ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…

ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]

ขับเคลื่อนเมืองผ่านศิลปะ แสงสี และดนตรี กับงานใหญ่ ‘Colorful Bangkok 2022’ ปลายปีนี้ ตั้งแต่ พ.ย. 65 – ม.ค. 66

สำหรับงานเทศกาลปลายปี คงหนีไม่พ้นเรื่องของแสงสี ดนตรี และศิลปะ ที่จัดอยู่ตามสถานที่ต่างๆ รอให้คนเข้าไปสัมผัสและถ่ายรูปเก็บความทรงจำ เป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น กทม. จึงจัดงาน ‘Colorful Bangkok 2022’ หรือ ‘ฤดูกาลศิลปะกรุงเทพฯ’ ขึ้นตามนโยบาย 12 เทศกาลตลอดปีของผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ครอบคลุมตลอด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ไปจนถึงมกราคม 2566  ภายใต้ชื่องาน ‘Colorful Bangkok 2022’ จะมีการแบ่งเทศกาลย่อยลงไปอีกในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ‘เทศกาลศิลปะสร้างสรรค์’ ในเดือนพฤศจิกายน ‘เทศกาลแสงสี’ ในเดือนธันวาคม และ ‘เทศกาลดนตรี’ ในเดือนมกราคม เพื่อจุดมุ่งหมายในการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้มีกิจกรรมให้เข้าร่วมได้ตลอดทั้งปี ทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนธุรกิจโดยรอบ กระตุ้นยอดขายจากการจัดงานเทศกาล และเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ความน่าสนใจคือ งานนี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือของภาคีเครือข่ายกว่า 250 องค์กร ในการจัดงานกว่า 120 งาน เพื่อทำให้กรุงเทพฯ […]

‘ไม่มีฝันของใครที่เป็นไปไม่ได้’ ล่องไปกับ ‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ EP Album ของ HUGO

‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ คือผลงานอีพีอัลบั้มล่าสุดของ ‘HUGO’ หรือ ‘เล็ก-จุลจักร จักรพงษ์’ ที่ออกสู่สาธารณะเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2564  อัลบั้มนี้มีไอเดียจากข่าวที่มหาเศรษฐีและผู้คนบนโลกมากมายเริ่มมองอวกาศเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยว เรือสำราญราตรีอมตะ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นภาพจำลองที่สะท้อนความเป็นไปของสังคม และนำเสนอในแบบ Sci-Fi จินตนาการไปสู่อนาคตที่อาจเกิดขึ้นจริงได้ในสักวัน ภายในอัลบั้มประกอบด้วย 6 บทเพลงไทย โดยได้นักแต่งเพลงแห่งยุคอย่าง ‘ฟองเบียร์-ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม’ กับ ‘ติ๊ก-กฤษติกร พรสาธิต’ วง Playground มาช่วยสร้างสรรค์ร้อยเรียงทำนองต่อเนื่องอย่างกลมกลืน ผสมผสานการเล่าเรื่องด้วยเนื้อหาจิกกัด เสียดสี สะท้อนสังคมอย่างมีชั้นเชิงทางภาษา และแพรวพราวไปด้วยดนตรีครบเครื่องที่ใช้วิธีการอัดดนตรีสดแทบทุกตำแหน่ง ทั้งกลอง เครื่องสาย เครื่องเป่า เพอร์คัสชัน และเสียงประสานที่จัดเต็ม รวมถึงได้นักดนตรีมากฝีมือหลายคนมาวาดลวดลาย จนออกมาเป็นหลากหลายแนวเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในสไตล์แบบฮิวโก้  นอกจากนี้ การเดินทางของเพลงทั้งหมดในอัลบั้มมีจิตรกรนามว่า ‘อ๋อง-วุฒิกร เอกรัตนสมภพ’ จากทีม ‘Visionary’ มารับหน้าที่วาดภาพเรียงต่อกันเป็นแอนิเมชันเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงให้เข้ากับจินตนาการมากขึ้น  พูดได้ว่าอัลบั้มนี้เป็นอีกผลลัพธ์ของการทดลองและทุ่มเททำงานหนักของฮิวโก้และทีม ผ่านการออกแบบเพลงมาให้ฟังตั้งแต่เพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้ายแล้ววนไปเริ่มต้นใหม่ได้ เราไม่แปลกใจเลยถ้าอัลบั้มนี้จะกลายเป็นอีกหนึ่งผลงานเพลงไทยที่ไพเราะเสนาะหูจนใครหลายคนยกให้เป็นอัลบั้มในดวงใจ ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของอีพีอัลบั้มนี้ คอลัมน์ ‘แกะเพลง’ ขอพาทุกคนขึ้นไปยังเรือสำราญราตรีอมตะ เพื่อสำรวจว่าภายใน […]

“ประดับวงการใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์” 20 ปีของ ‘ภูมิจิต’ วงดนตรีที่ไม่มีวันดังอีกแล้ว

“วงดนตรีของเรายี่สิบปีพอดี ถ้ามองมุมนี้ก็ถือว่าเรามาได้ไกลกว่า The Beatles ประมาณหนึ่ง” เสียงของชายผู้รับหน้าที่เป็นนักร้องดังขึ้น “พรุ่งนี้พาดหัวข่าว วง ‘ภูมิจิต’ เย้ย The Beatles ไอ้ห่าดังเลยกู” มือกลองตบจังหวะนี้เรียกเสียงฮาลั่นห้องอัด  ต่อหน้าเราขณะนี้คือวงดนตรีภูมิจิต ในวันที่พวกเขากำลังอัดเพลงอัลบั้มใหม่ วงภูมิจิตมีสมาชิก 4 คนไล่จากนักร้องนำที่ทั้งแต่งเพลงและเล่นกีตาร์ พุฒิ-พุฒิยศ ผลชีวิน ถัดไปคือ กานต์-เกษม จรรยาวรวงศ์ มือกีตาร์เพื่อนสนิทร่วมห้องของพุฒิสมัยเรียนวิศวะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนอีกสองคนคือสมาชิกใหม่ที่กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญ ได้แก่ บอม-ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล เล่นเบส และ แม็ก-อาสนัย อาตม์สกุล มือกลอง  20 ปีที่ผ่านมา วงดนตรีภูมิจิตมีผลงานเพลงทั้งหมด 4 อัลบั้ม ได้แก่ ‘Found and Lost’ (2551), ‘Bangkok Fever’ (2553), ‘Home Floor’ (2555) และปี 2561 คือ ‘MIDLIFE’ อัลบั้มล่าสุดที่ทั้งวงยกให้เป็น […]

“ดนตรีอยู่ที่ไหนก็ได้” – ‘ลภ เวลาเย็น’ ผู้จัดงานดนตรีที่อยากชวนทุกคนไปฟังเพลงกันซักแดด

ดนตรีมีหลากหลายแนวเพลง รูปแบบการเล่นดนตรีก็แตกต่าง การแสดงดนตรีย่อมไม่เหมือนกัน ในร้านเหล้า ผับ บาร์ คาเฟ่เป็นแบบหนึ่ง บนเวทีคอนเสิร์ต ในพื้นที่สาธารณะเป็นอีกแบบหนึ่ง ในงานตลาดนัดหรือเทศกาลดนตรีก็อีกแบบหนึ่ง ต่างรสนิยมและความสุนทรีย์ เป็นปัจเจก ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเลือกแบบไหน ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ ในประเทศไทยมีทางเลือกในการฟังเพลง ดูดนตรีกันสักกี่รูปแบบ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้สองสามปีที่ผ่านมารูปแบบการจัดงานดนตรีต้องปรับเปลี่ยน ลดขนาด เว้นระยะห่าง ไม่แออัด ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้นึกถึง ‘ซักแดด’  ซักแดดคืองานดนตรีที่ใช้พื้นที่ในจังหวัดราชบุรีเป็นที่จัดงาน บริหารโดยทีมผู้จัดงานชื่อ ‘เวลาเย็น (Velayen)’ โดยมี ลภ-วัลลภ แก้วพ่วง เป็นหัวหน้าแก๊ง เขาเล่าว่า ซักแดดเกิดขึ้นมาพร้อมการปรับตัวในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่หลังโรคระบาดมาเยือน เวลาเย็นกับการชวนไปซักแดด ก่อนจะไปฟังเรื่องของซักแดด เราอยากพาไปรู้จักกับหัวหน้าแก๊งเวลาเย็นกันก่อนสักนิด ลภเป็นคนบางแพ จังหวัดราชบุรี เรียนประถมฯ ต่อมัธยมฯ แถวบ้านได้ปีเดียว ก็เปลี่ยนมาต่อเทคนิคฯ ช่างไฟ ที่โพธาราม กระทั่งปี 2546 เขาก็เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่เทคนิคกรุงเทพฯ จนเรียนจบออกมาใช้วิชาช่างไฟสร้างตัวอยู่ในเมืองหลวงราว 15 ปี ก่อนเปิดบริษัทรับเหมาเป็นของตัวเอง และตัดสินใจวางแผนกลับไปอยู่บ้านอีกครั้ง ปี […]

