จับตา สว. โหวต ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ในวาระ 2 และ 3 หลังสภาให้ไฟเขียวในวาระ 1 พรุ่งนี้ 18 มิ.ย. 67 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป

หนึ่งประเด็นทางการเมืองที่น่าจับตามองคงหนีไม่พ้น ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา หลังผ่านร่างกฎหมายในสภาไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ด้วยคะแนน 147 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ถือเป็นก้าวสำคัญของความเท่าเทียม หลังจากมีการถกเถียงและเรียกร้องกันมาอย่างยาวนาน โดยจุดสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การแก้ไขให้บุคคลสองคนทุกเพศ รวมถึงคนที่มีเพศเดียวกัน สามารถสมรส จัดการทรัพย์สิน และรับบุตรบุญธรรมได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในกรณีของการรับบุตรบุญธรรม การกำหนดอายุและบริบทของสังคมยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ในสภา จึงเป็นเรื่องที่เหล่านักออกกฎหมายต้องแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมมากกว่าเดิมแบบไม่มีช่องว่าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าหลังจากที่มีการโหวตผ่านโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ไปก่อนหน้า แต่ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ 18 มิถุนายน ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุมโดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) และจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สว.ชุดรักษาการ โดยมีเสียงเห็นชอบทั้งฉบับลงมติชี้ขาดในที่ประชุม ถึงจะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ แต่หากไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายจะถูกยับยั้งและส่งกลับไปยังสภาผู้แทนฯ ก่อนร่างกฎหมายจะถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้หลังพ้นไปแล้ว 180 วัน หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน นี่จะเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของทุกคนต้อนรับเดือน Pride Month อย่างแน่นอน เพราะถือเป็นอีกหนึ่งขั้นในระยะทางยาวนานกว่า 12 […]

ไต้หวันขยายสิทธิให้คู่รัก LGBTQ+ รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

เมื่อพูดถึงการเปิดกว้างเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ‘ไต้หวัน’ น่าจะเป็นประเทศที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นประเทศแรกที่ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิทธิที่ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันได้หลังจากแต่งงานยังไม่เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชายหญิง เพราะกฎหมายยังห้ามไม่ให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไต้หวันพูดเรื่องความเสมอภาคได้อย่างไม่เต็มปาก แต่ล่าสุดไต้หวันได้ผลักดันการแก้กฎหมายที่ยังละเมิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศในทุกๆ ด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในเอเชีย ‘ไต้หวัน’ ประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เดิมการแต่งงานของเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทางด้านกฎหมายในไต้หวัน จนกระทั่งปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาและตัดสินว่ากฎหมายข้อนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ รัฐสภาไต้หวันจึงต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ทำให้ในปี 2562 รัฐสภาไต้หวันได้ผ่านร่างกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ไต้หวันก็สามารถเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  แต่งงานกับชาวต่างชาติได้ถ้าประเทศคู่รักรองรับสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียมทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิเกือบเท่าเทียมคู่รักชายหญิง แต่พวกเขายังถูกจำกัดสิทธิเรื่อง ‘การแต่งงานกับชาวต่างชาติ’ และ ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ที่ยังคงจำกัดสิทธิบางอย่างอยู่ เพราะตามกฎหมายเดิม ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันจะแต่งงานกับชาวต่างชาติได้ก็ต่อเมื่อ คู่รักมาจากประเทศที่มีกฎหมายรองรับสมรสเท่าเทียมเท่านั้น เช่น ถ้าคู่รักเป็นชาวไทยก็จะไม่สามารถแต่งงานกันได้ เพราะประเทศไทยยังไม่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 การสมรสเท่าเทียมของไต้หวันก็มีความเท่าเทียมมากขึ้น หลังจากกฎหมายเพิ่มสิทธิรองรับการแต่งงานคู่รัก […]

Where Are We Now? 31 ประเทศเริ่ม ‘สมรสเท่าเทียม’ นานแล้ว ส่วน ‘ไทย’ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังไปต่อ

‘มิถุนายน’ ของทุกปีคือเดือน ‘Pride Month’ ที่ทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ เห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญรณรงค์ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงการเดินขบวนพาเหรดไพรด์ครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมอย่างคึกคัก ทว่า หากประเทศไทยอยากให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในมูฟเมนต์ที่ควรเกิดขึ้นก็คือการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะ ‘กฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน’ หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองคนที่มีเพศเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิทางความรักและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง อย่างไรก็ตาม กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นประเด็นถกเถียงที่หลายประเทศทั่วโลกพิจารณากันมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันมีประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 31 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนทั้งหมดนี้ หากแบ่งตามทวีป มีประเทศทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 6 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 4 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย 2 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ […]

ฉลอง ‘นฤมิตไพรด์’ เรียกร้องเราทุกเพศควรเท่าเทียมหรือยัง? l Urban Soundcheck

LGBTQIA+ ก็เป็นคนเหมือนกัน พวกเราไม่ใช่ตัวตลกของสังคม Sex Work is Work การทำงานบริการทางเพศคืองาน ร่างกายเราเป็นของเรา สมรสเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน อายุเท่าไหร่ เชื้อชาติใด ทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีในการเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน แล้วเหตุใดทำไมยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ยังได้รับสิทธิไม่เท่าคนอื่น เนื่องใน Pride Month คอลัมน์ Urban Soundcheck จึงขอพาทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ผ่านเสียงของผู้คนที่เข้าร่วม Bangkok Pride Parade ‘นฤมิตไพรด์’ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา พวกเขาออกมาร่วมเดินขบวนเพราะอะไร ต้องการส่งเสียงเรียกร้องถึงความไม่เท่าเทียมใดในสังคม นี่อาจถึงเวลาที่ประเทศไทยจะเป็นเมืองสีรุ้งจริงๆ ได้เสียที #UrbanCreature #UrbanSoundcheck #PrideParade #Pride #PrideMonth #LGBTQ #สมรสเท่าเทียม #SexWorker 

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.