Beitang Street Section of the Grand Canal สร้างความผูกพันระหว่างคลองและผู้คน ด้วยทางเดินสีฟ้าริมน้ำยาว 3.6 กิโลเมตร

เดี๋ยวนี้เรามักเห็นหลายๆ เมืองเริ่มปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะแนวยาว เพื่อดึงดูดใจให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตริมน้ำกันมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘Beitang Street Section of the Grand Canal’ ทางเดินสีฟ้ายาว 3.6 กิโลเมตรบนถนนเป่ยถังที่ขนานไปกับตัวคลอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงและยกระดับคลองขนาดใหญ่ปักกิ่ง-หางโจว ในส่วนของเมืองอู๋ซี เมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู ประเทศจีน เพื่อเชื่อมสวนสาธารณะเป่ยเจี้ยนและเขตสวนสาธารณะตามคูน้ำของเมืองโบราณเข้าไว้ด้วยกัน Beitang Street Section of the Grand Canal ประกอบไปด้วยทางเดินสีฟ้าและต้นไม้สีเขียวที่ให้ความรู้สึกเย็นสบายตลอดสองข้างทาง ออกแบบมาอย่างเป็นมิตรต่อเมือง และผู้สูงอายุ เพื่อให้ทุกคนใช้งานพื้นที่ได้อย่างเพลิดเพลิน บริเวณท่าจอดเรือสำหรับขนถ่ายสินค้าขนาดเล็กที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร ก็ได้รับการออกแบบใหม่ให้ผสมผสานเข้ากับพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมระหว่างพ่อแม่และลูก อย่างลานออกกำลังกายริมน้ำ สนามเด็กเล่น และพื้นที่สำหรับพักผ่อน ที่คำนึงถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้ใช้งานด้วย รวมไปถึงมีการออกแบบพื้นที่บางส่วนที่ยื่นเข้าไปในคลองหรือยกตัวขึ้นจากความสูงปกติ เพื่อเป็นจุดชมวิวที่จะทำให้คุณรู้สึกเพลิดเพลินไปกับวิวริมน้ำที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้ๆ ยังมีป้ายให้ความรู้ที่เปรียบเหมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กคอยให้ข้อมูลประวัติของพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย ทางผู้ออกแบบหวังว่า พื้นที่สาธารณะแห่งนี้จะเพิ่มความน่าดึงดูดใจของพื้นที่ริมน้ำด้วยภูมิทัศน์ที่เป็นมิตร จนทำให้เกิดการสนทนากับชุมชนโดยรอบ ไปจนถึงช่วยสร้างความผูกพันระหว่างคลองใหญ่และผู้คนได้ Source : ArchDaily | t.ly/LoY6k

SKY BOWL เปลี่ยนหลังคาห้างฯ ให้กลายเป็นโรงละครครึ่งวงกลม ที่เปิดให้ชมละครพร้อมดูวิวอ่าวชิงเต่าไปด้วย

‘Hisense’ คือห้างสรรพสินค้าใกล้อ่าวชิงเต่า ในประเทศจีน ที่มีการปรับเปลี่ยนหลังคาของห้างฯ เดิมให้กลายเป็น ‘SKY BOWL’ โรงละครในรูปแบบอัฒจันทร์กลางแจ้งครึ่งวงกลม ที่ผสมผสานพื้นที่เชิงพาณิชย์เข้ากับพื้นที่สาธารณะของเมืองได้อย่างลงตัว SKY BOWL ถือเป็นตัวอย่างอันล้ำสมัยของการฟื้นฟูเมืองชิงเต่า ที่เผยให้เห็นถึงความท้าทายในการสร้างพื้นที่สาธารณะในรูปแบบของโรงละครไว้บนพื้นที่สูง สำหรับสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับการดูการแสดง SKY BOWL ประกอบด้วยพื้นลักษณะวงกลมสำหรับทำการแสดง ที่เปิดโอกาสให้กับการแสดงทุกรูปแบบ และอัฒจันทร์แบบครึ่งวงกลมที่มีที่นั่งแบบขั้นบันได ให้ความรู้สึกเหมือนโรงละครแห่งนี้เป็นถ้วยใหญ่ยักษ์ครึ่งใบ ที่เมื่อประกอบเข้ากับการแสดงบริเวณตรงกลางและวิวหลักล้านของอ่าวชิงเต่า ก็ยิ่งทำให้ถ้วยใบนี้สมบูรณ์แบบขึ้นในที่สุด ห้างฯ Hisense ตั้งเป้าที่จะทำให้ SKY BOWL เป็นตัวเชื่อมระหว่างห้างฯ และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ พลิกฟื้นพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้กลายเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและโอกาสใหม่ๆ คอยดึงดูดผู้คนในเมืองให้เข้ามาใช้งานพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่นี้มากขึ้น และค่อยๆ เติบโตขึ้นตามกาลเวลาไปพร้อมกับเมือง Sources : ArchDaily | t.ly/bs51a Designboom | t.ly/7hjst SOPA | t.ly/yWUhV

