PokPok บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่ทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหาของการกินของอร่อย

เคยไหม อยากกินอาหารจากละแวกอื่น แต่เจอค่าส่งแพ้งแพงซะจนยอมใจ หรือบางทีฮึดสู้ว่าจ่ายไหวก็เจอประโยคทำร้ายจิตใจว่าบ้านไกลอยู่นอกพื้นที่จัดส่ง เราเข้าใจว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากชวนมารู้จักกับ ‘PokPok’ บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่จะทำให้ความฝันของเหล่านักกินเป็นจริง Food Delivery ที่บ้านไกลแค่ไหนก็ไม่มีค่าส่งมาเป็นปัญหา PokPok คือบริการส่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ขยายขอบเขตของการรับหิ้ว ไม่ว่าบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นทางที่ PokPok จัดสรรไว้ก็สามารถอร่อยกับอาหารจากร้านดังได้หมด ถึงแม้ตัวจะอยู่รังสิต แต่ถ้าอยากกินร้านเด็ดจากเยาวราชก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ PokPok ทำหน้าที่เป็นฟู้ดคอร์ตเคลื่อนที่ เสิร์ฟอาหารไปหาทุกคนโดยไม่มีค่าส่ง ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ริเริ่ม PokPok เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากเขาเห็นเพนพอยต์ของ Food Delivery “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนที่ไม่สั่งเดลิเวอรีเลย เพราะเสียดายค่าส่ง มันแพง เพิ่งมาใช้ช่วงโควิด-19 นี่เอง เพราะเลี่ยงไม่ได้ เรามองว่าค่าส่งนี่แหละคือปัญหา ระยะทางใกล้ๆ ก็บวกไปเยอะแล้ว ระยะทางไกลไม่ต้องพูดถึง “เราพยายามคิดว่าจะมีทางไหนบ้างที่จะส่งอาหารได้โดยที่ไม่มีค่าส่ง จนมาได้ไอเดียจากว่า ผมเป็นคนที่อยู่บางนาแต่บางทีก็อยากกินอาหารจากเยาวราช เราแค่คิดว่าแล้วคนในคอนโดฯ จะอยากกินเหมือนเราไหม สมมติมีหนึ่งพันคน อย่างน้อยอาจจะมียี่สิบคนที่อยากกิน ถ้าเราประกาศในคอนโดฯ ว่าตอนนี้เราอยู่เยาวราชนะ อยากกินอะไรสั่งมา จะมีคนสั่งไหม” นายเริ่มต้นทดสอบไอเดียนั้นผ่านกรุ๊ปไลน์คอนโดฯ ของตัวเอง […]

“ไปรษณีย์เพิ่มสุข” โปรเจกต์ส่งต่อสินค้าน่าใช้จากชุมชนทั่วไทย เพื่อให้คนทำได้มีรอยยิ้มและรายได้อย่างยั่งยืน

