‘สรรพสิ่งล้วนถูกกัดเซาะไปตามคลื่นลม’ สำรวจกรอบและเขตแดนที่กางกั้นใน Solids by the Seashore

ปกติแล้วหนังที่มีประเด็นใหญ่ๆ ชัดๆ มักจะนำเสนอเรื่องราวโดยให้ตัวละครชี้ไปยังปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเห็นสถานการณ์เหล่านั้นอย่างชัดเจน ก่อนจะพยายามนำพาให้ตัวละครชักจูงผู้ชมไปหาหนทางต่อสู้แก้ปมปัญหานั้นๆ ทว่าสำหรับภาพยนตร์ ‘Solids by the Seashore’ หรือ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ ผลงานกำกับของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ที่ก็ดูเป็นหนังไทยที่เต็มไปด้วยหัวข้อประเด็นใหญ่ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำแพงกันคลื่นของรัฐ ความแตกต่างทางศาสนาไทยพุทธและมุสลิม และความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสอง ซึ่งแตะทั้งมิติการเมือง ศาสนา เพศสภาพ ที่เป็นเรื่องอ่อนไหว เล่าด้วยน้ำเสียงที่เป็นกลางค่อนข้างยาก และยากที่จะจับประเด็นทั้งหมดมาเล่าพร้อมกันให้ออกมากลมกล่อม กลับไม่ได้พยายามตะโกนป้อนข้อมูลเหล่านี้ให้แก่ผู้ชมเลยสักนิด ทั้งที่ประเด็นต่างๆ ทับซ้อนเกาะเกี่ยวกันมากมาย แต่การเล่าเรื่องก็เป็นไปดั่งชื่อ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ หนังเพียงแค่ทำหน้าที่พาผู้ชมไปจับจ้องคลื่นลมทะเล หาดทราย ภูมิลำเนาของจังหวัดสงขลาผ่านตัวละครทั้งสอง จนไม่แปลกใจที่หลายคนจะรู้สึกว่าเป็นหนังส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด เนื่องจากฉายภาพวิวทิวทัศน์ความสวยงามของหาดทราย สถานที่ต่างๆ ในจังหวัด มากกว่าการถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่นั่นแหละ การค่อยๆ จับจ้องความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งจากธรรมชาติที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปอยู่แล้ว สิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยจุดประสงค์บางอย่าง รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อแบบเก่า และความคิดแบบใหม่ที่ค่อยๆ ผ่านเข้ามา ก็เป็นวิธีการบอกเล่าที่เรียบง่ายและทำให้คนเห็นปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจนเช่นกัน สิ่งปลูกสร้างของภาครัฐที่ยับยั้งความเป็นไปของธรรมชาติ […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

‘ส็อกแส็ก : เรื่องน้อยนิด…มหาศาล’ นิทรรศการบอกเล่าวิถีชีวิตประมงจะนะ ผ่านสัตว์น้ำและขยะไม่มีมูลค่าที่ติดมากับอวน

