วย

FYI

‘ชีวิตคือความลำบาก’ วัยเกษียณที่ไม่มีจริงของ ‘ผู้สูงวัย’ ในเมืองแรงงาน

ในวันหยุดแสนสบาย อากาศแจ่มใส เมฆหนาลอยเกลื่อนอยู่บนฟ้า เราพาตัวเองออกเดินไปในเมืองตามย่านต่างๆ เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คน และได้พบว่า ‘กรุงเทพฯ’ นั้นมีผู้คนมากหน้าหลายตาพลัดถิ่นเข้ามาใช้ชีวิตและทำงาน ไม่ใช่แค่วัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังแรงหลัก ทว่าผู้สูงวัยในเมืองนี้ก็ยังคงต้องทำงานเช่นกัน เราแวะทักทายคุณลุงคุณป้าที่เดินสวนกัน บางคนกำลังเข็นรถขายของ บางคนกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการงานตรงหน้า เรามองเห็นผิวหนังกรำแดด ร่องรอยเหี่ยวย่นของกาลเวลา และพบเจอบางสิ่งบางอย่างจากแววตาของลุงๆ ป้าๆ ที่สะท้อนให้รู้ว่า ‘ชีวิตคือความลำบาก’ เพราะในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำมีระยะห่างมากเกินไป แม้สังขารจะไม่เที่ยง ร่างกายจะชำรุด หรือเรี่ยวแรงเหลือน้อยเต็มที แต่ผู้สูงวัยหลายคนเหล่านั้นล้วนห่างไกลจากคำว่า ‘ชีวิตหลังวัยเกษียณ’ และอาจต้องทำงานไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อดูแลตัวเองให้ไม่เดือดร้อนใคร พาไปสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คนสูงวัยในมหานครแห่งนี้ ผ่านบทสนทนาอันหวานขมของชีวิต พร้อมกับคำอวยพรจากคนวัยเก๋าที่ฝากให้คนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ สู้ สู้กันต่อไป ชื่อ : ลุงเกียรติ พรมรุกชาติอาชีพ : ปั่นรถถีบสามล้ออายุ : 64 ปีภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ ดวงตะวันเกือบตรงหัว บนถนนที่รถราแล่นสวนกันไปมามุ่งหน้าสู่จุดหมาย ‘ลุงเกียรติ พรมรุกชาติ’ เองก็กำลังปั่นสามล้อคู่ใจมองหาผู้โดยสาร เราโบกมือให้ลุงจอดและเอ่ยทักทายพูดคุยกับเขา “ชีวิตคนเราต้องดิ้นรน จากบุรีรัมย์ผมก้าวเข้ามาอยู่ที่นี่ (ตัวเมืองพระประแดง) ราวปี 2539 เมื่อก่อนเศรษฐกิจดี […]

Super Seniors ผู้สูงวัยเยอะ สวัสดิการน้อย คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม

ถ้าเด็กในวันนั้นคือผู้ใหญ่ในวันนี้ ดังนั้นผู้ใหญ่ในวันนี้ก็คือ ‘ผู้สูงอายุ’ ในวันหน้าแบบที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นเดียวกัน ยิ่งในทุกวันนี้ที่สภาพคล่องทางการเงินของคนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไหนจะภาวะเงินเฟ้อที่สูงสวนทางกับรายได้ ทำให้เราหลายคนต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือบางเดือนอาจไม่พอเลยด้วยซ้ำ แบบนี้จะเก็บเงินก้อนไว้ใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยได้ยังไงกันฃ และปัญหาเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้วัยรุ่นหลายคนเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายของตัวเองกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะดูเหมือนปัจจัยและบริบทต่างๆ ในสังคมไทยจะไม่ค่อยส่งเสริมให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีกันสักเท่าไหร่ คอลัมน์ Overview ประจำเดือนสิงหาคมนี้ ขอพาทุกคนไปสำรวจสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ไปจนถึงสิทธิและสวัสดิการที่คนเหล่านี้จะได้รับจากภาครัฐ และมองหาบ้านพักหลังสุดท้ายอย่างบ้านพักคนชราที่ผกผันไปตามเม็ดเงินในกระเป๋าในบั้นปลายชีวิตไปพร้อมๆ กัน 01 | ไทยเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หลายคนอาจจะได้ยินกันมาตลอดว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กับเหตุการณ์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ ‘กำลัง’ แต่ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้ามายืนในสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว เพราะจากการสำรวจประชากรในประเทศไทยปี 2023 พบว่า ประเทศของเรามีประชากรทั้งสิ้น 71,801,279 คน และในจำนวนนี้มีกลุ่มคนที่อยู่ในเกณฑ์ ‘ผู้สูงอายุ’ หรือกล่าวคือ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย มากถึง 16,405,119 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 7,297,175 คน และเพศหญิง 9,107,944 คน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะพบว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีสัดส่วนจากประชากรทั้งหมดมากถึง 22.85 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทำให้ปัจจุบันสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไทยเราได้เข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ […]

สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe

ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด

ลองมองไปรอบตัว เราจะพบกับผู้คนหลากหลายช่วงวัยอยู่ร่วมกันในสังคม หนึ่งในช่วงวัยที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘ผู้สูงอายุ’ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดสังคมสูงวัยจากสัดส่วนของประชากรอายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป แบ่งตามลำดับดังนี้  1) ‘สังคมสูงวัย’ (Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ 2) ‘สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ3) ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ ประชากรโลกกำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ World Population Prospects 2022 คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรบนโลกนี้มีมากถึง 8 พันล้านคน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอยู่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 […]

เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน

หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น  นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]

เมืองจะทำยังไงเมื่อผู้สูงอายุเต็มเมือง กับ อาจารย์ษัษฐรัมย์ | Unlock the City EP.07

คนส่วนใหญ่มักหวาดกลัวความแก่ชรา ความจริงแล้วสิ่งที่เรากลัวนั้นอาจไม่ใช่การที่อายุมากขึ้นหรือร่างกายเสื่อมลง แต่เป็นการที่ ‘แก่’ แล้ว ‘จน’ เพราะไม่มีรัฐสวัสดิการรองรับ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานของเมืองก็ไม่สนับสนุนให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่สุด เมืองไทยก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว หลังจากที่เมื่อปีที่แล้วจำนวนประชากรผู้สูงอายุแซงหน้าประชากรเด็ก นั่นแปลว่าถึงเวลาแล้วที่เมืองควรหันมาใส่ใจการออกแบบให้รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนที่มีอายุมากขึ้นสักที ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง และ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจ ศึกษา และเรียกร้องรัฐสวัสดิการ จะมาแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุกับการออกแบบเมืองที่สอดรับกันใน Unlock the City ตอนนี้ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/9GjOj5W_xsg Spotify : https://spoti.fi/3QijmP0069824aa0 Apple Podcasts : https://apple.co/3dge3km Podbean : https://bit.ly/3SCKObz

รถไฟ JR ญี่ปุ่นทดลองวิ่งไร้คนขับช่วงกลางวันเป็นครั้งแรก!ตั้งเป้าพัฒนาใช้จริงปี 2027

หลายคนคงคุ้นเคยและได้ยินเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (driverless) กันมาบ้างแล้ว แต่จะเป็นอย่างไร ถ้ามีขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟที่ขับเคลื่อนบริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีนี้บ้างล่ะ? อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศที่ขนส่งทางรางเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันอย่างญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รถไฟ JR สายตะวันออกได้ทดลองวิ่งด้วยระบบไร้คนขับเป็นครั้งแรกในช่วงเวลากลางวัน ก่อนเริ่มให้บริการรอบแรกของวัน การทดลองวิ่งเป็นไปตามเส้นทางวงกลม 34.5 กิโลเมตรตลอดสายยามาโนเตะ (Yamanote Line) ซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญที่วิ่งรอบโตเกียวและมีผู้ใช้บริการกว่า 3.5 ล้านคนต่อวัน  การทดลองวิ่งครั้งนี้ไม่มีผู้โดยสารอยู่ในตัวรถ มีเพียงคนขับรถคอยตรวจตราความเร็ว หรือความตรงเวลาของระบบ แต่ก็นับเป็นหมุดหมายสำคัญได้เลย เพราะการทดลองวิ่งแบบไร้คนขับครั้งที่ผ่านมานั้นทดสอบในช่วงเวลากลางคืน และการทดลองใช้เทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงในปี 2027 หรืออีก 5 ปีข้างหน้านั่นเอง  ทำไมทางญี่ปุ่นถึงต้องนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับรถไฟ คำตอบคือ ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่คนวัยทำงาน ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในขนส่งสาธารณะอย่างการขับรถไฟ และพนักงานส่วนใหญ่ก็จะเกษียณอายุงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้  แม้ทางบริษัท JR จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการจ้างพนักงานที่เกษียณไปแล้วมาทำงาน แต่นั่นก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า และคำถามสำคัญเมื่อนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับขนส่งสาธารณะคือประเด็นเรื่องความปลอดภัย เช่น การหยุดรถกะทันหันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รถจะจอดตรงจุดจอดสถานีหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้คือโจทย์ที่รัฐต้องร่วมกันอุดช่องโหว่กันต่อไป Sources Mainichi | https://bit.ly/3t3UZuU Nikkei Asia […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.