ในภาพจำของใครหลายคน ‘ไปรษณีย์ไทย’ คือหน่วยงานที่ให้บริการด้านการขนส่งมาแล้วยาวนาน เราต่างผูกพันกับพี่ไปรษณีย์ที่มักขับรถมาจอดเทียบหน้าบ้านตอนมีพัสดุมาส่ง และคุ้นชินกับการก้าวเข้าอาคารสีแดง-ขาวของไปรษณีย์ไทยเมื่อต้องไปส่งของให้ใครสักคน ในขวบปีที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กำลังจะมีอายุครบรอบ 140 ปี ด้วยการแข่งขันในตลาดธุรกิจขนส่งที่ดุเดือดยิ่งขึ้น เราจึงได้เห็นไปรษณีย์ไทยปรับตัวอยู่หลายหน แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือความสัมพันธ์ระหว่างไปรษณีย์ไทยกับผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่แนบแน่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะเหล่าคนทำธุรกิจและวิสาหกิจในชุมชนที่ไม่เพียงแต่เป็นลูกค้าของไปรษณีย์ไทย แต่ไปรษณีย์ไทยยังทำให้ธุรกิจของพวกเขาแข็งแรงขึ้นด้วย หนึ่งในโครงการที่เห็นได้ชัดคือ “ไปรษณีย์เพิ่มสุข” ที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2559 สรุปให้ฟังสั้นๆ ในโครงการนี้ ไปรษณีย์ไทยทำหน้าที่เป็นผู้ผลักดันให้คนในชุมชนทั่วไทยที่มีภูมิปัญญาได้ผลิตสินค้าของตัวเองขึ้นมา ช่วยเหลือตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ช่วยคิดชื่อ แพ็กเกจจิ้ง ขนส่ง โปรโมต ไปจนถึงขายผ่านทางช่องทางต่างๆ ของไปรษณีย์ไทยด้วย ปลาส้มบ้านห้วยหมากหล่ำจากอุดรธานี ข้าวฮางทิพย์จากสกลนคร ไข่เค็ม อสม.จากสุราษฎร์ธานี และลำไยอบกึ่งแห้งจากลำพูน คือ 4 ธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทยเลือกผลักดันในปีนี้ แต่หากนับรวมมาตั้งแต่ต้น ไปรษณีย์ไทยก็ได้ช่วยเหลือธุรกิจของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ มากกว่า 26 แห่ง และสร้างรายได้ให้พวกเขาได้เป็นหลักล้าน ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เราชวน ‘ดร.วราภรณ์ ข้องเกี่ยวพันธุ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานกลยุทธ์และการขับเคลื่อนองค์กร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มาถอดรหัสกันในบทสนทนานี้ […]

‘มูเตเวิร์ล’ ธุรกิจที่ปลุกกระแสการมูฯ ให้ป็อปด้วยวอลล์ฯ เสริมดวง ไปถึงนะหน้าทองแบบ DIY

เพราะเป็นคนรักงานที่เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีผลต่อ Work-life ไม่แพ้ความพยายาม หน้าจอโน้ตบุ๊กของฉันจึงตั้งวอลล์เปเปอร์เสริมดวงที่ (เชื่อว่า) ช่วยเรียกโชคลาภด้านงานและเงินเข้ามาเป็นพิเศษ วอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้มีส่วนประกอบเป็นไพ่สามใบ นั่นคือ Nine of Pentacles, Wheel of Fortune และ Ace of Cups ส่วนมุมขวาล่างมีโลโก้ ‘มูเตเวิร์ล’ ครีเอเตอร์ของวอลล์เปเปอร์แปะอยู่ ทุกเช้า ในพิธีกรรม Manifesting ก่อนเริ่มงาน นอกจากจะได้จินตนาการภาพความสำเร็จกับไพ่ก่อนลงมือทำงานให้สำเร็จจริงๆ ฉันจะชอบแวะขอบคุณทีมมูเตเวิร์ลที่ช่วยทำวอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ใครจะคิดว่าหลังจากตั้งวอลล์ฯ มาได้แรมปี การงานจะพาให้ฉันมาขอบคุณพวกเขาถึงสำนัก เพราะคอลัมน์ Trouble Solver คราวนี้ ฉันมีนัดกับทีมผู้ก่อตั้ง ‘แม่หมอแอเรียล-พิมฉัตร์ วิบูลย์ธนินกุล’ Chief Operation Officer, ‘ฝน-สุภัทร์พร โปสกนิษฐกุล’ Chief Creative Officer และ ‘กูโร่-อภิชา อินทรกำแหง’ Chief Officer Technology เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างธุรกิจมูฯ สุดปังของพวกเธอกัน ศูนย์มูฯ ซัปพอร์ตจิตใจในวันไร้ที่พึ่ง […]

Thai Lebenspartner บริษัทจัดหาคู่ที่ไม่ได้เกิดจากความรักอย่างเดียว แต่เกิดจากความต้องการที่ขาดไป

