EAT

‘ขนไก่’ ขยะเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมอาหาร สู่ของกินทางเลือกใหม่ให้มนุษย์ในอนาคต

เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเราได้มีโอกาสดูหนังต่างประเทศเรื่องหนึ่งที่เล่าถึงโลกอนาคตที่กำลังเผชิญวิกฤตประชากรล้นโลก และด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทำให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายและบังคับให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้เพียงแค่คนเดียว

EAT

เผ็ดเผ็ด รสชาติชีวิตแบบจัดจ้านของลูกอีสาน ที่ก่อเกิดร้านอาหารสไตล์นครพนมในเมืองกรุง

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ขับเคลื่อนพลังชีวิตด้วยรสชาติความแซ่บนัวของปลาร้า และเป็นแฟนตัวยงของร้านส้มตำทั่วกรุง เราเชื่อว่าคุณต้องเคยได้ยินชื่อร้าน ‘เผ็ดเผ็ด’ อย่างแน่นอน เผ็ดเผ็ดคือร้านอาหารอีสานที่ดึงดูดเราด้วยภาพแซ่บๆ ของส้มตำ ทำให้เราติดใจเพราะรสชาติ และตื่นเต้นที่ได้เห็นการนำเสนอความเป็นอีสานผ่านอาหารอย่างสร้างสรรค์ ร้านนี้ไม่ได้มีดีแค่เผ็ดตามชื่อ แต่ยังทำให้เมนูในร้านอาหารอีสานสนุกและมีตัวตนชัดเจนในแบบของตัวเอง ถึงแม้จะเป็นน้องใหม่ในวงการอาหาร แต่ปัจจุบันเผ็ดเผ็ดขยับขยายไปถึง 5 สาขา และทั้ง 5 สาขาขายอาหารที่มีเมนูและรสชาติที่ต่างกันไปตามคาแรกเตอร์ที่เจ้าของต้องการทดลองอะไรใหม่ๆ เราจะพาไปฟังเรื่องราวการเสาะหาวัตถุดิบและความคิดสร้างสรรค์ในการทำอาหาร ผ่านคำบอกเล่าของ ต้อม-ณัฐพงศ์ แซ่หู เจ้าของร้านชาวนครพนมที่เติบโตมากับวัฒนธรรมลูกอีสานขนานแท้ ผู้นำอาหารอีสานรสมือแม่มานำเสนอให้คนกรุงติดใจและคนอีสานกินทีไรก็นึกถึงบ้าน อาหารที่เกิดจากความคิดถึงบ้าน ต้อมบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาอยากทำร้านอาหารอีสานขึ้นมาคือความคิดถึงบ้านและอาหารรสมือแม่ หากให้อธิบายว่าอาหารอีสานแบบเผ็ดเผ็ดมีรสชาติเป็นแบบไหน ก็คงเป็นอาหารรสมือแม่ที่เขากินมาตั้งแต่เด็กๆ ในความทรงจำของเขาตั้งแต่เด็กจนโต แม่เป็นคนที่ทำอาหารเก่งและมีสูตรอาหารอร่อยๆ เป็นของตัวเอง ตอนเป็นเด็กเขาจึงกินได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะใส่ผักหรือใส่พริกก็กินได้โดยไม่ต้องแบ่งแยกจานเด็กหรือจานผู้ใหญ่ แถมยังได้เรียนรู้ทักษะการทำอาหารและสูตรต่างๆ จากแม่ครัวชั้นครูที่อยู่ในบ้าน “ผมเป็นคนนครพนมที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เวลาคิดถึงบ้าน อยากกินอาหารอีสาน ผมก็อยากกินอาหารรสมือแม่ อยากกินอะไรที่เหมือนเคยกินที่บ้าน “ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ มีร้านอาหารอีสานเยอะมาก ถ้าอยากกินอาหารอีสานก็หาได้ไม่ยากเลย แต่ที่ขายกันทั่วไปรสชาติมันไม่เหมือนกับที่บ้านเรากินกัน มันไม่ได้รสชาติเพี้ยนนะ แต่เขาใช้วัตถุดิบไม่เหมือนที่บ้านเรา และเราชอบแบบที่เราเคยกินมาตั้งแต่เด็กมากกว่า “พอคิดจะทำร้านเราเลยอยากเอาสูตรอาหารอีสานของแม่ทำขาย เป็นสูตรที่เขาคิดเอง ปรุงเอง และเราเอามาประยุกต์ต่อ ถึงแม้จะเอาวัตถุดิบจากนครพนมมาใช้ แต่ไปถึงแล้วคงไม่เจออาหารอีสานรสชาติแบบที่เผ็ดเผ็ดทำแน่นอน” ก่อนจะเป็นเผ็ดเผ็ดสาขาแรกในซอยพหลฯ 8 […]