ชาวเคนยา เอกวาดอร์ กรีซ ฟังอะไรกัน สนุกกับการสุ่มฟังคลื่นวิทยุทั่วโลกผ่านเว็บไซต์ Radio Garden

ไม่รู้มีใครเป็นแบบเราบ้าง ที่ถึงจุดหนึ่งที่ทำงานไปฟังเพลงไปเรื่อยๆ หรือกระทั่งเหงาจนไม่รู้จะฟังอะไรแล้ว ก็จะข้ามไปฟังคลื่นวิทยุบ้านเรา เผื่อได้ค้นพบเพลงใหม่ๆ หรือมีเสียงใสๆ ของดีเจอยู่เป็นเพื่อน แต่เคยสงสัยไหมว่าในขณะที่เราฟังเพลงหรือเสียงของดีเจที่จัดรายการผ่านคลื่นวิทยุในไทยอยู่นั้น ในประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในทวีปเอเชีย ไปจนถึงประเทศที่อยู่ห่างจากเราไปอีกซีกโลก เขาฟังอะไรกัน เพลงที่ดีเจชาวไอซ์แลนด์เปิด สปอตโฆษณาของคลื่นวิทยุในโคลอมเบีย หรือรายการวิทยุที่กรีซเขามีช่องให้คนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรักเหมือนบ้านเราหรือเปล่านะ Radio Garden คือเว็บไซต์ที่รวบรวมหลายพันสถานีวิทยุรายการสดทั่วโลกมาไว้ให้เราเสิร์ชฟังอย่างตั้งใจ หรือจะแรนดอมฟังไปเรื่อยๆ ก็ได้ จุดประสงค์ของเจ้าเว็บไซต์นี้คือต้องการเชื่อมต่อผู้คนและสถานที่ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านสัญญาณวิทยุที่ข้ามขอบเขตพรมแดน ทั้งยังเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านผู้ผลิตรายการวิทยุกับผู้ฟัง รวมถึงทำให้ผู้คนที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐานเชื่อมต่อกับ ‘บ้าน’ ได้อีกครั้ง เว็บไซต์สำหรับ Radio Lover นี้ เริ่มต้นขึ้นในปี 2016 ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีหัวหอกชื่อ Jonathan Puckey ที่มีส่วนร่วมกับทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การพัฒนา และทุกอย่างในเว็บไซต์ ที่ผ่านมา Radio Garden ได้มีการอัปเดตระบบและฟังก์ชันใหม่ๆ ไม่น้อย ตั้งแต่เพิ่มรูปแบบแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟน iOS และ Android เพิ่มระบบค้นหาสถานีวิทยุและสถานที่ที่ต้องการ (ชื่อเมืองหรือประเทศ ฯลฯ) เป็นต้น นอกจากนี้ […]

