อย่าไปกลัวปีชง! ถ้าเราประคองใจให้มั่นคง จะกี่ปีชงก็ทำอะไรเราไม่ได้

แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้ มาจากการที่ผู้เขียนเลื่อนเจอสเตตัสของรุ่นพี่คนหนึ่ง เล่าถึงความ ‘กระวนกระวายใจ’ ทุกครั้งที่เห็นคอนเทนต์ปีชง เพราะมันทำให้เขากลัว เนื่องจากไม่อยากให้ชีวิตโชคร้ายกว่าที่ผ่านมาอีกแล้ว เวลาเข้าโซเชียลมีเดีย รุ่นพี่ต้องเลื่อนฟีดผ่านเร็วๆ เพราะไม่อยากอ่านให้มันผ่านเข้ามาในใจ อีกอย่าง ทุกวันนี้เราเปิดรับข่าวสารที่ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเศร้าและน่ากลัวทุกวัน จนเรื่องร้ายต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่เราเผลอคาดหวังไว้ว่าจะเกิดขึ้น ไม่กับเรา ก็กับสังคม ทีนี้พอมีเรื่องปีชงเข้ามา บวกกับพื้นฐานข่าวสารที่ได้รับ ก็ยิ่งทำให้ผู้คนจิตตก กังวลมากขึ้น ต่อให้เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ว่าปีนี้จะเป็นปีชงของเราหรือไม่ แต่ในทางสุขภาพจิตแล้ว ผู้เขียนในฐานะคนทำงานด้านจิตบำบัดก็อยากเสนอแนะวิธีช่วยประคับประคองจิตใจให้ผ่านด่านสนามทดสอบเรื่องโชคลางไปได้อย่างไม่วุ่นวายใจมากนัก 1) หมั่นสังเกตว่าตัวเองกำลังคาดหวังสิ่งที่ไม่ชอบให้เป็นจริงอยู่หรือเปล่า มีทฤษฎีหนึ่งทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-fulfilling Prophecy ซึ่งเป็นการอธิบายถึงความเชื่อหรือความคาดหวังบางอย่างที่ทำให้เรายึดมั่นในสิ่งนั้นมากๆ จนส่งผลต่อการกระทำของเรา และทำให้ความเชื่อหรือความคาดหวังของเรานั้นเป็นจริง ยกตัวอย่าง เราเข้าทำงานที่ใหม่วันแรก เห็นผู้หญิงคนหนึ่งดูหน้าบึ้งตึงเป็นพิเศษ ​เราคิดไปเองว่าเธอคนนี้จะต้องไม่ชอบเราแน่ๆ เลยไม่อยากเข้าไปชวนคุยเพราะกลัวเธอจะยิ่งรำคาญ แถมเธอเองก็ไม่ได้สนใจเรา พร้อมกับเดินผ่านหน้าไปอีก ทำให้เราเชื่อว่า เธอคนนี้ต้องไม่ชอบหน้าเราแน่ๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วเธออาจจะโมโหหิวเฉยๆ ก็ได้ พอเชื่อแบบนี้ ก็อาจทำให้เราพูดจาหรือแสดงท่าทีที่เฉยเมย ไม่เป็นมิตรออกไป จนทำให้อีกฝั่งรู้สึกได้ถึงบรรยากาศลบๆ และไม่อยากยุ่งกับเรา สุดท้ายก็อาจนำไปสู่การไม่ชอบกันจริงๆ ก็เป็นได้ โปรดระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งเราเชื่อในสิ่งไหนมากๆ นั่นไม่ได้ทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นจริงเสมอไป แต่มันมีส่วนสูงมากที่ทำให้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น […]

Mu-Center ออกแบบศูนย์มูเตลูครบวงจร รับจบที่เดียวด้านความเชื่อ และเป็นมิตรต่อเมือง

งานไม่เลิศ เงินไม่ปัง ความรักไม่รอด หาทางแก้ไขปัญหามาทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่ดี ที่พึ่งสุดท้ายคงหนีไม่พ้นการ ‘มูเตลู’ ถึงอย่างนั้นการมูฯ ก็มีหลายสาขา หลายความเชื่อ หลายศาสนา สถานที่มูฯ ก็มีมากมายกระจายตัวทั่วเมือง แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน สาขาอะไร ชาวมูฯ ทั้งหลายล้วนต้องเจอกับปัญหาไม่น้อย ตั้งแต่คนจำนวนมากที่ไปรวมตัวตามสถานที่มูฯ จนแทบจะไม่มีที่ยืนขอพร การแบ่งโซนที่ไม่เป็นระเบียบ ไปจนถึงของไหว้ของถวายที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Urban Sketch ขอจำลองพื้นที่ Mu-Center ศูนย์รวมการมูเตลูครบจบในที่เดียวภายในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่รองรับสายมูฯ หลากหลายสาขา นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานและผู้คนรอบนอกสถานที่แล้ว ที่นี่ยังเป็นมิตรกับเมืองอีกด้วย ก่อนจะไปดู Mu-Center ของเรา อย่าลืมกด 99 รับโชคดีกันด้วยล่ะ 1) แยกทางเข้าและทางออก เมื่อมูเซ็นเตอร์ของเราเป็นทั้งศูนย์กลางและศูนย์รวมของการมูเตลู ย่อมต้องมีคนเวียนกันเข้ามาบูชาองค์เทพทั้งวัน ดังนั้นเพื่อลดความแออัดของคนที่เดินเข้า-ออกตลอดเวลา เราจึงแยกทางเข้าและทางออกไว้อย่างละทาง เพื่อสร้างโฟลว์ให้คนสัญจรง่าย และใช้สถานที่อย่างสะดวกสบาย 2) แบ่งโซนตามความเชื่อ ไม่ว่าจะมูฯ แบบไหน ไทย จีน ฮินดู ก็สามารถเก็บครบจบที่มูเซ็นเตอร์ เพราะเราจะรวมทุกการมูฯ เอาไว้ในที่เดียว โดยแบ่งโซนแยกไว้ตามแต่ละศาสนาและความเชื่อ เลือกได้เลยว่าจะมูฯ […]