ลมหนาวหวนคืนมาในทุกๆ สิ้นปี ถนนถูกปกคลุมไปด้วยความเงียบสงัด ท้องฟ้าเป็นสีควันบุหรี่รอวันผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพลัดถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกหนีวิถีชีวิตเดิมที่ย่ำแย่ การออกเดินทางเพื่อแสวงโชค การไปศึกษาต่อในสถาบันต่างแดน และอื่นๆ อีกมากมายที่รวมถึงเรื่องของชีวิตคู่ด้วย ผมเดินทางมายัง Koblenz เมืองที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือไม่ใกล้ไม่ไกลนักจากเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี เพื่อพูดคุยกับ ‘พิมพ์พัฒน์ มาตรังศรี เมนด์ลิ่ง’ หรือพี่พิมพ์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาคู่ Thai Lebenspartner (คู่ชีวิตไทย-เยอรมัน) ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว  ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการทำงานและเหตุผลต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ไปจนถึงเหตุผลที่ผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีที่พี่พิมพ์เปิดโอกาสให้ผมได้ทำความรู้จักกับเรื่องราวของธุรกิจนี้ ผ่านบทสนทนากับพี่พิมพ์ เกือบสามสิบปีที่ผ่านมาก่อนพลัดถิ่นฐาน เราทำมาหลายอย่างมาก เริ่มทำงานจริงๆ ตั้งแต่อายุสิบเจ็ด เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เริ่มต้นจากการเป็นสาวโรงงานที่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ เราทำได้แค่สามปีก็ลาออก เนื่องจากเราเป็นคนชอบพัฒนาตนเองและอยากเรียนรู้ทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ทำซ้ำๆ ทุกๆ วัน ตอนนั้นเราอยากพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ด้วยความที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะไปลงคอร์สเรียนภาษา เราเลยตัดสินใจเข้าไปทำตำแหน่งประชาสัมพันธ์ที่โรงเรียนสอนภาษาแทน ตรงนี้เองที่ทำให้เราได้รู้จักคนเพิ่มและได้ถูกชักชวนให้ไปทำงานในสายงานนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ในตอนนั้นโฮมคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นสิ่งใหม่และเป็นที่นิยมในสังคมมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานทั้งประเทศก็เจอกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง บริษัทที่เราทำอยู่ก็ได้รับผลกระทบมาก แต่เจ้านายเขาไม่อยากเลย์ออฟพนักงาน เลยเลือกปรับโครงสร้างบริษัทจากเดิมที่มีเพียงแค่การนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มมาเป็นบริการ One Stop Service คือรับทำงานเอกสาร ไม่ว่าจะพิมพ์งาน […]

7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

ก้าวใหม่ของ OR จากสถานีบริการน้ำมันสู่ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม

เสียงคนคุยกันดังเซ็งแซ่ สลับกับเสียงเครื่องทำกาแฟ และเสียงผู้บรรยายบนเวทีที่ลอยเข้าหูเป็นระยะ เรารับแก้วเครื่องดื่มจากพนักงานเสิร์ฟ ชาอู่หลงหอมละมุน เติมความสดชื่นด้วยลิ้นจี่ มะนาวฝาน และส้มสไลซ์-ปกติแก้วนี้ไม่ได้ขายในไทย แต่ไปขายไกลถึงเวียดนาม โอกาสพิเศษจริง ๆ เรากำลังยืนอยู่ในงาน Inclusive Growth Days empowered by OR ที่จัดขึ้น บนชั้น 22 บางกอก คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์  เปล่าเลย นี่ไม่ใช่งานเครื่องดื่มนานาชาติ แต่คืองานที่ OR สร้างขึ้นเพื่อโชว์เคสธุรกิจในเครือของตัวเองและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตร่วมกันกับธุรกิจทุกรูปแบบ ทุกขนาด และสตาร์ทอัป นอกจากในงานจะมี Café Amazon ที่เปิดขายเมนูพิเศษซึ่งปกติขายในต่างประเทศเท่านั้น ยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากพันธมิตรของ OR สินค้าไทยเด็ด SME และสตาร์ทอัป รวมกว่า 100 บูธ และไฮไลต์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือเวทีเสวนาที่ระดม 50 ผู้ทรงคุณวุฒิและนักธุรกิจชั้นนำจากทั่วไทยมาพูดถึงเบื้องหลังการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการและผู้ที่มีฝันอยากเปิดของตัวเองบ้าง และอาจเป็นโชคดีของเราที่วันนี้ เราได้พูดคุยกับ คุณสมยศ คงประเวศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจไลฟ์สไตล์ OR […]

