‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีสได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ รวมถึงเพิ่มเลนจักรยานทั่วเมือง […]

‘The Green Skyline Project’ พื้นที่สาธารณะจากพื้นที่ว่างเลียบชายหาด ที่สร้างสีสันอันโดดเด่นบนเกาะ Hengqin

พื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมักเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น พบปะพูดคุย ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือกระทั่งเป็นสถานที่ที่หลายครอบครัวมาใช้เวลาด้วยกันในวันพักผ่อนได้ จากโจทย์นี้เอง นำมาซึ่งโครงการที่น่าสนใจอย่าง ‘The Green Skyline Project’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเลียบชายหาดและไม่ได้มีการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีสันสดใสและมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ บนเกาะ Hengqin ประเทศจีน Green Skyline ออกแบบโดยบริษัท 100 Architects จากเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการดีไซน์สถานที่ให้มีองค์ประกอบน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยสีฟ้าและสีเหลือง รวมถึงมีการใช้แถบไฟ LED ส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้คนที่มาเดินเล่นในพื้นที่ และได้รับพลังงานบวกจากการทำกิจกรรมที่นี่ด้วย และอีกหนึ่งไฮไลต์ของ Green Skyline คือจุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่รวมอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ เช่น จุดตั้งกล้องดูดาว พื้นที่พักผ่อน โซนสนามเด็กเล่น และด้วยความที่ทำเลอยู่ติดกับทะเล ทำให้ผู้ใช้พื้นที่มองเห็นวิวของมาเก๊าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ นอกจากนี้ Green Skyline ก็ยังทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ บนเกาะ เนื่องจากตัวพื้นที่ได้รับการออกแบบให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลา เพราะเปิดใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน Sources :100 Architects | tinyurl.com/37hxpyyjDesignboom | tinyurl.com/c93afpde

Kami-Ikebukuro Community Center รีโนเวตตึกสำนักงานเก่าอายุ 30 ปีในย่านคามิอิเคบุคุโระ ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชน

ถัดจากย่านอิเคบุคุโระที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่ไกล คือที่ตั้งของย่านคามิอิเคบุคุโระ ที่แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่ยังมีความเป็นชุมชนอยู่สูงไม่แพ้กัน เพราะประกอบไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักอาศัยปะปนกันไป ‘Kami-Ikebukuro Community Center’ คือพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชนแห่งใหม่ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงเอาอาคารสำนักงาน 2 ชั้นอายุกว่า 30 ปีในย่านที่เคยถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์มารีโนเวตด้วยฝีมือของสตูดิโอออกแบบ mtthw mtthw เริ่มต้นรีโนเวตจากการรื้อผนังกั้นระหว่างห้องภายในอาคารออก เพื่อสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่มีด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้งสองด้าน แบ่งพื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารให้กลายเป็นห้องสมุดที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความรู้สู่คนในชุมชน ส่วนชั้น 1 มีการออกแบบโคมไฟและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ให้เคลื่อนย้ายได้ เพื่อรองรับการใช้บริการที่หลากหลายของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดนิทรรศการ การฟังบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่อ่านหนังสือ ทำงาน รวมไปถึงการนัดรวมตัวของผู้คน อีกทั้งบริเวณผนังและฉากกั้นห้องยังใช้กระจกวินเทจที่มีลวดลายต่างๆ ที่โดยปกติจะพบในอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยโชวะมาใช้ในการตกแต่ง เพื่อให้ความรู้สึกคุ้นเคยและหวนรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในอดีต ทำให้ Kami-Ikebukuro Community Center แห่งนี้เปรียบเสมือน ‘Medium’ ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมคนในชุมชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เชื่อมกิจกรรมชุมชนเข้ากับวิวทิวทัศน์ของผู้คนในเมือง เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน ตามความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบที่หวังว่าพื้นที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่รวมผู้คน สิ่งของ และกิจกรรมต่างๆ ไว้ได้ในที่สุด Source : ArchDaily | t.ly/4PCri

กลับมาได้หรือเปล่าชาวปารีส ถนนฌ็องเซลิเซสุดหรูปิดถนนจัดปิกนิก เรียกชาวเมืองให้กลับมาเยือนอีกครั้ง

