#เลือกเกิดไม่ได้เลือกตายได้ยัง ชวนถกประเด็น ‘การการุณยฆาต’ ในธีสิสแคมเปญ Rights to die

คุณคิดเห็นอย่างไรกับการทำการุณยฆาต ในช่วงหลังๆ มานี้เรามักได้ยินคำว่า ‘การุณยฆาต’ กันบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ‘นโยบายตายดี’ ที่ทางพรรคก้าวไกลใช้ในการหาเสียงเมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมา หรือจากการเปิดตัวซีรีส์ ‘การุณยฆาต’ ที่ได้ ‘ต่อ ธนภพ’ และ ‘เจเจ กฤษณภูมิ’ มานำแสดง โดยจะมีกำหนดฉายในเร็วๆ นี้ Rights to die คือชื่อแคมเปญธีสิส ภายใต้โครงการ Senior Project ของ ‘โบ-ปณิตา พิชิตหฤทัย’ นิสิตภาควิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อยากชวนทุกคนมาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการการุณยฆาต สิทธิในการเลือกตาย และการวางแผนการตายอย่างเป็นรูปธรรม บนแฮชแท็ก #เลือกเกิดไม่ได้เลือกตายได้ยัง ซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่เธอพบเจอในชีวิตจริง โบเล่าว่า ไอเดียของแคมเปญธีสิสที่อยากพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกคนบนโลกออนไลน์ถึงประเด็นการการุณยฆาต เกิดขึ้นหลังจากแม่ของโบซึ่งป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีความต้องการทำการุณยฆาตในช่วงสุดท้ายของชีวิต ทำให้เธอพบกับรายละเอียดบางอย่างที่น่าสนใจและอยากพูดถึง “แม่เราสนใจเรื่องการุณยฆาต เพราะเขามีเป้าหมายว่าเขาอยากจากไปในวันที่เขายังสามารถคุยกับลูกได้ แต่ด้วยอาการป่วยที่ไม่สามารถเดินทางไปทำการุณยฆาตที่ต่างประเทศได้ เราเลยมาลิสต์กันว่า แล้วถ้าอยู่ไทยเราจะทำอะไรได้บ้าง” โบเล่าถึงความสนใจของแม่ในวาระสุดท้าย จากเหตุการณ์นี้ทำให้โบได้พูดคุยกับหมอ และพบว่าในประเทศไทยเองก็มีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ที่เปิดให้บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

สำรวจพื้นที่ระหว่างความเชื่อ ความตาย และความเป็นชุมชนในภาพยนตร์ ‘สัปเหร่อ’

หลังจากการเดินทางของหนังชุด ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ที่เล่าเรื่องของบรรดาตัวละครมาเป็นจำนวน 3 ภาค โดยมีภาคแยกของตัวละครในจักรวาลนี้ด้วยกันหนึ่งเรื่อง นั่นคือ ‘หมอปลาวาฬ’ รวมไปถึงหนังที่แยกออกจากจักรวาลหลักอย่าง ‘รักหนูมั้ย’ และ ‘เซียนหรั่ง’ ในที่สุดก็มาถึงคราวหนังภาคแยกเรื่องราวของตัวละครที่ทุกคนต่างรอคอยใน ‘สัปเหร่อ’ ซึ่งเป็นเสมือนภาคที่จะคลี่คลายเรื่องราวของตัวละคร ‘เซียง’ และ ‘ใบข้าว’ เมื่อดูผิวเผินจากตัวอย่างและใบปิด เราอาจรู้สึกเหมือนว่า หรือทีมคนทำหนังชุดไทบ้านต้องการทำหนังผีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดหนังไทย เพราะด้วยภาพต่างๆ ที่เผยออกมาให้ได้ชม เป็นเรื่องราวของคนในหมู่บ้านที่ถูกวิญญาณผีใบข้าวตามหลอกหลอนจนหัวโกร๋น แต่เมื่อได้รับชมตัวหนังจริงๆ ปรากฏว่าเรื่องราวในเรื่องกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกนำเสนอบ่อยนักในหนังไทย เราจึงไม่แปลกใจที่ผู้ชมที่เริ่มต้องการสิ่งแปลกใหม่จากหนังไทยจะแห่กันไปดูหนังเรื่องนี้อย่างล้นหลาม จนรายได้จะทะลุ 1,000 ล้านแล้วในขณะนี้ นอกจากความแปลกใหม่ของรสชาติที่หนังไทยไม่ค่อยนำเสนอ หนังเรื่องนี้ยังหยิบเอาประเด็นความเป็น-ความตาย ที่เชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนในต่างจังหวัดมาบอกเล่าได้อย่างเรียบง่ายและสมจริง ผ่านสายตาของลูกหลานผู้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ คอลัมน์เนื้อหนังขอถือโอกาสพาผู้อ่านไปสำรวจแง่มุมเหล่านี้ในสัปเหร่อ เพื่อทำความเข้าใจบริบทประเทศไทยในพื้นที่ที่อาจห่างไกลจากตัวผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพหรือความเข้าใจก็ตาม พื้นที่ของความเชื่อ สิ่งที่ทำให้สัปเหร่อโดดเด่นกว่าหนังไทยเรื่องอื่นๆ คือการเข้าไปลงลึกถึงอาชีพของสัปเหร่อ ราวกับเป็นสารคดีงานศพตามหลักความเชื่อและความต้องการของผู้ตายหรือผู้จัดงานให้ หนังค่อยๆ พาผู้ชมไปสำรวจการแสดงความรักต่อผู้ที่จากไปในรูปแบบต่างๆ นานา จากการที่ ‘เจิด’ (นฤพล ใยอิ้ม) ลูกชายคนเล็กของ ‘ศักดิ์’ (อัจฉริยะ ศรีทา) สัปเหร่อประจำหมู่บ้านที่กลับมาบ้านหลังจากไปร่ำเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ซึ่งนำพาเขาไปพบกับความหลากหลายของการจัดทำพิธีแก่ผู้ที่จากไป ไม่ว่าจะแบบท้องถิ่นของชาวไทยอีสานที่มีวัฒนธรรมการตั้งวงเล่นพนันกันในงานศพ […]

