เธอก็มีได้นะ ตู้กาชาปองน่ะ! ‘Showy Gacha’ กระเป๋าตู้กาชาฯ ที่มาพร้อมแคปซูลและหมุนได้จริง

ในวัยเด็ก คุณเคยฝันว่าอยากมีตู้กาชาปองส่วนตัวไหม ถ้าใช่ ความฝันของคุณกำลังจะเป็นจริงได้ด้วย ‘Showy Gacha’ กระเป๋าเป้รูปทรงตู้กาชาปอง ที่เหมือนยกตู้กาชาฯ จากย่านอากิฮาบาระมาไว้บนไหล่เรา Showy Gacha เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคต์ ‘Let’s Play Gacha Project’ ผลงานการออกแบบของ ‘Takara Tomy Arts’ บริษัทของเล่นสัญชาติญี่ปุ่นที่หยิบเอาต้นแบบตู้กาชาปองรุ่น Gacha 2EZ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในเด็กและผู้ใหญ่มาเป็นใช้เป็นต้นแบบ เพื่อเฉลิมฉลองให้กับวันกาชาปอง (Gacha Day) ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ของทุกปี Showy Gacha ถูกออกแบบมาให้เป็นกระเป๋าเป้ขนาดใหญ่ที่ช่องด้านหลังสามารถใส่เอกสารขนาด A4 และแล็ปท็อปขนาด 13 นิ้วได้ พร้อมช่องแบ่งสำหรับจัดเก็บสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ภายในเพื่อความเป็นระเบียบ ขณะที่กระเป๋าส่วนหน้ามาพร้อมแคปซูลกาชาปองให้ผู้ใช้งานสามารถใส่ของสุดน่ารักไว้ภายใน แม้ว่าภายในตัวกระเป๋าจะไม่มีกลไกที่เมื่อหมุนแล้วตัวแคปซูลจะตกลงมากแบบเครื่องกาชาปองจริง แต่ด้วยตัวกลไกที่หมุนแล้วมีเสียง ‘คลิก’ ทีี่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังหมุนกาชาปองอยู่จริงๆ และช่องด้านล่างที่สามารถเปิดซิปเพื่อสุ่มหยิบแคปซูลจากบางลูกที่เราใส่เอาไว้จำนวนมากภายใน ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ Showy Gacha กลายเป็นกระเป๋าสุดเท่ที่ใครๆ ต่างต้องการมีไว้ในครอบครอง ใครที่สนใจอยากเป็นเจ้าของ Showy Gacha สามารถสั่งจองล่วงหน้าผ่านทาง […]

Urasando Public Toilet ห้องน้ำสาธารณะที่ออกแบบด้วยความเรียบง่าย ใช้งานสะดวก สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม

เวลาต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ ทุกคนจะนึกถึงเรื่องความสะอาด สุขอนามัย และความปลอดภัยเป็นสำคัญ แน่นอนว่าห้องน้ำสาธารณะหลายๆ แห่งในบ้านเรานั้นไม่ค่อยน่าพิสมัยเสียเท่าไหร่  วันนี้เราอยากพาไปดูอีกหนึ่งไอเดียการออกแบบห้องน้ำสาธารณะในประเทศญี่ปุ่น ในโครงการ ‘The Tokyo Toilet’ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation) เนื่องในโอกาสการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020 ที่ผ่านมา  โครงการ The Tokyo Toilet ได้ชวนเหล่านักออกแบบและสถาปนิกมาออกแบบห้องน้ำสาธารณะหลายแห่งทั่วเขตชิบูยาของกรุงโตเกียว เพื่อสร้างการออกแบบที่อบอุ่น เชิญชวน และโดดเด่น และทำให้ประชาชนสามารถใช้ห้องน้ำนอกบ้านกันได้อย่างสุขใจ โดยหนึ่งในนักออกแบบที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่นอย่าง ‘Marc Newson’ นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาวออสเตรเลีย ได้ออกแบบห้องน้ำสาธารณะแห่งที่ 14 จากทั้งหมด 17 แห่ง ชื่อว่า ‘Urasando Public Toilet’ ซึ่งเริ่มเปิดให้ใช้งานไปในวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ด้านในของห้องน้ำสาธารณะแห่งนี้ทาด้วยสีเขียวพาสเทลเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลสบายตา ดูสว่าง ให้ความรู้สึกสะดวกสบาย เกิดเป็นความเรียบง่ายที่สามารถมองเห็นทุกสิ่งได้อย่างทั่วถึง ส่วนวัสดุที่เลือกใช้มีความทนทาน ทำความสะอาดง่าย ส่งผลให้พื้นที่สาธารณะมีเสน่ห์เชื้อชวนให้ผู้คนมาใช้บริการ นอกจากนี้ Marc Newson ยังได้หยิบหัวใจของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาใช้เพื่อทำให้สไตล์งานออกแบบของเขาเข้ากับรากเหง้าของแดนอาทิตย์อุทัย ด้วยการดีไซน์หลังคาทองแดงมิโนโกะ […]