ฌ็องเซลิเซ (Champs-Élysées) คือถนนเส้นใหญ่ใจกลางเมืองปารีสที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในถนนที่งดงามที่สุดของเมือง ถึงอย่างไรก็ตาม ชาวปารีสกลับไม่ค่อยนิยมมาเมืองนี้กันเท่าไหร่แล้วในพักหลัง เพราะถนนแห่งนี้เรียงรายด้วยช็อป Hi-end แบรนด์หรูที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักมาเดินกันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเรียกร้องให้ชาวปารีสกลับมา คณะกรรมการฌ็องเซลิเซ (Champs-Élysées Committee) เลยปิดถนนขนาด 8 เลน จัดอีเวนต์ให้คนปารีสมานั่งปิกนิกกันแบบชิลๆ โดยไม่เสียตังค์ในงาน ‘Le Grand Pique-Nique’ ในวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จากชาวปารีสที่สมัครเข้าร่วมงานมากกว่า 273,000 คน มีผู้โชคดีจากการสุ่ม 4,400 คนที่ได้มานั่งปิกนิกบนผ้าปูลายตารางหมากรุกสีแดงขาวยาวกว่า 216 เมตรบนถนนฌ็องเซลิเซ นอกจากจะได้นั่งซึมซับบรรยากาศอันสวยงาม ดูวิวประตูชัยฝรั่งเศส (Arc de Triomphe) ไปพลางๆ ชาวปารีสผู้โชคดียังได้ตะกร้าที่อัดแน่นด้วยอาหารจากเชฟท้องถิ่นชั้นนำมากินให้อิ่มหนำสำราญกันแบบฟรีๆ ด้วยความที่ถนนฌ็องเซลิเซเป็นถนนชื่อดังที่มีคนมาเยี่ยมเยือนมากกว่า 1.3 ล้านคนต่อเดือน ทว่าความนิยมนั้นส่งผลให้ราคาที่ดินและค่าเช่าที่บริเวณนี้พุ่งสูงเสียดฟ้า แค่ปีที่แล้วค่าเช่าที่ก็ดีดตัวสูงจากปีที่ผ่านมาถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลนี้ ร้านค้าอิสระขนาดเล็กอย่างร้านหนังสือ ร้านแผ่นเสียง ร้านขายเสื้อผ้า หรือธุรกิจที่ไม่ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำจึงทยอยหายไป แล้วแทนที่ใหม่ด้วยช็อปของแบรนด์หรูที่เน้นดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้ร่ำรวย ความเศร้าคือในเดือนมิถุนายนนี้ โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ UGC […]

Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

A Thousand Plateaus Observatory หอดูดาวสาธารณะรูปคลื่นในเกาหลีใต้ ที่จะทำให้การดูดาวพิเศษกว่าที่ไหนๆ

เวลาเราพูดถึงหอดูดาว หลายคนคงนึกถึงหอคอยที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวใกล้ทะเล หรือไม่ก็เป็นหอดูดาวจำลองที่สร้างขึ้นภายในเมืองให้คนได้เข้าไปใช้เวลาดูวีดิทัศน์ที่บอกเล่าตำแหน่งกลุ่มดาวต่างๆ แต่สำหรับ ‘A Thousand Plateaus Observatory’ หอดูดาวสาธารณะในเมืองชุนชอน ประเทศเกาหลีใต้ ขนาด 778 ตารางเมตร ที่ออกแบบโดย Emer-sys Design Lab ในปี 2022 กลับแตกต่างออกไป เพราะพื้นที่แห่งนี้ตั้งเป้าสร้างประสบการณ์การดูดาวที่พิเศษตั้งแต่เหยียบพื้นที่บริเวณหอดูดาว ด้วยทางเดินเท้าและพื้นที่เปิดโล่งรอบๆ สถานที่ ที่จะทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกดึงเข้าสู่หอดูดาวอย่างเป็นธรรมชาติ จากนั้นบันไดที่คดเคี้ยวรอบๆ หอดูดาวจะพาเราขึ้นไปยังพื้นที่ด้านบน ที่ถูกออกแบบมาในลักษณะที่ยื่นออกไปทางทะเลสาบชุนชอน และมีมุมมองแบบเปิดโล่งบริเวณด้านบน เพื่อให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้อย่างเหมาะสมในทุกทิศทาง นอกจากนี้ ตัวผนังของหอดูดาวแห่งนี้ยังสร้างขึ้นจากแผงอะลูมิเนียมโค้ง ให้ความรู้สึกเหมือนคลื่นทะเลที่เรียงร้อยต่อกัน และในแต่ละคลื่นยังประกอบด้วยรูพรุนซึ่งมีลักษณะคล้ายหยดน้ำจำนวนมาก ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 เซนติเมตร ถึง 3 เซนติเมตร ให้ความรู้สึกเหมือนฟองอากาศนับพันที่แทรกตัวอยู่ระหว่างเกลียวคลื่น สะท้อนภาพสัญลักษณ์ของสถานที่ที่นุ่มนวลแต่แฝงความแข็งแกร่งของริมทะเลสาบชุนชอน ทั้งยังมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้ผู้มาเยือนระหว่างการเดินขึ้นลงหอดูดาวแห่งนี้ เพราะการมองทิวทัศน์รอบทะเลสาบผ่านกรอบเล็กๆ ในแต่ละขั้นของบันไดจะทำให้คุณรู้สึกราวกับกำลังดูภาพวิวท้องทะเลบนภาพวาดในพิพิธภัณฑ์ที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละวัน Sources : ArchDaily | t.ly/sE4FX​​Emer-sys | t.ly/ow-PPParametric Architecture | t.ly/4le-q

เปิดแมปสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่เกินร้อยไร่ ทำกิจกรรมได้ทุกรูปแบบ

‘สวนสาธารณะ’ หรือ ‘พื้นที่สีเขียว’ คือเกณฑ์สำคัญที่บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับเมืองนั้นๆ ได้มากมาย ตั้งแต่รัฐบาลให้ความสำคัญกับธรรมชาติแค่ไหน คนเมืองมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือไม่ ไปจนถึงคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ที่ผ่านมากรุงเทพฯ มีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะขนาดเล็กที่ประชาชนเข้าถึงง่ายให้มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีไม่น้อย แต่ขณะเดียวกัน เราเองก็มองว่าสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นป่าในเมือง มีสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ จนผู้คนสามารถไปใช้งานได้เกินครึ่งวันก็เป็นพื้นที่ที่เมืองควรมีไม่แพ้กัน วันหยุดนี้ คอลัมน์ Urban Guide ขอแจกแผนที่รวมสวนสาธารณะขนาดใหญ่เกินร้อยไร่มาให้ทุกคนปักหมุดไว้ไปตามเก็บให้ครบ รับรองว่าแต่ละแห่งเขียวสะใจ มีกิจกรรมมากมายให้ทำ แถมเดินเล่นกันสนุกแน่นอน สวนสาธารณะศูนย์กีฬาบึงหนองบอนเนื้อที่ 644 ไร่ สวนสาธารณะศูนย์กีฬาบึงหนองบอนเป็นสวนระดับเมืองที่มีพื้นที่มากกว่า 500 ไร่ขึ้นไป มีลานกว้างสำหรับจัดงานใหญ่ๆ และมีกิจกรรมในสวนที่หลากหลายและเน้นหนักไปทางด้าน Active Recreation ที่นี่จัดเป็นสวนหย่อมรอบบริเวณบึงขนาดใหญ่ สำหรับกิจกรรมออกกำลังทางน้ำ เช่น เรือใบ พายคายัก พายซัปบอร์ด วินด์เซิร์ฟ เป็นต้น ใครที่เล่นไม่เป็นก็ไม่ต้องกังวล เพราะถ้าสมัครสมาชิกรายปีแล้วจะมีการสอนให้ด้วย ส่วนใหญ่ต้นไม้ในสวนเป็นไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความร่มรื่น ไม่ต้องกลัวร้อน แถมยังมีเส้นทางจักรยานให้ปั่นกันยาวๆ เหมาะกับการไปอยู่เป็นวันๆ เพราะมีอะไรให้ทำมากมายแน่นอน เวลาทำการ : วันจันทร์-เสาร์ เวลา 08.30 – 19.30 […]

