‘คนไทยขับรถไม่ดี เพราะนิสัยหรือความเหลื่อมล้ำบนท้องถนน’ คุยกับอ. ดร.เปี่ยมสุข สนิท

ย้อนกลับไปปี 2018 องค์การอนามัยโลกได้จัดทำรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยพบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ของโลก โดยประมาณการผู้เสียชีวิต 32.7 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน แม้ว่าปีต่อมาสถานการณ์อุบัติเหตุไทยดีขึ้นเล็กน้อย แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดอันดับ 1 ในเอเชียและภูมิภาคอาเซียน ต่อมาในปี 2019 เป็นที่ฮือฮามากที่ The New York Times รายงานข่าวเป็นเวอร์ชันภาษาไทยครั้งแรก ในหัวข้อ ‘ถนนในเมืองไทยเป็นถนนที่อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นคนจน’ และนั่นกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้หลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำบนท้องถนนที่คนจนตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุมากกว่าคนมีฐานะ จากระบบบัญชีข้อมูลด้านคมนาคม รายงานอุบัติเหตุปี 2564 เผยว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์มีทั้งหมด 5,246 ครั้ง ส่วนอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์ 2,069 ครั้ง แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เทมาที่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ร้อยละ 41 ส่วนผู้ใช้รถยนต์เสียชีวิตแค่ร้อยละ 17 เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบกที่อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ระบุว่า ประเภทรถที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศคือ รถจักรยานยนต์ 22.2 ล้านคัน ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล 11.9 […]

ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

ภูมิปัญญาญี่ปุ่นผสมข้าวไทย YoRice เครื่องดื่มเชียงใหม่ที่ช่วยชาวนาแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ

หากพูดถึงการนำข้าวไปหมักทำเป็นเครื่องดื่ม คนไทยอย่างเราคงคุ้นเคยกับสาโทหรือสุราชาวบ้าน คงไม่ได้นึกถึง ‘อามาซาเกะ’ หรือสาเกหวาน ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มภูมิปัญญาจากญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทั้งอาหารสุขภาพ และให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสความเป็นสาเกก่อนถึงวัย  การเกิดขึ้นของอามาซาเกะข้าวไทยอย่าง YoRice จึงดึงดูดใจใครหลายคน เพราะนอกจากจะเป็นของแปลกใหม่ในไทย สรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ให้ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพตอบเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ ที่สำคัญคือยังสะท้อนให้เห็นปัญหาในจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ลามไปไกลถึงระดับประเทศ) ถึง 3 ประเด็น หนึ่ง คือ ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ  สอง คือ ปัญหาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่นับวันยิ่งหลากหลายน้อยลงไปทุกวัน  สาม คือ ปัญหาความหิวโหยของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการผ่านเครื่องดื่มหนึ่งขวดได้อย่างไร  ปอ-ภราดล พรอำนวย ผู้อยู่กับ YoRice มาตั้งแต่วันแรก เต็มใจถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังผ่านบทสนทนานี้ เมื่อเห็นปัญหาจึงเกิดคำถาม ใครหลายคนคงเหมือนเราที่คุ้นเคยกับปอในบทบาทนักดนตรี เจ้าของร้าน North Gate แจ๊สบาร์คู่เชียงใหม่ มากกว่าการรู้จักเขาในบทบาทของหนุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม  ที่แม้จะไม่ใช่ภาพที่คุ้นชินของใคร แต่เขาก็ยืนยันว่าจริงๆ ความคิดเรื่องนี้วนเวียนอยู่ในตัวเขามานานตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม  ปอย้อนความว่าเหตุการณ์ที่มาจุดประเด็นให้เขาเริ่มสนใจปัญหาปากท้องของคนอื่น มาจากประสบการณ์ครั้งที่เขาโบกรถจากเชียงใหม่ไปฝรั่งเศส การเดินทางครั้งนั้นจะเรียกว่าเป็นการเดินทางเปลี่ยนชีวิตเลยก็ได้ เพราะมันทำให้เขาได้เห็นน้ำใจจากคนครึ่งค่อนโลกที่พร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือมาให้นักดนตรีแปลกหน้าอย่างตน “เราไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตเยอะ การต้องแบกเครื่องดนตรีโบกรถไปหลายหมื่นกิโล […]

‘ไม่ว่างมองฟ้า’ นิทรรศการภาพถ่าย เล่าถึงชีวิตคนที่ต้องก้มหน้าก้มตาทำงาน ชมฟรีถึง 30 เม.ย. 65 ที่ ปรีดี พนมยงค์ 42