สำรวจดราม่า ความรัก และวิถีชีวิตญี่ปุ่น ใน Japanese Film Festival 2023 วันที่ 10 – 19 / 25 – 26 ก.พ. 2566 กทม.และเชียงใหม่

หนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์ที่คอหนังชาวไทยรอมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น Japanese Film Festival หรือเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น ที่ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นเป็นตัวตั้งตัวตีจัดมาหลายปี เพราะนี่คือโอกาสดีที่ชาวไทยจะได้ชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นนอกกระแสที่ปกติอาจไม่มีโอกาสชมในโรงภาพยนตร์ ทั้งยังมีหลากหลายแนวและรสชาติให้ได้เปิดมุมมองทำความเข้าใจญี่ปุ่นในบริบทอื่นๆ ด้วย ปีนี้ Japanese Film Festival 2023 กลับมาพร้อมโปรแกรมภาพยนตร์คุณภาพกว่า 10 เรื่อง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ผู้ชมภาพยนตร์ร่วมสนุกที่โรงหนัง House Samyan ซึ่งเป็นสถานที่ฉายหนังของเทศกาลที่กรุงเทพฯ ส่วนชาวเชียงใหม่ชมฟรี 4 เรื่องที่สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่ โปรแกรมภาพยนตร์ใน Japanese Film Festival 2023 มีดังนี้ – 𝗕𝗟 𝗠𝗲𝘁𝗮𝗺𝗼𝗿𝗽𝗵𝗼𝘀𝗶𝘀 (2022)– 𝗜𝗡𝗨-𝗢𝗛 (2021)– 𝗞𝗶𝗱𝘀 𝗞𝗼𝗻𝗳𝗲𝗿𝗲𝗻𝗰𝗲 (2022)– 𝗧𝗵𝗲 𝗙𝗶𝘀𝗵 𝗧𝗮𝗹𝗲 ลูกปลาน้อย (2022)– 𝗔𝗻𝗱 𝗦𝗼 𝘁𝗵𝗲 𝗕𝗮𝘁𝗼𝗻 𝗶𝘀 𝗣𝗮𝘀𝘀𝗲𝗱 แล้วไม้วิ่งผลัดก็ถูกส่งต่อ (2021)– 𝗠𝗮𝘆 […]

‘mui Board’ กระดานไม้อัจฉริยะ อุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ในบ้าน สงบ เรียบง่าย กลืนไปกับบ้าน

