PepsiCo ถูกรัฐนิวยอร์กยื่นฟ้องฐานสร้างมลพิษพลาสติกรายใหญ่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีขยะพลาสติกและซองขนมที่ถูกพบในแม่น้ำบัฟฟาโลกว่า 1,916 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อ ‘PepsiCo’ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ รัฐนิวยอร์กได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ PepsiCo ฐานสร้างมลพิษจากการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าบริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำในเมืองเกิดการปนเปื้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อชาวเมืองและสัตว์น้ำ เพราะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งถือเป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกขนาดเล็ก ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ กระตุ้นอัตราการเกิดมะเร็งให้สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวนิวยอร์กหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในเวลาต่อมา โฆษกของ PepsiCo ออกมาแถลงการณ์เน้นย้ำว่า ทาง PepsiCo มุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกในอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญต่อการรีไซเคิลเพื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต Sources : BBC NEWS | t.ly/nKKUwSky News | t.ly/cmqwT

Wastic Thailand แบรนด์แว่นตากันแดดอัปไซเคิลที่เชื่อว่าเรามีไลฟ์สไตล์ชิกๆ ได้พร้อมกับการช่วยโลก

Wastic Thailand คือแบรนด์สินค้าอัปไซเคิลจากขยะพลาสติกที่อยากหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ของสินค้ารักษ์โลก ตั้งแต่ชื่อ Wastic ที่มาจากคำว่า Waste กับ Plastic ตั้งใจให้อ่านออกเสียงว่า วาส-ติก ไม่ใช่ เวส-ติก เพราะไม่อยากให้ลูกค้านึกถึงภาพขยะเมื่อได้ยิน นอกจากชื่อ ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 อย่าง กมลชนก คล้ายนก, รสลิน อรุณวัฒนามงคล, สินีนาฏ จารุวาระกูล และ อริสรา พิทยายน ยังเชื่อว่า สินค้ารักษ์โลกไม่จำเป็นต้องมีดีไซน์เรียบง่ายหรือดูออกว่าทำจากวัสดุอะไรเสมอไป แต่สามารถชิกได้ เปรี้ยวได้ เป็นสินค้าที่ให้สายแฟฯ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ แว่นกันแดดของ Wastic คือตัวอย่างที่ยืนยันความเชื่อนั้นได้ดี ซึ่งก็ไม่ได้สักแต่ว่าจะดีไซน์ให้เก๋ไก๋ แต่สินค้าตัวแรกของพวกเธอยังสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในตัวมันเอง อย่างสีทั้ง 3 ของตัวแว่นกันแดดเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศของทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกมากที่สุด คอลัมน์ Sgreen คราวนี้ ชวนคุณไปคุยกับกมลชนก หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ฟังเธอเล่าเบื้องหลังการคิดค้นสินค้าที่เลอค่าทั้งรูปลักษณ์และเป้าหมาย ขั้นตอนกว่าจะเป็นแว่นกันแดดอันแรก ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าสินค้าอัปไซเคิลก็ชิกได้ ใส่แล้วไม่อายใคร From Plastic to […]

‘Flashback’ กล้องฟิล์มใช้แล้วไม่ทิ้ง กล้องลูกผสมระหว่างฟิล์มกับดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อลดขยะพลาสติก