Walk Around the City Playlist เพลย์ลิสต์เติมพลังใจ ฟังไปเดินทางไปในเมืองแห่งฝัน

จะมีอะไรดีไปกว่าการได้อยู่กับตัวเองกับเสียงเพลงที่ชอบ ท่ามกลางความวุ่นวายในเมืองนี้ เพราะเสียงดนตรีไม่ได้ให้แค่ความเพลิดเพลิน แต่ยังให้ความทรงจำและทำให้เห็นแง่งามของชีวิตรายทาง ทีม Urban Creature ขออาศัยจังหวะที่คนเริ่มมีความหวังกับเมืองนี้ คัดสรรเพลงมาทำเพลย์ลิสต์ที่เหมาะกับการฟังระหว่างเดินทางมาให้ทุกคน บางเพลงมีเนื้อหาสะท้อนสังคม บางเพลงชวนให้นึกถึงเมืองในฝัน บางเพลงช่วยปลอบประโลมให้คุณอยากใช้ชีวิตต่อไป ให้เพลงที่พวกเราเลือก ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของคุณ ฟังใน Spotify ที่ : https://spoti.fi/3a5Ietf เมืองชุดดำ – Rasmee Isan Soulศกุนตลา แย้มปิ๋วบรรณาธิการบริหาร “น้องสาวมาแต่ไกลฟังไทยคุ้นเอาเสียงลำมาล่ามนต์ ให้ผู้ฟังคอยหนุนเกื้อเมื่อมาถึงเมืองนี้ เมื่อมาถึงเมืองนี้เมืองผู้ดีใส่ชุดดำ ไปทางใดกะตอกย้ำสีคล้ำๆ ทุกก้าวย่าง” โดยที่มา รัสมี เวระนะ แต่งเพลงนี้จากการเดินทางไปร้องเพลงที่ต่างประเทศ เธอหอบเอาเสียงทรงพลังและเสน่ห์หมอลำในแบบฉบับรัสมี ไปอุ่นให้เมืองบรรยากาศสีคล้ำกับผู้คนที่มองไปทางไหนก็เห็นเป็นสีดำมีสีสันที่ไม่เคยเห็น แต่ก็แปลก ในหนแรกที่เราฟัง ‘เมืองชุดดำ’ มันกลับไม่ได้ทำให้เรานึกถึงที่ไหนไกล นอกจาก ‘เมืองยิ้ม’ ที่เราใช้ชีวิตอยู่ ดิ้นรนที่จะมีชีวิตอยู่ อากาศเมืองนี้ไม่ได้ปรากฏบนแอปฯ Weather เป็นเลขตัวเดียวหรือติดลบ  ทว่าแต่ละเหตุการณ์ความเป็นไปของเมืองนี้ ทำให้เราหนาวจนแทบมองไม่เห็นว่าอะไรจะทำให้ใจอุ่นขึ้นพอที่จะยังให้อยู่ในเมืองใหญ่ไซซ์เล็กแห่งนี้ ไม่หนีจากมันไปซะก่อน ความโรยราของความคิดและทิศทางของที่แห่งนี้ก็ดูดสีสันของชีวิตและความหวังออกจากร่างกายนี้ทุกทีๆ  ตลอดหลายนาทีที่เพลงจังหวะสนุกของรัสมีดังก้อง เราแอบตัวหดเล็กลงเพราะความคิดนี้ในหัว แต่ก็ยังอยากแนะนำให้ลองกดฟังจิตวิญญาณอีสานล้ำลึกในแบบโซลของเธอนะ! เพราะเธออุตส่าห์บอกไว้ในเนื้อเพลงแล้วว่า […]

ชวนเยือนสุสานอย่างสุนทรีย์! กับงานดนตรีในป่าช้าสวยกลางเมือง ที่สวนสุขภาพแต้จิ๋ว 26 มิ.ย. 65