ใครจะรู้ว่าแผ่นไม้กระดานที่ติดอยู่บริเวณผนังบ้านอย่างเรียบง่าย ความจริงแล้วคือ ‘mui Board’ กระดานไม้อัจฉริยะที่ใช้ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านร่วมกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออื่นๆ อย่าง Apple, Google และ Amazon ได้อย่างง่ายดาย mui Board เป็นผลงานการออกแบบของ ‘mui Lab’ บริษัทเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ที่ต้องการทำให้อุปกรณ์อัจฉริยะชิ้นนี้กลืนไปกับผนังบ้าน คล้ายเฟอร์นิเจอร์ไม้เรียบๆ ชิ้นหนึ่ง โดยระบบไฟแสดงการทำงานจะสว่างขึ้นเมื่อมีการสัมผัสเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ mui Lab ให้ความสำคัญกับการใช้เวลาร่วมกันของคนในครอบครัว โดยไม่ต้องการให้มีสิ่งรบกวนจากแสง LED ที่มักแสดงผลบนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านตลอดเวลา mui Board ทำหน้าที่เป็นเสมือนสื่อกลางของบ้านที่ทำงานร่วมกับ mui Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอเนกประสงค์ที่ช่วยมอบประสบการณ์บ้านอัจฉริยะอันสงบเงียบไม่เหมือนใครให้เจ้าของบ้านได้อย่างเป็นเอกลักษณ์  หน้าที่หลักของมันคือ การเป็น Smart Home IoT Remote Control ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์และเครื่องใช้ IoT (Internet of Things) ที่หลากหลายได้จากระยะไกล ตั้งแต่ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ลำโพง และอุปกรณ์อัจฉริยะภายในบ้านอื่นๆ  mui Board ยังเป็นบอร์ดข้อมูลประจำวันที่ใช้ตรวจสอบสภาพอากาศ จับเวลา […]

Japan Again ในวันที่แสงแดดอบอุ่น

ขึ้นปีใหม่เลยคิดถึงเรื่องเก่า เปิดลิ้นชักออกมาแล้วไม่เจอเครื่องไทม์แมชชีนย้อนเวลาเหมือนในห้องของโนบิตะ วิธีเดียวที่ใช้นึกถึงวันที่ผ่านมาให้จดจำได้มากที่สุดคงไม่พ้นการดูภาพถ่าย ภาพแทนสายตาที่บันทึกไว้เป็นเครื่องกันลืมว่าครั้งหนึ่งเราเคยรู้สึกอย่างไรต่อช่วงเวลาเหล่านั้น ‘เซโตะอุจิ’ เป็นอาณาจักรทะเลที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น แวดล้อมไปด้วย 7 จังหวัดที่มีสไตล์ต่างกันออกไปตามแต่ละวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ แต่สิ่งที่ไม่ต่างกันคือการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะชนบท ชุมชนริมฝั่ง หรือในเมืองใหญ่ ทุกวิถีชีวิตล้วนดำรงด้วยความเป็นระเบียบ สะอาดตา มองแล้วไม่มีอะไรเกะกะ มีแต่ความสบายใจ ประเทศโลกที่สามกับประเทศโลกที่หนึ่งช่างแตกต่าง ญี่ปุ่นครั้งแรกของเราในฐานะผู้มาเยือนจึงมีแต่ภาพแปลกใหม่ สิ่งรอบตัวไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สำคัญมากหรือน้อย ล้วนแล้วแต่มีรายละเอียดราวกับชิ้นงานศิลปะให้ชวนมอง เป็นเมืองที่คนเดินได้แบบไม่ต้องกังวล ปั่นจักรยานไปทำงานได้อย่างปลอดภัย ผู้สูงอายุเองก็ยังยืนหลังตรงทำมาหากินได้จำนวนไม่น้อย เกือบทุกคนแข็งแรงจนมีกล้ามขาเป็นมัดๆ  อีกความดึงดูดของญี่ปุ่นคือ ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมตึกสูงต่ำลดหลั่นกันไป ประกอบกับเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยความร่วมสมัยและยังคงผสานความดั้งเดิมไว้อย่างลงตัว แสงแดดอบอุ่นที่ญี่ปุ่นช่วยให้กล้องโลหะตัวเก่าที่เราพกติดตัวไปบันทึกภาพความทรงจำออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุดเทียบเท่าที่เคยได้มองเห็น  ญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีที่แล้วกลายเป็นภาพจำเลือนๆ ตามขวบปีที่เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าหลังจากยุคโรคระบาด ที่นั่นจะเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มปีใหม่ที่คนบนโลกสามารถเดินทางทั่วถึงกันได้แล้วแบบนี้ ยิ่งทำให้รู้สึกอยากจองตั๋วเครื่องบินขึ้นมา แต่เปิดลิ้นชักอีกทีคราวนี้ก็พบว่า ยังไม่มีตังค์นี่หว่า ดูท่าคงต้องทำงานเก็บเงินก่อน หวังว่าจะได้พบกันอีกนะ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