ในยุคที่คนหวนคิดถึงยุคแอนะล็อกกันมากขึ้น ‘กล้องฟิล์ม’ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่กลับมาเป็นที่นิยมของตลาดและจับใจเด็กยุค 2000 ด้วยเสน่ห์ความคลาสสิกและโรแมนติกแบบที่หาไม่ได้ในกล้องดิจิทัล แต่ด้วยความที่การใช้กล้องฟิล์มแต่ละครั้งก่อให้เกิดขยะพลาสติกจากตัวฟิล์มและบอดี้ตัวกล้องใช้แล้วทิ้งจำนวนมาก ‘Kelric Mullen’ และ ‘Mackenzie Salisbury’ คู่หูนักออกแบบที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงสร้าง ‘กล้องฟิล์มกึ่งดิจิทัล’ ที่รับผิดชอบต่อปัญหาขยะพลาสติกขึ้นในชื่อ ‘Flashback’ เมื่อมอง Flashback แบบผิวเผินอาจดูเหมือนเป็นกล้องฟิล์มทั่วๆ ไป ที่มาพร้อมช่องมองภาพ ตัวหมุนโฟกัส และแฟลชแบบ Xenon แต่ความจริงแล้วภายใต้รูปลักษณ์แบบคลาสสิกที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล Flashback ยังซ่อนรูปแบบของความเป็นดิจิทัลได้อย่างแนบเนียน แต่ละครั้งที่กดชัตเตอร์ ภาพจะถูกบันทึกด้วยเทคโนโลยีฟิล์มดิจิทัล (Digital Film Technology) ที่แม้จะไม่มีม้วนฟิล์มอยู่ภายใน แต่ยังให้ความรู้สึกเหมือนกำลังถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มที่สามารถถ่ายภาพได้สูงสุด 27 ภาพอยู่จริงๆ หลังจากถ่ายภาพครบหนึ่งชุด ภาพถ่ายทั้งหมดจะถ่ายโอนแบบไร้สายไปยังแอปพลิเคชัน ‘Flashback’ บนสมาร์ตโฟน ที่ต้องรอเวลาอีก 24 ชั่วโมงถึงจะได้ออกมาเป็นรูปภาพแบบสมบูรณ์ให้เราเห็น ถือเป็นการคงไว้ซึ่งความโรแมนติกของการถ่ายภาพแบบแอนะล็อก นอกจากนี้ ตัวกล้อง Flashback ยังสามารถใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ผ่านการชาร์จไฟด้วยสาย USB ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายจำนวนมากเมื่อเทียบกับการใช้กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง และตัวฟิล์มที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ใครที่สนใจ สั่งซื้อกล้อง Flashback ในราคาเริ่มต้นที่ […]

‘อุตสาหกรรม K-POP กับปัญหาขยะพลาสติก’ เมื่อความรักไอดอลเกาหลีไม่ได้มาพร้อมกับการรักษ์โลก

ในขณะที่วัฒนธรรมการฟังเพลงเปลี่ยนผ่านจากการฟังแบบแอนะล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่แค่ปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงเสียงเพลงบนโลกออนไลน์ได้เป็นล้านล้านเพลง แต่เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงแห่งอเมริกา (RIAA) กลับรายงานว่า ชาวอเมริกันซื้อซีดีเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2020 เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นครั้งแรกที่ยอดขายเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องมานานถึง 17 ปี การเพิ่มขึ้นของตลาดซีดีในอเมริกาหลังจากซบเซามานานนั้นมีเหตุผลหลายประการ แต่จากข้อมูลใน Billboard พบว่า การออกอัลบั้มของวง BTS ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดขายแผ่นซีดีกระโดดขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากการจำหน่ายอัลบั้มของ Adele และ Taylor Swift ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมกลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลีมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ โดยมี ‘Physical Album หรือ อัลบั้มแบบจับต้องได้’ เป็นจุดร่วม ผ่านการสร้างเงื่อนไขของอุตสาหกรรมเคป็อปที่ส่งผลให้มีการซื้อ-ขายอัลบั้มในปริมาณมากๆ  จากปกติที่เวลาชอบศิลปินคนไหน เราก็มักสนับสนุนด้วยการซื้ออัลบั้มของเขาสัก 1 – 2 อัลบั้มเพื่อเก็บสะสม ทว่าเมื่อเป็นศิลปินเคป็อปเมื่อไหร่ การที่แฟนคลับคนเดียวซื้ออัลบั้มถึงหลักร้อยก็ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย เนื่องจากมีคัลเจอร์แฟนด้อมที่เหนียวแน่นมากๆ กับสิทธิพิเศษที่จะตามมาเป็นเหตุผลรองรับ แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะยอมรับเรื่องนี้ได้ เพราะไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดกลุ่มคนที่ออกมารณรงค์ถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการซื้อ-ขายอัลบั้มที่มากเกินความจำเป็นของอุตสาหกรรมเคป็อปอย่างหนัก จนตัวค่ายและศิลปินเองต้องออกมาปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวการหลักในการผลิตขยะพลาสติก ในปัจจุบัน ปริมาณขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัฐบาลในประเทศเกาหลีใต้อยู่ไม่น้อย เพราะในขณะที่หลายประเทศกำลังรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ระหว่างปี […]

