‘กลาสโกว์’ สู่การเป็น ‘เมืองเฟมินิสต์’ แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

เมือง ‘กลาสโกว์’ ประเทศสกอตแลนด์ คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีแหล่งช้อปปิงและร้านค้ากระจายอยู่ทั่ว ที่สำคัญยังเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ที่มาพร้อมความเจริญเกือบทุกด้าน ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ จนทำให้กลาสโกว์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทว่าความก้าวหน้าของกลาสโกว์ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ตั้งใจจะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นศูนย์กลางของการวางผังเมืองในทุกมิติ เพราะรัฐบาลของเมืองเชื่อว่า ‘การออกแบบเมืองที่ดีสำหรับผู้หญิง คือการออกแบบเมืองที่ดีสำหรับทุกคน’ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปทำความเข้าใจว่า ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ หรือ ‘Feminist City’ หน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงแผนการสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์แห่งแรกของสหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดมูฟเมนต์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กลาสโกว์ในมิติไหนบ้าง จุดเริ่มต้นของการออกแบบเมืองเพื่อผู้หญิง เส้นทางสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์ของกลาสโกว์เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 หลังจากสภาเทศบาลเมืองกลาสโกว์มีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมืองทุกมิติ โดยผู้ยื่นข้อเสนอนี้คือ ฮอลลี บรูซ (Holly Bruce) สมาชิกสภาจากพรรคกรีน (Green) ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์กลายเป็นเมืองแรกในสหราชอาณาจักรที่จะโอบรับ ‘แนวคิดการออกแบบเมืองแบบสตรีนิยม’ หรือ ‘Feminist Urbanism’ Feminist Urbanism หมายถึงการออกแบบเมืองที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยก และการรวมความหลากหลายของคนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน […]

ประเทศแรกของโลก! สกอตแลนด์บังคับใช้กฎหมายแจกผลิตภัณฑ์ประจำเดือนฟรี ให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงผ้าอนามัยได้

ในขณะที่ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลแจก ‘ผ้าอนามัยฟรี’ กันอยู่ ตอนนี้ ‘สกอตแลนด์’ ได้นำหน้าเราไปไกลแล้ว หลังจากก้าวขึ้นเป็นประเทศแรกของโลกที่บังคับใช้กฎหมายแจกผลิตภัณฑ์ประจำเดือนให้ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดยผู้ที่ต้องการผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอด สามารถรับผลิตภัณฑ์แบบไม่จำกัดจำนวนได้ตามสถานที่สาธารณะและหน่วยงานของรัฐทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สระว่ายน้ำ โรงยิมสาธารณะ อาคารชุมชน ศาลากลาง ร้านขายยา หรือสำนักงานแพทย์ มากไปกว่านั้น ผู้คนสามารถค้นหาโลเคชันแจกผ้าอนามัยที่ใกล้ที่สุดได้ฟรีผ่านแอปพลิเคชัน ‘PickupMyPeriod’ และภาครัฐยังมีบริการจัดส่งผลิตภัณฑ์ถึงบ้านด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนที่มีประจำเดือนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออาศัยอยู่บริเวณไหนของสกอตแลนด์ จะสามารถเข้าถึงผ้าอนามัยได้อย่างเท่าเทียม  อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาของผู้หญิงบางกลุ่มที่เผชิญสภาวะขาดแคลนหรือไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนได้ (Period Poverty) เนื่องจากผู้หญิงมีระยะเวลาเป็นประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วันต่อเดือน ทำให้บรรดาผู้มีประจำเดือนในสกอตแลนด์ต้องเสียเงินไปกับการซื้อผ้าอนามัยมากถึงเดือนละ 8 ปอนด์ หรือราว 340 บาท กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ทั่วสกอตแลนด์ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2022 หลังจาก Monica Lennon สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคแรงงานแห่งสกอตแลนด์ได้เสนอร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่ปี 2016 และผ่านการอนุมัติโดยฝ่ายนิติบัญญัติในขั้นต้นไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2020 รวมเป็นระยะเวลาถึง 6 ปี กว่าที่ชาวสกอตแลนด์ทุกคนจะมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนให้ใช้ฟรีโดยไม่ต้องเสียเงิน หลังจากมีการบังคับใช้กฎหมาย Monica Lennon ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัวของเธอว่า “สกอตแลนด์อาจเป็นประเทศแรกของโลก […]

ทำไมเมือง ‘เอดินบะระ’ ถึงเป็นมิตรสำหรับเด็ก

ว่ากันว่า “เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” นั่นหมายความว่าในอนาคตพวกเขาเหล่านี้จะเติบโตไปผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ดังนั้นในหลายประเทศเด็กและเยาวชนจึงถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนสำคัญในสังคม ดังเช่นสกอตแลนด์ที่สร้าง “เมืองเอดินบะระ” ให้เป็นมิตรกับเด็กทุกคน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.