‘ญี่ปุ่น’ กับการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมการเดินทาง ‘ระบบรถไฟ’

‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน วัฒนธรรมอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงสวัสดิการและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน จนทำให้แดนปลาดิบติดท็อป 10 ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลกแทบทุกปี หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรมากที่สุดคือ ‘เครือข่ายรถไฟ’ ที่มาพร้อมชื่อเสียงเรื่องความทันสมัย ความสะอาด และการตรงต่อเวลา ขนาดที่ว่าถ้ารถไฟขบวนไหนออกเร็วหรือช้าแค่หลักวินาที ทางบริษัทรถไฟจะรีบออกแถลงการณ์ขอโทษผู้โดยสารทันที จากความสะดวกสบายของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการเดินทางด้วยรถไฟ เห็นได้จากสัดส่วนผู้โดยสารที่ใช้งานระบบรถไฟในกรุงโตเกียวที่มีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมหานครนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ที่มีสัดส่วนดังกล่าวประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และ 19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ชวนไปสำรวจว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายรถไฟที่ดีที่สุดในโลก โดยพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศ แถมยังครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทุกกลุ่ม เปลี่ยนให้เอกชนดูแลเครือข่ายรถไฟ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ผู้ดูแลบริหารเครือข่ายรถไฟทั่วเกาะญี่ปุ่นคือ ‘กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น’ หรือ ‘Japan Railways Group (JR Group)’ ที่แต่เดิมรัฐเป็นเจ้าของ แต่เมื่อปี 1987 รัฐบาลได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โอนกิจการให้เอกชนเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขสองปัญหาหลักๆ ได้แก่ การเป็นองค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายจนบริหารงานยาก และการดำเนินงานภายใต้อิทธิพลทางการเมืองจนสร้างความเสียหายให้องค์กร อย่างการสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง […]

ชวนดูการออกแบบ Wayfinding ของ Totetsu Training Institute ที่ทั้งเก๋ไก๋ สื่อถึงรางรถไฟ และตอบโจทย์การนำทาง