บรรยากาศในเมืองหลวงคึกคักขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเพราะกรุงเทพฯ กลับมาจัดกิจกรรมดนตรีในสวนให้ผู้คนได้ออกมานั่งปิกนิก ฟังเพลงท่ามกลางต้นไม้สีเขียว ติดต่อกัน 3 สัปดาห์แล้ว ส่วนสัปดาห์นี้ ผู้จัดหลายรายก็ยังคงเตรียมงานดนตรีสนุกๆ พร้อมให้ทุกคนไปเสพดนตรีและพักผ่อนกันแบบจัดเต็ม สำหรับสุดสัปดาห์นี้ งานดนตรีกลางแจ้งที่เราคิดว่าน่าสนใจและอยากชวนทุกคนไปกันคืองานดนตรีในสวนที่ ‘สวนสุขภาพ สมาคมแต้จิ๋ว’ เขตสาทร จัดโดยมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข ความน่าสนใจคือสวนสุขภาพแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ของสุสานจีนมาก่อน หรือที่หลายคนอาจรู้จักในชื่อ ‘ป่าช้าวัดดอน’ หรือ ‘สุสานแต้จิ๋ว’ ที่นี่เป็นสุสานเก่าแก่ใจกลางเมืองตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เคยมีพื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่า 150 ไร่ และเป็นที่ฝังศพมากกว่าหมื่นศพ ในอดีต สุสานแต้จิ๋วไม่ได้เปิดให้ใครเข้าไปง่ายๆ แต่จะเปิดเฉพาะช่วงเทศกาลเชงเม้ง ซึ่งเป็นวันที่ชาวจีนไปไหว้บรรพบุรุษ ทำให้พื้นที่ดูเปลี่ยว รกร้าง ส่วนบริเวณนอกรั้วก็เคยเป็นสถานที่เสื่อมโทรม มีน้ำท่วมขัง ไม่ได้รับการดูแล อีกทั้งยังมีตำนานเรื่องผีกับความเฮี้ยน ทำให้สุสานแห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องความสยองขวัญ จนไม่ค่อยมีใครกล้ามาเยือนโดยเฉพาะยามค่ำคืน แต่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตำนานหลอนและความน่ากลัวของที่นี่ค่อยๆ ลดลง เนื่องจากมีการล้างป่าช้าทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ดวงวิญญาณหลายครั้ง ประกอบกับการขยายตัวของเมืองใหม่ที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนของป่าช้าได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้กลายเป็นสวนสาธารณะที่คนทั่วไปเข้าไปพักผ่อน ออกกำลังกาย รวมถึงเป็นสถานที่จัดกิจกรรมกลางแจ้งด้วย สำหรับวงดนตรีที่จะจัดแสดงในงานวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 มีดังนี้ […]

ร้านน้องท่าพระจันทร์ เซฟโซนของคนฟังเพลง l Somebody Ordinary

ทำไมร้านน้องท่าพระจันทร์ถึงเป็นที่รักของเหล่าศิลปินคนทำเพลงและคนธรรมดาอย่างเราๆ มานานกว่า 43 ปี วันนี้ Somebody Ordinary ขอพาทุกท่านเดินทางไปกับโลกของเสียงดนตรี ที่กาลเวลาไม่อาจพลากความสุขนี้ไปจากใจเราได้ ร้านน้องท่าพระจันทร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หากคุณต้องการแผ่นเสียง ไม่ว่าจะเพลงแนวไหนร้านน้องก็หาให้คุณได้หมด ‘เพียงแค่คุณเปิดใจ’  และที่นี่ถึงแม้จะเป็นเพียงร้านเล็กๆ แต่พี่นก-อนุชา นาคน้อย ยังเปิดให้เป็นพื้นที่สำหรับเหล่าศิลปินน้องใหม่ในวงการได้มีสเปชในการแสดงดนตรีสด พบปะแฟนเพลงของตนเอง ความน่ารักของร้านน้องท่าพระจันทร์ ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสถานที่แจ้งเกิดให้เหล่าศิลปินมากมาย และเราหวังว่าสักวันจะมีหน่วยงานรัฐเล็งเห็นถึงการสนับสนุนให้เกิดสเปซแบบนี้ขึ้นอีกหลายๆ แห่งในประเทศไทย ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะมีนักดนตรีชุมชนเกิดขึ้นมากมาย จากการที่พื้นที่ในการโชว์ของเฉกเช่นร้านน้องท่าพระจันทร์ก็ได้นะ

นั่งเล่นบนลานหญ้า ฟังเพลงเพราะๆ กับ ‘วงนั่งเล่น’ ร่วมด้วย ‘ธีร์ ไชยเดช’ เสาร์ที่ 11 มิ.ย. 65 ที่มิวเซียมสยาม

