Tutiru Café คาเฟ่และร้านดอกไม้จากมือเกษตรกรญี่ปุ่น ที่อยากให้ดอกเบญจมาศไม่ถูกใช้แค่ในงานศพและงานแต่ง

สำหรับคนไทย ดอกไม้ในตระกูลเบญจมาศ (Chrysanthemum) ถือเป็นดอกไม้ทั่วไปที่เห็นบ่อยครั้งในการจัดช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น ดอกไม้ตระกูลนี้กลับถูกใช้ในพิธีสำคัญอย่างงานแต่งงานและงานศพเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คนญี่ปุ่นคุ้นเคยกับดอกเบญจมาศในชีวิตประจำวันมากขึ้น เกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศในเมือง Marugame จังหวัด Kagawa ประเทศญี่ปุ่น จึงตัดสินใจเปิด ‘Tutiru Café’ คาเฟ่ที่มีการขายดอกเบญจมาศร่วมด้วย ภายใต้การออกแบบของสตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง ‘Fathom’ ที่แบ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมแห่งนี้ออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรก นักออกแบบได้เปลี่ยนโกดังเก่าในฟาร์มให้เป็นบริเวณที่รวมร้านดอกไม้และคาเฟ่เข้าไว้ด้วยกัน และตกแต่งด้วยวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งการออกแบบลักษณะนี้มีความหมายซ่อนอยู่ เส้นตรงในแนวนอนสื่อถึงผืนดินอันกว้างใหญ่ ส่วนเส้นตรงในแนวตั้งแทนการเจริญเติบโตของดอกเบญจมาศ ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ สำหรับพื้นที่อีกส่วนที่แยกตัวออกมาจะถูกใช้เป็นโกดังเก็บดอกเบญจมาศโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับดอกไม้เหล่านี้ นอกจากนี้ ภายในคาเฟ่ Tutiru Café ยังมีโต๊ะแบบเคาน์เตอร์บาร์ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นโกดังและโต๊ะสำหรับทำเวิร์กช็อปจัดดอกไม้ ตามความตั้งใจเดิมของเจ้าของร้านและ Fathom ที่ต้องการให้ดอกเบญจมาศกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตประจำวันของผู้เข้าใช้บริการได้ Sources : ArchDaily | t.ly/G-XfFathom | t.ly/5QOW

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

‘Katsura Library’ อ่านหนังสือที่ ม.เกียวโต พร้อมชมวิวป่าไผ่ ห้องสมุดใหม่ที่รวม 5 ห้องสมุดเก่าให้กลายเป็นหนึ่ง

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ติดท็อป 3 ทุกปี คงหนีไม่พ้น ‘มหาวิทยาลัยเกียวโต’ (Kyoto University) เพราะนอกจากการเรียนการสอนที่ดี สภาพแวดล้อมในบริเวณมหาวิทยาลัยยังร่มรื่น ชวนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ไม่น้อย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยเกียวโต วิทยาเขต Katsura ที่ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุดใหม่ ให้ตอบโจทย์การใช้งานของนักศึกษาและบุคคลทั่วไปมากขึ้น ด้วยการรวมเอาห้องสมุดทั้ง 5 แห่งเดิมที่แยกตามการจัดหมวดหมู่ของวิชามาไว้ด้วยกัน และสร้างห้องสมุดใหม่ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็น Area-Focus Hub Library ให้วิทยาเขตแห่งนี้ ‘Katsura Library’ เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่กว่า 4,556 ตารางเมตรที่สร้างขึ้นภายใต้การควบคุมการออกแบบที่เข้มงวด เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ใหม่ยังคงสอดคล้องไปกับตัววิทยาเขตเดิม ด้วยความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการควบคุมออกแบบจาก ‘Waro Kishi + K.ASSOCIATES/Architects’ อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโตและสตูดิโอของเขา ภายในของ Katsura Library ประกอบด้วยพื้นที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ พื้นที่การเรียนรู้แบบสาธารณะที่มีตั้งแต่ห้องทดลองแบบเปิด ห้องวิจัยทั่วไป และห้องสร้างสื่อ รวมไปถึงห้องอ่านหนังสือที่เปิดให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเข้าถึงได้อย่างอิสระ โดยแต่ละส่วนจะให้ความรู้สึกที่เงียบสงบ แต่เชื่อมต่อถึงกันด้วยพื้นที่ห้องโถงใหญ่และกระจกใสกั้นห้อง ผนังภายนอกของ Katsura Library ตกแต่งด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน ผสมกับคอนกรีตแบบเปลือย และการออกแบบหลังคาทรงเรียบ […]