Motive Inc. สตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นได้ออกแบบระบบการบอกเส้นทาง (Wayfinding) สำหรับสถาบันฝึกอบรมของบริษัทซ่อมบำรุงทางรถไฟ Totetsu Kogyo โดยใช้เครื่องหมายที่เก๋ไก๋แต่เรียบง่าย เพื่อนำทางผู้มาเยี่ยมชมอาคาร สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง Tsukubamirai จังหวัด Ibaraki ก่อตั้งขึ้นตามความต้องการของอดีตกระทรวงการรถไฟที่ทำหน้าที่บำรุงรักษาและพัฒนาระบบรางของญี่ปุ่น Wayfinding ของที่นี่มีลักษณะเป็นเส้นทางที่ชวนให้นึกถึงรางรถไฟที่ฝังอยู่ในพื้น มุ่งนำไปสู่ห้องต่างๆ โดยอ้างอิงการออกแบบจากเอกลักษณ์ของ Totetsu Kogyo ในฐานะบริษัทให้บริการระบบรางของญี่ปุ่น และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้ารับการอบรมที่ต้องมาใช้อาคารอยู่บ่อยครั้ง ทางสตูดิโอออกแบบเล่าว่า พวกเขาต้องการให้การออกแบบทำงานโดยเป็นไปตามสัญชาตญาณของผู้ใช้งาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นการตอบสนอง และพึ่งพาข้อความน้อยที่สุด นอกเหนือจากการใช้เส้นสีบริเวณชั้นล่างไกด์ผู้คนอย่างมีประสิทธิภาพ Takuya Wakizaki ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Motive Inc. ยังต้องการให้การออกแบบสร้างอิมแพกต์เมื่อมองจากด้านบนด้วย เนื่องจากอาคารมีเพดานที่เปิดโล่ง เส้นสีรางรถไฟที่ยึดโยงกันอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งพื้นที่สองส่วนในอาคาร กระเบื้องเคลือบใกล้กับทางเข้าฝังด้วยเหล็กเส้นที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนบนทางเดินก็มีการใช้พื้นไวนิลสองสีเพื่อสร้างแพตเทิร์น เหล่านี้คือการออกแบบ Wayfinding ที่สื่อสารถึงความเป็นบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับรางรถไฟได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจคือ บนพื้นที่ตีเส้นราวกับรางรถไฟนั้นมีการใช้สีแดงสนิมเพื่อให้นึกถึงรางรถไฟจริงๆ และมีข้อความสีขาวเป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษ ระบุถึงปลายทางที่เส้นทางนำไป นอกจากนี้ยังมีการใช้เศษโลหะจากอุตสาหกรรมมาทำแผ่นป้ายหลักของอาคาร และระบบรหัสสีในคีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูห้องต่างๆ บนชั้นสอง ก็มีการออกแบบเป็นคล้ายๆ ปริศนา อ้างอิงจากแผนที่เส้นทางรถไฟที่บริษัท Totetsu Kogyo ให้บริการ ถ้าใครได้ไปอบรมงานที่นี่ คงได้แรงบันดาลใจและสนุกกับการดูแลพัฒนารางรถไฟขึ้นแน่ๆ  […]

What Did You Eat Yesterday? หนังฟีลกู้ดไม่ขายจิ้น แต่ถ่ายทอดชีวิตจริงของเกย์ญี่ปุ่นที่ดูแล้วยิ้ม + หิว

What Did You Eat Yesterday? หรือ เมื่อวานคุณทานอะไร น่าจะเข้าไปอยู่ใน Watchlist ของใครหลายคนตอนที่สตรีมมิงเจ้าใหญ่นำมาเผยแพร่ให้คนไทยดู พร้อมกับเสียงลือเสียงเล่าอ้างจากนักรีวิวที่ดูแล้วว่า นี่คือซีรีส์ญี่ปุ่นแนว Slice of Life ที่ดูแล้วทั้งฟินและหิวไปพร้อมกัน  ที่ว่าฟิน เพราะมันถ่ายทอดเรื่องราวของคู่รักเกย์วัยกลางคนอย่างสมจริงและแสนจะอบอุ่นใจ โดยไม่ได้เน้นขายความจิ้น ความโป๊ หรือการแสดงความรักด้วยการแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบกัน เหมือนซีรีส์ชายรักชายส่วนหนึ่งในสื่อเมนสตรีมจะเป็น อันที่จริง ถ้าจะมีอะไรในเรื่องนี้ที่นับเป็น ‘การแสดงความรัก’ ได้ มันคงจะเป็นบทสนทนาเรียบง่ายที่ตัวละครถามไถ่ความเป็นไปของกันและกันทุกวัน รวมไปถึงการทำอาหารอันละเอียดลออ ใส่ใจของ ‘ชิโร่’ ที่สอดแทรกเป็นกิมมิกในทุกๆ ตอน นำมาซึ่งความหิวของทั้ง ‘เคนจิ’ และคนดูอย่างเราและเพราะติดใจความฟิน/ความหิวของมันนี่แหละ เราจึงไม่พลาดจะเดินเข้าโรงหนังทันที เมื่อ What Did You Eat Yesterday? เวอร์ชันภาพยนตร์เข้าฉาย ย้อนกลับไปก่อนที่เรื่องนี้จะกลายเป็นซีรีส์ฮิต What Did You Eat Yesterday? เคยเป็นมังงะที่มียอดพิมพ์กว่า 5 ล้านเล่มในญี่ปุ่น ในความนิยมอันล้นหลาม Fumi […]