หงส์ไทย ยาดมกระป๋องเขียวในตำนานที่ลูกค้าใช้บ่อยจนฉลากเลือน แต่ยังหอมทน หอมนาน

ไม่รู้ว่าคนทำงานสร้างสรรค์คนอื่นเป็นกันไหม แต่ในฐานะนักเล่าเรื่องที่ชีวิตผูกติดกับการคิด เขียน สัมภาษณ์ และเรียบเรียง, ฉันเสพติดยาดมขั้นหนัก เวลาที่สมองถูกปกคลุมด้วยก้อนความคิดขมุกขมัว อยู่ในสถานะเขียนไม่ออกแต่บอกไหว (เพราะเดดไลน์จี้ก้นมาแล้ว) แค่ปื้ดเดียวจากยาดมคู่ใจก็ปลุกพลังฉันได้ราวปาฏิหาริย์ ยาดมแขนงใดที่ใครว่าดี ฉันลองมาแล้วเกือบหมด แต่ไม่มีปื้ดไหนจะโดนใจฉันเท่าปื้ดของ หงส์ไทย แบรนด์ยาดมจากฝั่งธนฯ กรุงเทพมหานคร ซึ่งวางจำหน่ายให้คนไทยได้สูดดมมาแล้วกว่า 16 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือกระป๋องสีเขียวกับฉลากสีเหลืองเตะตา กลิ่นสมุนไพรที่สูดแล้วสดชื่น โปร่งโล่ง เย็นสบาย บรรเทาอาการวิงเวียนและหายใจติดขัดได้เป็นอย่างดี ในปีที่โควิด-19 กำลังระบาด ธุรกิจทุกหย่อมหญ้าทรุดตัว แต่รายได้ของหงส์ไทยก็โตเอาๆ ถึงขนาดทะลุหลัก 50 ล้านบาทในปี 2564  บ่ายวันแดดจัดวันนี้ ฉันจึงพาตัวเองมาที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัท สมุนไพรไทย หงส์ไทย จำกัด เพื่อพบกับ ธีระพงศ์ ระบือธรรม ผู้ปลุกปั้นแบรนด์ด้วยความสงสัยว่า อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้ยาดมหงส์ไทยเป็นที่นิยมของคนทุกกลุ่มจนมียอดขายพุ่งปรี๊ดสวนกระแสกับสินค้าอื่นในตลาด แม้แต่โรคระบาดก็ฉุดไม่อยู่ กำกระป๋องเขียวคู่ใจของคุณไว้ให้มั่น สูดลึกๆ สักปื้ด แล้วตามไปหาคำตอบพร้อมกัน ธุรกิจในฝัน ปกติเวลาคุยกับเจ้าของธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ฉันได้ยินบ่อยๆ คือ ธุรกิจมักเริ่มต้นจากความชอบของเจ้าของ ยาดมหงส์ไทยไม่ใช่แบบนั้น ธีระพงศ์ไม่ได้ผูกพันกับยาดมมาแต่เด็ก […]

ลดมลภาวะ แต่ไม่ละความเก๋ Reviv แพลตฟอร์มซ่อมเสื้อผ้าออนไลน์ที่จะช่วยทำให้ชุดเดิมสนุกกว่าเดิม

