‘Climate Migrants’ เมื่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป บีบบังคับให้คนต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อการอยู่รอด

วิกฤตโลกร้อนในตอนนี้เรียกได้ว่าก้าวเข้าสู่ภาวะโลกเดือดอย่างเต็มตัว จากกิจกรรมของมนุษย์ทุกคนที่ส่งผลกระทบให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ที่รุนแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน จนทำให้ในหลายพื้นที่ต้องหาทางรับมือให้ได้ และไม่ใช่แค่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่และภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องอพยพจากบ้านเดิมออกไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่ เพราะผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงด้วย ออกจากบ้านเพื่อหลบไปตั้งหลักชั่วคราว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าปัจจุบัน สภาพอากาศกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนต้องบอกลาบ้านเก่าเพื่อหาที่อยู่ใหม่ภายในประเทศ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงกว่าเดิมหรือเกิดบ่อยขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ หรือคลื่นความร้อน จนทำให้ผู้ประสบภัยต้องโยกย้ายถิ่นฐานออกไปตั้งหลักในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาสั้นๆ  เห็นได้ชัดจากรายงาน Global Report on Internal Displacement 2020 โดย Internal Displacement Monitoring Centre (IDMC) ที่ระบุว่า ในปี 2562 มีจำนวนผู้พลัดถิ่นใหม่จากเหตุภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้นกว่า 24.9 ล้านคนใน 140 ประเทศและเขตการปกครองเลยทีเดียว ที่มีจำนวนมหาศาลขนาดนั้นเพราะภัยพิบัติเหล่านี้กระทบการใช้ชีวิตหลายส่วน ทั้งเรื่องของการดำเนินชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ เศรษฐกิจ รวมไปถึงการประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มเกษตรกรที่ต้องเจอกับระบบนิเวศเสียหาย หรือกลุ่มชาวประมงที่ต้องเจอกับทะเลเป็นกรด จนไม่สามารถทำงานได้ เหล่าผู้ได้รับผลกระทบจึงต้องหาทางในการดำเนินชีวิตต่อ การย้ายถิ่นฐานชั่วคราวเพื่อการดำรงชีพเลยกลายเป็นทางเลือกของใครหลายคน รอจนเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่ที่จากมาเริ่มฟื้นฟูเป็นปกติ ถึงจะย้อนกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิม จากการย้ายชั่วคราว อาจกลายเป็นถาวรในอนาคตอันใกล้ […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

อาคารถล่มในตุรกี เพราะแผ่นดินไหวหนักหรือโครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน?

อาคารพังถล่มกว่า 7,000 หลังผู้เสียชีวิตกว่า 41,000 รายผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100,000 ราย เหล่านี้คือตัวเลขความเสียหายซึ่งเป็นผลพวงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ยังไม่รวมถึงประชาชนหลายหมื่นรายที่ยังสูญหาย และผู้รอดชีวิตอีกหลายแสนรายที่ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566) ตุรกีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ทำให้ทางรัฐบาลกำหนดข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารให้ปลอดภัยและต้านทานต่อแผ่นดินไหวได้มาตั้งแต่อดีต แต่สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับภัยพิบัติครั้งล่าสุดคือ อาคารที่พังถล่มลงมาจำนวนไม่น้อยเป็นอาคารสร้างใหม่ ซึ่งอาจสอดคล้องกับคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญในช่วงหลายปีก่อนว่าอาคารใหม่หลายหลังในตุรกีไม่ปลอดภัย เนื่องจากการทุจริตในพื้นที่และนโยบายของรัฐบาล คอลัมน์ Curiocity พาไปหาคำตอบว่า ความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรอบร้อยปีของตุรกีเกิดจากอะไร เป็นเพราะแผ่นดินไหวที่รุนแรงเทียบเท่าระเบิดนิวเคลียร์ หรือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่ทำให้ผลกระทบหลังแผ่นดินไหวรุนแรงกว่าควรจะเป็น ประเทศที่อยู่บนแนวรอยเลื่อนเปลือกโลก แผ่นดินไหวคือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื่องปกติในตุรกี เนื่องจากประเทศนี้ตั้งอยู่บนภูมิภาคที่คร่อมอยู่บนแผ่นเปลือกโลกมากถึงสามแผ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวที่รุนแรง โดยบันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ภูมิภาคนี้เริ่มเกิดแผ่นดินไหวมาอย่างน้อย 2,000 ปีแล้ว ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 17 ที่ตอนนั้นได้ทำลายเมืองหลายสิบแห่งพังราบเป็นหน้ากลอง แผ่นดินไหวขนาด 7.5 และ 7.8 แมกนิจูดครั้งล่าสุดในตุรกีและซีเรียเกิดขึ้นบริเวณ ‘แนวรอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก’ […]