ญี่ปุ่นเพิ่มโทษกฎหมายดูหมิ่นติดคุก 1 ปี ปรับสูงสุด 8 หมื่นบาทเพื่อลดปัญหา Cyberbullying

ญี่ปุ่นเพิ่มโทษกฎหมายดูหมิ่น ติดคุก 1 ปี ปรับสูงสุด 8 หมื่นบาท เพื่อลดปัญหา Cyberbullying Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางโซเชียลมีเดียต่างๆ น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบ เห็นได้จากข่าวการพุ่งสูงของยอดผู้เสียชีวิตที่เป็นเหยื่อจากการบุลลี่ทางออนไลน์ ในฐานะที่ญี่ปุ่นติดอันดับประเทศที่มีการบุลลี่รุนแรงเป็นอันดับต้นๆ บวกกับการจากไปของ ‘ฮานะ คิมูระ’ (Hana Kimura) นักมวยปล้ำและนักแสดงเรียลลิตี้โชว์ทางเน็ตฟลิกซ์ ที่ถูกโจมตีด้วยการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปลักษณ์ในโลกออนไลน์ เมื่อปี 2563  เหตุการณ์นั้นทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มกฎหมายการ ‘ดูหมิ่น’ ในโลกออนไลน์ให้มีโทษมากขึ้น โดยตัวกฎหมายฉบับใหม่นี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยกำหนดให้ผู้ที่มีความผิดต้องจำคุกสูงสุดถึง 1 ปี และมีโอกาสจ่ายค่าปรับถึงสามแสนเยนหรือคิดเป็นเงินไทย 80,000 บาท ซึ่งขยับเปลี่ยนแปลงจากโทษเดิมที่ผู้กระทำความผิดจะถูกจำคุกไม่เกิน 30 วัน และปรับเพียง 2,600 บาท  ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ให้นิยามของการดูหมิ่นว่าเป็นการดูถูกผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเขาคนนั้น ตรงกันข้ามกับการหมิ่นประมาท ที่เป็นการดูถูกผู้อื่นบนข้อเท็จจริงที่เจาะจงไปยังบุคคลที่สาม เซย์โฮ โช (Seiho Cho) ทนายคดีอาญาในญี่ปุ่นให้ความเห็นต่อผู้สื่อข่าวจาก CNN […]

ไม่พูดไม่ใช่ไม่รู้สึก! บ.ญี่ปุ่นปิ๊งไอเดียทำป้ายบอกพลังกาย พลังใจ ที่เหลืออยู่ ให้พนักงานสื่อสารกันโดยไม่ต้องพูด

