ผู้สูงวัยเดินได้อย่างสนุกและปลอดภัย ด้วยแนวคิด ‘อุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับผู้สูงอายุ’ ที่มาพร้อมปุ่มกดเบรกและช่องใส่สัตว์เลี้ยง

สำหรับผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว การมี ‘อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walking Aid)’ ที่ดี จึงเป็นเหมือนอวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกาย แต่การจะหาอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสนุกไปกับการเดินเพื่อขยับร่างกายในแต่ละวันได้ด้วย กลับเป็นเรื่องยากอยู่ไม่น้อย นักออกแบบ ‘Feng Chang’ ผู้ให้ความสำคัญกับการดูแลความรู้สึกของผู้ใช้งาน จึงพัฒนาคอนเซปต์สำหรับอุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวขึ้นมา ภายใต้การผสมผสานอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีความปลอดภัย แถมยังมีพื้นที่สำหรับใส่สัตว์เลี้ยงตัวเล็กได้ด้วย กล่องที่ติดตั้งอยู่บริเวณด้านล่างของอุปกรณ์จะทำหน้าที่เป็นเหมือนบ้านเคลื่อนที่ขนาดเล็ก ที่มาพร้อมช่องระบายอากาศที่ช่วยให้สัตว์เลี้ยงหายใจได้สะดวกขณะที่อยู่ภายใน และยังมีประตูบานเลื่อนบริเวณด้านบน สำหรับเปิดให้สัตว์เลี้ยงเข้าออกได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ Feng Chang ยังออกแบบให้อุปกรณ์ช่วยเดินมีฟังก์ชันที่ครอบคลุมการใช้งานทั่วไป อย่างปุ่มเบรกบริเวณใต้ด้ามจับ สำหรับเป็นกลไกป้องกันผู้ใช้งานล้มหรือไถลเมื่อพบกับทางเดินที่ลาดเอียง และไฟ LED บริเวณล้อหน้า สำหรับส่องสว่างในความมืดที่สามารถชาร์จได้ผ่านสาย USB-C เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเดินได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม Feng Chang กล่าวว่า สิ่งนี้เป็นเพียงแนวคิดในการพยายามออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดินเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสนุกสนานและมีความหมายมากขึ้นไปพร้อมๆ กับสัตว์เลี้ยงแสนรักของพวกเขา โดยหากเกิดขึ้นจริงได้ในอนาคต คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุที่มีสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กได้ไม่น้อยเลยทีเดียว Source :Yanko Design | t.ly/73wl 

ไม่ให้เงินพ่อแม่ เราจะเป็นคนอกตัญญูไหม

ถ้าไม่มีเงินให้พ่อแม่ เราจะกลายเป็นคนอกตัญญูไหม เชื่อว่าประโยคข้างต้นเป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนวัยเริ่มต้นทำงานในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงลิ่วสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง บางคนอาจจะเอาตัวรอดเลี้ยงดูตัวเองได้สบายๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นหรือใช้ชีวิตเข้าเนื้อพอสมควร ปัญหาของคนรุ่นใหม่หลายคนที่เริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่เพียงแค่จัดการเงินเลี้ยงดูตัวเองให้อยู่รอดในแต่ละวัน แต่ยังต้องแบ่งให้ครอบครัวส่วนหนึ่ง ด้วยค่านิยมที่ปลูกฝังกันมายาวนานว่า ‘ให้เงินพ่อแม่ = เด็กกตัญญู’ แม้ว่าถ้าให้เงินไปแล้ว พวกเขาอาจจะใช้ชีวิตลำบากมากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจจะโดนสังคมมองว่าเป็น ‘เด็กอกตัญญู’ แนวคิดดังกล่าวเริ่มทำให้เราตั้งคำถามในใจว่า หากเราไม่มีเงินมากพอที่จะให้พ่อแม่ใช้จ่ายอย่างสุขสบาย หรือเราไม่ให้เงินพวกท่านเพราะรู้สึกยังไม่พร้อมทางการเงิน ท้ายที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นคนไม่ดีในสายตาคนรอบตัวหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนไปหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกัน กตัญญูกตเวทีคืออะไร อ้างอิงจากวารสารมานุษยวิทยาศาสนา (Journal of Religious Anthropology : JORA) อธิบายความหมายของคำว่า ‘กตัญญูกตเวที’ คือ ผู้ที่รู้ระลึกคุณของผู้มีพระคุณและทำคุณประโยชน์ตอบแทน โดยความกตัญญูในสังคมไทยมักมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) การทำความดีเพื่อหวังผลประโยชน์ คือการตอบแทนคนที่ช่วยเหลือเรา ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการตั้งนิยามในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต สังเกตได้จากค่านิยมการมีลูกสมัยก่อนที่ว่า ‘มีลูกเพื่อให้พวกเขาเลี้ยงดูตอนแก่’ 2) การทำความดีด้วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ลักษณะนี้สอดคล้องกับคำว่า ‘บุพการี’ ในพุทธศาสนา แปลว่า ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมีภาพจำความกตัญญูกตเวทีกับรูปแบบแรกที่ต้องตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา  […]

เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน

หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น  นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]

เมืองจะทำยังไงเมื่อผู้สูงอายุเต็มเมือง กับ อาจารย์ษัษฐรัมย์ | Unlock the City EP.07

คนส่วนใหญ่มักหวาดกลัวความแก่ชรา ความจริงแล้วสิ่งที่เรากลัวนั้นอาจไม่ใช่การที่อายุมากขึ้นหรือร่างกายเสื่อมลง แต่เป็นการที่ ‘แก่’ แล้ว ‘จน’ เพราะไม่มีรัฐสวัสดิการรองรับ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานของเมืองก็ไม่สนับสนุนให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่สุด เมืองไทยก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว หลังจากที่เมื่อปีที่แล้วจำนวนประชากรผู้สูงอายุแซงหน้าประชากรเด็ก นั่นแปลว่าถึงเวลาแล้วที่เมืองควรหันมาใส่ใจการออกแบบให้รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนที่มีอายุมากขึ้นสักที ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง และ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจ ศึกษา และเรียกร้องรัฐสวัสดิการ จะมาแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุกับการออกแบบเมืองที่สอดรับกันใน Unlock the City ตอนนี้ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/9GjOj5W_xsg Spotify : https://spoti.fi/3QijmP0069824aa0 Apple Podcasts : https://apple.co/3dge3km Podbean : https://bit.ly/3SCKObz

They Saw the Sun First หนังสั้นที่ใช้เสียงของคนชราในนิวยอร์ก ให้หนุ่มสาวหมดไฟฟัง

“ถึงคนหนุ่มสาว ที่ตอนนี้คุณมีงานล้นมือเต็มไปหมด เพราะงานที่ใหญ่ที่สุดซึ่งคุณสามารถมีได้ก็คือความชรา”  “ถ้าคุณมัวแต่มองย้อนกลับไป คุณอาจพลาดสิ่งที่อยู่ตรงหน้า” ข้างต้นเป็นเสียงส่วนหนึ่งของหญิงชรา และชายชราในมหานครนิวยอร์ก บนวิดีโอหนังสั้นความยาว 8 นาที ในชื่อ ‘They Saw the Sun First’ จากผู้กำกับ Stefan Hunt ที่สะกิดใจให้วัยรุ่นซึ่งกำลังท้อ และขาดความมั่นใจบางอย่างได้แรงบันดาลใจ พยักหน้าตาม และยิ้มรับวันข้างหน้า เพราะแต่ละประโยคที่ผู้สูงอายุหลายท่านพูดในหนังสั้นชิ้นนี้ เป็นเหมือนครูสอนวิชาชีวิต ที่บอกว่าชีวิตมันก็แค่นี้แหละ อยากทำอะไรก็ทำ They Saw the Sun First เป็นหนังสั้นที่ฉายภาพชีวิตวัยหนุ่มสาวหลายคนผ่านการเต้นรำ ซึ่งออกแบบท่าเต้นโดย Vanessa Varghese ล้อไปกับเสียงสัมภาษณ์ของผู้สูงอายุในนิวยอร์กที่พูดเรื่องการใช้ชีวิต ความกลัว และความตาย แม้จะเล่าจากความแตกต่างของช่วงวัย แต่ชีวิตของหนุ่มสาว และผู้สูงอายุกลับคล้ายคลึงกัน ราวกับว่าหนุ่มสาวในวันนี้ ก็คือคนสูงวัยในวันข้างหน้า “ผมเริ่มทำโปรเจกต์นี้ เมื่อสังเกตว่าชีวิตขาดความเป็นผู้ใหญ่” Stefan Hunt เล่าว่าช่วงกลางปี 2019 เขารู้สึกอยากได้คำแนะนำชีวิตจากใครสักคน ทว่าเกือบทั้งหมดในโซเชียล พอดแคสต์ หรือจดหมายข่าว กลับมีแต่เสียงของคนหนุ่มสาว […]