‘ทางเลือกใหม่ของการบอกลาครั้งสุดท้าย’ นิทรรศการออกแบบงานศพของตนเอง โดย ‘บริบุญ’

“จะดีแค่ไหน ถ้าในงานสุดท้ายของคุณ มีคุณเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว” นี่คือข้อความหลักของนิทรรศการ ‘ออกแบบงานศพของตนเอง’ ในงาน Bangkok Design Week 2023 ซึ่งจัดแสดงที่ชั้น 3 บนอาคารชัยพัฒนสิน ย่านเจริญกรุง นิทรรศการนี้จัดขึ้นโดย ‘บริบุญ’ หนึ่งในแบรนด์ธุรกิจเครือ ‘สุริยาหีบศพ 2499’ ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาต่อยอดธุรกิจ รวมถึงต้องการนำเสนอรูปแบบและมุมมองใหม่ต่อการจัดงานศพ โดยให้เจ้าของงานสามารถเลือกออกแบบอย่างที่ต้องการได้ ก่อนวาระสุดท้ายจะมาถึง คอลัมน์ Re-Desire อยากพาทุกคนไปฟังแนวคิดและเบื้องลึกเบื้องหลังของนิทรรศการนี้ จากการบอกเล่าของเหล่าทีมงานผู้สร้างสรรค์ กับการนำเสนออีกหนึ่งทางเลือกของการจัดงานศพด้วยตัวเอง ออกแบบการ ‘ให้’ ฉบับ ‘บริบุญ’  ‘ฟีฟ่า-คณกฤษ สุริยเสนีย์’ คือทายาทรุ่นที่สามของสุริยาหีบศพ 2499 ที่เป็นผู้เริ่มต้นไอเดียสร้างแบรนด์ ‘บริบุญ’ เพื่อเข้ามาปรับเปลี่ยนด้านการตลาดของสุริยาฯ นอกจากนี้ยังพยายามนำเสนอรูปแบบของการจัดงานศพหรือนวัตกรรมเกี่ยวกับความตายอื่นๆ โดยมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ลูกค้า และทำให้เรื่องของความตายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น คอนเซปต์หลักของบริบุญคือ ‘การให้’ ยกตัวอย่าง เมื่อลูกค้าซื้อพวงหรีดกระดาษที่ทางแบรนด์ออกแบบหนึ่งพวง จะได้บริจาคหีบศพหนึ่งโลงให้ผู้เสียชีวิตคนอื่นๆ ที่ขาดแคลนไปด้วย หรือถ้ายังไม่มีเหตุให้ซื้อสิ่งของข้างต้น ลูกค้าจะเปลี่ยนไปเลือกซื้อโต๊ะหรือเก้าอี้แทนก็ได้ เพราะทางแบรนด์จะบริจาคโต๊ะหรือเก้าอี้อีกหนึ่งตัวให้เด็กๆ ตามโรงเรียนที่ขาดแคลนอีกเช่นเดียวกัน  “ผมพยายามค่อยๆ […]

วิธีเตรียมตัวตาย | Now You Know

เตรียมตัวตายซะเถอะ! ใจเย็นก่อน นี่ไม่ใช่คำขู่ แต่เป็นคำเชิญให้ทุกคนมาเตรียมความพร้อมหลังการใช้ชีวิตในเมืองที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนระดับที่เดินๆ อยู่คุณอาจจะตกท่อตายโดยไม่รู้ตัว ผสมกับแนวคิดสมัยใหม่ที่หลายคนวางแผนการใช้ชีวิต (และหลังใช้ชีวิต) กันมากขึ้น โดยที่ไม่เป็นภาระคนอื่น สบายใจเรา สบายใจคนรอบข้าง หลังจากพูดคุยกับ ‘สุริยาหีบศพ’ ที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประกอบโลงและรับจัดงานศพทุกประเภท Now You Know ขอพาคุณมาเตรียมความพร้อมก่อนตาย รับรองว่าไม่แพงอย่างที่คิดและใช้ได้จริง ตายไปไม่เป็นภาระคนอื่นแน่นอน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.