‘Q-CHANG’ แพลตฟอร์มรวมสารพัดช่างซ่อมให้บริการทั่วไทย ที่วางตัวเป็น ‘แบ็คอัพทุกเรื่องบ้าน’

หลังคาบ้านโดนลูกเห็บตกใส่จนเป็นรูรั่ว แต่ไม่รู้จักช่างซ่อมหลังคาที่ไว้ใจได้เลย แอร์ที่บ้านไม่เย็น พอเรียกช่างมาล้างเขากลับเติมน้ำยาแอร์ให้ แถมคิดตังค์เพิ่มอีก! ก๊อกในห้องน้ำมีรอยแตก แต่ภารกิจชีวิตเยอะจนไม่มีเวลาซ่อม หากคุณเคยเจอปัญหาอีหรอบเดียวกัน เราขอแนะนำให้รู้จัก ‘Q-CHANG (คิวช่าง)’ แพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่ใจที่จะช่วยแก้ปัญหาในที่อยู่อาศัยของคุณได้แบบครบจบในที่เดียว เกริ่นมาอย่างกับสปอตโฆษณา แต่สัญญาว่าไม่ได้พูดเกินเลยสักนิด นั่นเพราะแพลตฟอร์มนี้รวบรวมช่างสารพัดแบบเอาไว้ ไล่ตั้งแต่ช่างล้างแอร์ ช่างซ่อมหลังคา ไปจนถึงแม่บ้านทำความสะอาด Q-CHANG เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากในการหาช่างฝีมือดีและไว้ใจได้ นั่นคือเป้าหมายแรก ทว่ามากกว่าการอำนวยความสะอาดให้เจ้าของที่พักเพื่อให้พวกเขากดจองคิวช่างได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิก Q-CHANG ยังมีฝันใหญ่คือการสร้างงานสร้างอาชีพให้ช่างไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี เพียง 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง Q-CHANG มีลูกค้าใช้แพลตฟอร์มเรือนแสน มีช่างในระบบกว่าพันคนกระจายไป 77 จังหวัดทั่วไทย และมีรายได้มากกว่า 250 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา  มองเผินๆ ตัวเลขเหล่านี้อาจบอกว่าตลาดของลูกค้าที่ต้องการช่างนั้นแสนกว้างใหญ่ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้คือการทำงานหนักของทีมงาน และการเอาใจใส่ทั้งลูกค้าและช่างอย่างจริงจัง อะไรทำให้ Q-CHANG มาถึงจุดนี้ได้ บ่ายวันฟ้าเปิด เราบุกออฟฟิศ Q-CHANG ไปคุยกับ ‘บอย-ศรัณย์วิศว์ ภักดีนอก’ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ช่างคิด ก่อนจะมาเป็นผู้ก่อตั้ง Q-CHANG อย่างเต็มตัว […]

ชายผู้ลาออกมาประดิษฐ์ ‘Lightsaber’ จากภาพยนตร์ Star Wars จนกลายเป็นอาชีพ

A (not) long time agoin a galaxy (not) far,far away… มีหนุ่มไทยคนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำของตนเอง เพื่อหันมาทุ่มเวลาให้การประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์จากภาพยนตร์สตาร์วอร์สเป็นอาชีพ ค่อยๆ เรียนรู้ พัฒนาวงจรภายในไลต์เซเบอร์ให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้นจากเดิม ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น กลายเป็นที่ต้องการของแฟนๆ สตาร์วอร์ส และนักสะสมจำนวนมากจากทั่วโลก ไลต์เซเบอร์ที่เขาขายมีราคาตั้งแต่ 3 – 4 หมื่นบาท และปัจจุบันมีคิวออเดอร์ยาวไปจนถึงปีหน้า อะไรทำให้ไลต์เซเบอร์ของเขามีมูลค่า ได้รับความสนใจจากแฟนๆ สตาร์วอร์สทั่วโลกจนสามารถกลายเป็นอาชีพได้ วันนี้ ‘เย่-ธนวัฒน์ ใจกล้า’ ชายผู้มีอาชีพเป็นนักประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์ในนาม LIGHTSABER Thailand จะมาถอดสิ่งที่ทำทีละชิ้นส่วน เล่าเรื่องราวการประกอบเป็นไลต์เซเบอร์ให้ฟัง เริ่มต้นจากความชอบ… ชีวิตของเย่เริ่มต้นมาไม่ต่างจากแฟนคลับสตาร์วอร์สหลายคน ที่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์แล้วเกิดความหลงใหลเรื่องราวสงครามจากกาแล็กซีอันไกลโพ้นเรื่องนี้ “พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ผมชอบดูสตาร์วอร์สตั้งแต่เด็ก และชอบไลต์เซเบอร์มาก เวลากลับไปต่างจังหวัดผมจะชอบหยิบไม้มาเหลาทำเป็นไลต์เซเบอร์ฟันเล่นกับเพื่อน ใช้ปากทำเสียงเอฟเฟกต์แบบในหนังกันเอง สนุกกันตามประสาเด็ก” ในเวลาต่อมา จากการเหลาไม้ทำเป็นไลต์เซเบอร์ เย่ก็ค่อยๆ เริ่มต้นขยับมาซื้อเครื่องมือกลึงเหล็ก ทำกระบี่แสงให้ใกล้เคียงกับในหนังมากขึ้นทุกที “ช่วงที่ผมได้ทำงานประจำในโปรดักชันเฮาส์ พอหาตังค์เองได้ เราก็เริ่มซื้อของจากสตาร์วอร์สที่ชื่นชอบมาสะสม ซึ่งบางชิ้นไม่มีขายในไทย เราก็ฝากเพื่อนซื้อไลต์เซเบอร์จากต่างประเทศส่งมาให้ […]