‘Second Sun’ เรือใบรูปแบบใหม่ สร้างจากสาหร่ายและขยะพลาสติก เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล

ภายใต้ท้องทะเลที่เราเห็นว่าสวยงาม ความจริงแล้วในแต่ละปี มีขยะพลาสติกถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้ผืนน้ำกว่า 8 – 10 ล้านตันเลยทีเดียว เพื่อดึงเอาขยะเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ‘Furf Design Studio’ สตูดิโอออกแบบที่มีแนวคิดเรื่องความยั่งยืน และ ‘Cesar Pieri’ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ยานยนต์จึงรวมตัวกัน เพื่อสร้างสรรค์เรือใบลำใหม่ชื่อว่า ‘Second Sun’ ที่มาพร้อมดีไซน์ทันสมัย แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย Second Sun ใช้วัสดุหลักในการสร้างเพียง 2 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ไบโอโพลีเมอร์จาก ‘สาหร่ายทะเล’ สำหรับสร้างตัวเรือโปร่งใส และ ‘ขยะพลาสติก’ ในทะเลและมหาสมุทร ที่ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นโครงสร้างภายในและผ้าใบเรือทรงกลมสีเหลืองสดใส ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นดวงอาทิตย์อีกดวงเมื่อสะท้อนบนผิวน้ำ Pieri ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบ Second Sun จากรูปทรงลำเรือในการแข่งขัน ‘America’s Cup’ และปีกเครื่องบินทรงกลมอย่าง ‘Circular Wing’ ที่ช่วยเพิ่มและลดความแรงขับ (Thrust) ขณะเดินเรือ ทำให้เรือใบลำใหม่นี้ไม่ได้มีดีแค่ความสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงบนท้องทะเล ทว่า Furf Design Studio และ […]

ลองเปิดใจกับหลอดกระดาษ เพราะหลอดพลาสติกชิ้นเดียว ส่งผลต่อโลกใบนี้มากกว่าที่คิด

แต่ละวันคุณใช้หลอดพลาสติกเยอะแค่ไหน? บางคนเข้าร้านสะดวกซื้อก็ขอหลอดติดไม้ติดมือสักหน่อย ชาวออฟฟิศติดกาแฟก็หนีไม่พ้นที่จะใช้หลอดพลาสติก จะสั่งเดลิเวอรีทีก็แถมพลาสติกมาซะเยอะ หรือแวะร้านข้าวตามสั่ง ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะพึ่งหลอดพลาสติกในการดื่มน้ำ แน่ล่ะ เพราะความเหนียวทนทานของพลาสติกทำให้ชีวิตพวกเราอยู่สบายขึ้นเป็นกอง จะเลี่ยงก็ยากเพราะมันทั้งใช้ง่ายและอยู่ใกล้ตัวเรา จนหลายครั้งก็ลืมฉุกคิดว่า ปลายทางของพวกมันจะไปจบที่ตรงไหน ท่อระบายน้ำ ทะเล มหาสมุทร ลอยล่องไปทำร้ายสัตว์ทะเลจนเป็นภาพชินตา หรือกลายร่างเป็นไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในน้ำ ดิน และวนกลับเข้าสู่ร่างกายพวกเรา แต่คงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้ลดการใช้หลอดพลาสติกได้ง่ายๆ ผ่านการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการดื่มนม ซึ่ง ‘ไมโล’ คือหนึ่งในแบรนด์ที่อยากทำให้เรื่องรักษ์โลกง่ายขึ้น สะดวกขึ้นกับ ‘หลอดกระดาษปรับปรุงใหม่’ ที่ตั้งใจอยากให้คุณได้ร่วมดูแลโลกใบนี้ไปด้วยกัน การเดินทางของหลอด! นับตั้งแต่ชาวสุเมเรียนยุคเมโสโปเตเมีย เรียนรู้การหยิบจับวัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นหลอดดูดน้ำ เรื่อยมาจน มาร์วิน สโตน ได้ประดิษฐ์คิดค้นหลอดกระดาษอย่างจริงจัง ทำให้เรามีหลอดดูดน้ำเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1888 หรือร้อยกว่าปีก่อน ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยหลอดพลาสติกในช่วง 1960 มาวันนี้ พลาสติกทำให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสบายขึ้นก็จริง แต่ก็มาพร้อมคำครหาต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะย่อยสลายยาก ไร้การจัดการที่ดี สุดท้ายกลายเป็นขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่จบไม่สิ้น ซึ่งหลายคนเริ่มช่วยกันคนละไม้คนละมือ หันมามองหาวัสดุทดแทนพลาสติกเหล่านั้น อย่างหลอดสเตนเลสหรือหลอดกระดาษ เพราะดีต่อโลกของเรามากกว่า เมื่อหลอดพลาสติกคร่าชีวิต ก็แค่หลอดพลาสติกหลอดเดียวเอง ใช้ๆ ไปเถอะ ไม่เป็นไรหรอก  ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกมากถึง 12 […]

