เยี่ยมสเปซน่าสนใจในตึกแถว ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ โอลด์ทาวน์ที่น่าไปใช้ชีวิตและเป็นมิตรกับคนเมือง

เทศกาลแห่งการสังสรรค์ แสงสี และการรวมตัวกันของผู้คนในช่วงปลายปีใกล้เข้ามาทุกที แม้เป็นเพียงไม่กี่วันก่อนที่กรุงเทพฯ จะกลับสู่การเป็นเมืองที่มีคนเหงามากกว่าเสาไฟฟ้า ผู้คนตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตัวเองตามวิถีคนเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบจนขาดการปฏิสัมพันธ์กันก็ตาม คงดีไม่น้อยหากเมืองฟ้าอมรแห่งนี้เป็นมิตรกับผู้คนมากขึ้น มีพื้นที่ส่วนกลางให้มนุษย์กรุงเทพฯ ได้พบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้า พักผ่อนจากการงานที่แสนหนักหน่วง ได้วางโทรศัพท์หรืออุปกรณ์สื่อสารในห้วงยามที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิตจนคล้ายเป็นอวัยวะที่ 33 เพื่อใช้เวลาไปกับการพูดคุยกันสารพัดเรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่สนใจกับเพื่อนทั้งเก่าและใหม่ หรือรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เดิม ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ ก็เป็นเหมือนโอลด์ทาวน์ทั่วไป ยังคงความเป็นชุมชนคล้ายกับหลายย่านเก่าในเมืองหลวง โดยมีธุรกิจอย่างอู่ซ่อมรถและร้านทำป้ายโฆษณาตั้งเรียงรายเป็นภาพจำของผู้คน ทว่าในวันนี้หากลองเดินเท้าสำรวจย่านเก่าอายุกว่าร้อยปีแห่งนี้จะพบว่า นอกจากซอยนานาที่โด่งดังมาก่อนหน้าแล้ว ในมุมอื่นๆ ของย่านก็มีกิจการใหม่ในตึกเก่าที่แทรกตัวเข้ามาเป็นสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้คนเมืองมีกิจกรรมหลากหลายแวะเข้ามาทำมากขึ้นตั้งแต่กลางวันยันกลางคืน คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ไม่ได้พาไปดูอู่รถหรือเข้าร้านป้าย แต่อยากชวนสำรวจ Creative & Community Space รอบวงเวียน 22 กรกฎาคม ย่านที่วันนี้มีหลายสเปซน่าสนใจที่กวักมือเรียกผู้คนเข้ามาสัมผัสย่านในมุมมองใหม่ๆ ด้วยความตั้งใจของผู้ประกอบการที่อยากให้บ้านของเขาไม่เงียบเหงา และอยากเป็นเฉดสีอื่นๆ ที่แต้มแต่งเพิ่มเข้ามาในเมืองนี้ ในแง่ประวัติศาสตร์ เมื่อศตวรรษที่แล้วมีการตัดถนนสายใหม่ 3 สาย ผ่านชุมชนของชาวจีนในตำบลหัวลำโพงที่เกิดไฟไหม้ ตรงกลางของเส้นเลือดใหม่ที่วิ่งไขว้กันไปมาทำเป็นวงเวียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามทั้งถนนและวงเวียนว่า ‘22 กรกฎาคม’ เพื่อระลึกถึงวันเดือนที่ประเทศสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร […]

ลดขยะจากการกิน เพิ่มความมั่นคงทางอาหาร TikTok ร่วมกับ กทม. สนับสนุนและสานต่อโครงการ #BKKFoodBank

“เราอยากให้ กทม.เป็นเมืองแห่งการแบ่งปัน และเมื่อนึกถึงการแบ่งปันก็จะต้องนึกถึง BKK Food Bank” ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในงานเปิดตัวการต่อยอดโครงการธนาคารอาหาร โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง TikTok และกรุงเทพมหานคร โครงการธนาคารอาหารกรุงเทพมหานคร หรือ BKK Food Bank คือโครงการส่งต่ออาหารสู่กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ประชาชนที่มีรายได้น้อย หรือผู้ประสบภัย โดยรวบรวมอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ น้ำปลา น้ำตาล เสื้อผ้า ฯลฯ จากผู้ที่อยากแบ่งปัน นำไปมอบให้กับผู้ที่ขาดแคลน โดยใช้แต้มที่ กทม.มอบให้มาเลือกสินค้าได้ตามต้องการ คล้ายการซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ เช่น มีแต้มอยู่ 100 แต้ม แลกข้าวสารใช้ 50 แต้ม หรือน้ำตาลใช้ 20 แต้ม โครงการนี้เริ่มต้นจากความต้องการลดอาหารส่วนเกินและขยะเศษอาหาร พร้อมกับเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กรุงเทพฯ เนื่องจากข้อมูลของ กทม. พบว่า 1 ใน […]