EAT

กินอย่างไร ให้เป็นมิตรต่อท้องทะเล

ในขณะที่เรากังวลว่าอาหารทะเลที่ซื้อมาจากตลาดจะสะอาดปลอดภัยดีหรือไม่ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 รอบนี้ เราได้รู้จักกับ ‘Fisherfolk’ หรือ ‘ร้านคนจับปลา’ ร้านค้าของกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันก่อตั้งกิจการขายปลาและอาหารทะเลของตนเอง ซึ่งเรียกความมั่นใจให้เราได้ว่าสะอาด ปลอดภัยแน่นอน เมื่อมีโอกาสพวกเขาจึงพากันมาเปิดตลาดที่งานเทศกาลอาหารดี(ย์) ประจำปี ‘มหาส้มมุทร’ ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อซอย 3 เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของร้านคนจับปลาไม่เพียงแค่ขายอาหารทะเลสด สะอาด ปลอดสารเคมีในกระบวนการแช่แข็งหรือแปรรูปเท่านั้น แต่สินค้าในร้านสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปว่าใช้เครื่องมืออะไรในการจับ มีวิธีเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้มาอย่างไร อีกทั้งเบื้องหลังของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ทำประมงอย่างเดียว แต่ยังสวมบทบาทเป็นนักอนุรักษ์และฟื้นฟูท้องทะเลไทยควบคู่ไปด้วย “ทุกหนึ่งปีนอกจากจะปันหุ้นให้สมาชิกในกลุ่มแล้ว เราจะแบ่งกำไรส่วนหนึ่งกลับไปฟื้นฟูดูแลทะเลในรูปแบบของบ้านปลา ซึ่งหมู่บ้านเราจะทำกันปีละ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะทิ้งลงทะเลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้” คำบอกเล่าของคุณลุงจากร้านคนจับปลา จ.ประจวบคีรีขันธ์  และเนื่องจากร้านคนจับปลาเป็นศูนย์กลางในการรับและกระจายสินค้าที่ส่งตรงมาจากกลุ่มประมง จึงมีสมาชิกในเครือข่ายหลายจังหวัด หนึ่งในนั้นคือหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี “หมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ของเรา นอกจากไม่ใช้เครื่องมือที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้ว ในทุกๆ ปีคนในหมู่บ้านจะรวมตัวกันจัดเตรียมอุปกรณ์บ้านปลา เพื่อทำที่อยู่อาศัยให้สัตว์น้ำ ก่อนขนใส่เรือไปวางตามจุดต่างๆ ในทะเลใกล้ๆ กับแนวปะการังเทียม” คุณป้าจากหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์เล่าให้เราฟัง การได้รู้จักและพูดคุยกับสมาชิกร้านคนจับปลาวันนั้น นำพาให้เรามานั่งอยู่กลางวงสนทนาร่วมพูดคุยเรื่องระบบอาหารยั่งยืน รู้ที่มา เข้าใจเส้นทางอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค กับ ‘พี่แท็ป-วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี’ […]

Yindii ปรุงของเหลือให้มีมูลค่า เปลี่ยนโลกที่ดีกว่าด้วยการกิน l City Builder

ในวันที่ต้องอยู่บ้านมากขึ้น ทางเลือกในการกินอาจมีไม่มากนัก แต่คงดีไม่น้อยถ้าเราได้เลือกที่จะกินได้ตามใจแล้วยังได้ช่วยโลกไปด้วย