ชีวิตใหม่ของรองเท้าสกีถูกทิ้ง FREITAG ทำเคส 𝗶Phone ด้วยขยะรองเท้าสกีจากเมืองสกีโลก

FREITAG แบรนด์สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นนัก Upcycle ตัวฉมังแห่งวงการแฟชั่น และด้วยความที่มีจุดกำเนิดในเมืองแห่งสกีอย่างสวิตเซอร์แลนด์ ครั้งนี้ FREITAG ก็มีโปรเจกต์ใหม่ที่ไม่ทิ้งตัวตนเดิม ‘รองเท้าสกี’ ขยะจัดการยากคือปัญหาหนึ่งของ Davos เมืองสกีรีสอร์ตที่ใหญ่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ได้ถูก FREITAG นำกลับมาชุบชีวิตใหม่ให้กลายเป็นคอลเลกชันเคสมือถือดีไซน์เท่ที่มีชื่อว่า ‘𝗙𝟯𝟴𝟱 𝗖𝗜𝗥𝗖-𝗖𝗔𝗦𝗘’  แต่ก่อนจะเป็นเคส 𝗙𝟯𝟴𝟱 𝗖𝗜𝗥𝗖-𝗖𝗔𝗦𝗘 จากรองเท้าสกีต้องผ่านขั้นตอนหลากหลาย เริ่มตั้งแต่การที่ FREITAG ร่วมมือกับพันธมิตรในพื้นที่จัดเก็บรองเท้าสกีเก่าๆ ที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ในเมือง Davos แล้วแยกส่วนยางเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน (Thermoplastic Polyurethane) มาบดชิ้นเล็กๆ แล้วจึงหล่อขึ้นรูปใหม่ให้เป็นตัวเคส การใช้วัสดุ Upcycled กลายเป็นความยูนีกที่ทำให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีสีสันลวดลายที่ต่างกันออกไป จนเป็นดีไซน์เฉพาะตัวแบบชิ้นเดียวในโลก แถมยังมีไอเทมเสริมเป็นซองขนาดกะทัดรัด (𝗙𝟯𝟴𝟬 𝗝𝗨𝗦𝗧𝗜𝗡) ที่ทำมาจากผ้าใบคลุมรถบรรทุก สำหรับใส่บัตร แบงก์ สิ่งของกระจุกกระจิก ฯลฯ พกพาสะดวก และยังดีไซน์ให้สามารถนำไปประกอบร่างใช้กับตัวเคสได้อีกด้วย ครั้งหนึ่ง ผ้าใบรถบรรทุก, เข็มขัดนิรภัย, ยางในจักรยาน ยังถูกเอามาเย็บเป็นกระเป๋าที่ขายดีไปทั่วโลกได้ ครั้งนี้ FREITAG ก็ยังยึดมั่นในวิถีแห่งความยั่งยืนด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ จากรองเท้าสกีให้กลายมาเป็นเคสป้องกันโทรศัพท์มือถือ […]