ถ้าพูดถึงชุมชนจะนะ หลายคนอาจนึกถึง ‘#Saveจะนะ’ ที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ครั้งใหญ่เพื่อรักษาท้องทะเลของเหล่าชาวบ้านจากการเข้ามาของโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ แต่ใครจะรู้ว่าในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนในชุมชนจะนะก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ‘ส็อกแส็ก : เรื่องน้อยนิด…มหาศาล’ เป็นนิทรรศการหนึ่งในเทศกาลงาน Pakk Taii Design Week ที่จะทำให้ทุกคนเห็นถึงความน่าสนใจของชุมชนจะนะในแง่มุมอื่นๆ มากขึ้น ผ่านคำว่า ‘ส็อกแส็ก’ ที่ชาวบ้านใช้เพื่อเรียกสัตว์น้ำหรือขยะขนาดเล็กไม่มีมูลค่าที่ติดมากับอวนชาวประมงเวลาออกทะเล นิทรรศการนี้จัดขึ้นโดย ‘เครือข่ายนักรบผ้าถุง’ และ ‘สตูดิโอนิ้วแดง’ ที่มีทั้งส่วนที่นำเอาส็อกแส็กมาเป็นวัสดุในการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่าง ‘หอยกระเชาะกะเชียก’ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อโมไบล์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการจัดการเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นของสวยงาม อีกทั้งยังมีส่วนเวิร์กช็อปที่จะพาผู้ร่วมกิจกรรมปลอมตัวไปเป็นคนเก็บส็อกแส็ก ผ่านการจำลองชายหาดมาไว้บนคาเฟ่ชั้นสอง ที่จะพบกับส็อกแส็กติดอวนที่รอให้เรามาใช้ความสามารถในการปลดออก รวมไปถึงหลังจากปลดส็อกแส็กเสร็จ บริเวณชั้นหนึ่งยังมีการสาธิตการ ‘โปะเทียน’ ซึ่งเป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นมาใช้ในการถนอมเล็บและมือ นอกจากนี้ ภายในกิจกรรมยังมีของที่ระลึกลวดลายจากสีครามฝีมือเด็กๆ ในรูปแบบผ้าพันคอและกระเป๋าให้เลือกอุดหนุน รวมไปถึงเมนูสุดครีเอตอย่าง ‘สปาร์กลิง ชาคนที’ ที่นำใบคนทีมาสกัดเป็นชา ผสมด้วยโซดาและน้ำทับทิม ท็อปปิงด้วยวุ้นมะพร้าวเพื่อเพิ่มรสสัมผัสสดชื่น ดื่มง่าย และ ‘บันลาบหอยเหลือง’ ที่ได้แรงบันดาลใจจากเมนูบั๋ญหมี่จากเวียดนาม ที่ใช้ขนมปังมาผ่าตามแนวยาวและนำส่วนผสมต่างๆ มาใส่ระหว่างกลางเสิร์ฟเป็นอาหาร ผู้จัดนิทรรศการหวังว่า การเวิร์กช็อปและนิทรรศการเชิงมีส่วนร่วมในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการระดมไอเดีย ซึ่งชุมชนจะนำไปพัฒนาต่อเพื่อเตรียมทำโครงการพลิกชีวิตใหม่ให้กับส็อกแส็กโดยใช้ฐานทักษะและทรัพยากรในพื้นที่เป็นตัวตั้งต้น นิทรรศการส็อกแส็ก : เรื่องน้อยนิด…มหาศาล และเวิร์กช็อปต่างๆ […]

ครั้งแรกของปักษ์ใต้กับงาน ‘Pakk Taii Design Week 2023’ พาคน ‘หลบเริน แล้วผลิบาน’ ในฤดูกาลแห่งความหวัง

หลังจากที่กรุงเทพฯ มีเทศกาลงานออกแบบ (Bangkok Design Week) กันมาหลายต่อหลายครั้ง คราวนี้มาถึงคิวของปักษ์ใต้บ้านเราบ้างแล้ว กับงาน ‘Pakk Taii Design Week 2023’ ที่จัดปีนี้เป็นครั้งแรกภายใต้ธีม ‘The Next Spring หลบเริน แล้วผลิบาน’ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เจ้าเดิม งานนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจในการสร้าง ‘ฤดูกาลแห่งความหวัง’ และความเป็นไปได้ครั้งใหม่ ผ่านการชักชวนชาวใต้ให้เดินทางกลับบ้าน เพื่อมองหาโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการทำให้ปักษ์ใต้เป็นเมืองน่าอยู่ ส่งต่อคุณค่าที่เคยเบ่งบานสู่ยุคสมัยใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ Pakk Taii Design Week 2023 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ตรัง และปัตตานี กับ 79 โปรแกรม 66 โชว์ และ 57 กิจกรรมสร้างสรรค์ ใน 39 พื้นที่จัดงาน และร้านค้ากว่า 120 […]