จู่ๆ ช่วงนี้กรุงเทพฯ ก็กลายเป็นเมืองแห่งอีเวนต์ขึ้นมา อาจเพราะสถานการณ์โรคระบาดที่ดีขึ้น บวกกับการทำงาน ทำงาน ทำงาน ของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ที่ขยันโปรโมตกิจกรรมน่าสนใจๆ และไปปรากฏตัวในหลายๆ งาน จึงทำให้กรุงเทพฯ ดูสนุกกว่าที่เคย อย่างช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสดนตรีในสวนเป็นที่พูดถึงมาก ภาพผืนหญ้าเขียวขจีตัดกับเหล่าต้นไม้หลากชนิด แต่งแต้มด้วยคนเมืองที่ออกมาปูเสื่อปิกนิก ฟังเพลง เต้นรำ กลายเป็นไวรัลแชร์กันทั่วเมือง เราจึงอยากชวนทุกคนไปร่วมนั่งเล่นบนลานหญ้า ฟังเพลงเพราะๆ กันอีกงานที่ลานหญ้ามิวเซียมสยาม ในวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสวนขนาดใหญ่เสมอไป เพราะกิจกรรมประเภทนี้สามารถจัดได้ทุกพื้นที่ อย่างงานดนตรีครั้งนี้ก็จัดขึ้นบนลานหญ้าขนาดกำลังวิ่งเล่นสนุกๆ ที่มิวเซียมสยาม โดยได้ ‘วงนั่งเล่น’ วงดนตรีสุดเก๋าเจ้าของบทเพลง ‘อกหักให้มันเท่ๆ หน่อย’ ร่วมด้วย ‘ธีร์ ไชยเดช’ มาเล่นดนตรีให้ทุกคนชมกันฟรีๆ  งานดนตรีบนลานหญ้าจัดขึ้นตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป ในวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2565 ณ มิวเซียมสยาม นอกจากนี้ ในเวลา 18.00 – 22.00 […]

ราชบุตร สเตอริโอ ค่ายเพลงหมอลำยุค 70 ที่อยากทำให้ดนตรีอีสานกลับมาคึกคัก

วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เติบโตในจังหวัดอุบลราชธานียุค 1990 – 2000 จะรู้จักหรือคุ้นเคยกับ ‘ราชบุตร’ ร้านเช่าซีดีและดีวีดีที่มีอยู่หลายสาขาทั่วเมืองอุบลฯ เราเองก็คุ้นเคยกับที่นี่ดี เพราะในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีอย่างจำกัด การเช่าซีรีส์หรือหนังกลับไปดูที่บ้านจึงเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิงไม่กี่ประเภทที่คอยหล่อเลี้ยงจิตใจ และเปรียบเสมือนประตูสู่โลกกว้างให้เด็กต่างจังหวัดสมัยนั้น นอกจากธุรกิจร้านเช่าซีดีขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ก่อนหน้านั้นราชบุตรเคยทำ ‘ค่ายเพลงหมอลำ’ อย่างเต็มตัวนานถึง 20 ปี โดยใช้ชื่อว่า ‘ราชบุตร สเตอริโอ’ ราชบุตร สเตอริโอ เคยเป็นค่ายเพลงที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเคยอัดเพลงให้ศิลปินแห่งชาติหลายคน เช่น เคน ดาเหลา, บานเย็น รากแก่น, ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม, ทองใส ทับถนน, บุญเพ็ง ไฝผิวชัย, และฉวีวรรณ ดำเนิน ทั้งนี้ ปัจจุบันค่ายเพลงราชบุตร สเตอริโอ หยุดดำเนินการอย่างถาวรแล้ว เนื่องจากธุรกิจซบเซาลงตามความนิยมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปิดฉากตำนานการอัดเพลงและการผลิตเพลงหมอลำยุค ‘แอนะล็อก’ ลงอย่างสิ้นเชิง  ขณะเดียวกัน ราชบุตร สเตอริโอ กำลังเปลี่ยนถ่ายตัวเองเข้าสู่ยุค ‘ดิจิทัล’ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เรามีโอกาสกลับอุบลฯ เพื่อพบกับ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.