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องเผชิญแรงกดดันและความเครียดจากปัญหารอบตัวอย่างเศรษฐกิจ การเมือง สังคม โรคระบาด รวมไปถึงปัญหารายวันจากที่ทำงานและเรื่องส่วนตัว แต่เพราะบทบาททางสังคมและหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ หลายคนจึงไม่สามารถระบายปัญหาหนักอกหนักใจให้ใครรู้ได้ ทำได้แค่เก็บความรู้สึกที่หนักอึ้งเหล่านั้นไว้กับตัวเอง เพราะเหตุนี้ Onken บริษัทผลิตสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์อะคริลิกสัญชาติญี่ปุ่นจึงปิ๊งไอเดียทำ ‘ป้ายบอกระดับพลังงาน’ แจกให้พนักงานในบริษัทใช้ติดเสื้อเพื่อบอกให้คนอื่นรู้ว่าพลังงาน พลังใจ ของพวกเขาในช่วงเวลานั้นๆ เหลืออยู่เท่าไหร่ ทางบริษัทเปิดเผยว่า ขั้นตอนผลิตเจ้าป้ายติดหน้าอกชิ้นนี้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงแค่พิมพ์ข้อความลงบนแผ่นอะคริลิกขนาดใหญ่ จากนั้นก็ใช้เครื่องเลเซอร์ตัดแบ่งให้เป็นป้ายขนาดเล็ก โดยข้อความบนป้ายจะระบุระดับ ‘Hit Point’ หรือหน่วยวัดพลังชีวิตของตัวละครในเกม ที่ถูกนำมาใช้แทนพลังงานที่เหลืออยู่ของคนคนนั้น ป้ายชนิดนี้มีให้เลือกทั้งหมด 3 ระดับ ระดับพลังงานสูงสุดคือสีเขียว (10,000/10,000 พลังชีวิต) รองลงมาคือสีเหลือง (3,899/10,000 พลังชีวิต) ต่ำสุดคือสีแดง (15/10,000 พลังชีวิต) พนักงานสามารถเลือกป้ายมาติดเสื้อตามระดับพลังงานและความรู้สึกในตอนนั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้พนักงานสื่อสารสภาพร่างกายและจิตใจให้คนอื่นรับรู้โดยไม่ต้องเอ่ยคำใดๆ ในทางกลับกัน ป้ายนี้ยังกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานได้ด้วย เพราะมันอาจเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาระหว่างเหล่าพนักงานที่ไม่ค่อยมีโอกาสคุยกันเท่าไหร่ พวกเขาอาจถามสารทุกข์สุกดิบกันจากการดูป้ายของอีกฝ่าย ทำให้บรรยากาศในบริษัทสดใสและมีชีวิตชีวามากขึ้น Onken เปิดเผยว่าพนักงานในหลายแผนกชื่นชอบไอเดียและเริ่มติดป้ายระหว่างทำงานกันแล้ว นอกจากนี้ ทางบริษัทยังแชร์รูปป้ายบอกระดับพลังงานลงบนทวิตเตอร์ ซึ่งกระแสตอบรับจากโลกออนไลน์ก็ดีเกินคาด ผู้คนส่วนใหญ่ชื่นชมและสนใจแนวคิดนี้ บางคนแสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเอาป้ายบอกสเตตัสแบบนี้ไปใช้ในโรงเรียนหรือในโรงพยาบาลได้ก็คงจะดีไม่น้อย ใครอยากเป็นเจ้าของป้ายบอกระดับพลังงานสุดครีเอทีฟนี้คงต้องรอกันอีกหน่อย เพราะตอนนี้บริษัทอยู่ในขั้นแรกของการผลิตสินค้า คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายได้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม […]

ทำไมไทยฮิตแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์ เพราะตามกระแสหรือโหยหาเมืองที่ดี?

