‘ประชาบาร์’ หมุดหมายใหม่ของนักดื่มหัวใจประชาธิปไตย ที่อยากเป็นพื้นที่ปลอดภัยคุยกันได้ทุกเรื่อง

ในยุคที่มีบาร์เปิดใหม่ทั่วทุกมุมเมือง คุณอาจสงสัยว่า ทำไมคอลัมน์ Urban Guide อยากชวนมา ‘ประชาบาร์’ เหตุผลแรก เพราะที่นี่เป็นทั้งบาร์และ Co-working Space ในที่เดียวกัน แถมยังเปิดตั้งแต่เย็นย่ำไปจนถึงดึกดื่น เหตุผลที่สอง นี่คือบาร์ของ ‘เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล’ นักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง โดยเขาเปิดร่วมกับผองเพื่อนอย่าง ‘สิรินทร์ มุ่งเจริญ’ และมีผู้จัดการร้าน ‘วสิษฐ์พล ตังสถาพรพันธ์’ ดูแลอยู่ โดยมีร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ ‘ประชาธิปไตยกินได้’ อยู่ด้านล่าง เหตุผลที่สาม นอกจากมีโต๊ะให้นั่งทำงาน มีหนังสือให้อ่าน และมีคราฟต์เบียร์จากชุมชนในไทยให้จิบ ในโอกาสพิเศษ ที่นี่ยังจัดฉายหนังและเสวนาการเมืองที่ชวนผู้สนใจมาถกเถียงกันในบรรยากาศสุดชิล เหตุผลสุดท้าย นี่คือสเปซที่ขับเน้นคอนเซปต์ประชาธิปไตยในความหมายการโอบรับทุกความหลากหลาย และอยากเป็นพื้นที่ที่คนมารู้สึกปลอดภัยมากพอจะสนทนาเรื่องการเมืองและทุกๆ เรื่องอย่างอิสระ บาร์บ้านเพื่อน Cozy และ Homey เหมือนอยู่บ้านเพื่อน คือไวบ์ที่เราสัมผัสได้หลังจากก้าวขาขึ้นมาบนชั้นสองของอาคาร สิ่งแรกที่เราเจอคือโต๊ะตั้งเรียงรายซึ่งมีลูกค้าจับจองนั่งทำงานอยู่ประปราย มีชั้นหนังสือให้หยิบอ่านเล่มที่สนใจตั้งอยู่ฝั่งขวา ตู้แช่เครื่องดื่มเย็นๆ ตั้งอยู่ข้างประตูทางเข้าฝั่งซ้าย ดนตรีฟังสบายกำลังบรรเลงขับกล่อม สิรินทร์กับวสิษฐ์พลผู้เป็นเจ้าบ้านชวนเรานั่ง ยกเฟรนช์ฟรายส์กับเครื่องดื่มสีสวยมาเสิร์ฟ ไม่ใช่ค็อกเทลหรือเบียร์ที่เราเห็นในบาร์ทั่วไป แต่เครื่องดื่มของพวกเขาล้วนเป็นคราฟต์เบียร์และสาโทของแบรนด์ไทยที่ผลิตโดยคนตัวเล็กในชุมชน “ร้านเรามีไวบ์แบบชิลๆ เครื่องดื่มแต่ละอย่างที่เราเลือกมาจึงเน้นให้ดื่มง่าย” […]

‘ประชาธิปไตยต้องการคุณ’ เว็บไซต์ VOTE 62 ชวนมาเป็นอาสาจับตาดูการเลือกตั้งปี 66

vote62.com คือเว็บไซต์ที่ Opendream, The Momentum, a day BULLETIN และ iLaw ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อร่วมเป็นกระบอกเสียงสร้างความเข้าใจต่อข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเปิดให้ทุกคนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ และยังสร้างระบบ Crowdsourcing สำหรับติดตามผลการเลือกตั้งและตรวจสอบการนับคะแนน ในช่วงเวลาที่การเลือกตั้งปี 2566 ใกล้เข้ามาทุกขณะ ทาง VOTE 62 ได้อัปเดตเว็บไซต์ใหม่ และเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครจับตาดูความโปร่งใสในการเลือกตั้ง ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และนี่คือภารกิจ 5 ขั้นตอนที่อาสาสมัครต้องช่วยกัน  1) ไปที่หน่วยเลือกตั้งใกล้บ้านหรือหน่วยเลือกตั้งไหนก็ได้ 2) จับตาการนับคะแนนหลังปิดหีบ นับ ขาน ขีด รวม 3) ถ่ายภาพป้ายประจำหน่วย กระดาษขีดคะแนน และใบรวมคะแนน 4) รายงานผลการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ vote62.com 5) กรอกคะแนนเป็นตัวเลข แน่นอนว่าใครๆ ก็เป็นอาสาสมัครรายงานคะแนนผลการเลือกตั้งได้ หากสนใจอยากร่วมโปรเจกต์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/3YLBpAS หรือกรอกแบบฟอร์มการสมัครได้ที่ bit.ly/3YRjLM2 และอย่าลืมแอด […]