หลายปีมานี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ หรือแม้แต่รายการใน Netflix ก็พูดถึง Fast Fashion อยู่บ่อยครั้ง โดยมักจะหยิบยกแง่มุมที่เลวร้าย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเน้นความเร็วและสู้กับเทรนด์ตลอดเวลา  แรงกระเพื่อมนี้ก็ส่งต่อไปยังแบรนด์ยักษ์ใหญ่ พวกเขาเริ่มออกไลน์เสื้อผ้าที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล คอตตอน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมประกาศความตั้งมั่นในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ซึ่งถือเป็นการขยับตัวที่น่าชื่นชม  ถึงจะอย่างนั้นก็ตามที Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ก็ยังมองว่าไม่ซื้อเลยต่างหากถึงจะดีที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน แต่ในทุกครั้งที่เสื้อผ้าถูกผลิต ก็มีการใช้ทรัพยากรและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดไปนะครับ เพราะไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเย็บต้องซ่อมเสื้อผ้าเท่านั้น ห้ามซื้อใหม่เด็ดขาด ไม่ใช่แบบนั้นเลย แต่เรื่องที่ว่าจะซื้อแบบไหนนั้นขออนุญาตเบรกไว้สักครู่ แล้วมาทำความรู้จักกับ Reviv ก่อนดีกว่า  Reviv The Fashion ภายใต้ร่มเงาไม้ ร้านรวง และที่พักของโครงการ The Yard Hostel มีออฟฟิศขนาดเล็กที่โครงสร้างหลักเป็นตู้คอนเทนเนอร์เก่า และมีเนื้อที่ไม่ถึงห้องสตูดิโอในคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง มุมห้องด้านหนึ่งมีลังกระดาษเอาไว้ใส่ตัวอย่างเสื้อผ้าที่ทดลองปักและซ่อมแซมวางไว้ ถัดมาเพียงก้าวเดินจะเป็นเก้าอี้พลาสติกที่ตั้งคู่กับโต๊ะสีขาว มีหน้าต่างบานเล็กคอยส่องแสงที่ค่อนข้างอิ่มตัวในฤดูกาลที่ฝนตกกันเป็นว่าเล่น  ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา และ ฝ้าย-ฐนิตา เขตกิตติคุณ 2 ตัวแทนจาก Co-founder ทั้งหมด 5 คน […]

‘ไร่ไม่จน’ แบรนด์ท้องถิ่นราชบุรีที่เปลี่ยนภาพจำน้ำอ้อยให้เด็ด จนดังไปไกลระดับโลก

สินค้าดีๆ ในแต่ละท้องถิ่นไทยนั้นมีอยู่มากมาย “พีทีที สเตชั่น” จึงขอสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสถานีเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการหยิบยกสินค้าจากท้องถิ่นขึ้นสู่ระดับประเทศผ่าน “โครงการไทยเด็ด” อีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” ของพีทีที สเตชั่น ด้วยการสนับสนุน แบ่งปันพื้นที่โอกาส และสร้างรายได้ให้แบรนด์เด็ดของแต่ละจังหวัดได้นำเสนออัตลักษณ์ วัฒนธรรม และของดีประจำถิ่น ณ ทุก พีทีที สเตชั่น ทั่วไทย ใครที่เคยเดินห้างฯ แถวบ้าน น่าจะคุ้นกับตู้ปั่นน้ำอ้อยเกล็ดหิมะหรือน้ำอ้อยวุ้นที่มีขายอยู่แทบทุกบิ๊กซี โลตัส เห็นความสำเร็จแบบนี้ ใครจะรู้ว่าตู้ปั่นๆ นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความสำเร็จอีกขั้นที่น่าจะสร้างเป็นหนังได้อีกเรื่อง เพราะมันซ่อนการลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การตีโจทย์ธุรกิจไร่อ้อย หรือการเรียนรู้เทคโนโลยีพาสเจอร์ไรซ์ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อนของชายวัยใกล้เกษียณ  หรือใครที่เคยเข้าพีทีที สเตชั่น และเห็นสินค้าของชุมชนบนชั้นวางสินค้าโครงการไทยเด็ดหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป น่าจะพอสะดุดตากับเจ้ากระป๋องสีเหลืองอมเขียวรูปทรงคล้ายกับปล้องอ้อยอยู่บ้าง รู้ไหมว่าเบื้องหลังของขวดนี้คือการพลิกชีวิตน้ำอ้อยเกล็ดหิมะที่กำลังจะถึงทางตัน ให้กลับมามีอนาคตที่สดใสอีกครั้ง สองความคุ้นนี้คือผลผลิตของ ‘ไร่ไม่จน’ ที่เริ่มต้นจากความพยายามของ คุณประกอบ เหรียญทอง ซึ่งส่งต่อมาให้ คุณปุ๋ม-ปภัสราภรณ์ เหรียญทอง ทายาทที่ตั้งใจจะพาไร่ไม่จนไปเป็นแบรนด์ระดับโลก ถ้าใครจะดูเบาว่าจะไหวเร้อ เราขอการันตีด้วยฉายาแบรนด์น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์เจ้าแรกของไทยพ่วงเจ้าของรางวัลดีไซน์แพ็กเกจจิ้งระดับโลกเลยเอ้า ยืดอายุน้ำอ้อย ยืดอายุธุรกิจ ชาวไร่อ้อยไม่ได้มีเงินรายเดือนเหมือนอาชีพอื่น จะมีก็แต่ […]

