BKK in pieces ธีสิสซีนของคนทำงานออกแบบผู้สนใจเมือง นำเสนอของดีไซน์ไทยๆ ผสมผสานกับความสนุกของกราฟิก

ความชอบในสิ่งพิมพ์ การสังเกตและอธิบายสิ่งธรรมดารอบตัว และการตั้งคำถามเรื่องอะไรคือสุนทรียภาพแบบไทยๆ นำมาสู่การทำ BKK in pieces ธีสิสจบการศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ของ ‘ชิตวัน เพชรรัตน์’ ในช่วงเวลาระหว่างนั้น หนังสือที่เธอกำลังอ่านชื่อ ‘The Beauty of Everyday Things’ โดย Soetsu Yanagi ก็ทำให้เห็นว่าการพิจารณาสิ่งของพาเราสืบสาวไปหารากวัฒนธรรมที่สร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร “ในหนังสือมีส่วนที่กล่าวถึง Fundamental Principle ของการชงชา (Chabi) ไว้ว่า ‘As fortune would have it, it was not an intellectual concept, but rather consisted of concrete objects that acted as intermediaries…’ “กล่าวคือ ด้วยการมีอยู่ของสิ่งที่จับต้องได้อย่างสำนักชา ทางเดินในสวน […]

‘Qualy’ แบรนด์ไทยที่เพิ่มมูลค่าให้ขยะพลาสติก ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แบรนด์แบรนด์หนึ่งจะสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมผ่านชิ้นงานได้แบบที่คนเห็นแล้วร้อง ‘อ๋อ!’ แต่สำหรับแบรนด์ ‘Qualy’ ไม่ว่าจะจิ้มผลงานชิ้นไหนขึ้นมาก็ต้องคุ้นหูหรือคุ้นตาทั้งนั้น ตั้งแต่ พระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น เพราะไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ที่สวยงาม ฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว หรือวัสดุรีไซเคิลรักษ์โลก จะส่วนไหน Qualy ก็ไปสุดทุกทาง จนกวาดรางวัลจากเวทีดีไซน์กลับบ้านแบบไม่หวาดไม่ไหว คอลัมน์ Sgreen ชวนไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ถึงแนวคิดและความตั้งใจของแบรนด์ที่ทำให้ Qualy ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ยาวนานกว่า 20 ปี เล่าเรื่องผ่านดีไซน์จนค่อยๆ เติบโตในตลาดไทย “ในช่วงแรกๆ ของการทำ Qualy เราเน้นไปที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับตอนนั้นมีปัญหาโลกร้อน เลยเล่าเรื่องพวกนี้ผ่านดีไซน์ของเรา ก่อนจะต่อยอดมาใช้วัสดุรีไซเคิล เพื่อให้สื่อสารเรื่องนี้ออกไปดียิ่งขึ้น” ธีรชัยเล่าถึงความตั้งใจช่วงแรกของแบรนด์ อีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการทำแบรนด์โปรดักต์ดีไซน์นี้คือ Qualy เป็นธุรกิจที่เขาต่อยอดออกมาจากธุรกิจครอบครัวที่ก่อนหน้านี้เปิดเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบ Original Equipment Manufacturer (OEM) […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567

‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กรกฎาคม 2567

“เอ๊ะ” เป็นเคล็ดลับสำคัญในการมองหางานดีไซน์ที่น่าสนใจตามริมทางท้องถนน เพราะของเหล่านี้มักแฝงตัวอย่างแนบเนียนอยู่กับชีวิตประจำวันของพวกเรา หลายคนคุ้นชินจนแทบมองไม่เห็นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินผ่านสิ่งของใดๆ แล้วรู้สึก ‘เอ๊ะ’ รู้สึก ‘แปลกๆ’ ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ลองเดินย้อนกลับไปดูและลองพิจารณาสำรวจมันอีกครั้ง ผมนึกถึงนิทรรศการ ‘Invisible Things (2019)’ ที่เคยจัดแสดงที่ TCDC โดยมีคุณ Philip Cornwel-Smith ผู้แต่งหนังสือ Very Thai (2004) เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ว่าด้วย 25 วัตถุเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยที่เราคุ้นชินมากๆ จนมองข้ามไป เช่น กระป๋องแป้งตรางู กระติ๊บข้าวเหนียว ซองมาม่า ซึ่งของแต่ละอย่างนี้อาจดูไม่น่าสนใจอะไร แต่ลึกๆ แล้วกลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ยกตัวอย่าง มาม่า ที่เป็นดัชนีในการพยากรณ์เศรษฐกิจ เพราะยามเศรษฐกิจดี ยอดขายมาม่าจะลดลง แต่ยามเศรษฐกิจถดถอย ยอดขายมาม่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้นิทรรศการตั้งใจจะสื่อว่า ของบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากๆ อาจกำลังสะท้อนสังคมได้มากกว่าเพียงรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า หากเข้าใจวิธีมองสิ่งของแบบเดียวกับนิทรรศการ Invisible Things เราจะมีความสามารถในการรู้สึก ‘เอ๊ะ’ ที่มากขึ้น และมองหาความหมายของสิ่งของเรี่ยราดตามริมทางได้ดีขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจหรือเหตุผลใดๆ […]

The Scoop ออฟฟิศรูปทรงแหวกแถวที่แหวกแนวอาคารให้โบสถ์เก่าเฉิดฉาย

คำตอบของการสร้างอาคารใหม่ให้เคารพอาคารเก่าข้างเคียงที่คุ้นเคยอาจหมายถึงการคุมโทนสี คุมโทนวัสดุอาคารใหม่ให้ใกล้เคียงอาคารเก่า แต่มันจะมีโซลูชันที่น่าตื่นเต้นกว่านี้อีกหรือเปล่า Corstorphine & Wright ออฟฟิศสถาปัตยกรรมในสหราชอาณาจักร ออกแบบอาคาร ‘The Scoop’ ให้เว้าเข้าไปด้านใน เพื่อสร้างกรอบให้คนเดินถนนเห็นรูปโฉมของโบสถ์เก่าที่อยู่ข้างเคียง The Scoop เป็นอาคารออฟฟิศส่วนต่อเติมของอาคารอิฐหัวมุมถนนที่อยู่ติดกัน โดยอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของย่าน Southwark เมือง London และอยู่เคียงข้างโบสถ์คริสต์ ‘Catholic Church of the Most Precious Blood’ สไตล์โรมาเนสก์ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1892 การคว้านส่วนกลางของอาคารออก ทำให้ผู้คนที่สัญจรบริเวณหัวมุมถนน Union Street และ O’Meara Street เห็นบานหน้าต่างกลมหรือ Rose Window ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโบสถ์ แต่กว่าที่จะได้หน้าตาตึกอย่างที่เห็น สถาปนิกต้องขึ้นโมเดลตึกสามมิติเพื่อกะเกณฑ์ดูว่าจะต้องคว้านตึกไปเท่าไหร่คนถึงจะเห็นหน้าต่างโบสถ์ได้ชัดเจน นอกจากนี้ โมเดลสามมิติยังช่วยให้สถาปนิกคำนวณได้ว่าจะต้องวางอิฐอย่างไร และใช้อิฐขนาดแบบไหนมาเรียงเพื่อให้เกิดเอฟเฟกต์ดั่งหวัง โดยก้อนอิฐที่หยึกหยักไปมาถูกยึดติดด้วยโครงเหล็กสเตนเลสอันซับซ้อนที่แอบซ่อนด้านใน หากมองตัวอาคาร The Scoop แบบโดดๆ ดูแล้วเป็นอาคารที่เท่ไม่เบา แต่เมื่ออาคารเปิดพื้นที่ความเท่ให้เพื่อนเก่า ความหล่อเหลาของ The Scoop […]

ปารีสฉีดอะดรีนาลินให้ริมแม่น้ำแซนคึกคัก ด้วย ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายลอยน้ำ ที่ชวนทุกคนมาว่ายน้ำพร้อมชมเมือง