Food waste คือหนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อน โดยคิดเป็น 8% ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งจะตกค้างอยู่กับเรานานถึง 10 ปี และนี่คือปัญหาที่สร้างผลกระทบสู่มนุษย์โลกทุกคนเป็นวงกว้าง

City Builder จึงหยิบยก ‘Yindii’ เบื้องหลังคนสร้างสรรค์ที่ใช้นวัตกรรมมาแก้ปัญหาเมืองในประเด็นเรื่องการจัดการ Food waste โดยการนำอาหารที่กำลังจะหมดอายุ จากร้านอาหารหรือซูเปอร์มาร์เก็ต มาปรุงสุกและจัดส่งในราคาที่จับต้องได้ เราจึงชวนมาติดตามภารกิจที่จะเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนกับอาหารที่ดูเหมือนจะไร้ค่าให้กลายร่างเป็นสิ่งมีคุณค่าได้อย่างไรตามไปดูกัน!

EAT

‘ผักพื้นบ้าน’ จากอีสาน กินกับหยังกะแซ่บ

‘ผักพื้นบ้าน’ คือพืชที่เกิดขึ้นในเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยสามารถนำมาประกอบอาหารกินได้ จากข้อมูลที่ นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย ได้บอกไว้ว่า ประเทศไทยมีผักพื้นบ้านมากกว่า 300 ชนิด ส่วนใหญ่จะขึ้นเองตามธรรมชาติ

EAT

เทศกาลริมน้ำบางกอก AUG 5

เชิญชวนทุกคนร่วมงาน ‘เทศกาลริมน้ำบางกอก From Strangers to Neighbours’ มารู้จักเพื่อนบ้านชุมชนริมน้ำบางกอกที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ตกหลุมรักกับวัฒนธรรม ประเพณี และอาหารคาวหวานต้นตำรับก้นครัวจากชุมชน แล้วมาค้นหาความหมายของคำว่าการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ไม่ต้องใช้บัตร ไม่ต้องสำรองที่นั่ง แค่ใช้สองเท้ากับหนึ่งหัวใจก็เข้าร่วมงานได้ ประชาคมบางลำพู ร่วมกับ เครือข่าย ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน ‘เทศกาลริมน้ำบางกอก From Strangers to Neighbours’ มาร่วมใกล้ชิดกับชุมชนประวัติศาสตร์ริมน้ำเจ้าพระยาผ่านอาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน สิ่งประดิษฐ์ รวมทั้งกิจกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หาดูได้ยาก พร้อมพบกับการเสวนา หัวข้อ ‘พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรให้เป็นธรรมและยั่งยืน’ จากตัวแทนชุมชนริมน้ำที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางเลียบบนแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคมนี้ ณ พิพิธบางลำพู ตั้งแต่เวลา 11.00 – 19.30 น. โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน ให้เกียรติเป็นประธานกิตติมศักดิ์ มารู้จักเพื่อนบ้านชุมชนริมน้ำบางกอก ที่คนกรุงเทพฯ อย่างคุณจะตกหลุมรัก แล้วเรามาพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาไปด้วยกัน Date : วันเสาร์ที่ 5 […]

EAT

รีวิวเต็นท์ร้อนตอนเที่ยง : สาทร

เราไปสำรวจ 2 เต๊นท์ร้อนที่เค้าว่าเด็ดที่สุดในกรุงเทพมา 1 เต๊นท์ที่สาทร และ 2 เต๊นท์ที่อโศก เอาของเด็ดในกรุงเทพที่มารวมตัวภายใต้เต๊นท์เดียวกันมาให้ดูกัน

EAT

รวมเต็นท์ร้อนตอนเที่ยง : อโศก

ยังว่ากันเรื่องเต๊นท์ร้อนอยู่ แต่คราวนี้เราย้ายมาดูย่านออฟฟิศที่หนาแน่นที่สุดอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพบนเส้นสุขุมวิท จะเป็นที่ไหนไปไม่ได้ นอกจาก “อโศก”

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.