ไม่ให้เงินพ่อแม่ เราจะเป็นคนอกตัญญูไหม

ถ้าไม่มีเงินให้พ่อแม่ เราจะกลายเป็นคนอกตัญญูไหม เชื่อว่าประโยคข้างต้นเป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนวัยเริ่มต้นทำงานในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงลิ่วสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง บางคนอาจจะเอาตัวรอดเลี้ยงดูตัวเองได้สบายๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นหรือใช้ชีวิตเข้าเนื้อพอสมควร ปัญหาของคนรุ่นใหม่หลายคนที่เริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่เพียงแค่จัดการเงินเลี้ยงดูตัวเองให้อยู่รอดในแต่ละวัน แต่ยังต้องแบ่งให้ครอบครัวส่วนหนึ่ง ด้วยค่านิยมที่ปลูกฝังกันมายาวนานว่า ‘ให้เงินพ่อแม่ = เด็กกตัญญู’ แม้ว่าถ้าให้เงินไปแล้ว พวกเขาอาจจะใช้ชีวิตลำบากมากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจจะโดนสังคมมองว่าเป็น ‘เด็กอกตัญญู’ แนวคิดดังกล่าวเริ่มทำให้เราตั้งคำถามในใจว่า หากเราไม่มีเงินมากพอที่จะให้พ่อแม่ใช้จ่ายอย่างสุขสบาย หรือเราไม่ให้เงินพวกท่านเพราะรู้สึกยังไม่พร้อมทางการเงิน ท้ายที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นคนไม่ดีในสายตาคนรอบตัวหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนไปหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกัน กตัญญูกตเวทีคืออะไร อ้างอิงจากวารสารมานุษยวิทยาศาสนา (Journal of Religious Anthropology : JORA) อธิบายความหมายของคำว่า ‘กตัญญูกตเวที’ คือ ผู้ที่รู้ระลึกคุณของผู้มีพระคุณและทำคุณประโยชน์ตอบแทน โดยความกตัญญูในสังคมไทยมักมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) การทำความดีเพื่อหวังผลประโยชน์ คือการตอบแทนคนที่ช่วยเหลือเรา ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการตั้งนิยามในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต สังเกตได้จากค่านิยมการมีลูกสมัยก่อนที่ว่า ‘มีลูกเพื่อให้พวกเขาเลี้ยงดูตอนแก่’ 2) การทำความดีด้วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ลักษณะนี้สอดคล้องกับคำว่า ‘บุพการี’ ในพุทธศาสนา แปลว่า ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมีภาพจำความกตัญญูกตเวทีกับรูปแบบแรกที่ต้องตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา  […]

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 เมือง ‘Work ไร้ Balance’ ของโลก

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96  สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]

ปีศาจความยากจนและมือปราบปีศาจรัฐสวัสดิการที่เกิดจากความกลัวของคนไทย ใน Chainsaw Man

“รู้ไหมว่าอสูรน่ะ เกิดมาพร้อมกับ ‘ชื่อ’ ยิ่ง ‘ชื่อ’ น่ากลัวเท่าไรก็ยิ่งมีพิษสงมากขึ้นเท่านั้น “แต่ถ้าเป็น ‘อสูรรถ’ มีแนวโน้มว่ามันจะแข็งแกร่งพอสมควร เพราะอย่างน้อยๆ ภาพตอนถูกชนตาย ใครๆ ก็นึกออก หรือถ้ามี ‘อสูรกาแฟ’ มันจะต้องอ่อนแออย่างแน่นอนเพราะกาแฟไม่สามารถสร้างภาพแห่งความน่ากลัวได้” จากคำอธิบายถึงคอนเซปต์การเกิด ‘ปีศาจ’ โดยมือปราบปีศาจ ‘คุณมาคิมะ’ ใน Chainsaw Man มังงะสุดดาร์กที่กลายเป็นแอนิเมชันและลงจอฉายใน Amazon Prime ไปเมื่อต้นเดือนนี้ น่าจะพอทำให้ทุกคนรู้ว่าถ้าใครกลัวอะไรในโลกที่มนุษย์และปีศาจใช้ชีวิตด้วยกันนั้น ความกลัวนั้นจะสร้างปีศาจขึ้นมา และมันจะยิ่งมีอำนาจพลังมากขึ้น แปรผันตามจำนวนคนที่หวาดกลัว คอลัมน์ Urban Isekai ขอตามกระแสความไฮป์ปีศาจเลื่อยยนต์ ไปกระทำการอิเซไกในโลก Chainsaw Man ว่าถ้าความกลัวของผู้คนสร้างปีศาจขึ้นมาได้ ในประเทศไทย ปีศาจตนใดที่จะแข็งแกร่งที่สุด พร้อมๆ กับจะมีมือปราบปีศาจตนใดมาต่อกรกับอสูรร้ายในบ้านเมืองของเราได้ ‘ปีศาจความยากจน’ ปีศาจที่คนไทยกลัวที่สุด อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าคอนเซปต์การเกิดปีศาจของ Chainsaw Man มาจากความกลัวของมนุษย์ นั่นแปลว่าต่อให้เรากลัวอะไรเล็กน้อยหรือมากมายแค่ไหน ความกลัวนั้นก็สามารถให้กำเนิดปีศาจได้ทั้งนั้น ทว่าหากเป็นความกลัวเล็กๆ หรือเรากลัวสิ่งนั้นแค่คนเดียว ปีศาจตนนั้นก็จะมีพลังไม่มากและถูกมือปราบปีศาจกำจัดได้ไม่ยาก แต่ในทางกลับกัน […]