‘The Green Skyline Project’ พื้นที่สาธารณะจากพื้นที่ว่างเลียบชายหาด ที่สร้างสีสันอันโดดเด่นบนเกาะ Hengqin

พื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมักเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น พบปะพูดคุย ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือกระทั่งเป็นสถานที่ที่หลายครอบครัวมาใช้เวลาด้วยกันในวันพักผ่อนได้ จากโจทย์นี้เอง นำมาซึ่งโครงการที่น่าสนใจอย่าง ‘The Green Skyline Project’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเลียบชายหาดและไม่ได้มีการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีสันสดใสและมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ บนเกาะ Hengqin ประเทศจีน Green Skyline ออกแบบโดยบริษัท 100 Architects จากเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการดีไซน์สถานที่ให้มีองค์ประกอบน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยสีฟ้าและสีเหลือง รวมถึงมีการใช้แถบไฟ LED ส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้คนที่มาเดินเล่นในพื้นที่ และได้รับพลังงานบวกจากการทำกิจกรรมที่นี่ด้วย และอีกหนึ่งไฮไลต์ของ Green Skyline คือจุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่รวมอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ เช่น จุดตั้งกล้องดูดาว พื้นที่พักผ่อน โซนสนามเด็กเล่น และด้วยความที่ทำเลอยู่ติดกับทะเล ทำให้ผู้ใช้พื้นที่มองเห็นวิวของมาเก๊าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ นอกจากนี้ Green Skyline ก็ยังทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ บนเกาะ เนื่องจากตัวพื้นที่ได้รับการออกแบบให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลา เพราะเปิดใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน Sources :100 Architects | tinyurl.com/37hxpyyjDesignboom | tinyurl.com/c93afpde

ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ

‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]

สำรวจบทเพลงอมตะตลอดกาล ‘The Moon Represents My Heart’ ผ่านเรื่องราวของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ พระจันทร์แทนใจที่ไม่เคยหายไป

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน (Lunar New Year) วันขึ้นปีใหม่จีนตามปฏิทินจันทรคติ หนึ่งในเทศกาลสำคัญของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากทั่วทุกมุมโลกออกมาร่วมกันเฉลิมฉลอง ถ้าไม่นับรวมเพลง ‘หมวยนี่คะ’ จาก China Dolls ศิลปินดูโอชาวไทย ที่มีเนื้อร้องติดหูจนคนต้องเผลอร้องตาม มั่นใจเลยว่าเพลงจีนที่หลายคนได้ยินในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเพลง ‘The Moon Represents My Heart’ หรือ ‘พระจันทร์แทนใจฉัน’ เพลงนี้เป็นบทเพลงอมตะในตำนานของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ (邓丽筠) บุคคลผู้ได้รับสมญานามว่า ‘ราชินีแห่งเพลงเอเชีย’ นักร้องชาวไต้หวันที่มักมาพร้อมกับแนวเพลงป็อปแมนดาริน (Mandopop) ด้วยเทคนิคการใช้เสียงร้องที่แผ่วเบาแต่หวานปานน้ำผึ้ง เติ้ง ลี่จวิน ถือเป็นหนึ่งในศิลปินเอเชียที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากช่วงปี 1970 – 1990 และเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกับประเทศแถบเอเชีย จนบางเพลงของเธอถูกนำไปถ่ายทอดด้วยภาษาต่างประเทศถึง 7 ภาษา ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน แมนดาริน กวางตุ้ง ญี่ปุ่น อิตาลี อินโดนีเซีย หรืออังกฤษ และแม้ว่าบางบทเพลงจะไม่มีคำร้องภาษาไทย แต่เสียงของเธอก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยไม่ต่างกัน ขนาดผ่านมาเกือบ 30 ปี […]

Chongqing Huguang City Exhibition Hall อาคารชั่วคราวทรงสามเหลี่ยมในเมืองฉงชิ่ง ใช้บริบทของพื้นที่มาออกแบบให้โดดเด่นท่ามกลางหมอกหนา