เปิดข้อมูลสำรวจลานกีฬาทั่วกรุงเทพฯ อยากให้คนเมืองแข็งแรง แต่กลับไม่มีพื้นที่ให้ออกกำลังกาย

‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ’ หลายคนคงเผลอร้อง ‘ฮ้าไฮ้ ฮ้าไฮ้’ ตามหลังเสมือนกำลังอยู่ในช่วงกีฬาสีวัยเด็ก โดยเพลง ‘กราวกีฬา’ ได้แต่งขึ้นมากว่า 100 ปี เป็นหลักฐานที่ว่าประเทศไทยมีการส่งเสริมชาวสยามให้เล่นกีฬาออกกำลังกายมาอย่างยาวนาน สอดคล้องกับสำนวนโบราณแสนเชยที่เราฟังจนเอียนหู ‘การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ’ ฟังดูแล้วเหมือนจุดเริ่มของการลดโรคคือ ‘การออกกำลังกาย’ แต่การตามหาพื้นที่เล่นกีฬาในเมืองหลวงที่มีขอบเขตแสนจำกัดย่อมเป็นเรื่องที่ต้องพยายาม อย่างไรก็ตาม เรายังมี ‘ลานกีฬา’ พื้นที่สำหรับออกกำลังกายเพื่อสนับสนุนชาวเมืองให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยกระจัดกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ กว่า 1,126 แห่ง จุดประสงค์ของลานกีฬาคือ การอำนวยพื้นที่ในการออกกำลังกายให้ผู้รักสุขภาพ แต่ชาวกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งกลับส่ายหัว ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพื้นที่เหล่านี้อยู่ตรงไหน และเลือกที่จะยอมเสียเงินรายชั่วโมงเช่าสนามหรือคอร์ตแทน อีกทั้งในบางลานกีฬาคนทั่วไปกลับไม่สามารถเข้าถึงได้หรือมีเงื่อนไขเฉพาะตัว โดยใน ‘เมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ กลับมีลานกีฬาสาธารณะเพียง 107 แห่งเท่านั้น สถานที่ตั้งลานกีฬาที่บางคนหาไม่เจอ เริ่มจากเรามาดูกันว่าลานกีฬาในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในสถานที่ไหนบ้าง สิริรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,126 แห่ง แบ่งเป็น 1) สถานศึกษา 419 แห่ง (37.21%)2) ลานกีฬาชุมชน 324 แห่ง […]

Acousticity | Purpeech รักรออยู่ไม่ไกล Live Session @Whattheduck

‘บ้าน’ สถานที่ที่หลายคนอยู่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และคงมีหลายครั้งที่เราอาจต้องห่างไกลจากบ้านหลังเดิมด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไป บางคนอาจจะออกมาเพื่อเดินตามความฝันเช่นเดียวกับวงดนตรี ‘Purpeech’ ที่ห่างไกลจากเชียงใหม่และต้องย้ายมาบ้านหลังใหม่ที่กรุงเทพฯ จนทำให้เกิดเพลงที่เล่าเรื่องราวการไกลบ้านของพวกเขาอย่างเพลง ‘รักรออยู่ไม่ไกล’ Urban Creature เลยชวน Purpeech มาบรรเลงเพลงที่ ‘What The Duck’ บ้านหลังใหม่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นไม่ไกลบ้านจนกลายเป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา พร้อมทั้งคุยถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมหลังย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้

เดินเท้าย่ำสวน นั่งเรือดูงานศิลป์ เรื่องราวในพื้นที่สีเขียวและครีเอทีฟริม ‘คลองบางมด’

แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและมาทำความรู้จักให้มากกว่าเดิม แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ […]

ทำไมซอยแคบถึงเป็นตัวร้ายในการพัฒนาเมือง และเมืองที่จัดการกับความคับแคบให้กลายเป็นประโยชน์