โรงเรียนอนุบาลใต้ทางรถไฟยกระดับในโตเกียว บรรยากาศอบอุ่น มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้ง ไอเดียเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้มีประโยชน์และปลอดภัย

ในความหนาแน่นของเมืองและผู้คน การเพิ่มพื้นที่ใช้สอยคือหนึ่งในโจทย์สำคัญที่หลายเมืองทั่วโลกยังคงหาทางออกอยู่เสมอ วันนี้เราอยากพาไปดูหนึ่งไอเดียสำหรับการออกแบบพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม สถานที่แห่งนี้คือ ‘โรงเรียนอนุบาล’ ที่ตั้งอยู่ใต้ทางรถไฟยกระดับในมาจิยะ ใจกลางเมืองโตเกียว ทางรถไฟที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2474 เมื่อมีการเกิดขึ้นของทางรถไฟยกระดับแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือมีร้านค้าและบ้านเรือนถูกสร้างขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่ทางด้านล่าง ก่อเกิดเป็นภูมิทัศน์ใจกลางเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัย  ในเวลาต่อมา ชาวเมืองถูกเวนคืนพื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับการเสริมโครงสร้างยกระดับจากแผ่นดินไหว สถานที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างให้ว่างเปล่าเป็นเวลานาน และได้เริ่มต้นนำกลับมาใช้ใหม่โดยปรับปรุงพื้นที่ด้วยการสร้างโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เมืองกำลังขาดแคลนเพราะไม่มีที่ทางจะสร้างนั่นเอง โดยโครงสร้างทางยกระดับที่ตัดผ่านตัวเมืองแห่งนี้มีคานที่สูงประมาณ 3.9 เมตร และมีระยะความกว้างระหว่างเสาประมาณ 6 เมตร ซึ่งกว้างขวางพอเหมาะมากสำหรับการสร้างพื้นที่ห้องเรียนหรือห้องอเนกประสงค์ต่างๆ ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และทางสถาปนิกก็ยังทำการออกแบบหลังคาขนาดใหญ่ยาว 70 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกันระหว่างขนาดของโครงสร้างยกระดับและขนาดของสถาปัตยกรรม รวมถึงยังทำผนังของโรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ให้ปลอดภัยและห่างไกลอันตรายจากความเร่งรีบของการจราจรบนท้องถนน ภายใต้สะพานยกระดับซึ่งเป็นหลังคาขนาดใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้ มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้งที่ไม่เหมือนใคร สร้างขึ้นจากการซ้อนทับของโครงสร้าง และโครงสร้างที่สูงก็กลายเป็นหลังคาช่วยปกป้องสนามเด็กเล่นจากแดดจ้า ฝนชุ่มช่ำ และทำให้แสงยังสอดส่องได้อย่างเพียงพอ นอกจากเครื่องเล่นแล้ว โรงเรียนอนุบาลยังมีลานซักล้างและลานจอดจักรยานด้วย จากพื้นที่ที่คนเมืองรู้สึกอันตรายอย่างใต้ชายคาทางยกระดับ ถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยและกลายเป็นอีกสถานที่ในเมืองที่ทำให้ผู้คนได้เพลิดเพลินไปกับดอกไม้และต้นไม้ที่ปลูกบริเวณโรงเรียน และเมื่อมีการสัญจรผ่านไปบนท้องถนนก็จะทำให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นชีวิตประจำวันของเด็กๆ เป็นเสมือนฉากการเติบโตขึ้นของอนาคตประชากรของเมืองที่เลื่อนเปลี่ยนผ่านไปในทุกวัน Source :ArchDaily | t.ly/Oq4jd

ออกแบบเมือง ‘Demon Slayer’ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้ ด้วยนโยบายที่ดาบไม่ต้องพิฆาตอสูร