พระสติ พระเครื่องจากพลาสติกที่เตือนให้ทุกคนบริโภคอย่างมีสติและรักสิ่งแวดล้อม

เมื่อช่วงงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ไปร่วมกิจกรรมหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผ้าป่า Design Week โปรเจกต์เชิงทดลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทอดผ้าป่า ในการนำวัฒนธรรมการแบ่งปันสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการทำบุญแบบใหม่ ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล สิ่งที่ทำให้งานผ้าป่างานนี้ต่างจากงานผ้าป่าทั่วไปคือ การเชื่อมโยงระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เกิดความสะดวก โปร่งใส มีทางเลือกในการบริจาคหลากหลายตามความสนใจของผู้บริจาค ทั้งวัด การแพทย์ และการศึกษา ทั้งยังเพิ่มทางเลือกในการบริจาคขยะพลาสติกและขวดแก้วสะอาดแทนเงิน เพื่อนำไป Upcycle เป็นโปรดักต์ต่อไปด้วย ทว่า นอกจากไอเดียสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ความเชื่อประเพณีของคนไทยที่ดูเชยให้กลับมาร่วมสมัย จนคนไปร่วมงานแน่นขนัดชนิดที่เรียกว่างานผ้าป่าแตกแล้ว ‘พระสติ’ ที่สร้างขึ้นจากขยะพลาสติก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาค ผู้รับบริจาค และผู้สนับสนุนโครงการ ก็ถือเป็นไฮไลต์ดึงดูดผู้คนให้มาร่วมงานไม่ต่างกัน จากวัสดุที่คนทิ้งขว้าง ไม่สนใจ กลับกลายเป็นของหายากที่ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่นับสตอรี่ที่มาพร้อมกับการออกแบบ และการนำเสนอความเชื่ออิงหลักพุทธร่วมสมัยที่เตือนให้บริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนความเท่าเทียม และรักษ์โลกอีกนะ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาและคิดมาอย่างถี่ถ้วน เพราะต่อให้คนอยากได้พระเครื่องเพราะความแรร์หรือรูปลักษณ์เท่ๆ ก็ตาม ทว่า อย่างน้อยๆ คนคนนั้นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักศาสนา สิ่งแวดล้อม หรือการรีไซเคิลไปด้วย เบื้องหลังของไอเดียพระสตินี้คืออะไร กว่าขยะพลาสติกจะกลายมาเป็นพระเครื่องยอดฮิตที่ใครๆ ต่างอยากได้มาบูชา ต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างไรบ้าง เรามาคุยกับ ‘ไจ๋–ธีรชัย […]

‘เก็บกลับ-รีไซเคิล’ ไทยเบฟ ส่งต่อไออุ่นผ่านผ้าห่มจากขวดพลาสติกรีไซเคิลแก่ผู้ประสบภัยหนาว

ในช่วงต้นปีแบบนี้พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องเผชิญกับภัยหนาวอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ เพราะหน้าหนาวของพวกเขาคือหนาวจริงๆ เกินกว่าที่ร่างกายจะต้านทาน.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยพันธมิตรอีกหลายภาคส่วน ดำเนินโครงการ ‘ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว’ เพื่อส่งมอบผ้าห่มแก่พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล มาเป็นเวลากว่า 21 ปี พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืน.ไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ให้ความสำคัญในเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเพื่อนำไปรีไซเคิลจึงได้นำแนวคิดนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ และสร้างประโยชน์ส่งต่อให้ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับที่องค์กรมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด.โดย “โครงการ เก็บกลับ-รีไซเคิล” ภายใต้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด จากแนวคิดว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน และเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ พร้อมตั้งจุดรับขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม พร้อมทั้งออกบูธกิจกรรมตามโรงเรียน ชุมชน หรืองานต่างๆเพื่อรณรงค์กระตุ้นการเรียนรู้การคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ตั้งแต่ต้นทางที่มีคุณภาพ กลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์แก่สังคม.ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่ว่าก็คือ การเก็บกลับขวดพลาสติก PET ที่บริโภคแล้ว เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบและผลิตเป็นเส้นใย rPET และถักทอเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบภัยหนาว.โดยเส้นใยจากขวด rPET จะช่วยลดพลังงานการผลิตลงได้ 60% ลดปริมาณการปล่อย co2 ได้ 32% […]