‘มูเตเวิร์ล’ ธุรกิจที่ปลุกกระแสการมูฯ ให้ป็อปด้วยวอลล์ฯ เสริมดวง ไปถึงนะหน้าทองแบบ DIY

เพราะเป็นคนรักงานที่เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีผลต่อ Work-life ไม่แพ้ความพยายาม หน้าจอโน้ตบุ๊กของฉันจึงตั้งวอลล์เปเปอร์เสริมดวงที่ (เชื่อว่า) ช่วยเรียกโชคลาภด้านงานและเงินเข้ามาเป็นพิเศษ วอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้มีส่วนประกอบเป็นไพ่สามใบ นั่นคือ Nine of Pentacles, Wheel of Fortune และ Ace of Cups ส่วนมุมขวาล่างมีโลโก้ ‘มูเตเวิร์ล’ ครีเอเตอร์ของวอลล์เปเปอร์แปะอยู่ ทุกเช้า ในพิธีกรรม Manifesting ก่อนเริ่มงาน นอกจากจะได้จินตนาการภาพความสำเร็จกับไพ่ก่อนลงมือทำงานให้สำเร็จจริงๆ ฉันจะชอบแวะขอบคุณทีมมูเตเวิร์ลที่ช่วยทำวอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ใครจะคิดว่าหลังจากตั้งวอลล์ฯ มาได้แรมปี การงานจะพาให้ฉันมาขอบคุณพวกเขาถึงสำนัก เพราะคอลัมน์ Trouble Solver คราวนี้ ฉันมีนัดกับทีมผู้ก่อตั้ง ‘แม่หมอแอเรียล-พิมฉัตร์ วิบูลย์ธนินกุล’ Chief Operation Officer, ‘ฝน-สุภัทร์พร โปสกนิษฐกุล’ Chief Creative Officer และ ‘กูโร่-อภิชา อินทรกำแหง’ Chief Officer Technology เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างธุรกิจมูฯ สุดปังของพวกเธอกัน ศูนย์มูฯ ซัปพอร์ตจิตใจในวันไร้ที่พึ่ง […]

ทำไมคนไทยเชื่อหมอดูมากกว่าจิตแพทย์? เพราะงมงายหรือเข้าถึงง่ายกว่า

เวลาคุยกับหมอดู คุณถามว่าอะไรกันบ้าง?ช่วงนี้เครียดกับเพื่อนร่วมงานมาก งานนี้จะรอดไหม?ที่ทำงานบีบเงินเดือนสุดๆ ปีนี้จะรวยไหม?ทุ่มเทให้เขาขนาดนี้ เขาจะรักเราบ้างไหม? คำถามเหล่านี้ต่างเป็นปัญหาสุดกลุ้มใจของใครหลายคน หากให้เลือกปรึกษาระหว่างจิตแพทย์กับหมอดู เชื่อว่าส่วนใหญ่ขอพุ่งเข้าหาแม่หมอก่อนเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันศาสตร์ทำนายอนาคตฮิตในบ้านเรา และทุกวันนี้มีธุรกิจสายดวงผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะบริการดูดวงออนไลน์ที่ได้รับความนิยมล้นหลาม ทุกคนเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย เช่น YouTube, Facebook, Twitter หรือ TikTok จนทำให้บางคนที่ชอบดูดวงมองว่า หมอดูก็สามารถทำให้พวกเขามีกำลังใจและรู้สึกมีความหวังในวันที่เขาหลงทาง รวมทั้งให้คำปรึกษาคล้ายกับจิตแพทย์คนหนึ่งเลยทีเดียว ดูดวง ที่พึ่งยามยากที่เข้าถึงง่าย ความนิยมการดูดวงไม่ใช่เรื่องคิดไปเอง จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี และเป็นโสด สาเหตุที่เลือกดูดวงเนื่องจาก 1 ใน 3 พบว่ารู้สึกเครียดและต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ จึงต้องการรับรู้เรื่องอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจการตัดสินใจในปัจจุบัน เรื่องที่คนเมืองมักจะปรึกษาแม่หมอมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) การก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 2) การเงินและการค้า และ 3) เรื่องโชคลาภ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.