‘ความแคบ’ เป็นคำที่ฟังดูไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ หลายต่อหลายคนเกลียดความแคบจนเกิดเป็นโรคกลัวที่แคบ เพราะใครจะอยากนำตัวเองเข้าไปในที่แสนอึดอัด โดยเฉพาะ ‘ซอยแคบ’ ที่ทั้งเดินเท้าลำบาก รถยนต์เข้ายาก แต่ดันง่ายต่อการหลงทางอย่างที่ Google Maps ก็ช่วยไม่ไหว ทางแคบเหล่านี้เกิดจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว และขาดการจัดการผังเมืองที่ดีจนนำไปสู่ปัญหาซอยขนาดเล็กผุดขึ้นทั่วทั้งเมือง รวมถึงซอยตันซึ่งเกิดจากเอกชน เมื่อดินเริ่มพอกหางหมู ปัญหาอื่นๆ ก็เดินเท้าเรียงตามกันมา แต่ทุกเมืองย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน ในบางครั้งซอยแคบดันกลายเป็นฮีโร่ในการแก้ปัญหาอย่างคาดไม่ถึงทั้งเรื่องความปลอดภัยและมลภาวะ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมองว่าซอยแคบเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ดังนั้นคอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลงเดินสำรวจซอยแคบทั่วโลก เพื่อส่องปัญหาและการจัดการในแต่ละบริบท จนไปถึงด้านสว่างของซอยแคบ ซอยแคบ ซอยตัน กับการเป็นปัญหาเรื้อรัง ‘ผังเมืองกรุงเทพฯ’ คือความโกลาหล ซอยเล็กถนนน้อยหรือตึกพาณิชย์ที่ตั้งติดกับบ้านคน อาจเรียกได้ว่าเราเริ่มผิดตั้งแต่กระดุมเม็ดแรก ซึ่งซอยแคบคือหนึ่งในผลพวงที่ตามมา ทั้งการจราจรที่ติดขัดในซอย ความปลอดภัยในการเดินเท้า ขนส่งสาธารณะที่เข้าไม่ถึง ทำให้รถยนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็น ยังไม่นับรวมความแออัดของชุมชน ลามไปถึงรถพยาบาล รถกู้ภัย หรือรถดับเพลิงที่บางครั้งไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเพราะความคับแคบของถนน ‘ปัญหาเมืองแตก’ เรื้อรังอยู่กับกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน อีกทั้งการคิดแก้ปัญหาโดยการวางผังและรื้อเมืองใหม่ทั้งหมดยิ่งฟังดูเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ตัวอย่างเมืองในต่างประเทศที่เผชิญปัญหาคล้ายๆ กันคือ อิตาลีกับการมีซอยแคบในเขตเมืองเก่า ที่เกิดจากการตัดถนนในสมัยที่ยังไม่มียานพาหนะขนาดใหญ่ แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากสำหรับรถยนต์ในการสัญจรบนทางรถม้าที่คับแคบและถนนไม่เอื้ออำนวย ทำให้บางซอยแคบเสียจนยานพาหนะปัจจุบันไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้จราจรติดขัดอยู่เป็นครั้งคราว แต่จะให้มองเพียงแง่ร้ายคงไม่ได้ เพราะซอยแคบตัวแสบกลับใช้ข้อจำกัดของตัวเองสร้างประโยชน์ให้กับเมืองได้อย่างน่าสนใจในหลายๆ […]

พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

‘AriAround’ แพลตฟอร์มเพื่อชาวอารีย์ ที่เชื่อว่าการเชื่อมโยงระหว่างกันจะทำให้ย่านและพื้นที่รอบๆ ดีขึ้นได้