ประกายแก้ว แบรนด์กระจกสีอายุ 29 ปี ที่รับทำตั้งแต่ซ่อมกระจกวัดจนถึงป้ายชื่อศิลปินเกาหลี

ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน อาจเป็นความโชคดีที่บางคนเจอสิ่งที่ชอบแล้วทำมันเป็นงานได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป กับบางคนที่ไม่ได้รักงานที่ทำมาก แต่งานนั้นมอบคุณภาพชีวิตดีๆ มีเวลาว่างให้ผ่อนคลาย นั่นอาจเป็นนิยามของชีวิตที่น่าพอใจแล้ว ถึงอย่างนั้น เราก็ยังรู้สึกสนุกทุกครั้งเวลาได้เจอคนที่ทำงานในสิ่งที่รัก เหมือนกับวันนี้ที่เรามาเจอ ‘พวงแก้ว นันทนาพรชัย’ เจ้าของร้านและผู้ก่อตั้งร้าน ประกายแก้ว แบรนด์รับทำ-ซ่อมกระจกสีที่เพิ่งเป่าเทียนฉลองวันเปิด 29 ปีไปหมาดๆ โดยมี ‘ฌัลลกัณฐ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา’ คอยหนุนหลังในฐานะทายาทผู้มารับช่วงต่อ ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน ความหลงใหลในอะไรบางอย่างจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหน ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์คือตัวอย่างของคนที่อยู่กับกระจกสีมาได้อย่างยาวนาน, อย่างน้อยๆ ก็ 29 ปี  แต่อยู่มานานก็ไม่ได้แปลว่าต้องทำแบบเดิมเสมอไป เพราะธุรกิจของพวกเธอดำเนินอยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน ในคำว่ายาวนานของร้านประกายแก้วนั้น มีการปรับตัวและพัฒนาบริการครั้งแล้วครั้งเล่า จากที่เคยรับทำกระจกสีซึ่งเราเห็นในบ้านและโบสถ์ ทุกวันนี้ประกายแก้วทำงานกระจกสีในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับกับกลุ่มลูกค้าอันหลากหลาย ตั้งแต่นักสะสมไปจนถึงแฟนคลับศิลปินเกาหลี  ลัดเลาะเข้าไปในหมู่บ้านมหาวงษ์ 3 ในบ้านหลังไม่เล็กไม่ใหญ่ริมคลองพระโขนงอันเป็นที่ตั้งของร้านประกายแก้ว ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์เล่าเบื้องหลังให้เราฟังท่ามกลางเสียงเจียกระจกในโรงงาน Puangkaew’s Glass Glitter Studio ถ้าจะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระจกสีกับป้าพวงแก้วเป็น ‘รักแรกพบ’ ก็คงไม่ผิดนัก ป้าพวงแก้วเรียนจบโรงเรียนคาทอลิก หลงใหลในกระจกสีหรือ Stained Glass ถึงขนาดไปเรียนกับช่างทำกระจกสีอยู่ 2 ปี […]

สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.