“เที่ยวญี่ปุ่นในไทย ไม่ต้องไปไกลก็เหมือนอยู่แดนซากุระ”  ประโยคสุดคุ้นตาที่มักจะเห็นในคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย พักหลังหลายสถานที่ท่องเที่ยวก็นิยมสร้างเลียนแบบสถานที่สำคัญในญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ‘เที่ยวญี่ปุ่นทิพย์’ เช่น การจำลองหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยเมจิ ปราสาทฮิโนกิที่มาจากเมืองเกียวโต วัดอาซากุสะ ทางลงบันไดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน  และล่าสุดบางจังหวัดมีไอเดียจะทำย่านถนนคนเดินญี่ปุ่นให้เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริงๆ (แต่ในสภาพแวดล้อมไทย) จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมบ้านเราถึงฮิตสร้างแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์กันมากนัก? สร้างญี่ปุ่นทิพย์ เอาใจคนญี่ปุ่นและถูกใจคนไทย จุดเริ่มต้นความญี่ปุ่นทิพย์ต้องย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยชาวญี่ปุ่นชอบเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ เนื่องจากบ้านเรามีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาช้านานก็ช่วยส่งเสริมการตลาดให้คนญี่ปุ่นสนใจมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยมากกว่าแต่ก่อน สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาอยากมาท่องเที่ยวบ่อยๆ คือ การสร้างสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่น รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวย เช่น ป้ายต่างๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นอธิบายกำกับไว้ หรือพนักงานควรสื่อสารภาษาพื้นฐานได้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสมัยนั้นต้องปรับตัวสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีบรรยากาศญี่ปุ๊นญี่ปุ่น เพื่อจูงใจลูกค้าแดนซากุระให้มาอุดหนุนบ่อยๆ ขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อ 5 ปีก่อน (และปัจจุบัน) ก็ชื่นชอบไปญี่ปุ่นมากที่สุดกว่า 1 ล้านคน/ปี หรือประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด ด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามจากการออกแบบเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบการขนส่งสาธารณะสะดวกสบาย การดีไซน์อาคารทันสมัย อากาศดี ถ่ายรูปตรงไหนก็สวย และคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย จึงทำให้ชาวไทยหลายคนติดใจประเทศญี่ปุ่นอย่างทวีคูณ ตัดภาพมาช่วงที่ไม่ได้บินต่างประเทศ กลับสู่ชีวิตจริงในเมืองไทยที่ต้องเจอกับปัญหารถติดขัด มลพิษบนท้องถนน น้ำคลองเน่าเสีย […]

ผลสำรวจชี้คนญี่ปุ่นวัยทำงานเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ต้องอดข้าวกลางวัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย

คงไม่ใช่แค่ในประเทศไทยที่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ข้าวของเครื่องใช้ ราคาน้ำมัน และราคาอาหารต่างพุ่งสูงขึ้น แต่ผลกระทบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชียอย่างญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน  ผลสำรวจจาก ‘Edenred’ บริษัทจัดเตรียมสวัสดิการอาหารให้หลายบริษัทในญี่ปุ่นได้สำรวจคนวัยทำงานญี่ปุ่นในช่วงอายุ 20 – 50 ปี จำนวน 600 คน ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่า จำนวนกว่า 29.5 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจมักจะอดข้าวกลางวันในวันทำงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเอง  กว่า 56.5 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มดังกล่าวให้ข้อมูลว่า พวกเขามักจะอดมื้อกลางวันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จำนวน 28.2 เปอร์เซ็นต์ และ 15.3 เปอร์เซ็นต์ที่เหลืออดข้าวกลางวันที่จำนวน 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ และตัวเลขกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดระบุว่าต้องการประหยัดเงินเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่พวกเขาข้ามมื้อกลางวัน  เมื่อผู้สำรวจถามว่าอาหารเที่ยงมื้อไหนที่เลวร้ายที่สุดที่ต้องกินเพื่ออิ่มท้อง ผู้ตอบแบบสำรวจบางคนระบุว่าบางครั้งเขารับประทานเพียงไข่ปลา (Cod roe) หรือแค่น้ำเปล่าและขนมขบเคี้ยวเท่านั้น ส่วนบางคนก็ห่อข้าวกล่องมาจากบ้านเพื่อลดค่าใช้จ่ายในมื้อเที่ยงของวัน  ผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่งบอกว่า นอกจากเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้นตอนนี้แล้ว เธอยังกังวลถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของตัวเองหลังเกษียณอายุงานอีกด้วยว่าจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอต้องประหยัดเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ  ในปี 2019 […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.