The Old Men and The Park สูงวัยในสวนสาธารณะ

ในเมืองใหญ่แห่งนี้มีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มาพบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างน้อย จะมีก็แต่สวนสาธารณะที่ดูเข้าถึงง่ายหน่อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักออกมาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง รำมวยจีน เต้นลีลาศ หรือแอโรบิก บางคนมาเป็นประจำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนเกษียณจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 10 – 20 ปี แต่หากพูดถึงการเดินทางมาสวนสาธารณะ เราได้พูดคุยกับผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มาสวนเป็นประจำ ได้รับคำตอบว่า เพราะสวนอยู่ใกล้บ้านมากๆ ทำให้พวกเขาเดินเท้ามาได้เลย ถึงอย่างนั้นกับบางคนก็ใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ยอมเดินทางมา เพราะพื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ไม่ได้มีตัวเลือกมากมายขนาดนั้น เราคิดว่า ถ้ามีสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่านี้ก็คงดี เพราะนอกจากส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่พื้นที่การออกกำลังกายและนัดหมายพบปะเพื่อนฝูงแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นและวัยทำงานได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แถมยังเป็นหนทางปลีกตัวออกจากสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วมาผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติ หากไปดูในต่างประเทศ ทุกชุมชนล้วนมีสวนสาธารณะขนาดย่อมตั้งอยู่ ทำให้ใครๆ ต่างอยากออกมาเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หรือในบางประเทศที่ออกแบบสวนสาธารณะได้สวยงามมากๆ ก็ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ด้วย

‘The new form of imprisonment’ ธีสิสทัณฑสถานเปิดในแนวตั้ง ที่อยากให้นักโทษและคนทั่วไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่หนึ่งที่เปิดให้ ‘นักโทษ’ และ ‘บุคคลทั่วไป’ ได้ทำกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักโทษปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวตามกำหนดเวลา เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มๆ ที่ ‘บีม-ธัญลักษณ์ ตัณฑรัตน์’ อดีตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปลุกปั้นธีสิสจบของตัวเองในชื่อ ‘การคุมขังรูปแบบใหม่ของทัณฑสถานไทย (The new form of imprisonment)’ จุดประสงค์คือต้องการทำให้คนในสังคมเข้าใจและเปิดใจให้นักโทษที่กำลังจะพ้นโทษมากขึ้น ผ่านสถาปัตยกรรมที่จะมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาว่าระบบของเรือนจำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขังอย่างไร และการกักขังแบบไหนที่จะทำให้นักโทษได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ไม่ถูกลืมจากคนภายนอก และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ คอลัมน์ Debut ชวนไปดูจุดตั้งต้นของธีสิสนี้ และค้นหาพร้อมกันว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้ทดลองใช้ชีวิตก่อนออกสู่สังคมภายนอกได้อย่างไร ทัณฑสถานไทยไม่เอื้อต่อการกลับตัว “ธีสิสนี้เป็นการออกแบบเรือนจำให้เหมาะกับนักโทษที่เตรียมการก่อนปล่อยตัวออกสู่สังคม เพราะจากการหาข้อมูลเราพบว่า สาเหตุหนึ่งที่นักโทษกลับไปทำผิดซ้ำๆ เนื่องจากหลังการพ้นโทษผู้ต้องขังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไปได้” บีมเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะทำธีสิสนี้ เธอมีความสนใจเกี่ยวกับสถาปัตย์และการออกแบบที่สามารถเข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว และเพื่อทำให้ฟังก์ชันของการออกแบบที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เห็นภาพได้ชัดขึ้น เธอจึงเลือกทำธีสิสในรูปแบบของ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘เรือนจำ’ หลังจากพบว่าในปี 2562 มีปริมาณนักโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำภายใน 1 ปีมากที่สุดถึง 21,187 คน […]

พาไปดู ‘เวียนนา’ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปี 2023

‘เวียนนา’ คือเมืองที่หลายคนยกให้เป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใครที่เคยดูหนังเรื่อง Before Sunrise คงพอจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก โดยเฉพาะซีนที่คู่พระนางเดินเที่ยว พูดคุยกัน และกระโดดขึ้นลงรถแทรม โดยมีความคลาสสิกของกรุงเวียนนาเป็นฉากหลัง ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย และตัวเมืองที่รายล้อมไปด้วยแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันแค่ในหนังเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความจริง ทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เวียนนาเป็นหนึ่งในต้นแบบของเมืองที่มีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี 2023 กรุงเวียนนาถูกยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจาก Economist Intelligence Unit (EIU) ยกให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก’ ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากการจัดอันดับทั้งหมด 173 เมืองทั่วโลก เวียนนาได้คะแนนสูงที่สุดถึง 98.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนความน่าอยู่ยอดเยี่ยมทั้งด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ข้อแรกที่ทำให้เวียนนากลายเป็นเมืองตัวท็อปด้านความน่าอยู่คือ ‘เสถียรภาพและความมั่นคง’ (Stability) ที่ได้ 100 คะแนนเต็ม ซึ่งความมั่นคงที่ว่านี้ประเมินจากหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าแรง ค่าเช่าบ้าน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางการเมือง […]

พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น เปลี่ยนสำนักงานธนาคารเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ แลนด์มาร์กใหม่ของคนขอนแก่น

หากพูดถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน จังหวัดแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดหลายคนคงหนีไม่พ้นจังหวัด ‘ขอนแก่น’ เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมแห่งอีสานที่รอให้ผู้คนไปค้นหา โดยล่าสุดขอนแก่นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่บริเวณใจกลางเมือง ซึ่งรายล้อมไปด้วยโรงเรียน ตลาด แหล่งชุมชน และที่อยู่อาศัย ที่ได้ ‘Plan Motif’ มาเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ ‘Plan Architect’ มาช่วยดูแลในส่วนงานสถาปัตยกรรมการปรับปรุงอาคาร และได้ ‘GLA Design Studio’ เข้ามาดูในส่วนของงานภูมิสถาปัตยกรรม จนออกมาเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น’ (The Treasury Museum Khonkaen) พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่นเกิดขึ้นหลังจากที่พื้นที่ถูกเปลี่ยนมือกลับสู่ ‘กรมธนารักษ์’ อีกครั้ง เนื่องจาก ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ ที่ใช้พื้นที่อยู่เดิมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานไปยังบริเวณอื่น ทำให้ทางกรมธนารักษ์ที่ได้พื้นที่คืนมาตัดสินใจส่งต่อพื้นที่นี้ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนในเมืองขอนแก่นต่อไป ภายใต้ความตั้งใจของกรมธนารักษ์และ Plan Architect ที่ต้องการเปลี่ยนอาคารสำนักงาน บ้านพักพนักงาน และแผนกธนบัตรที่ถูกรื้อถอนเดิม ให้กลายเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ พื้นที่จัดแสดง ศาลาอเนกประสงค์ สวนสาธารณะ และสำนักงานที่สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะรับรองการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองขอนแก่นให้ได้มากที่สุด ซึ่งแต่ละส่วนถูกออกแบบใหม่โดยใช้ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นผสมผสานกับเอกลักษณ์ของยุคสมัยใหม่ เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของขอนแก่นที่ไม่ใช่แค่การฟื้นฟูอาคารเดิมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่ผู้ใช้งานยังต้องได้รับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ผ่านการใช้งานด้วย โดยในอาคารหลักบริเวณชั้น 1 ได้รื้อผนังทึบสูงเดิมออกเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารได้มากขึ้น เพื่อรองรับการเป็นพื้นที่ส่วนกลางและโซนห้องสมุด […]

กลับมาอีกครั้งกับ Reading Seoul Plaza ห้องสมุดกลางแจ้งบนพื้นที่สีเขียวในโซล ให้คนพักผ่อน ทำกิจกรรมฟรีถึงปลายปี

เมื่อปีที่แล้ว กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลก็นำกลับมาจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง ‘โซลพลาซา’ (Seoul Plaza) คือพื้นที่บริเวณลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่ในชื่อ ‘Reading Seoul Plaza’ ซึ่งโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี รัฐบาลกรุงโซลได้อัปเกรดและปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นสำหรับประชาชนที่จะมาอ่านหนังสือ นอกจากบรรยากาศอันอบอุ่นแสนสบายที่มาพร้อมกับบีนแบ็กหลากสีสันและร่มกันแดด ปีนี้หนังสือจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทขึ้น ทั้งยังเพิ่มโปรแกรมปรึกษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ชาวพนักงานออฟฟิศ ตลอดจนกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ มามีส่วนร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ใครที่มีแพลนไปเกาหลีช่วงนี้ อย่าลืมแวะไปอาบแดดอุ่นๆ อ่านหนังสือในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ Reading Seoul Plaza กันนะ ห้องสมุดกลางแจ้งโซลพลาซาเปิดให้ประชาชนนั่งอ่านหนังสือชิลๆ ‘ฟรี’ ทุกวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 2 […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.