ชวนพี่น้องชาวใต้กลับบ้านไปมองความฝันที่ผลิบานในงาน Pakk Taii Design Week 2023

ถึงคราวของภาคใต้ที่จะมีเทศกาลสร้างสรรค์งานออกแบบเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกแล้ว กับ ‘เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566’ หรือ ‘Pakk Taii Design Week 2023’ ภายใต้ธีม ‘The Next Spring หลบเริน แล้วผลิบาน’ ที่อยากชวนพี่น้องชาวใต้กลับบ้านมาสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ ว่า ‘ปักษ์ใต้บ้านเรา’ สามารถเป็นอะไรได้อีกบ้าง เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับจังหวัดสงขลา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นักออกแบบและนักสร้างสรรค์ชาวใต้ เพื่อผนึกกำลังกันต่อยอดผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่ให้เกิดมูลค่าทางความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น ภายในเทศกาลมีการจัดกิจกรรมกว่า 60 โปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดง นิทรรศการศิลปะ วงเสวนา เวิร์กช็อป การฉายภาพยนตร์ แฟชั่นโชว์ ทัวร์เมือง ไปจนถึงตลาดสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่มีพื้นที่นำเสนอผลงาน ภายใต้ 5 คอนเซปต์หลักว่าด้วยความเป็นปักษ์ใต้ที่เกี่ยวโยงทั้งประวัติศาสตร์ ผู้คน และองค์ความรู้การออกแบบ เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 หรือ Pakk Taii Design Week 2023 […]

ปัตตานีดีกว่าที่คิด! บรรยากาศการเรียนท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ | คนย่านเดียวกัน EP.5

วรกันต์ ทองขาว หรือ หลวงกันต์ คือ ผู้ประกอบอาชีพ Artist Manager ที่คอยดูแลศิลปินทางดนตรีอย่าง Max Jenmana, O-Pavee, YEW, FREEHAND และอีกหลายวง  ครั้งนี้เขาไม่ได้มาเสนอศิลปินหน้าใหม่หรือคุยถึงเรื่องดนตรี แต่เป็นการมานั่งเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับช่วงวัยที่ร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในตอนที่เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังถึงจุดเดือด จากชาวไทยพุทธที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในพัทลุง สู่การเป็นชนกลุ่มน้อยในจังหวัดปัตตานี สิ่งที่เปลี่ยนไปคืออาหาร วัฒนธรรม และผู้คนที่ต่างออกไป แต่นั่นไม่ได้ทำให้หลวงกันต์ตกหลุมรักจังหวัดนี้น้อยลง อะไรคือมนตร์เสน่ห์ของปัตตานี มาล้อมวงฟังไปพร้อมๆ กัน ติดตามฟัง คนย่านเดียวกัน ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/O5KpD-3hw6U Spotify : https://bit.ly/3HWDgNU Apple Podcasts : https://bit.ly/3YJELVP Podbean : https://bit.ly/3vaWgkb

เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้

เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]

Patani Colonial​ Territory บอร์ดเกมที่ชวนทุกคนตามรอยประวัติศาสตร์ที่หายไปของปาตานี