เราคงคุ้นเคยกับการเห็นพื้นที่ริมน้ำเป็นสวนสาธารณะ หรือเป็นที่จอดเรือให้มานั่งรับประทานอาหารรับลมชมวิว แต่ก็น่าคิดเหมือนกันว่า เราจะพัฒนาพื้นที่ริมน้ำอย่างไรได้บ้าง ถึงจะยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองให้ดีขึ้น เมืองปารีสเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เราเห็นกับ ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายที่ลอยตัวอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำแซน (Seine) ศูนย์กีฬาประกอบด้วยสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดมาตรฐานโอลิมปิก พร้อมลู่วิ่งชั้นดาดฟ้าที่เปิดโอกาสให้ออกกำลังกายไป ชมความงามของเมืองปารีสไป นอกจากนั้นแล้ว Annette K ยังเพียบพร้อมด้วยยิม ศูนย์กายภาพบำบัด รวมถึงร้านอาหารและร้านกาแฟเอาไว้รองท้องเวลาหิว และเมื่ออาทิตย์ลับฟ้า ศูนย์กีฬาแห่งนี้จะกลายร่างเป็นศูนย์บันเทิงยามราตรี พื้นที่ดาดฟ้ากลายเป็นฟลอร์ให้สายปาร์ตี้มาเต้นจนลืมโลก เรียกได้ว่าเปิดพื้นที่ให้ชาวเมืองใช้กันทั้งวันทั้งคืนเลยทีเดียว Seine Design สถาปนิกของโครงการนี้ออกแบบศูนย์กีฬาโดยเน้นใช้ไม้ เหล็ก และกระจกในการก่อสร้าง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูคล้ายเรือ เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์แม่น้ำแซนที่เกี่ยวพันกับการเดินเรืออย่างยาวนาน โครงการ Annette K เกิดขึ้นได้หลังจาก Seine Design ร่วมกับ WHY NOT Productions ชนะการประกวด ‘Reinventing the Seine’ ในปี 2016 เป็นการประกวดที่เมืองปารีสจัดขึ้นเพื่อเสาะหาไอเดียพัฒนาแม่น้ำแซนซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของเมือง อยากรู้เหมือนกันว่า ถ้าในเมืองไทยจัดงานประกวดแบบนี้ เราจะเห็นไอเดียแปลกใหม่อะไรบ้างที่จะทำให้พื้นที่ริมน้ำดีขึ้น และทำให้ชีวิตของคนเมืองดีขึ้นด้วย Sources :Annette K […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

ผลักดันคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด กับงานแฟร์ ‘CHANGE 2023’ วันที่ 1 – 2 ส.ค. 66 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

ช่วงหลังมานี้วงการสร้างสรรค์คึกคักขึ้นมาก นอกจากงานศิลปะที่หลากหลายขึ้นแล้ว แวดวงดีไซน์ที่รวมไปถึงการออกแบบคาแรกเตอร์ก็เริ่มมีที่ทางขึ้นมาก ซึ่งคาแรกเตอร์ที่ว่านี้ก็นำไปต่อยอดได้มากมาย ตั้งแต่การเป็นหน้าตาของแบรนด์ คอลแลบกับโปรเจกต์สนุกๆ หรือกลายไปเป็นอาร์ตทอยน่าเก็บสะสม หลังจากพยายามผลักดันการสร้างคาแรกเตอร์ (Character Design) มาพักใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ก็ขอจัดงาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ เพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์คาแรกเตอร์ไทยสุดน่ารัก รวมถึงเปิดเผยเบื้องหลังการทำงานและการสร้างรายได้จากงานออกแบบนี้ ภายในงานเราจะได้พบกับคาแรกเตอร์กว่า 30 ตัวผ่านการจัดแสดงสินค้า จัดจำหน่าย และกิจกรรมเสวนา เพื่อขยายโอกาสต่อยอดทางธุรกิจให้ครีเอเตอร์ไทยด้วยคาแรกเตอร์สุดเจ๋งให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ให้แก่ครีเอเตอร์ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการเล่าถึงเบื้องหลังการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยมีเวทีเสวนาหลากหลายหัวข้อ เช่น ต่อยอดผลงานสร้างสรรค์ด้วยคาแรกเตอร์ไทย, แบรนดิ้งให้สินค้าเกษตรด้วยคาแรกเตอร์ไทย และคาแรกเตอร์ไทย : สัญลักษณ์เมืองแห่งศตวรรษนี้ เป็นต้น งาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2566 ที่ห้องอเนกประสงค์ ชั้น […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.