DEMO EXPO เทศกาลดนตรีและศิลปะเพื่อประชาชน โดยผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง

เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ‘ลานคนเมือง’ พื้นที่สาธารณะของเขตพระนคร ใกล้กับเสาชิงช้าวัดสุทัศน์ฯ ถูกใช้เป็นพื้นที่จัดงาน ‘DEMO EXPO’ เทศกาลดนตรีที่กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองร่วมกันจัดขึ้น  ชื่อของเทศกาลดนตรีครั้งนี้มาจากคำว่า Democracy (ประชาธิปไตย) และในอีกทางหนึ่ง คำว่า Demo เองก็หมายถึงการแสดงตัวอย่าง ดังนั้น DEMO EXPO จึงเป็นดั่งงานดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ประชาชนเผชิญอยู่ และทำหน้าที่เป็นเวทีให้ศิลปินหลายแขนงได้ใช้นำเสนอผลงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน  แม้ทีมผู้จัดงานจะเป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง ทว่าเทศกาลดังกล่าวหาใช่ม็อบการเมืองหรือการชุมนุมใดๆ เป็นเพียงงานเทศกาลดนตรีที่ถ่ายทอดผ่านพลังสร้างสรรค์ ตามสโลแกนของงานคือ ‘Music Arts Peoples’  งาน DEMO EXPO มีวงดนตรีแห่งยุคสมัยกว่า 20 รายชื่อบรรเลงกันตั้งแต่เที่ยงวันยันเกือบเที่ยงคืน ภายในงานประดับประดาไปด้วยงานศิลปะจากศิลปินหลายสไตล์ อัดแน่นด้วยกิจกรรมให้ความรู้ทางการเมือง รวมถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองหลายประเด็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหลายช่วงวัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นความบันเทิงที่ได้ทั้งความสุนทรีย์และเสรี ผ่านความชอบที่แตกต่างหลากหลาย  คอลัมน์ ‘Art Attack’ พาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจเบื้องหลังของ ‘DEMO EXPO’ อีกหนึ่งงานตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ดนตรีและศิลปะเป็นสิ่งที่รับใช้ประชาชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างแท้จริง เทศกาลดนตรีฟรีที่ไม่กำหนดอายุ DEMO EXPO จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 […]

จะรักกันได้ไหม หากเห็นต่างทางการเมือง ชวนดูหนังไทย Cloud Cuckoo Country ฉายวันเสาร์ 19 พ.ย. 65 ที่ BACC

“เธอยังเป็นสลิ่มอยู่ปะ” นี่คือไดอะล็อกสั้นๆ แต่เจ็บจี๊ดจาก Cloud Cuckoo Country ภาพยนตร์ไทยที่เขียนบทและกำกับโดย ‘เอมอัยย์ พลพิทักษ์’ นำแสดงโดย ‘เฌอเอม-ชญาธนุส ศรทัตต์’ และ ‘นัตตี้-นันทนัท ฐกัดกุล’ ภาพยนตร์ความยาว 48 นาทีเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวอดีตคู่รักที่เลิกรากันไปเมื่อ 10 ปีก่อนเพราะความขัดแย้งของความคิดเห็นทางการเมือง พวกเขากลับมาพบกันอีกครั้งโดยบังเอิญท่ามกลางสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง บทสนทนาที่เต็มไปด้วยอารมณ์และแนวคิดทางการเมืองคนละขั้วจะค่อยๆ เผยให้ทุกคนเข้าใจว่าทำไมทั้งคู่ถึงเลิกรากัน และเมื่อต้องเผชิญกับความจริงที่ตัวเองไม่อยากได้ยิน แต่ละคนจะตอบโต้มันอย่างไร Cloud Cuckoo Country จะพาไปหาคำตอบว่า เราจะรักคนที่มีความเชื่อทางการเมืองแตกต่างจากเราได้หรือไม่ ผ่านเนื้อเรื่องที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และฉากหลังเก่าแก่อย่างเขตพระนคร พื้นที่ที่ขึ้นชื่อว่า ‘สมบูรณ์แบบ’ ที่สุดของกรุงเทพฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Cloud Cuckoo Country ได้รับเลือกให้ไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์ Osaka Asian Film Festival 2022 ล่าสุดชาวกรุงเทพฯ จะได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ชั้น 5 ห้องออดิทอเรียม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) […]

