TOGO BOOKS nomadik คาเฟ่ร้านหนังสือในเมืองโอซาก้า สถานที่ที่หนังสือและอาหารมาบรรจบกัน

ด้วยความตั้งใจที่ต้องการเปลี่ยนพื้นที่พักอาศัยให้กลายเป็นร้านค้าเชิงพาณิชย์ที่หนังสือและมื้ออาหารจะเข้ามาช่วยเติมเต็มชีวิตประจำวัน ‘TOGO BOOKS nomadik’ จึงถือกำเนิดขึ้นในเมืองโนเสะ เมืองทางตอนเหนือของจังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ที่นี่คือร้านคาเฟ่ไม้สไตล์ดั้งเดิมที่เสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าได้ดื่มด่ำไปพร้อมกับหนังสือละลานตา และวิวสวยๆ แห่งนี้เกิดขึ้นด้วยฝีมือการออกแบบของ Coil Kazuteru Matumura Architects ที่เนรมิตบ้าน 2 ชั้นเดิมให้สอดคล้องไปกับความปรารถนาของเจ้าของ เริ่มตั้งแต่ทางเข้าที่มีหนังสือออกใหม่บนชั้นวางให้ลูกค้าได้เลือกหยิบอ่านตามความต้องการ ก่อนจะนำไปสู่พื้นที่ครัวแบบเปิดและพื้นที่สำหรับรับประทานอาหารภายในคาเฟ่ที่รายล้อมไปด้วยชั้นวางหนังสือสูงจรดเพดาน ให้ได้ซึมซับกับรสชาติอาหารและเพลิดเพลินไปกับเหล่าหนังสือที่คล้ายเป็นห้องสมุดขนาดย่อม ก่อนจะเข้าสู่สวรรค์ของนักอ่านบริเวณชั้น 2 ของบ้าน ที่มาพร้อมหนังสือและพื้นที่อ่านที่เงียบสงบ ให้ได้จมอยู่ในโลกแห่งหนังสือพร้อมทิวทัศน์ของเมืองที่ผสมผสานกับสวนสีเขียวเล็กๆ ของทางร้าน ทำให้ TOGO BOOKS nomadik กลายเป็นหนึ่งแลนด์มาร์กที่ห้ามพลาดสำหรับใครที่ต้องการรับประทานอาหารจากผลผลิตในชุมชน และมองหาหนังสือดีๆ สักเล่มอ่านเคล้าไปกับวิวธรรมชาติในเมืองโอซาก้า Sources : ArchDaily | t.ly/bQ-c3Coil KMA | t.ly/yhPLF

สำรวจความรุนแรงในครอบครัว ผ่านเสียงร้องของวาฬกับความโดดเดี่ยวในสังคม ในหนัง ‘52 Hertz คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’

วันหนึ่งเราอาจเป็นวาฬหรือวาฬอาจอยู่รอบตัวเรา ‘วาฬ 52Hz’ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกนิยามว่าเป็นสัตว์ที่เหงาที่สุดในโลก เนื่องจากคลื่นเสียงที่วาฬตัวนี้ส่งออกมาเป็นความถี่ที่สูงกว่าวาฬทั่วไปใช้ในการสื่อสาร ทำให้วาฬ 52Hz ไม่สามารถสื่อสารกับฝูงได้ มันต้องอยู่อย่างเดียวดายท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ และกลายเป็นภาพแทนความโดดเดี่ยวของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ‘52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’ เป็นภาพยนตร์ดราม่าจากญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อเดียวกัน เล่าเรื่องของ ‘คิโกะ มิชิมะ’ หญิงสาวที่พยายามเอาตัวเองออกมาจากอดีตอันขมขื่นและย้ายมาอยู่ในเมืองเล็กๆ ริมทะเล จ.โออิตะ ก่อนจะได้พบกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ทำให้เธอนึกถึงอดีตของตนเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนในสังคมต่างมีอิทธิพลต่อกัน แต่บางคนอาจต้องหลบซ่อนตัวตนหรือความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง เพราะกลัวการต่อต้านจากสังคม บางคนมีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นแต่กลับถูกทำร้ายต่อเนื่อง ขณะที่บางคนเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ยินดีกับการมีชีวิตอยู่ของเขา ตัวละครเหล่านี้ต่างเหมือนวาฬที่พยายามส่งคลื่นเสียง 52 Hz ของตนเอง โดยหวังว่าวันหนึ่งจะมีคนที่มีคลื่นเสียงตรงกันรับรู้และตอบกลับมาในความถี่เดียวกัน นอกจากความเหงาและความโดดเดี่ยว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสอดแทรกประเด็นความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเป็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ในสังคมญี่ปุ่น โดยเล่าผ่านคิโกะที่ต้องเผชิญความรุนแรงทั้งจากแม่ พ่อเลี้ยง และคนรัก ซึ่งล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่ตัดสินใจเอาตัวออกมาได้ยาก ถึงอย่างนั้น คนที่เจอความโชคร้ายซ้ำซ้อนแบบคิโกะกลับผ่านทุกเหตุการณ์มาได้เพราะมีคนที่คอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจ และไม่ทำให้เธอรู้สึกโดดเดี่ยวบนโลกที่กว้างใหญ่ รับชมภาพยนตร์ 52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน ได้แล้ววันนี้ ที่โรงภาพยนตร์ SF, Major Cineplex และ House Samyan หมายเหตุ : ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว […]