‘ทำงานจนไม่มีเวลามองฟ้า’ เราเชื่อว่าน่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยประสบหรือกระทั่งตอนนี้ก็ยังอยู่ในภาวะข้างต้นนี้อยู่ อย่างที่ทราบกันว่าการมีชีวิตอยู่ในประเทศนี้ถ้าไม่ได้มีต้นทุนที่ดี บ้านมีฐานะมาก่อน คนก็จำต้องก้มหน้าก้มตาทำงานหนัก เพื่อหาเงินมาทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานก่อสร้าง เกษตรกร นักร้อง หรือดาราก็ตาม เพราะต้องดิ้นรนทำงานหนักในอุตสาหกรรมเพลงที่รัฐไม่สนับสนุน ทำให้ ‘AUTTA’ เลือกทำเพลงที่มีชื่อว่า ‘ไม่ว่างมองฟ้า’ ออกมาบอกเล่าถึงชีวิตของตัวเองและคนทำอาชีพอื่นๆ ที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนไม่มีเวลาเงยหน้าชื่นชมความสวยงามของท้องฟ้า (ฟังได้ที่ youtube.com/watch?v=_ItZdG8P8qY)  นอกจาก Music Video เพลงที่ถ่ายทอดถึงชีวิตของคนทำงานอาชีพต่างๆ และภาพที่พวกเขามองเห็นแล้ว ‘AUTTA’ ยังร่วมมือกับ ‘SEESAN’ หรือ สรรพัชญ์ วัฒนสิงห์ ช่างภาพฝีมือดีผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายเหล่าศิลปินระดับประเทศ ทำนิทรรศการภาพถ่าย ‘AUTTA – ไม่ว่างมองฟ้า’ โดยมีคอนเซปต์เป็นแก่นเพลงนี้ที่ว่าด้วยการก้มหน้าก้มตาทำงาน จนไม่มีเวลามองหาความสวยงามบนท้องฟ้า สรรพัชญ์เล่าว่า เขาตั้งใจนำเสนอภาพที่เหล่าคนทำงานหลากหลายอาชีพต้องจดจ้องในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง คนขับตุ๊กตุ๊กกับภาพแฮนด์พาหนะที่เขาใช้ทำมาหากิน ช่างแต่งหน้ากับภาพเครื่องสำอางที่เรียงราย ดารากับภาพรถตู้ที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในนั้นทั้งวัน เป็นต้น  “พอไปถ่ายภาพคนทำงานต่างอาชีพ เราก็ได้พูดคุยกับพวกเขา อย่างคนทำงานแรงงานจะมีปัญหาที่รุนแรง ต้องทำงานหนักมากเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอ ขณะเดียวกันคนที่ดูเหมือนทำงานสบาย เขาก็มีปัญหาชีวิตส่วนตัวที่คนอื่นอาจมองไม่เห็น เราคิดว่าต้นตอหลักๆ ของปัญหาทั้งหมดนี้คือความเหลื่อมล้ำ สุดท้ายมันไม่ใช่แค่เรื่องของการมีเวลามองความสวยงามของท้องฟ้า แต่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตคนทำงานด้วย” […]

สู้แล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ! ชวนดู ‘Un-Fairly Tales’ 6 สารคดีตีแผ่ความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก ประชาไท

เคยไหมที่เราสู้ชีวิตแล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ? ชีวิตที่ว่านี้อาจจะหมายถึงระบบกฎหมาย การเลือกปฏิบัติ ศีลธรรมอันดีที่สังคมยึดถือ เงื่อนไขการทำงานในบริษัทเอกชน หรือนโยบายจากรัฐบาลที่ออกโดยไม่ได้ฟังเสียงเราสักเท่าไร สิ่งเหล่านี้วนเวียนอยู่รอบตัว ถ้าเราไม่ได้รับผลกระทบ หมายความว่าคนอื่นก็อาจจะต้องแบกรับมันเอาไว้  ซีรีส์สารคดี ‘Un-Fairly Tales’ ชวนเราสำรวจ ‘การสู้ชีวิต’ ของผู้คนในสังคมไทยที่จะชวนตีแผ่เบื้องลึกเบื้องหลัง เผยให้เห็นความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก 6 เรื่องราว ได้แก่  Kaeng Krachan Mapped : ชีวิตของ ‘วันเสาร์ ภุงาม’ ชนพื้นเมือง อำเภอหนองหญ้าปล้องที่โดนคดีบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะนโยบายรัฐที่ขีดเส้นแนวที่ดินของรัฐใหม่ทับพื้นที่เดิมของ ‘วันเสาร์’ ที่อยู่มาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ Migrant’s Life : ‘โพซอ’ แรงงานชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาครที่จากบ้านเกิดมาเพื่อทำงานส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว แต่ชีวิตเขาเปลี่ยนไปเพราะโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้ไม่มีงานทำ หนำซ้ำก็เกิดการรัฐประหารในพม่าอีก  Decent Work : สารคดีพาไปดูชีวิตคนทำงานบริการในสังคมไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ พวกเขามักจะถูกมองว่าทำเรื่องผิดศีลธรรม และการทำงานนี้ก็ไม่ได้ถูกยอมรับจากกฎหมายว่าเป็นการ ‘ทำงาน’ อย่างหนึ่ง นั่นทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิต่อรองนายจ้างและสิทธิเข้าถึงระบบประกันสังคมที่มีผลต่อการรักษาสุขภาพ Riderman : พาไปดูชีวิตของไรเดอร์ส่งอาหาร การคำนวณระบบค่าแรงจากบริษัทที่กังขา รวมทั้งความไม่ปลอดภัยในการขับขี่ในเมืองกรุง  Ode […]

สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.