โครงการ Chongqing Huguang ในเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ได้สร้างอาคารชั่วคราวอย่าง Chongqing Huguang City Exhibition Hall ขึ้นท่ามกลางความสวยงามของเมืองที่ด้านหลังเป็นที่ตั้งของอาคารทรงสูงทันสมัย ส่วนด้านหน้าเป็นสถานที่เชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติอย่าง Huguang Guild Hall มรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง ไกลออกไปเป็นสะพาน Dongshuimen และแม่น้ำแยงซี  ด้วยความที่ฉงชิ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งหมอก ทำให้ SUZAO Architects สตูดิโอออกแบบเลือกใช้สีทองมาทำให้ตัวอาคารโดดเด่นจากหมอกที่ปกคลุมทั้งเมือง ดูล้ำสมัย เรียบง่าย และแปลกใหม่ในสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมา  ทั้งนี้ ตัวอาคารยังถูกออกแบบเป็นทรงสามเหลี่ยมที่ยกสูง เพื่อเพิ่มการมองเห็นในมุมมองที่กว้างขึ้น ส่วนฐานด้านล่างของอาคารก็ล้อมรอบไปด้วยกระจกที่ให้ความรู้สึกเหมือนตัวอาคารสามเหลี่ยมนี้กำลังลอยตัวอยู่บนพื้น  นอกจากภายในอาคารจะมีนิทรรศการขายโครงการ Chongqing Huguang แล้ว ตัวพื้นที่นั้นยังใช้เป็นหอชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองฉงชิ่งผ่านกระจกใสบานใหญ่ได้อีกด้วย ว่าแล้วก็อยากเห็นที่ไทยทำอาคารลักษณะนี้ออกมาบ้าง Source : ArchDaily | bit.ly/3jlN8Xy

‘จ่าวอัน’ เปลี่ยนโกดังเก่าร้อยปีย่านเยาวราชเป็นคาเฟ่และบาร์ลับกลิ่นอายจีน

หากนิยามของร้านลับคือ ‘ร้านที่ไม่รู้ว่าไปอยู่ตรงนั้นได้ยังไง’ และ ‘ตัดออกจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง’ JAO.UN (จ่าวอัน) คาเฟ่และบาร์ลับในซอยเจริญชัย 2 ติ๊กถูกทุกข้อได้แบบง่ายๆ ต่างจากความพลุกพล่านบนถนนเยาวราชที่อยู่ไม่ไกลแบบลิบลับ จ่าวอันแทรกตัวอยู่ในชุมชนเจริญชัยที่เงียบสงบ ความน่าสนใจคือนอกจากเปิดเป็นคาเฟ่เสิร์ฟกาแฟและขนมในตอนกลางวัน และเปลี่ยนโหมดเป็นบาร์เสิร์ฟค็อกเทลและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ตอนกลางคืนแล้ว นี่ยังเป็นคาเฟ่ฝีมือลูกหลานชาวจีนอย่าง ‘ศิฑ-ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์’ เจ้าของร้านอาหาร Zong Ter ที่จับมือกับเพื่อนสนิทอย่าง ‘กิ๊ฟท์-กนกกาญจน์ กมลเดช’ และ ‘โอ๊ธ-รวิภาส มณีเนตร’ มาช่วยกันทำ เพราะก่อตั้งโดยลูกหลานคนจีน บรรยากาศของร้านไปจนถึงเมนูเครื่องดื่มและอาหารจึงมีกลิ่นอายความเป็นจีนจางๆ สอดแทรกอยู่ในรายละเอียด และหลังจากที่ได้ลองนั่งสนทนากับเจ้าของร้าน เรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบและคิดเมนูก็เอร็ดอร่อยไม่แพ้กัน 家庭 ครอบครัว ถ้าจะบอกว่า JAO.UN คือธุรกิจที่ต่อยอดมาจากธุรกิจอีกทีก็ไม่ผิด  การเปิดร้าน ZONG TER ธุรกิจที่ศิฑเปลี่ยนร้านยี่ปั๊วประจำครอบครัวให้กลายเป็นร้านอาหาร/คาเฟ่ ส่งผลให้เกิดคาเฟ่/บาร์แห่งนี้ที่เขาชวนเพื่อนๆ ชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ อย่างโอ๊ธและกิ๊ฟท์มาช่วยกันทำ เรื่องของเรื่องคือ เมื่อครั้งยังทำร้านยี่ปั๊วที่เน้นการขายส่ง อากงของศิฑเซ้งบ้านเก่าอายุกว่า 100 ปีในชุมชนเจริญชัยไว้เป็นโกดังเก็บสต็อกสินค้า แต่เมื่อร้านยี่ปั๊วถูกยกเครื่องให้กลายเป็นซงเต๋อ โกดังจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป ครอบครัวของศิฑเลยปล่อยให้คนอื่นเช่าต่อ ทว่าเมื่อปลุกปั้นซงเต๋อจนถึงจุดที่ธุรกิจเริ่มเข้าที่เข้าทาง ศิฑเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย  “เราไปร้านทุกวัน […]