‘Demon Slayer’ (Kimetsu no Yaiba) หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เป็นหนึ่งในผลงานหนังสือการ์ตูนยอดฮิตจากญี่ปุ่น ที่เขียนโดย ‘โคโยฮารุ โกโตเกะ’ (Koyoharu Gotouge) และถูกนำไปสร้างเป็นอานิเมะและภาพยนตร์ที่หลายต่อหลายเสียงต่างบอกต่อกันมาว่า ดี! แบบตะโกน จักรวาลของ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เริ่มต้นด้วย ‘คามาโดะ ทันจิโร่’ เด็กหนุ่มผู้มีจมูกดมกลิ่นเป็นเลิศ ซึ่งมีครอบครัวที่อยู่ห่างไกลในหุบเขา วันหนึ่งเขาแบกถ่านไปขายในเมืองและกลับมาถึงบ้านก็พบว่า ทั้งครอบครัวถูกอสูรฆ่าอย่างโหดร้าย เหลือเพียงน้องสาวที่รอดชีวิตมาได้ และต้องกลายร่างเป็นอสูร จากเหตุการณ์นั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชีวิตของทันจิโร่ต้องเผชิญกับความหม่นหมองเศร้าตรม ทว่าในความมืดมน เขาได้พบกับนักล่าอสูรที่มองเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวของเขา และช่วยชี้หนทางหลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ด้วยการแนะนำให้เดินทางไปพบเสาหลักอาวุโส เพื่อทำการฝึกฝนวิชาเป็นนักล่าอสูร นำไปสู่ภารกิจแก้แค้นอสูรที่ฆ่าคนในครอบครัว และทำให้น้องสาวของเขากลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง “ถ้ามนุษย์กับอสูรอยู่ร่วมกันได้ก็คงดี แต่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ตราบใดที่อสูรยังกินมนุษย์” บทสนทนาตอนหนึ่งในเรื่องทำให้เรารู้ว่า แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะหรืออธรรมก็ต่างมีเหตุผลของการต้องดิ้นรนมีชีวิต เพื่อต้อนรับการมาถึงของดาบพิฆาตอสูรภาคล่าสุด ‘หมู่บ้านช่างตีดาบ’ ที่เพิ่งเข้าฉายใน Netflix คอลัมน์ Urban Isekai จึงอยากสวมบทบาทเป็นเสาหลักเข้าไปสร้างเมืองที่ ‘มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้’ โดยนำพลังของมนุษย์และอสูรมาใช้พัฒนาให้ทุกคนและทุกตนให้เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกับอสูรได้ และกระจายอำนาจไปยังเมืองต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมศูนย์หรือผูกขาดอำนาจในอนาคต พื้นที่มืดกลางแสงแดด (Outdoor Spaces) […]

O_building เปลี่ยนเส้นทางระหว่างอาคารที่มืดทึบให้น่าเดิน ด้วยกระจกครึ่งบาน รับแสงแดดและเพิ่มพื้นที่

เมื่อพูดถึงอาคารที่อยู่อาศัย เรามักนึกถึงตึกสูงที่ตั้งชิดกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ว่างให้เดิน เช่นเดียวกันกับเมือง Musashino ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารพาณิชย์ตั้งเรียงรายจนทำให้เกิดทางเดินที่คับแคบและมืดทึบ สตูดิโอ Yohei Kawashima Architects จึงออกแบบ ‘O_building’ อาคารที่ล้อมรอบไปด้วยกระจกครึ่งบานและทางเดินที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมุมมองที่สวยงามของเมืองโตเกียว O_building เป็นอาคารสามชั้นที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ ‘Yohei Kawashima’ มีลักษณะเป็นอาคารที่อยู่อาศัยรูปทรงเสาธง (Flagpole-shaped Residence) ที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติทั้งทิศเหนือและทิศใต้ของโครงสร้างอาคาร Yohei Kawashima Architects พยายามออกแบบให้พื้นที่ทางเดินด้านข้างมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการวางแผ่นกระจกครึ่งบานไว้ตามทาง เพื่อทำหน้าที่รับแสงและเงาของแดดที่ส่องผ่านเข้ามาตามช่องว่าง ทั้งยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่ามีพื้นที่มากขึ้นจากการสะท้อนภาพอาคารและด้านหลังของอาคารอีกฝั่งหนึ่งที่อยู่ติดกันด้วย นอกจากนี้ ทางทีมสถาปนิกยังเสริมความน่ามองของทางเดินด้วยต้นไม้เขียวขจี เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมาใช้เวลาพักผ่อนตรงบริเวณนี้ หรือผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้สัมผัสกับธรรมชาติ และพวกเขายังเชื่อว่าทางเดินเล็กๆ ข้างอาคารแห่งนี้จะช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การเดินท่ามกลางแสงแดดให้สดชื่นขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคุณภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารได้อย่างแน่นอน Source :Designboom | bit.ly/40A77Cm