FYI

ธุรกิจที่หายไปเพราะผลกระทบจาก COVID-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระเทือนรุนแรงมากไปกว่าสุขภาพของผู้คน แต่กระเทือนไปถึงภาคเศรษฐกิจที่รุนแรงเสียยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือวิกฤติการณ์ไหนๆ ในประเทศไทย สิ่งที่เราต้องรับรู้ทุกวันนอกจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น คือจำนวนของเหล่าธุรกิจน้อยใหญ่ที่ ทยอยปิดตัวกันเป็นใบไม้ที่ร่วงโรยลงสู่พื้นดิน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาให้มากขึ้น เราจึงอยากชวนทุกคนไปดูธุรกิจประเภทต่างๆ ที่ปิดกิจการอย่างถาวรเหลือไว้เพียงความทรงจำให้ผู้คนอย่างไม่ทันตั้งตัว และไม่เหลือแม้แต่โอกาสให้เราได้กลับไปเยี่ยมเยือนอีกครั้ง รถเมล์สาย 203 – แม้กระทั่งธุรกิจขนส่งมวลชนยังต้องบอกลาผู้โดยสาร ตำนานรถเมล์สาย 203 เส้นทางสายบุกเบิกที่ประชาชนที่ต้องการเดินทางในเส้นทาง ท่าอิฐ-สนามหลวงใช้บริการ ต้องปิดตัวลงเนื่องจากจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงอย่างน่าตกใจ นโยบายการล็อกดาวน์ลดจำนวนการเคลื่อนย้ายนอกพื้นที่ กลายเป็นยาเร่งให้รถเมล์สายนี้ยื้อต่อไปไม่ไหว จนต้องจำใจปิดตำนานหลังจากทำหน้าที่รับส่งผู้คนมาเป็นระยะเวลากว่า 44 ปี เหลือไว้เพียงร่องรอยบนพื้นถนนและเส้นทาง ที่รถสายนี้เคยวิ่งผ่าน เซ็นทรัลหาดใหญ่ – ธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องปรับตัว กับการปิดตัวถาวรของห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ และนับเป็นห้างเซ็นทรัลสาขาแรกของภาคใต้อย่างเซ็นทรัลหาดใหญ่ ชวนให้ใจหายเพราะสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เคยเป็นแหล่งนัดพบกันของคนหนุ่มสาว เคยเป็นพื้นที่แห่งความสุขสำหรับใครหลายๆ คน แต่ก็ต้องปิดตำนานลงเพราะผู้คนหวาดระแวงที่จะออกจากบ้าน ชาวต่างชาติไม่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยเหมือนในอดีต ทำให้รายได้หลักสูญหาย นำมาสู่การปิดตัวของห้างสรรพสินค้านี้ไปด้วยระยะเวลา 26 ปี เหลือไว้เพียงชื่อให้คนรุ่นเก่าได้บอกเล่าให้คนรุ่นหลานจดจำ สวนเสือศรีราชา – พื้นที่แห่งความสุขที่เราเคยร่วมสนุกไปกับครอบครัวใน ‘สวนเสือศรีราชา’ ก็ต้องเลือนหายไป หลังจากประคับประคองธุรกิจด้วยวิธีต่างๆ ทั้งขายอาหารริมทาง เปิดให้เข้าชมฟรี จัดโปรโมชันต่างๆ แต่ก็ไม่อาจทนพิษของบาดแผลในครั้งนี้ไหวเพราะการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทยไม่สามารถเดินทางมาใช้บริการได้ รวมถึงเป้าหมายหลักที่เป็นชาวต่างชาติก็กลายเป็นศูนย์และยังไม่มีทีท่าจะกลับมาได้ […]