Climate Anxiety เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้คน ‘เครียดไม่ไหว’ จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องด้วยตัวเอง

สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนหนักและคาดเดายาก อาจทำให้คนเครียดและวิตกกังวลจากปรากฏการณ์นี้มากขึ้น จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ย้อนไปเมื่อปี 2018 ฝรั่งเศสเคยประกาศเป้าหมายที่จะปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดในประเทศภายในปี 2022 เพื่อต่อสู้กับ ‘การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก’ หรือ ‘Climate Change’ ซึ่งอีกราวสองเดือนก็ถึงเส้นตายแล้ว แต่ดูเหมือนว่าฝรั่งเศสจะทำตามแผนการไม่สำเร็จแน่ๆ เพราะอาจจำเป็นต้องกลับมาเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ ด้านเมืองที่ท็อปฟอร์มเรื่องความยั่งยืนของโลกอย่าง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็อาจรักษาสัญญาที่จะเป็นเมืองปราศจากคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวตัวอย่างแผนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่ล้มเหลวของนานาชาติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศยังไม่เอาจริงเอาจังเรื่องโลกร้อนเสียที และมองว่าวิกฤตนี้คือเรื่องที่รอได้ เป้าหมายที่ถูกผัดวันประกันพรุ่ง นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกปัดตก และคำมั่นสัญญาของบรรดาผู้นำที่เป็นเพียงลมปาก ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลและท้อมากขึ้นทุกที นึกภาพไม่ออกว่าทั่วโลกจะควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ยังไง และเป้าหมายของนานาประเทศที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะเป็นเพียงแค่ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงหรือเปล่า Urban Creature ชวนทุกคนไปทำความรู้จัก ‘Climate Anxiety’ อาการวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตโลกรวน ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนพวกเขาไม่ขอนิ่งเฉย ลุกขึ้นมาเรียกร้องถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง หายนะโลกร้อน คงหน้าตาประมาณนี้สินะ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก […]

ญี่ปุ่นใช้ AR สอนเด็กประถม เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน

ถ้าอยากให้เด็กโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ก็ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เนิ่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีหลายโรงเรียนที่นำเรื่อง ‘ภัยพิบัติ’ เข้าไปอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างจริงจัง เพื่อให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) ได้เผยแพร่ภาพโรงเรียนประถมในญี่ปุ่นกำลังทำเวิร์กช็อปกับนักเรียน ในการเรียนรู้เรื่องน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในญี่ปุ่นหลังจากเกิดแผ่นดินไหว  โดยจะใช้แท็บเล็ตที่มีเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) จำลองภาพน้ำท่วมเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพเสมือนจริง ไม่ต่างจากการเล่นเกม Pokémon Go และประเมินความเสี่ยงได้ว่าหากเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันขึ้นจริงๆ ระดับน้ำจะท่วมสูงมากแค่ไหน และพวกเขาควรทำอย่างไรบ้างเมื่อเจอสถานการณ์นี้ ทำให้เด็กได้อยู่ในสถานการณ์จำลอง เรียนรู้การวางแผนเอาตัวรอด และที่สำคัญคือช่วยลดความตระหนกเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริงในอนาคต ซึ่งเด็กนักเรียนอายุ 6 ปีที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปนี้ยังบอกว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก เพราะทำให้เขาเข้าใจเรื่องน้ำท่วมได้มากกว่าวิธีแบบอื่นๆ ผลงานการออกแบบ AR ชุดนี้เป็นของโทโมกิ อิตามิยะ (Tomoki Itamiya) ศาสตราจารย์ด้านการพัฒนาหลักสูตรประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทันตกรรมคานางาวะ เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้พัฒนา AR ในการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติมาแล้วหลายชิ้น เช่น น้ำท่วม สึนามิ […]

Flowing Through The Wreckage of Despair

ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์นํ้าท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ปี 2554
ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงเทพฯ และพื้นที่ข้างเคียง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.