ชมเครื่องดูดฝุ่นสีทองดูดประชาธิปไตย ในนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง’ วันนี้ – 28 ส.ค. 65 ที่ VS Gallery

เมื่อปี 2020 ‘จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์’ นักเขียนเจ้าของผลงานวรรณกรรมวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองได้จัดนิทรรศการศิลปะ ‘คิดถึงคนบนฝ้า (Our Daddy Always Looks Down on Us)’ ที่ชวนคนปีนบันไดขึ้นไปชะโงกมองว่าข้างบนฝ้าเพดานที่คนมองแล้วซาบซึ้งจนน้ำตาไหลมีอะไรอยู่กันแน่ ครั้งนี้เขากลับมาอีกครั้งกับนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง (From Dawn Till Dust)’ ที่กล่าวได้ว่าเป็นภาคต่อของความแสบสันนี้  โดยทั้งสองนิทรรศการต่างเป็นชื่อเรื่องสั้นของจิรัฏฐ์ที่จะตีพิมพ์ในชื่อหนังสือ ‘รักในลวง’ ช่วงปลายปี 2565 นี้ ‘ฝ่าละออง’ คือนิทรรศการที่สร้างจากเสี้ยวหนึ่งของเรื่องสั้นในชื่อเดียวกัน กล่าวถึงเจ้าหน้าที่รัฐผู้ขยันและซื่อตรงในหน้าที่ แต่สุดท้ายผลตอบแทนของความจงรักภักดีนั้นกลับกลายเป็นเรื่องราวน่าอดสูและสยองขวัญ นัยของนิทรรศการ คือการเน้นย้ำให้คนดูย้อนกลับมาสำรวจภูมิทัศน์หลายแห่งในกรุงเทพฯ ที่ถูกรัฐพยายามจะเปลี่ยนความหมาย รวมถึงทำลายมัน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นอนุสรณ์สถานที่เชื่อมโยงไปยังคณะราษฎร เช่น ลานพระบรมรูปทรงม้าที่เคยมีหมุดคณะราษฎรวางอยู่ แต่ตอนนี้ถูกล้อมรั้วไปแล้ว หรือวงเวียนหลักสี่ที่เคยเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ถูกรื้อทิ้งจนไม่เหลือเค้าเดิม กลายเป็นสถานีรถไฟฟ้า  จิรัฏฐ์บันทึกฟุตเทจเหล่านี้ด้วยการนำเครื่องดูดฝุ่นไปดูดตามสถานที่นั้นๆ และนำมาเล่าซ้อนกับเรื่องสั้น O-Robot ที่ล้อไปกับนิยายเรื่อง 1984 โดย จอร์จ ออร์เวลล์ อีกทีหนึ่ง โดยนำเสนอผ่านโทรทัศน์ 6 จอ ที่ล้อไปกับหลัก 6 […]

ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ปฏิวัติสยาม ผ่านโปรเจกต์กราฟิกโนเวล 2475 พรีออเดอร์ วันนี้ – 31 ส.ค. 65

