ศรีแสงดาว แบรนด์ข้าวรางวัลระดับโลกที่กู้ชีพข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยี

ข้าวสวยขาวๆ ร้อนๆ หอม นุ่ม ทำให้นึกถึงตอนเด็กที่แม่ชอบสอนว่า “กินข้าวอย่าให้เหลือนะ สงสารชาวนา” และหลายครั้งที่เรามักได้ยินประโยค “ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ” ผ่านจอทีวี ซึ่งเป็นวาทกรรมที่พร่ำบอกว่า เกิดเป็นชาวนาต้องอดทนหลังขดหลังแข็ง ชวนตั้งคำถามว่า “ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ได้ไหม”

‘ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน’ วิธีแก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรฉบับ ธ.ก.ส.

“น่าสนใจนะเนี่ย” ระหว่างคุยกับ คุณประทีป ภูลา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสี่แยกอินโดจีน เราพูดประโยคข้างต้นไปหลายครั้ง เพราะว้าวกับสิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของลูกค้าเกษตรกร ว้าวอย่างไร (รู้หน่า ว่าคำถามนี้ผุดขึ้นมา) 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วยการพักไปซูเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้าน แล้วเปลี่ยนมาสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน ที่เปิดประตูเดินออกมาแค่สี่ห้าก้าวก็เจอผักสวนครัวตามรั้วมาเด็ด ผัด ต้ม กินได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อผักสักบาท 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ชำระหนี้ระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนจากทำไร่เชิงเดี่ยวมาเป็นไร่สวนผสม และเพิ่มมูลค่าการขายโดยให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เกษตรกรไม่รู้มาก่อน หลายคนรู้คร่าวๆ ว่า ธ.ก.ส. มีภาพลักษณ์แข็งแกร่งว่าเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร แต่ยังไม่รู้วิธีคิดแก้ปัญหาว่าลงมือทำอย่างไร วันนี้จึงชวนรู้จักแนวทางสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูเกษตรกรของ ธ.ก.ส. ที่ไม่ควรพลาดแม้แต่บรรทัดเดียว 01 ปัญหากวนใจเกษตรกร ‘หนี้’ คือสิ่งที่คุณประทีปบอกว่ากวนใจเกษตรมากที่สุด แต่บางครั้งหนี้ที่เกิดขึ้นกลับเกิดจากเรื่องควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ภาพรวมหนี้สินจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่คุณประทีปเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาบางกระทุ่ม ชี้จำนวนตัวเลขจากสมาชิกในอำเภอกว่า 5,000 คน มีหนี้สินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหามาจากภัยธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง […]

‘บ้านหมากม่วง’ จากร้านขายมะม่วงข้างทางปากช่องสู่ Destination ของคนรักมะม่วง

“เรียนจบมาทำอะไรเหรอ กลับมาเป็นแม่ค้าข้างทางนี่นะ” คือประโยคคำถามเชิงเสียดสีที่ วราภรณ์ มงคลแพทย์ หรือแนน ถูกถามอยู่เสมอเมื่อคนแถวบ้านรู้ว่าหลังเรียนจบเธอจะกลับมาเปิดร้านขายมะม่วง แต่ความฝันของเธอมีน้ำหนักมากกว่าคำดูถูก เธอค่อยๆ เปิดร้านมะม่วงเล็กๆ ด้วยผลผลิตจากฟาร์มของคุณพ่อที่เธอมั่นใจในรสชาติและคุณภาพ เพราะคุณพ่อตั้งใจผลิตให้คนอื่นได้กินมะม่วงรสชาติดี ด้วยการวิธีดูแลเสมือนมะม่วงทุกลูกเป็นคนในครอบครัว จากร้านขายมะม่วงข้างทางในวันนั้น เธอได้ค่อยๆ เปลี่ยนมันเป็นสถานที่เพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้มะม่วงของคุณพ่อ เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจขายส่งมะม่วงสู่ธุรกิจค้าปลีก จนกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่า Mango Lover ประจำปากช่องที่ต้องแวะมากินสักครั้งในชีวิต ภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อว่า ‘บ้านหมากม่วง’ จุดเริ่มต้นแห่งรสชาติหอมหวาน ตั้งแต่เด็กๆ แนนเห็นคุณพ่อคุณแม่ลำบากบนเส้นทางอาชีพชาวสวนมะม่วง เธอเห็นตั้งแต่ครอบครัวไม่มีอะไร ตอนเธออายุประมาณ 5 ขวบ ที่บ้านขายมะม่วงอยู่ข้างทาง หลังจากนั้นครอบครัวเล็กก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นด้วยอาชีพนี้ คุณพ่อจึงกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และเธอก็เริ่มคิดว่า คำว่า ‘เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง’ นี้แหละเป็นสิ่งที่เธอหลงรัก แม้ว่าคุณพ่อจะประสบความสำเร็จมากพอสมควร แต่เธอก็คิดคำนึงว่า ไม่รู้ว่าในอนาคตมันจะเป็นอย่างไร ต่อไปอีก 10 20 ปีข้างหน้าเราจะยังมีมะม่วงของพ่อให้กินอยู่หรือเปล่า เธอจึงตัดสินใจรักษาสวนมะม่วงของคุณพ่อด้วยวิธีของเธอเอง กลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการตัดสินใจไปเรียนสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร เพื่อที่จะกลับบ้านมาพัฒนาสวนของคุณพ่อต่อ “ช่วยเล่าเรื่องความผูกพันระหว่างแนนกับมะม่วงให้เราฟังหน่อย” เราย่างเท้าก้าวแรกเข้าสวนมะม่วงด้วยคำถามถึงเด็กหญิงที่โตเพราะมะม่วง และโตมากับมะม่วง “ถ้าพูดถึงความผูกพันไม่รู้จะต้องพูดยังไง แต่คงต้องเริ่มจากการบอกว่า แนนมีวันนี้ได้เพราะมีคุณพ่อ คุณแม่ […]

FYI

มารู้จักองค์กรลับ ‘เซ็นทรัล ทำ’ โครงการเพื่อสังคมที่เน้น ‘ทำ’ มากกว่าพูด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลพวงมาจากระบบทุนนิยม ซึ่งสร้างช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างกันมาก ระหว่างคนรวยที่รวยเอา ส่วนคนจนก็จนลงและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่เรานำมาใช้ก็ร่อยหรอลงไปทุกที รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่สร้างมลพิษมาทำร้ายโลกมากขึ้นทุกวัน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.