Cafemom By RIN ธุรกิจไท้ยไทยที่ลบภาพจำ ‘หมอตำแย’ ด้วยวิธีทำ ‘อยู่ไฟ Delivery’

‘อยู่ไฟ’ คือภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่เรามักเห็นจากหมอตำแยในละครย้อนยุค การอยู่ไฟอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราพูดในบริบทสังคมไทยในสมัยหลายสิบปีก่อน แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วการอยู่ไฟคืออะไร ทำไมคุณแม่หลังคลอดถึงต้องอยู่ไฟ ทั้งๆ ที่แพทย์แผนปัจจุบันก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องอยู่ไฟกันแล้ว แต่หากเราบอกคุณว่า ในปี 2021 การอยู่ไฟได้พัฒนารูปแบบมาจนกระทั่งเดลิเวอรี่ ให้คุณแม่หลังคลอดใช้บริการได้ง่ายและสะดวกโดยไม่ต้องออกจากบ้าน อีกทั้งกระแสตอบรับของธุรกิจดังกล่าวได้รับความนิยมจากคุณแม่สมัยใหม่มาก ชนิดที่ว่าต้องจองคิวล่วงหน้าถึง 2 เดือนก่อนคลอดลูกน้อยด้วยซ้ำ คุณอาจไม่เชื่อ สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะพาทุกคนไปรู้จัก Cafemom By RIN ธุรกิจไท้ยไทยที่เข้ามาเปลี่ยนภาพจำหมอตำแยในละคร ให้กลายมาเป็นธุรกิจอยู่ไฟเดลิเวอรี่ ที่พร้อมเคาะประตูให้บริการคุณแม่ถึงหน้าบ้าน อยู่ไฟ ‘วิชาดูแลแม่หลังคลอด’ คำถามที่เราสงสัยมาโดยตลอดก่อนจะเริ่มพูดคุยกับ รินทรัตน์ พลอยศรี หรือ เต้ย เจ้าของธุรกิจ Cafemom By RIN อยู่ไฟเดลิเวอรี่ คือคำถามที่ว่า จริงๆ แล้วมันคืออะไร ทำไมหลังคลอดคุณแม่สมัยก่อนถึงต้องอยู่ไฟ “การอยู่ไฟเป็นทางเลือกในการดูแลร่างกายของคุณแม่หลังคลอด ที่สอดแทรกไปด้วยกุศโลบายของคนไทยสมัยก่อน เพื่อช่วยบำบัดร่างกายและจิตใจที่เหนื่อยล้าจากการให้กำเนิดลูก การอยู่ไฟจะช่วยดูแลสุขภาพภายในร่างกายให้กลับมาสมดุลอีกครั้ง และคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนไปในเวลาเดียวกัน” หลังจากทราบถึงเหตุผลของการอยู่ไฟแล้ว เราสงสัยต่อว่าแล้วการอยู่ไฟมีข้อดีอะไรบ้าง “ตามตำราของแพทย์แผนไทย การอยู่ไฟเป็นการปรับสมดุลภายในร่างกายของผู้หญิง ซึ่งคุณแม่หลังคลอดเสียสมดุลในร่างกายไปเยอะ ทั้งเสียเลือด สารอาหาร […]

ตั้งเซ่งจั้ว ร้านขนมเปี๊ยะ 88 ปีแห่งฉะเชิงเทรากับรสและสูตรที่ในประเทศจีนยังหากินยาก

ชวนรู้จัก ‘ตั้งเซ่งจั้ว’ แบรนด์ของครอบครัวคนทำขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา ที่เสิร์ฟความประณีตมาร่วม 90 ปี

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.