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา คือวันครบรอบเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากเป็นวันครบรอบปีที่ 90 ของการปฏิวัติสยาม ที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีหัวหอกเป็นคณะราษฎร หลายๆ คนอาจรู้ความสำคัญของเหตุการณ์นี้ รวมถึงบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475 อย่างลึกซึ้งขึ้นในเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิบานของกระแสขบวนการประชาธิปไตยที่เข้มข้นในสังคมไทย ผ่านการชุมนุม แคมเปญการเมือง และแกนนำคนรุ่นใหม่ ทว่าหากย้อนมองไปที่สื่อสมัยใหม่ กลับยังไม่มีใครนำการปฏิวัติครั้งนี้มาเล่าในรูปแบบร่วมสมัยเท่าไหร่นัก 2475 Graphic Novel คือโปรเจกต์ล่าสุดของ ‘สะอาด’ นักเขียนและนักวาดเจ้าของหนังสือ ‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’ และ ‘พชรกฤษณ์ โตอิ้ม’ ร่วมกับ ‘สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI)’ ที่ซุ่มเก็บข้อมูลกันมานานกว่าสองปี เพื่อทำความเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์และสร้างสรรค์บทที่จะชวนผู้อ่านย้อนเวลากลับไปสยามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พวกเขาอธิบายถึงโปรเจกต์นี้ว่า เกิดขึ้นจากความหวังที่จะถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นแรงผลักดันของผู้คนจากอดีตถึงปัจจุบัน ผ่านเรื่องแต่งอิงประวัติศาสตร์ช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 จากกลุ่มคนที่ประกาศเรียกตนเองว่า ‘คณะราษฎร’ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวของ นิภา นักหนังสือพิมพ์สาว ได้รับแจ้งหนังสือข่าวลับจากทางการว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่จากปารีส ผู้สอนวิชากฎหมายบ้านเมืองสุดโต่ง อาจเสี่ยงเป็นภัยต่อบ้านเมือง ด้วยการเกี่ยวพันกับขบวนการคอมมิวนิสต์เพื่อโค่นล้มราชบัลลังก์สยาม […]

ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ศาลยืนข้างประชาชน พิจารณาคดีการเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ และอนุญาตปล่อยตัวผู้ต้องหา 112 ชั่วคราว

26 พฤษภาคม 2565 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวังวัย 20 ปี ผู้ต้องหาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยมีกำหนดระยะเวลา 1 เดือน พร้อมเงื่อนไข 5 ข้อ หลังจากที่ตะวันอดอาหารประท้วงความยุติธรรมมานานถึง 37 วัน จนร่างกายอยู่ในสภาพย่ำแย่ ทั้งนี้ ตะวันควรได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่ 37 วันที่แล้ว โดยปราศจากการวางเงื่อนไขที่ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมไปถึงการเดินทาง เนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลบหนี ผู้ต้องหาทุกคนมีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งเป็นหลักแม่บทในเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาในทุกคดี สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เปิดเผยสถิติที่ชี้ให้เห็นว่า สำหรับคดีอื่นๆ ประเทศไทยใช้หลักการตามรัฐธรรมนูญเป็นส่วนใหญ่ โดยมอบสิทธิ์ในการประกันตัวให้ผู้ต้องหาถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของคดีทั้งหมด รวมถึงการให้ประกันตัวในคดีข่มขืนของ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ก็เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ใช้หลักการนี้เช่นกัน แต่สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับ ม.112 กลับไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว และปัจจุบันยังมีผู้ต้องหาทางการเมืองอีก 10 คนที่ยังอยู่ในเรือนจำและยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเหตุนี้จึงทำให้หลายคนตั้งคำถามกลับไปยังต้นทางแห่งความยุติธรรมอย่างองค์กรศาลหรือผู้พิพากษา ที่ควรรักษาความยุติธรรมและเป็นที่พึ่งให้ประชาชน การที่ประชาชนถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิด […]

ชวนรำลึกเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 กับนิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม’ ที่ Palette Artspace วันนี้ – 29 พ.ค. 65

เหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ หรือ ‘พฤษภาฯ 2535’ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เกิดเหตุการณ์ประชาชนรวมตัวกันเพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สถานการณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นไม่นาน รัฐบาลได้สั่งทหารปราบปรามผู้ชุมนุมจนนำไปสู่ความรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการจำนวนมาก และสิ่งที่หลายคนอาจหลงลืมก็คือ ‘ผู้สูญหาย’ ซึ่งไม่มีตัวเลขบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ สำหรับบางคน พฤษภาฯ 35 อาจเป็นเพียงเหตุการณ์นองเลือดในประวัติศาสตร์ แต่สำหรับญาติของผู้สูญหาย พวกเขายังคงรอคำตอบจากภาครัฐเกี่ยวกับชะตากรรมของพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือลูกของพวกเขา ก่อนคำว่า ‘สูญหาย’ จะทำให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเลือนรางมากกว่านี้ เราอยากชวนทุกคนไปรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 30 ปีก่อนที่นิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม (Lost, and life goes on)’ จัดขึ้นโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เพื่อนำเสนอเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 ผ่านเรื่องราวการ ‘สูญหาย (Lost)’ และ ‘ชีวิต (Life)’ ของญาติผู้สูญหายที่ยังคงดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลา 30 ปี  ภายในงานมีการจัดแสดงศิลปะ […]