‘Hisaya-odori Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะ 60 ปี ให้คึกคักขึ้น ผ่าน 4 โซน ใจกลางนาโกยา

ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจพื้นที่สาธารณะสีเขียวมาก จนเกิดเป็นโครงการ ‘Park-PFI’ สำหรับพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว และพื้นที่เกษตรในชุมชนโดยเฉพาะ นำทีมโดยสำนักพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์แห่งกรมเมืองประจำกระทรวง ‘Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism’ ‘Hisaya-odori Park’ สวนสาธารณะอายุเก่าแก่กว่า 60 ปี เขตซาคาเอะ ใจกลางเมืองนาโกยาเอง ก็เป็นหนึ่งในโครงการ Park-PFI ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ทั้งหมดเพื่อทำให้สวนสาธารณะเป็นมิตรต่อผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวจากในและนอกประเทศมากขึ้น พื้นที่กว่า 8,136 ตารางเมตร ทอดยาวประมาณ 1 กิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นสวนสีเขียวที่ทันสมัย ประกอบไปด้วยร้านค้ากว่า 35 ร้าน จากการออกแบบโดย ‘Nikken Sekkei Ltd., TAISEI CORPORATION’ บริษัทออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี พื้นที่ของ Hisaya-odori Park แบ่งออกเป็น 4 โซนหลักที่ผสมผสานความมีสไตล์เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไล่ระดับจากโซนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ไปสู่โซนที่ […]

ญี่ปุ่นประกาศวีซ่า J-SKIP และ J-FIND หวังดึงคนเก่ง รายได้สูงเข้าประเทศ เริ่มต้นเดือนเมษายน 2023 เป็นต้นไป

หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาภาวะ ‘สมองไหล (Brain Drain)’ ทำให้คนเก่งที่มีทักษะสูงย้ายไปทำงานต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2023 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศข้อกำหนดใหม่ในการยื่นขอวีซ่า J-SKIP และ J-FIND ขึ้น เพื่อดึงคนมีความสามารถรุ่นใหม่เข้าประเทศ  ‘J-SKIP (Japan System for Special Highly Skilled Professionals)’ เป็นวีซ่าทำงานประเภท 5 ปี สำหรับนักวิจัยและวิศวกรรายได้ 20 ล้านเยนต่อปี (5 ล้านบาท) ที่มีวุฒิปริญญาโทหรือประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 10 ปี และผู้บริหารระดับสูงประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ที่มีรายได้อยู่ที่ 40 ล้านเยนต่อปี (10 ล้านบาท) โดยนักวิจัย วิศวกร และผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดนี้ สามารถสมัครงานและย้ายถิ่นฐานมายังประเทศญี่ปุ่นได้ทันที โดยไม่ต้องสอบวัดระดับ ‘Point-Based System’ เหมือนในอดีต และหลังจากพำนักอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 ปี ผู้ถือวีซ่านี้สามารถยื่นขอวีซ่าถาวรได้ […]

เธอก็มีได้นะ ตู้กาชาปองน่ะ! ‘Showy Gacha’ กระเป๋าตู้กาชาฯ ที่มาพร้อมแคปซูลและหมุนได้จริง