‘pong’ ไม้ปิงปองลาย Terrazzo จากพลาสติก HDPE รีไซเคิล

ทุกวันนี้มีสตูดิโอเจ๋งๆ หันมาออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้กันเยอะมาก งานหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสนุก สะดุดตา และยังไม่ค่อยเห็นใครทำคืออุปกรณ์กีฬาจากวัสดุรีไซเคิล  Préssec คือสตูดิโอออกแบบในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ผู้ออกแบบและพัฒนา ‘pong’ ไม้ตีปิงปองที่ทำจาก พลาสติก HDPE รีไซเคิลออกมาเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) หรืองานหินขัดที่เก๋ น่าใช้ และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ แม้จะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้กีฬาปิงปอง แต่เห็นดีไซน์แล้วก็กระตุ้นต่อมความอยากเป็นเจ้าของได้เช่นกัน โปรเจกต์นี้ Préssec เล่าว่าพวกเขาคิดขึ้นได้ในระหว่างช่วงที่ซิดนีย์ล็อกดาวน์ ด้วยความเบื่อหน่ายชีวิตในบ้านจึงฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปองในครัวกันบ่อยๆ พวกเขาพบว่าปิงปองเป็นกีฬาที่เล่นง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ แค่มีโต๊ะยาวและไม้ปิงปองก็เล่นตรงไหนก็ได้ และนึกสงสัยขึ้นมาว่าทำไมไม่เคยเห็นใครทำไม้ปิงปองให้มันดูสนุกขึ้นบ้าง จะเป็นอย่างไรถ้าเขาลองเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำดู จากที่ฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปอง พวกเขาเลยเปลี่ยนมาฆ่าเวลาด้วยการทำไม้ปิงปองกันแทน  Préssec ทดลองสเก็ตช์แบบไม้ปิงปองเพื่อหาความเป็นไปได้กันทุกสัปดาห์ และพบว่าการเอาเศษพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถนำมาหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ มีลักษณะขุ่น มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ผิวไม่มันเงา แข็ง เหนียว ไม่เปราะแตกง่าย และทนสารเคมี มาลองหลอมและขึ้นรูปใหม่แทนการใช้วัสดุที่เป็นไม้  ไม้ปิงปองเป็นวัสดุที่มีมานาน ถ้าดัดแปลงมาก็อาจจะใช้งานไม่ได้จริง Préssec จึงใช้วิธีคิดแบบใหม่กับการออกแบบวัสดุเดิม เพราะการจะเป็นไม้ปิงปองได้ไม่ใช่แค่รูปทรงถูกต้องเท่านั้น น้ำหนัก สัมผัส และการใช้งานต้องเหมาะสมด้วย […]

ประกาศออกไปให้โลกรู้ Green Road เปิดรับบริจาคถุงวิบวับ และถุงก๊อบแก๊บจนกว่าจะหมดโลก

“รับบริจาคถุงวิบวับและถุงก๊อบแก๊บจนกว่าจะหมดโลก” โครงการดีๆ จาก Green Road องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่รับบริจาคขยะพลาสติกมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ คืนให้กับสังคม โดยในคราวนี้มาพร้อมแคมเปญใหม่เพื่อเชิญชวนให้ทุกคน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ผ่านการบริจาคขยะพลาสติกจากถุงวิบวับ ทำความเข้าใจกันสักหน่อยเกี่ยวกับ “ถุงวิบวับ” คือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ประเภทกาแฟ เครื่องดื่ม ขนม เครื่องสำอาง ยา ฯลฯ ทำจากฟิล์มพลาสติกจำพวก Nylon, PET, LLDPE ประกบเข้ากับแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ด้วยความร้อน ทำให้มีข้อดีในการป้องกันความชื้น กันแสงแดด และอากาศได้ดี แต่มีข้อเสียที่ใหญ่หลวงคือการนำกลับไปรีไซเคิลยาก เพราะต้องแยกฟิล์มแต่ละชั้นออกจากกันก่อน ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าขยะพลาสติกทั่วไป จนกลายเป็นปัญหาส่งผลให้หลายๆ ที่ไม่รับซื้อหรือรับบริจาคขยะประเภทนี้ไปรีไซเคิล แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ผนวกกับการศึกษาวิจัยและพัฒนาทำให้ทาง Green Road สามารถนำถุงวิบวับ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลร่วมกับถุงก๊อบแก๊บจนนำกลับมาผลิตใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling อาทิโต๊ะ เก้าอี้ บล็อกปูพื้น รวมไปถึงผนัง พื้น หลังคาบ้าน เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียน วัด อุทยานแห่งชาติ รวมถึงพื้นที่สาธารณะ นับเป็นการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยที่น่าสนใจ และเราทุกคนก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้อย่างง่ายๆ เพียงเริ่มจากการแยกขยะพลาสติกใกล้ตัว สำหรับท่านที่สนใจบริจาคสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3i3JOgK […]

Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน

ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง  ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ  เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม  แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว  ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ  แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง  “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา  “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.