เมื่อลองพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า ‘ย่านอารีย์’ ผลลัพธ์บนหน้าจอย่อมปรากฏรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารขึ้นเต็มไปหมด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งของเหล่าคนชิกๆ แต่นอกจากจะเป็นย่านคนเก๋แล้ว อารีย์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการที่คนในย่านเองยังไม่รู้ด้วยเช่นกัน ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ คือชาวอารีย์ที่อยากให้ความน่าสนใจเหล่านั้นในย่านได้รับการค้นพบ และให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งผู้อยู่อาศัย มาทำงาน หรือมาท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่าน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนได้เชื่อมโยงกัน โดยเธอได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ สร้าง ‘AriAround’ แพลตฟอร์มสื่อกลางสำหรับเชื่อมคนย่านอารีย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนกับชุมชน เป็นสื่อในการให้ข้อมูลของย่านในเชิงลึก ทั้งมิติประวัติศาสตร์ หรือกิจกรรมที่ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงกับย่านอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่คนในย่านอยากเห็น เพราะคนในย่านมีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ และคนนอกย่านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ย่านได้เติบโต คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองจึงอยากชวนทุกคนจับรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์ ตามไปพูดคุยกับ AriAround ถึงการทำงานของแพลตฟอร์มที่ยกให้คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างย่านให้น่าอยู่ โดยมี AriAround เป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชนให้เข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น เพราะชื่นชอบจึงอยากทำให้ย่านอารีย์ดีกว่าเดิม ปกติแล้วหากจะมีการพัฒนาพื้นที่ใดสักพื้นที่หนึ่ง เรามักคิดว่าคนที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคงต้องเป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด แต่กับ ‘AriAround’ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะความจริงแล้วอรุณีเองไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ดั้งเดิม เพียงแต่เธอมีความสนใจในย่านอารีย์ และเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่น่าจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ “AriAround มีความเป็นมาจากการที่เราชอบย่านนี้ และเราก็อยากทำอะไรบางอย่างกับย่านนี้” อรุณีบอกกับเรา ส่วนความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงย่านของเธอนั้นเกิดจากการที่ได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่างประเทศในระยะหนึ่ง ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชุมชน และการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จนเธอรู้สึกว่าอยากจะเห็นมูฟเมนต์เหล่านั้นเกิดขึ้นที่ประเทศไทยบ้าง  ประกอบกับงาน Bangkok Design Week […]

‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก

หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]

สั่งสมความรู้รับมือโลกที่เปลี่ยนแปลงใน Learning Fest Bangkok 2024 วันที่ 1 – 4 ส.ค. ที่ TK Park และสถานที่ต่างๆ ทั่ว กทม.

เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แม้จะผ่านพ้นช่วงใส่ชุดนักเรียนหรือชุดนักศึกษา ในวันที่ 1 – 4 สิงหาคมนี้ Urban Creature อยากชวนทุกคนสั่งสมขุมพลังความรู้ให้ตัวเองกับ ‘Learning Fest Bangkok 2024’ เทศกาลส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศกาล Learning Fest Bangkok 2024 จัดขึ้นโดยอุทยานการเรียนรู้ TK Park โดยปีนี้จัดในธีม ‘เปลี่ยน.อยู่.คือ – I change, therefore I am’ สะท้อนว่าการเรียนรู้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้กับร่างกายหรือจิตใจตัวเอง หรือในระดับยิ่งใหญ่อย่างสังคม และการเรียนรู้ยังช่วยเพิ่มพูนต้นทุนให้เราพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอด 4 วันของเทศกาล ทาง TK Park เตรียมขบวนกิจกรรมที่มากระตุ้นต่อมความใคร่รู้ ทั้งเวิร์กช็อป การแสดง นิทรรศการ หรืองานเสวนา เช่น TK Chat Walk: Ratchaprasong Time Machine งานทัวร์ตามรอยประวัติศาสตร์ย่านราชประสงค์, TK FORUM […]

The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040

นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนเมือง ในนิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิ.ย. 67 ที่พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ

เรามักได้ยินว่า เมืองเป็นอย่างไร คนที่อยู่อาศัยก็เป็นอย่างนั้น แต่ขณะเดียวกัน คนเองก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงเมืองได้ เห็นได้จากกระแสสังคมที่ผ่านๆ มา ที่จุดประกายให้เมืองต้องปรับตัวตาม ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และตัวเราเองในฐานะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้จะมีส่วนเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ อย่างไร ตามไปสำรวจและหาคำตอบกันได้ที่ นิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิถุนายน 2567 ที่อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (MRT ศูนย์สิริกิติ์) เวลา 09.00 – 21.00 น. ภายในงานจะมีนิทรรศการมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เมืองดีขึ้น ตั้งแต่คนที่ช่วยกันดูแลเมืองคนละไม้คนละมือ รายงานปัญหาผ่าน Traffy Fondue, แยกขยะในครัวเรือน, ไม่กีดขวางทางเท้า, ช่วยกันรักษาความสะอาดให้เมือง ฯลฯ หรือการทำหน้าที่เป็นภาคีเครือข่าย ที่นำความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ แพสชัน มาช่วยพัฒนาเมืองผ่านโปรเจกต์ต่างๆ ไปจนถึงการเข้าร่วมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่และบุคลากรของ กทม. ที่ทำงานอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ใช้เทคโนโลยี […]

1 2 3 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.