ในวัยเด็ก คุณเคยฝันว่าอยากมีตู้กาชาปองส่วนตัวไหม ถ้าใช่ ความฝันของคุณกำลังจะเป็นจริงได้ด้วย ‘Showy Gacha’ กระเป๋าเป้รูปทรงตู้กาชาปอง ที่เหมือนยกตู้กาชาฯ จากย่านอากิฮาบาระมาไว้บนไหล่เรา Showy Gacha เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคต์ ‘Let’s Play Gacha Project’ ผลงานการออกแบบของ ‘Takara Tomy Arts’ บริษัทของเล่นสัญชาติญี่ปุ่นที่หยิบเอาต้นแบบตู้กาชาปองรุ่น Gacha 2EZ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในเด็กและผู้ใหญ่มาเป็นใช้เป็นต้นแบบ เพื่อเฉลิมฉลองให้กับวันกาชาปอง (Gacha Day) ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ของทุกปี Showy Gacha ถูกออกแบบมาให้เป็นกระเป๋าเป้ขนาดใหญ่ที่ช่องด้านหลังสามารถใส่เอกสารขนาด A4 และแล็ปท็อปขนาด 13 นิ้วได้ พร้อมช่องแบ่งสำหรับจัดเก็บสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ภายในเพื่อความเป็นระเบียบ ขณะที่กระเป๋าส่วนหน้ามาพร้อมแคปซูลกาชาปองให้ผู้ใช้งานสามารถใส่ของสุดน่ารักไว้ภายใน แม้ว่าภายในตัวกระเป๋าจะไม่มีกลไกที่เมื่อหมุนแล้วตัวแคปซูลจะตกลงมากแบบเครื่องกาชาปองจริง แต่ด้วยตัวกลไกที่หมุนแล้วมีเสียง ‘คลิก’ ทีี่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังหมุนกาชาปองอยู่จริงๆ และช่องด้านล่างที่สามารถเปิดซิปเพื่อสุ่มหยิบแคปซูลจากบางลูกที่เราใส่เอาไว้จำนวนมากภายใน ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ Showy Gacha กลายเป็นกระเป๋าสุดเท่ที่ใครๆ ต่างต้องการมีไว้ในครอบครอง ใครที่สนใจอยากเป็นเจ้าของ Showy Gacha สามารถสั่งจองล่วงหน้าผ่านทาง […]

Urasando Public Toilet ห้องน้ำสาธารณะที่ออกแบบด้วยความเรียบง่าย ใช้งานสะดวก สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม

เวลาต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ ทุกคนจะนึกถึงเรื่องความสะอาด สุขอนามัย และความปลอดภัยเป็นสำคัญ แน่นอนว่าห้องน้ำสาธารณะหลายๆ แห่งในบ้านเรานั้นไม่ค่อยน่าพิสมัยเสียเท่าไหร่  วันนี้เราอยากพาไปดูอีกหนึ่งไอเดียการออกแบบห้องน้ำสาธารณะในประเทศญี่ปุ่น ในโครงการ ‘The Tokyo Toilet’ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation) เนื่องในโอกาสการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020 ที่ผ่านมา  โครงการ The Tokyo Toilet ได้ชวนเหล่านักออกแบบและสถาปนิกมาออกแบบห้องน้ำสาธารณะหลายแห่งทั่วเขตชิบูยาของกรุงโตเกียว เพื่อสร้างการออกแบบที่อบอุ่น เชิญชวน และโดดเด่น และทำให้ประชาชนสามารถใช้ห้องน้ำนอกบ้านกันได้อย่างสุขใจ โดยหนึ่งในนักออกแบบที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่นอย่าง ‘Marc Newson’ นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาวออสเตรเลีย ได้ออกแบบห้องน้ำสาธารณะแห่งที่ 14 จากทั้งหมด 17 แห่ง ชื่อว่า ‘Urasando Public Toilet’ ซึ่งเริ่มเปิดให้ใช้งานไปในวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ด้านในของห้องน้ำสาธารณะแห่งนี้ทาด้วยสีเขียวพาสเทลเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลสบายตา ดูสว่าง ให้ความรู้สึกสะดวกสบาย เกิดเป็นความเรียบง่ายที่สามารถมองเห็นทุกสิ่งได้อย่างทั่วถึง ส่วนวัสดุที่เลือกใช้มีความทนทาน ทำความสะอาดง่าย ส่งผลให้พื้นที่สาธารณะมีเสน่ห์เชื้อชวนให้ผู้คนมาใช้บริการ นอกจากนี้ Marc Newson ยังได้หยิบหัวใจของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาใช้เพื่อทำให้สไตล์งานออกแบบของเขาเข้ากับรากเหง้าของแดนอาทิตย์อุทัย ด้วยการดีไซน์หลังคาทองแดงมิโนโกะ […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.