ชวนดูซีรีส์ Servant of the People ที่ ปธน.ยูเครน รับบทผู้นำประเทศ รับชมได้ทาง Netflix ครบทั้ง 3 ซีซันแล้ว

“พวกคุณเป็นข้ารับใช้ของประชาชนนะ ตรงไหนบ้างที่บอกว่า ข้ารับใช้ควรจะอยู่ดีมีสุขกว่าเจ้านายของตน หรือบางทีคุณอาจจะแค่สับสนและดันไปรับใช้เจ้านายคนอื่น แทนที่จะรับใช้ประชาชน” นี่คือประโยคจาก ‘Servant of the People’ ซีรีส์ตลกสัญชาติยูเครนที่ ‘โวโลดีมีร์ เซเลนสกี’ ประธานาธิบดียูเครนคนปัจจุบันแสดงนำและร่วมสร้าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าก่อนที่เซเลนสกีจะก้าวเข้ามาเป็นผู้นำของประเทศ เขาเคยเป็นนักแสดงตลกที่โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิงของยูเครนนานเกือบ 20 ปี ซึ่ง Servant of the People คือหนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุด และยังเป็นซีรีส์ที่ปูทางสู่เส้นทางการเมืองในชีวิตจริงให้เขาด้วย Servant of the People คือซีรีส์ตลกเสียดสีการเมืองและสังคม ที่เล่าเรื่องราวของ ‘เปโตรวิช โกโลโบรอดโก’ (รับบทโดย โวโลดีมีร์ เซเลนสกี) คุณครูประวัติศาสตร์โรงเรียนมัธยมปลายธรรมดาๆ ที่จับพลัดจับผลูได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของประเทศ หลังจากมีนักเรียนแอบอัดคลิปเขาขณะด่าการเมืองในประเทศอย่างออกรส ก่อนจะแชร์ลงโลกออนไลน์ จนคลิปของโกโลโบรอดโกกลายเป็นไวรัลชั่วข้ามคืน  แม้จะเป็นซีรีส์ที่เต็มไปด้วยซีนตลกโปกฮาและความวุ่นวายที่อาจจะเกินจริงไปสักหน่อย แต่ก็มีหลายฉากที่สะท้อนความจริงและพูดแทนใจของประชาชนที่เบื่อหน่ายกับนักการเมืองและการคอร์รัปชันได้อย่างตรงไปตรงมา เช่น ฉากที่โกโลโบรอดโกพูดถึงเหล่ารัฐมนตรีที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย มีรถหรูให้นั่ง มีบ้านหลังใหญ่ให้อยู่ ทั้งๆ ที่เงินเหล่านั้นสามารถเอาไปทำประโยชน์แก่ประชาชนที่กำลังเผชิญความยากจนข้นแค้นได้  รวมไปถึงฉากที่โกโลโบรอดโกย้ำถึงนิยามของคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ที่อำนาจอธิปไตยสูงสุดต้องเป็นของประชาชน นักการเมืองต้องรับใช้ประชาชน ไม่ใช่เหล่านายทุนหรือศักดินา เป็นประเด็นการเมืองและความเหลื่อมล้ำในสังคมที่ผู้ชมจากหลายประเทศน่าจะคุ้นชินและอินตามได้ไม่ยาก  […]

รำลึกถึง ‘วัฒน์ วรรลยางกูร’ ด้วยรักและอาลัยแด่นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