บัตรคนจน ช่วยคนจนหรือสร้างความเหลื่อมล้ำ?

เมื่อไม่นานนี้เพิ่งมีการเปิดรับลงทะเบียน ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ หรือ ‘บัตรคนจน’ รอบใหม่ในปี 2565 โดยครั้งนี้คณะรัฐมนตรีวางเป้าหมายคนลงทะเบียนบัตรประเภทนี้ไว้ 20 ล้านคน เพื่อเยียวยาและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับคนที่มีรายได้น้อย เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้คนตกงานมากมาย และคนหันไปทำงานอิสระมากกว่าเคย จึงคาดการณ์ว่าจะมีคนจนมากกว่าแต่ก่อน รวมถึงคาดว่าจะมีคนรับสิทธิ์จริงประมาณ 17 ล้านคน ซึ่งตั้งงบประมาณเอาไว้ 5,337 ล้านบาท ว่าด้วยตัวเลข 20 ล้านคนที่คณะรัฐมนตรีตีกรอบเอาไว้สำหรับคนที่ลงทะเบียนบัตรคนจนปี 2565 เมื่อย้อนดูสถิติจำนวนคนถือบัตรคนจนตั้งแต่ปี 2560 – 2564 จากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2560 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2561 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 11 ล้านคนปี 2562 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 15 ล้านคนปี 2563 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2564 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 13 ล้านคนปี 2565 ครม.ตั้งเป้าไว้ 20 ล้านคน (คาดว่ารับจริง […]

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

‘นิทรรศกี’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่องกีๆ ผลักดัน ‘ผ้าอนามัยฟรี’ เพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า

‘เมนส์ของตัวเอง ทำไมต้องให้รัฐรับผิดชอบ?’‘นโยบายนี้จะมีคนได้ประโยชน์สักกี่คน?’‘เอาเวลาไปแก้ปัญหาปากท้องดีกว่าไหม? แค่ผ้าอนามัยใครๆ ก็ซื้อได้’ คำถามเหล่านี้คือสิ่งที่เราเห็นอยู่บนโลกออนไลน์หลังเปิดตัว ‘นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา นิทรรศการนี้เปิดตัวในวันสตรีสากล ซึ่งในปีนี้มีธีมรณรงค์ว่า #BreakTheBias เพื่อปลดแอกอคติและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับที่พรรคเพื่อไทยต้องการผลักดันในปัจจุบันจึงเกิดเป็นนิทรรศกีขึ้นมา เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่า ‘ผ้าอนามัย’ เป็นของส่วนตัว ประจำเดือนเป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง ‘ผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ จึงเป็นเรื่องใหม่มากๆ ในสังคมไทยที่จะยกขึ้นมาเป็นสวัสดิการรัฐ และทำให้เรื่องกีๆ ที่มักจะถูกทำให้เป็นเรื่องต้องห้ามถูกนำมาถกเถียงกันมากขึ้น หากคุณเป็นผู้มีประจำเดือน หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ในหลายๆ เรื่องที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ประจำเดือนเลอะในที่สาธารณะ ต้องเจียดเงินไปซื้อผ้าอนามัยในวันที่ประจำเดือนมาฉุกเฉิน หรือให้ผ้าอนามัยเพื่อนฟรีๆ ทันทีที่มีคนขอ แต่สำหรับบางคน การมีประจำเดือนอาจไม่ใช่ประสบการณ์ที่ดีเท่าไร หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าในประเทศไทยยังมีผู้มีประจำเดือนกว่า 64.72% ที่เข้าไม่ถึงผ้าอนามัยเพราะความยากจน (Period Poverty) โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างผู้มีรายได้น้อย คนในวัยเรียน และคนในเรือนจำ ผู้มีประจำเดือนกลุ่มนี้จึงต้องใช้อย่างอื่นแทนผ้าอนามัย และจำใจเสี่ยงกับปัญหาสุขภาพเพราะไม่มีทางเลือกอื่น ผ้าอนามัย สวัสดิการรัฐ และอคติทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร? เราจะพาไปแหวกประตูกีและดูความเป็นไปได้ของ ‘ผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ กับ ‘ปกป้อง-ชานันท์ ยอดหงษ์’ และ ‘จิน-สิรวิชญ์ […]

สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.