Aviva Spirit แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ส่งต่อศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธาสู่คนรุ่นใหม่ 

ทำไมตี่จู้เอี๊ยะถึงไม่เป็นสีแดงรูปทรงที่โมเดิร์นจะถูกหลักฮวงจุ้ยไหมรูปปั้นมังกรกับตุ๊กตาอากงหายไปไหน เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่แบรนด์ ‘Aviva Spirit’ ต้องพบเจอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เปิดดำเนินการมา เนื่องจากตี่จู้เอี๊ยะของทางร้านถูกแปลงโฉมให้โมเดิร์นกว่าในอดีต ทั้งสี รูปร่าง และรูปทรง จนมีลักษณะผิดแปลกไปจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นตา ในฐานะลูกครึ่งจีนคนหนึ่งที่พบเห็นตี่จู้เอี๊ยะไม้ทาสีแดงแบบดั้งเดิมมาทั้งชีวิต เราจึงไม่รอช้าขอพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับตี่จู้เอี๊ยะสมัยใหม่พร้อมกัน ผ่านการพูดคุยกับครอบครัว ‘วิวัฒนะประเสริฐ’ ทั้งเรื่องของฮวงจุ้ย การดีไซน์ตัวเรือนตี่จู้เอี๊ยะ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการไหว้ ที่ทำให้เรื่องของการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องง่าย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ‘สุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ’ ซินแสฮวงจุ้ยผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของแบรนด์ ‘Aviva Spirit’ และเจ้าของเพจ ‘Fengshui Balance – ฮวงจุ้ย สมดุลแห่งธรรมชาติ’ เล่าว่า สมัยก่อนที่ไปดูฮวงจุ้ยให้ลูกค้าที่บ้าน หลายรายมักถามว่ามีตี่จู้เอี๊ยะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตี่จู้เอี๊ยะแบบเก่าให้เลือกไหม เพราะอยากได้ศาลเจ้าที่เข้ากับบ้านของเขา ทำให้สุภชัยเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่คำนึงเรื่องรูปลักษณ์และความทันสมัยมากขึ้น แม้ว่าตี่จู้เอี๊ยะจะเป็นที่ต้องการและมีผู้ค้าลงเล่นในตลาดนี้จำนวนมาก แต่รูปทรงของเรือนก็ยังไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรือนไม้สีแดง แกะสลักเป็นรูปมังกร รูปสิงห์ และมีตุ๊กตาอากงอยู่ภายใน ไม่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายของบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  เขาจึงเริ่มมองหาการออกแบบใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องถูกหลักฮวงจุ้ยด้วย  “พอมีหลายคนถามหาเยอะขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเริ่มศึกษาการทำตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อนที่มีลักษณะโมเดิร์นขึ้นมา” สุภชัยกล่าว “โดยอยู่ภายใต้คอนเซปต์ ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา’ […]