21 มีนาคม 2565 แวดวงวรรณกรรมไทยสูญเสีย ‘วัฒน์ วรรลยางกูร’ กวีและนักเขียนเจ้าของรางวัลศรีบูรพา ที่ป่วยหนักและเสียชีวิตอย่างสงบขณะลี้ภัยทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศส หนึ่งเดือนผ่านไป เครือข่ายคนเดือนตุลาคมและครอบครัววรรลยางกูรได้จัดงานรำลึกและไว้อาลัยต่อการจากไปของนักเขียนผู้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต งานรำลึกวัฒน์ วรรลยางกูร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2565 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราษฎร์ดำเนิน กรุงเทพฯ โดยกิจกรรมจัดขึ้นตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 8.30 – 19.00 น.  ในช่วงเช้า มีการเดินขบวนถือรูปภาพของวัฒน์จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา หลังจากนั้นคือพิธีการกล่าวไว้อาลัยและการวางช่อดอกไม้จากครอบครัว มิตรร่วมรบ เครือข่ายคนเดือนตุลา และองค์กรต่างๆ  สำหรับช่วงบ่าย มีกิจกรรมฉายสารคดี ‘ไกลบ้าน’ ภาพยนตร์ที่สะท้อนความรู้สึกและช่วงชีวิตสุดท้ายของวัฒน์ ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศลาวและฝรั่งเศส จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ ‘กึ่งศตวรรษ วัฒน์ วรรลยางกูร ในสายธารวรรณกรรมไทย’ ที่สะท้อนถึงผลงานและช่วงชีวิตของวัฒน์ รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงแวดวงวรรณกรรมของไทยด้วย ปิดท้ายด้วยกิจกรรมช่วงเย็น ‘รำลึกสหาย ร่ายกวี รำร้อง กับผองเพื่อน’ ที่มีทั้งการแสดงดนตรี การแสดงละคร การอ่านบทกวี […]

Ubon Agenda 2022 ปฏิบัติการศิลปะรำลึก 121 ปี ‘ผู้มีบุญ’ แห่งศึกโนนโพธิ์ จังหวัดอุบลฯ

ใครเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ‘ผู้มีบุญ’ หรือ ‘กบฏผีบุญ’ บ้าง? ย้อนไป พ.ศ. 2444 หมู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เคยเป็นพื้นที่สังหารแห่ง ‘ศึกโนนโพธิ์’ ที่รัฐสยามในสมัยนั้นใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านอำนาจภายใต้ชื่อกลุ่ม ‘ผู้มีบุญ’ การปะทะกันครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายผู้มีบุญ  ผู้แพ้ที่รอดชีวิตจำนวนหนึ่งถูกทหารสยามจับตัวไปที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี ส่วนผู้แพ้ที่เหลือแค่วิญญาณถูกตัดหัวเสียบประจาน ร่างถูกทิ้งกองรวมในบ่อดิน ทั้งหมดถูกตั้งชื่อประณามว่าเป็น ‘กบฏผีบุญ’ เพื่อผลักความเป็นมนุษย์ออกจากผู้มีบุญ เพราะการใช้คำว่า ‘ผี’ ทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นปีศาจที่ต่ำกว่าสัตว์ เช่น ควาย หมู และหมา ส่วนวาทกรรม ‘กบฏ’ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกำจัดผู้เห็นต่างทางการเมืองของรัฐไทยในสมัยนั้น เมื่อเพิ่มคำว่ากบฏจึงหมายความว่า ‘ฆ่าได้’ ส่วนการต่อสู้ระหว่างรัฐและกบฏผู้มีบุญนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ เช่น ความกดดันจากการขยายอาณานิคมของฝรั่งเศสบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจในการรวมศูนย์อำนาจและรีดเก็บส่วยของรัฐสยาม ที่สร้างความเดือดร้อนและความยากลำบากให้กับชาวอีสานอย่างมาก เป็นต้น ทว่า การต่อสู้ของชาวบ้านและความตายของเหล่าผู้มีบุญกลับไม่ถูกพูดถึง ไม่มีในตำราเรียน และไม่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่อย่างใด เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกเล่าต่อกันมาจากลูกหลานของคนในหมู่บ้านสะพือ และจากการรวบรวมหลักฐานและเอกสารจำนวนมาก ศึกโนนโพธิ์และความตายของผู้มีบุญจึงเป็นประวัติศาสตร์ดำมืด ที่อาจถูกกาลเวลากลบฝังไม่วันใดก็วันหนึ่ง 121 ปีผ่านไป […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.