Patani (ปาตานี) คือพื้นที่ที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา ผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูและมุสลิม อาณาจักรปาตานีเคยรุ่งเรืองเมื่อสี่ร้อยปีก่อนจะถูกสยามยึดครองในช่วงต้นของยุครัตนโกสินทร์ และแบ่งพื้นที่สืบต่อมาเป็นจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้เช่นปัจจุบัน ‘Patani Colonial​ Territory’ คือบอร์ดเกมที่เป็นผลผลิตจากกลุ่ม ‘Chachiluk​ (จะจีลุ)’ ร่วมกับสำนักพิมพ์ KOPI และได้รับทุนสนับสนุนโดย Common School มูลนิธิคณะก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้ไม่ให้หายไป กลุ่มจะจีลุเล่าถึงที่มาของชื่อกลุ่มว่ามาจากการละเล่นพื้นบ้านของเด็กๆ ในพื้นที่ปาตานี โดยเหตุผลที่ใช้ชื่อนี้เพราะอยากทำหน้าที่เป็นตัวแทนความสนุกสนาน และหวังเป็นสื่อในการเชื่อมต่อผู้คนให้ได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงนำเสนอเรื่องราวของปาตานีผ่านความสนุกในโลกของบอร์ดเกมที่จะชวนผู้เล่นมาประลองไหวพริบและกระตุ้นเตือนความทรงจำ ​ท้าทายให้ทุกคนได้ลองร้อยเรียงลำดับเหตุการณ์​การผนวก​รวมปาตานีเข้ากับสยาม โดยเกมนี้จะใช้จำนวนผู้เล่น 3 – 5 คน กับระยะเวลาเล่นราว 15 – 30 นาที  ในบอร์ดเกมหนึ่งชุดนั้นประกอบด้วย 1) การ์ดเกม 52 ใบ โดยแบ่งออกไปเป็น 4 สี สีละ 13 ใบ  2) โทเคน 30 ชิ้น ประกอบด้วยโทเคนที่มีตัวเลข […]

เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง Yala Stories ที่อยากขับเคลื่อนยะลาด้วยงานสร้างสรรค์

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้รู้จักกับ Yala Stories ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กที่มิตรสหายคนทำงานสร้างสรรค์แชร์กัน ซึ่งโพสต์นั้นว่าด้วยการนำภาพของตัวอักษรบนป้ายร้านรวง ย่านสายกลาง จังหวัดยะลา มาเรียงกันเป็นคำว่า ‘ยะลา สตอรี่’  แน่นอนว่าความสวยเก๋ต้องไม่รองใคร เพราะจังหวัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่ยังมีการวาดโปสเตอร์ภาพยนตร์ด้วยมืออยู่ ดังนั้น มั่นใจได้เลยว่าสุนทรียะในศิลปะการออกแบบป้ายต้องหรอยแรงอยู่แล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้ตัวอักษรหรือฟอนต์ (Font) เหล่านี้ล้วนมีประวัติศาสตร์ของเมืองซุกซ่อนอยู่ ซึ่ง ‘Yala Stories’ ก็ได้พาเราไปทัวร์ชมฟอนต์เหล่านี้ผ่านหน้าจอไปด้วย หลังจากศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราทราบว่ากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองยะลาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2565 ณ ย่านสายกลาง ซึ่ง ‘Yala Stories’ เป็นชื่อของนิทรรศการนี้นั่นเอง นับว่าเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาที่มีการจัดงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีครบหมดตั้งแต่นิทรรศการบอกเล่าเมืองยะลา งานศิลปะ วงเสวนา ฉายหนังสั้น การแสดงสด คอนเสิร์ต งานคราฟต์ แฟชั่น ไปจนถึงอาหารกับกาแฟ  ด้วยความชอบใจและดีใจที่เห็นจังหวัดอื่นๆ เริ่มขยับตัวเคลื่อนไหวในแวดวงงานสร้างสรรค์ร่วมสมัยมากขึ้น ทำให้เราติดต่อขอพูดคุยกับกลุ่มคนผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Yala Stories’ และได้พบกับ ‘บอล-เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์’ หัวหอกของโปรเจกต์นี้ […]

พี่น้องเอ๋ย ฟังเสียงเราบ้าง l Urban Eyes จะนะ

“มันดีนะ…การที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษแล้วปกป้องบ้านเกิด มันยังคงติดชื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อปกป้องอากาศ ปกป้องชีวิต  ปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน หนูว่าสำเร็จนะ ต่อสู้จนโดนคดี ต่อสู้จนแบบ ใจมันยังสู้อะ . . มันสำเร็จแล้วแหละ”  เราอยากพาคุณล่องเรือสู่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ถึงปัญหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส #Saveจะนะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำไมการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมถึงไม่เป็นที่ยอมรับ ผู้คนในท้องถิ่นต้องสู้กับอะไรและต่อสู้เพื่อสิ่งใด ร่วมเดินทางหาคำตอบไปพร้อมกับเราจาก Urban Eyes นี้กัน