จีนประดิษฐ์ดวงจันทร์เทียม สร้างแรงโน้มถ่วงจำลอง ก้าวใหญ่ในภารกิจอวกาศ

หากไม่นับดาวอังคาร ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกอยู่ในความสนใจของนักวิทยาศาสตร์และเป็นเป้าหมายสำคัญในภารกิจท่องอวกาศมาโดยตลอด ซึ่งเทคโนโลยีใดก็ตามที่จะถูกนำไปใช้ในดวงจันทร์จะต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานได้ภายใต้สภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงเพียง 16 เปอร์เซ็นต์เทียบกับพื้นผิวโลก Christopher Baker ผู้บริหารของ NASA บอกว่าแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์คือหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของการทำงานและการใช้ชีวิตในอวกาศ ซึ่งระบบและอุปกรณ์จำนวนมากที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานบนโลก ไม่สามารถใช้งานได้ในสภาวะดังกล่าว  แม้ที่ผ่านมาเราจะสามารถเลียนแบบแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์บนโลกได้ เช่นการบินในลักษณะ Parabolic Flight หรือบินเป็นกราฟพาราโบลา ซึ่งสามารถจำลองสภาวะดังกล่าวได้เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นต่างกับดวงจันทร์ประดิษฐ์ของจีน ที่สามารถจำลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้นานเท่าที่ต้องการ  ประเทศจีนจึงสร้างแบบจำลองของดวงจันทร์ โดยใช้สนามแม่เหล็กในการเลียนแบบแรงโน้มถ่วง โดยในแกนกลางของดวงจันทร์เทียมจะเป็นห้องสุญญากาศทรงกระบอกกว้าง 23.6 นิ้ว ในขณะที่ด้านบนของดวงจันทร์ขนาดเล็กจะปกคลุมไปด้วยหินและฝุ่นละอองที่เลียนแบบพื้นผิวของดวงจันทร์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการปรับความแรงของสนามแม่เหล็กที่กระทำต่อดวงจันทร์ขนาดเล็ก ก็สามารถจำลองแรงโน้มถ่วงที่ใกล้เคียงกับดวงจันทร์ได้  วิวัฒนาการของดวงจันทร์ประดิษฐ์มีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อสำหรับการทดลองเทคโนโลยีที่ทำไปใช้บนดวงจันทร์ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้สิ่งนี้ในการทดสอบว่าเครื่องพิมพ์สามมิติจะมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือเปล่าสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย หรือประดิษฐ์อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสำรวจบนดวงจันทร์ ซึ่งจะทำให้แต่ละภารกิจมีความแน่นอนมากขึ้น  มีการคาดว่าดวงจันทร์จำลองจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเหยียบผิวดวงจันทร์ของประเทศจีนในอนาคต รวมถึงต้อนรับนักวิจัยจากทั่วโลกให้เข้ามาศึกษา แต่ยังไม่มีวี่แววว่า NASA จะเข้าร่วมด้วยแต่อย่างใด 

Beijing’s Sub-Center Library ห้องสมุดใหม่ในปักกิ่งที่ร่มรื่น เหมือนได้อ่านหนังสือในป่าแปะก๊วย

ในขณะที่ประเทศไทยยังต้องเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาสนับสนุนวงการหนังสือ ร้านหนังสือ และห้องสมุดกัน ตัดภาพไปที่ประเทศอื่นๆ ที่นอกจากส่งเสริมนโยบายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์อย่างเข้มแข็งแล้ว ยังสร้างห้องสมุดใหม่ๆ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนกันมากขึ้น แค่มีห้องสมุดเกิดขึ้นไม่พอ ถ้าติดตามข่าวสารแวดวงนี้บ่อยๆ จะพบว่าเหล่าห้องสมุดเกิดใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนได้รับการออกแบบอย่างดี ตอบโจทย์ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานของผู้คน ในระดับที่เป็นแลนด์มาร์กของประเทศได้เลย ประเทศจีนเองก็เป็นประเทศหนึ่งในประเทศที่มีห้องสมุดขนาดใหญ่และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศ  ล่าสุดที่กรุงปักกิ่งเพิ่งจะเปิดตัวแบบของห้องสมุดชุมชนขนาดใหญ่แห่งใหม่ในเขตชานเมือง ในชื่อ Beijing’s Sub-Center Library ซึ่งออกแบบโดย Snøhetta บริษัทสถาปนิกระดับโลกจากนอร์เวย์ ห้องสมุดแห่งนี้ออกแบบเป็นโครงสร้างปิดด้วยกระจกสูง 16 เมตร และยังเป็นอาคารกระจกหลังแรกในประเทศจีนที่รองรับน้ำหนักของตัวเองได้ ภายในอาคารมีเสาคล้ายต้นไม้รองรับหลังคาให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าต้นแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งเป็นต้นไม้อายุกว่าสามร้อยล้านปีที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบได้ทั่วไปทั้งริมถนนและสวนสาธารณะในประเทศจีน  สตูดิโอ Snøhetta เล่าว่าพื้นที่ภูมิทัศน์ที่ออกแบบมีลักษณะเป็นขั้นบันได เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเหมือนต้นไม้ที่เชิญชวนให้ผู้คนนั่งลงและหยุดพักระหว่างเดินผ่าน เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายๆ ในการอ่าน และใส่แนวคิดที่ทำให้รู้สึกเหมือนได้นั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดใต้ต้นไม้เข้าไป เสาของอาคารแต่ละต้นยังติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ประสิทธิภาพด้านเสียง และการกำจัดน้ำฝนของห้องสมุด ส่วนแถวของคอลเลกชันหนังสือ พื้นที่อ่านหนังสือ และอัฒจันทร์ขนาดใหญ่จะสร้างขึ้นด้านในและรอบๆ ช่องทางเดิน ให้ออกมาเป็นพื้นที่คล้ายหุบเขาในห้องสมุด เหมือนได้เดินอยู่ในหุบเขาที่มีต้นแปะก๊วยปกคลุม อีกความเจ๋งของห้องสมุดนี้คือ หลังคาอาคารที่ได้รับการติดตั้งด้วยระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบบูรณาการ ซึ่งจะให้พลังงานหมุนเวียนแก่ตัวห้องสมุดและช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ส่วนหลังคาใบแปะก๊วยที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคารยังช่วยลดแสงที่ส่องเข้ามาในอาคารได้อีกด้วย  ห้องสมุดใหม่ในกรุงปักกิ่งแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการสร้างแล้วและคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2022 นี้ ชาวนักอ่านและนักเดินทางที่ชื่นชอบห้องสมุดต้องอย่าพลาดเชียว […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

