ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive ตุลาคม 2567

‘เหมือนได้จับโปเกมอน’ คือความรู้สึกของผมเวลาได้สแนปรูปสิ่งของไทยๆ ดีไอวายสไตล์ #ดีไซน์เค้าเจอ อาจจะอ่านแล้วดูตลกๆ แต่ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆ นะ เวลาเจอสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่น่าสนใจทุกครั้ง ยิ่งถ้าเจอชิ้นที่รู้สึกว้าวมากๆ ก็ยิ่งเหมือนเราได้จับโปเกมอนตัวหายาก แม้ว่าผมจะเคยแชร์เคล็ดลับในการออกตามหาสิ่งของเหล่านี้หลายครั้งแล้วในคอลัมน์นี้ แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อได้ลงเดินหาในสถานที่จริงๆ มันก็อาจไม่ง่ายดังกล่าว หาเจอบ้างไม่เจอบ้างเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นว่าสำหรับผมเอง นอกจากจะต้องมีสายตาที่ดีแล้ว การจะพบเจอสิ่งของออกแบบไทยๆ พวกนี้ได้ อาจต้องใช้โชคชะตาประมาณหนึ่งด้วย แล้วมันคล้ายจับโปเกมอนยังไง คือ 1) เราต้องมีความพยายามและออกตามจับ (ด้วยสายตา) คล้ายต้องลงไปในพงหญ้าแบบในเกม 2) ในแต่ละพื้นที่เองก็อาจมีสิ่งของคล้ายๆ กันที่สามารถเจอได้ในบริเวณเดียวกัน คล้ายเป็นโปเกมอนท้องถิ่น ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจจะโชคดีได้เจอตัวที่มีความเฉพาะมากๆ ที่หาที่อื่นไม่ได้ เหมือนเจอโปเกมอนหายากนั่นเอง ผมไม่ได้จะบอกว่าการมีอยู่ของสิ่งของออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันแบบนี้ คือโปเกมอนแบบตรงไปตรงมา 100 เปอร์เซ็นต์นะ เพราะโลกความเป็นจริงนี้ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยการกดปุ่มเหมือนเกม แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ลักษณะการปรากฏตัวของสิ่งของเหล่านี้มีอารมณ์ที่คล้ายๆ กัน มันเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมและปัญหาหลายๆ อย่างตรงนั้นเป็นตัวกำหนด และถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากฝีมือผู้คนตรงนั้นอย่างเฉพาะตัว แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ เราสามารถเข้าใจและเรียนรู้ที่มาที่ไปของสิ่งของเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง กลับมาที่เนื้อหาหลักของคอลัมน์นี้ ผมได้คัดสรรภาพสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ผมตามจับจากสถานที่ต่างๆ มาแบ่งปันให้ทุกท่านได้รับชมกันอีกครั้งเช่นเคย ซึ่งหากใครจับภาพสิ่งของแนวๆ นี้ได้เหมือนกับผม ก็ติด […]

BKK in pieces ธีสิสซีนของคนทำงานออกแบบผู้สนใจเมือง นำเสนอของดีไซน์ไทยๆ ผสมผสานกับความสนุกของกราฟิก

ความชอบในสิ่งพิมพ์ การสังเกตและอธิบายสิ่งธรรมดารอบตัว และการตั้งคำถามเรื่องอะไรคือสุนทรียภาพแบบไทยๆ นำมาสู่การทำ BKK in pieces ธีสิสจบการศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ของ ‘ชิตวัน เพชรรัตน์’ ในช่วงเวลาระหว่างนั้น หนังสือที่เธอกำลังอ่านชื่อ ‘The Beauty of Everyday Things’ โดย Soetsu Yanagi ก็ทำให้เห็นว่าการพิจารณาสิ่งของพาเราสืบสาวไปหารากวัฒนธรรมที่สร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร “ในหนังสือมีส่วนที่กล่าวถึง Fundamental Principle ของการชงชา (Chabi) ไว้ว่า ‘As fortune would have it, it was not an intellectual concept, but rather consisted of concrete objects that acted as intermediaries…’ “กล่าวคือ ด้วยการมีอยู่ของสิ่งที่จับต้องได้อย่างสำนักชา ทางเดินในสวน […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567

‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567

นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

นวัตกรรมการออกแบบพื้นที่ ที่สร้างประสาทสัมผัสทั้ง 4 เพื่อชีวิตที่อยู่ดีมีสุข จากเอพี ไทยแลนด์

นิทรรศการ LIVE WELL SPACE by AP THAILAND เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ผู้คนให้ความสนใจกันอย่างคึกคัก ในงาน BKKDW 2024 ที่ผ่านมา ด้วยแนวคิดการออกแบบพื้นที่ ที่มอบประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งรูป สัมผัส กลิ่น และเสียง ให้ผู้ร่วมงานทุกคนที่เข้ามาในพื้นที่นี้ได้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น นวัตกรรมที่เรียกว่า Biophilic Design ที่เชื่อมต่อธรรมชาติอย่างแสง ลม พืชพรรณสีเขียวมาใกล้ตัวเรา หรือจะเป็นนวัตกรรม Micro Greenscape ที่จัดสวนสีเขียวบนพื้นที่เล็กๆ ที่อิงกับสถานที่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรม New Universal Design ที่ออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับทุกคน รวมถึงมีพื้นที่ Pet Parking สำหรับน้องๆ สัตว์เลี้ยงด้วย ยังไม่นับรวมนวัตกรรมการออกแบบพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย เพราะเอพีเชื่อว่าพื้นที่ที่ดีนั้น นอกจากที่ตาเห็นแล้ว ควรเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตเพื่อมีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ งาน BKKDW 2024 ได้ปิดฉากลงไปแล้ว เราขอใช้โอกาสนี้เก็บภาพบรรยากาศและสรุปสิ่งที่เราชอบเป็นพิเศษใน LIVE WELL SPACE […]

สำรวจงานสร้างสรรค์ในธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ กับงาน Bangkok Design Week 2023 9 ย่านหลักทั่วกรุงเทพฯ 4 – 12 ก.พ. 66

ใครที่อยากสำรวจงานสร้างสรรค์และหาแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น เราอยากชวนไปงาน ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ ที่จะจัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมนำเสนอกิจกรรมมากกว่า 550 โปรแกรม Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban ‘NICE’ zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เปิดพื้นที่สำหรับคนทำงานสร้างสรรค์จากสาขาต่างๆ ในการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่เน้นการออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ‘ทำให้เมืองดีขึ้น’ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพัฒนากรุงเทพฯ สำหรับวันข้างหน้า BKKDW2023 อาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ครอบคลุม 6 มิติทางสังคม ได้แก่ 1) Nice for Environment เป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม2) Nice for Culture เป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม3) Nice for Diversity เป็นมิตรที่ดีต่อทุกความหลากหลาย4) Nice for […]

รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.