รวมช่องทางช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้ บริจาคได้ทั้งเงิน อาหาร สิ่งของ  และอุปกรณ์ช่วยเหลือที่จำเป็น

Urban Creature ชวนทุกคนติดตามข่าวอุทกภัยในภาคใต้ที่ครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี จากสถานการณ์คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้ 4-5 วันที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ มวลน้ำได้ไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา และโดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาสที่ผู้ว่าฯ นราธิวาส ประกาศเขตภัยพิบัติทั้ง 13 อำเภอแล้ว นอกจากความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ในเบื้องต้นเรื่องเร่งด่วนที่เราทำได้คือ การกระจายข่าวสารทั้งทางออนไลน์-ออฟไลน์ และสนับสนุนเจ้าหน้าที่ด้วยสิ่งของจำเป็น รวมถึงช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม ช่องทางช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้มีดังนี้ บริจาคสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง (ตั้งแต่วันนี้ – 3 มีนาคม 2565)สมาคมกู้ภัยร่มเมืองตากใบ 9/3 หมู่ 5 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โทร 065-3930456 สนับสนุนเป็นเงินเพื่อนำไปจัดซื้อข้าวกล่อง น้ำดื่ม ข้าวสารอาหารแห้งชื่อบัญชี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ยากไร้ มูลนิธิคนช่วยฅน (Khon Chuay Khon)เลขที่บัญชี 061-1-10425-3 […]

‘พังก์ปาตานี’ 15 ปีแห่งวัฒนธรรมพังก์ร็อกกระแทกใจวัยรุ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้

ดนตรีอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ทว่าช่วงหนึ่งดนตรีและวัฒนธรรมพังก์กลับเคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนที่เรียกว่า ‘ปาตานี’ ‘ปาตานี’ ในภาษามลายู เป็นชื่อเรียกพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งสี่จังหวัดอยู่ติดกันบริเวณชายแดนสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย ส่วน ‘พังก์’ คือ Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเฉพาะความเฟื่องฟูช่วงปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บทเพลงเหล่านี้สอดแทรกนัยความขบถ การต่อต้านเชิงอำนาจที่แสดงผ่านพฤติกรรม การแต่งตัว การแต่งหน้า การทำผม การสักลาย และแน่นอน พังก์คือหนึ่งในแนวดนตรีร็อก มีจังหวะดิบๆ และเดือดดาล ส่งเสียงการขับร้องและการเล่นดนตรีอย่างเมามันเป็นเอกลักษณ์ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘พังก์ปาตานี’ วัฒนธรรมที่เคยผลิบานสุดๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างราวปี 1995 จนกระทั่งถึงช่วงราวปี 2010 รวมระยะเวลากว่า 15 ปี ที่วัฒนธรรมได้โลดแล่นสร้างสีสันให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้ปลดปล่อยความขบถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลออนไลน์อย่างในปัจจุบัน เราคงได้เห็นภาพความสนุกสนานวาดลวดลายอย่างทั่วถึง แต่ด้วยยุคสมัย ภาพของชาวพังก์ปาตานีจึงหลงเหลือเพียงเศษเสี้ยวกระจัดกระจาย บ้างบนภาพถ่ายฟิล์ม บ้างในคลิปวิดีโอจากกล้อง Handycam และส่วนสำคัญคือความทรงจำในเนื้อตัวของชาวพังก์ร่วมสมัยที่เติบใหญ่จนมีอายุกลาง 30 ถึงปลาย 40 กว่าๆ  […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.