ไต้หวันระแวงจีน เมื่อจีนจัดกำลังล้อมรอบเกาะ

ถ้าติดตามการเมืองภูมิภาคเอเชีย ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันไม่ค่อยจะสู้ดีมานานมากแล้ว นอกจากการพยายามควบรวมฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ของ ‘นโยบายจีนเดียว’ ใหญ่ขนาดที่ประกาศว่าถ้าคนไต้หวันต้องการอิสรเสรีก็ต้องแลกกับเลือดเนื้อและสงคราม จริงๆ แล้วไต้หวันปกครองเป็นอิสระจากจีนตั้งแต่ปี 2492 แต่ถึงอย่างนั้นรัฐบาลปักกิ่งก็มองว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตตัวเอง ซึ่งปักกิ่งตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ ‘รวม’ ไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันให้ได้ และจะแข็งข้อใช้กำลังหากจำเป็น ไม่กี่วันมานี้ กระทรวงกลาโหมไต้หวันเผยว่าแสนยานุภาพของกองกำลังติดอาวุธจีนมีศักยภาพมากขึ้น จนพอที่จะขัดขวางการป้องกันตัวเองของชาติได้ มิหนำซ้ำแผ่นดินใหญ่ยังคอยมอนิเตอร์ไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนทางฝั่งไต้หวันเองก็มีการประเมินถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ เพราะทางการปักกิ่งกำลังดำเนินการเพิ่มกิจการทางทหารล้อมเกาะ ชนิดที่ว่าจงใจมาหายใจรดต้นคอ สาเหตุที่ช่วงหลังการเมืองระหว่างสองจีนคุกรุ่น เพราะประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันอย่าง ‘ไช่ อิงเหวิน’ แสดงจุดยืนประณามความพยายามของปักกิ่งที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยของเกาะ ปักกิ่งจึงลุกขึ้นมาเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองและการทหารต่อไทเป กระทรวงกลาโหมไต้หวันเสนอต่อรัฐสภาว่าด้วยเรื่องกองทัพจีน เพราะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เพราะปี 2564 จีนเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ‘การโจมตีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง’ รวมถึงยุทธการบล็อกการสื่อสารข้ามฝั่งตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะที่ทอดยาวจากหมู่เกาะญี่ปุ่นผ่านไต้หวัน และทอดยาวลงไปที่ฟิลิปปินส์ หรือที่เรียกว่าจุดยุทธศาสตร์ First Island Chain ปัจจุบันจีนกำลังใช้ยุทธวิธีแบบออนไลน์ โดยรวบรวมกองทัพอินเทอร์เน็ตเพื่อโจมตีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้การป้องกันทางอากาศของไต้หวันเป็นอัมพาตผ่านการบังคับบัญชาทางทะเล และใช้ระบบตอบโต้การโจมตีที่มีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อเกาะเล็กๆ อย่างไต้หวัน ทางกระทรวงได้เสริมว่าจีนได้พัฒนาขีดความสามารถของตัวเองด้วยการใช้ดาวเทียม Beidou ซึ่งเป็นการตอบโต้ระบบ GPS ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ นั่นหมายความว่าปักกิ่งติดตามความเคลื่อนไหวรอบๆ ไต้หวันโดยได้รับความช่วยเหลือจากเครื่องบินสอดแนม โดรน และเรือรวบรวมข่าวกรองของจีน ในขณะที่กระทรวงกลาโหมจีนไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นของไต้หวัน […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.