กล่องพิพิธภัณฑ์ส่งตรงถึงบ้าน มิวเซียมยืม-คืนที่พาวัด 9 วัด ไปหาผู้สูงวัยติดเตียงถึงบ้าน

การออกไปไหนมาไหนในยุคนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ยิ่งเป็นผู้สูงวัยติดเตียง หรือผู้สูงวัยที่ไม่สะดวกเดินทางด้วยแล้ว อาจสร้างอุปสรรคทั้งต่อเจ้าตัวและลูกหลานเอง ‘ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์’ และ ‘โครงการพิพิธภัณฑ์สายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อผู้สูงวัย มิวเซียมสยาม’ เลยผุดโปรเจกต์กล่องพิพิธภัณฑ์ส่งถึงบ้าน เพื่อผู้สูงวัยติดเตียง ครั้งที่ 1 เพื่อช่วยลดปัญหาการเดินทางของผู้สูงวัย และเป็นการใช้เวลาร่วมกันของคนในครอบครัว กล่องพิพิธภัณฑ์ที่ส่งตรงถึงบ้าน จะมาพร้อมแว่น VR Headset (Virtual Reality) เพื่อเติมเต็มประสบการณ์เสมือนจริง แถมยังมีโมเดลกระดาษรูปสถาปัตยกรรมล้านนาอย่างง่าย เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของคนต่างช่วงวัย โปรเจกต์นี้ได้จัดทำเพื่อครอบครัวที่มีผู้สูงวัยติดเตียงที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ ให้สามารถท่องเที่ยว และเพลิดเพลินไปกับวัด บ้าน คุ้ม จากศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ในรูปแบบการพาไปเที่ยว 9 วัดในเชียงใหม่ และมีกิจกรรมวัตถุระลึกความทรงจำหลังการชมวิดีโอ ซึ่งจะเป็นการใช้งานในลักษณะยืมคืน ผู้ที่สนใจลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนนี้ และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ลดช่องว่างระหว่างวัยกับ ‘มนุษย์ต่างวัย’ เพจที่ชวนคนทุกวัยใช้ใจผสานความห่างให้กลายเป็นศูนย์

มนุษย์ต่างวัย คือเพจที่ตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวของคนสูงวัยให้ทุกคนเข้าใจ เราจึงชวน ‘ประสาน อิงคนันท์’ ผู้ริเริ่มความคิดนี้มาพูดคุยถึงการทำงานด้านผู้สูงอายุ และค้นหาคำตอบของการอยู่ร่วมกันในรูปแบบที่ต่างวัยแต่ไม่ต่างใจ

เตรียมตัวสูงวัย แบบชีวิตดี๊ดี

ยุคสมัยเปลี่ยนไป คนสูงวัยกลายเป็นคนทันสมัยรู้จักใช้โซเชียลมีเดีย เราเห็นเหล่าพ่อๆ แม่ๆ ใช้ชีวิตกันสนุกสนาน ต่างจากสมัยก่อนที่มีทัศนคติว่าคนแก่ต้องอยู่บ้านเลี้ยงหลาน จะเดินเหินไปไหนมาไหนก็ลำบาก มายุคนี้อายุเป็นเพียงตัวเลข เราจึงชวนทุกคนมาโฟกัสเรื่อง ‘สูงวัย’ ซึ่งมีแง่มุมหลากหลายไม่ได้ชวนเหี่ยวเฉาอย่างใครๆ คิด และมีอีกหลายสิ่งที่ผู้สูงวัยสามารถทำได้ไม่แพ้คนหนุ่มสาว

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.