ถอดรหัสความสำเร็จจาก Haikyu!! สุดยอดมังงะกีฬาสร้างแรงบันดาลใจ สู่การฟื้นกระแสกีฬาวอลเลย์บอลในญี่ปุ่น

‘เพราะว่าเราไม่มีปีก ดังนั้นเราจึงพยายามหาวิธีที่จะบิน’ หากพูดถึงอนิเมะที่กระแสแรงที่สุดในวินาทีนี้คงหนีไม่พ้น ‘ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน’ หรือ ‘Haikyu!!’ จากกระแส #ประเทศไทยมีศึกกองขยะแล้ว ครองไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วความเฟมัสของไฮคิว!! ไม่ได้เพิ่งมีในช่วงปีนี้ เพราะที่ผ่านมาไฮคิว!! ถูกพูดถึงมาตลอดในฐานะการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ ที่ ‘ชาวไฮเคี่ยน’ มักนำโควตของตัวละครในเรื่องมาแชร์กันบ่อยครั้ง ทั้งบทสนทนาที่เปิดมุมมองการใช้ชีวิตและการทำตามความฝัน ไฮคิว!! ถือเป็นสุดยอดมังงะกีฬา ที่พูดถึงเรื่องราวของ ‘ฮินาตะ โชโย’ เด็กหนุ่มตัวเล็กที่สนใจในกีฬาวอลเลย์บอลตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา หลังบังเอิญได้เห็นการแข่งขันของ ‘ยักษ์จิ๋ว’ เอซ (Ace) ในตำนานของทีมคาราสึโนะ ผู้เล่นตัวเล็กที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทีมตรงข้ามที่สูงถึง 190 เซนติเมตรได้ ทำให้ฮินาตะใฝ่ฝันอยากเป็นอย่างยักษ์จิ๋ว พยายามฝึกฝนกีฬาวอลเลย์บอล เกิดเป็นเรื่องราวมิตรภาพและการแข่งขันตามมา ไฮคิว!! ถือกำเนิดจากฝีมือการเขียนของ ‘อาจารย์ฮารุอิจิ ฟุรุดาเตะ’ โดยเริ่มต้นจากการตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ในปี 2555 ก่อนจะถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะซีซันแรกในปี 2557 ปัจจุบันมีการรวมเล่มมังงะจนจบ 45 เล่ม อนิเมะ 4 ซีซัน โดยล่าสุดภาพยนตร์อนิเมะกำลังฉายในโรงภาพยนตร์ ในชื่อ ‘Haikyu!! The […]

Kami-Ikebukuro Community Center รีโนเวตตึกสำนักงานเก่าอายุ 30 ปีในย่านคามิอิเคบุคุโระ ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชน

ถัดจากย่านอิเคบุคุโระที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่ไกล คือที่ตั้งของย่านคามิอิเคบุคุโระ ที่แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่ยังมีความเป็นชุมชนอยู่สูงไม่แพ้กัน เพราะประกอบไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักอาศัยปะปนกันไป ‘Kami-Ikebukuro Community Center’ คือพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชนแห่งใหม่ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงเอาอาคารสำนักงาน 2 ชั้นอายุกว่า 30 ปีในย่านที่เคยถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์มารีโนเวตด้วยฝีมือของสตูดิโอออกแบบ mtthw mtthw เริ่มต้นรีโนเวตจากการรื้อผนังกั้นระหว่างห้องภายในอาคารออก เพื่อสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่มีด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้งสองด้าน แบ่งพื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารให้กลายเป็นห้องสมุดที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความรู้สู่คนในชุมชน ส่วนชั้น 1 มีการออกแบบโคมไฟและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ให้เคลื่อนย้ายได้ เพื่อรองรับการใช้บริการที่หลากหลายของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดนิทรรศการ การฟังบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่อ่านหนังสือ ทำงาน รวมไปถึงการนัดรวมตัวของผู้คน อีกทั้งบริเวณผนังและฉากกั้นห้องยังใช้กระจกวินเทจที่มีลวดลายต่างๆ ที่โดยปกติจะพบในอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยโชวะมาใช้ในการตกแต่ง เพื่อให้ความรู้สึกคุ้นเคยและหวนรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในอดีต ทำให้ Kami-Ikebukuro Community Center แห่งนี้เปรียบเสมือน ‘Medium’ ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมคนในชุมชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เชื่อมกิจกรรมชุมชนเข้ากับวิวทิวทัศน์ของผู้คนในเมือง เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน ตามความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบที่หวังว่าพื้นที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่รวมผู้คน สิ่งของ และกิจกรรมต่างๆ ไว้ได้ในที่สุด Source : ArchDaily | t.ly/4PCri

AG! Calling ในวันที่แย่ก็ยังมีแก๊งหัวหน้านักเรียนคอยช่วยเรา อัลบั้มบูสต์เอเนอร์จีในการใช้ชีวิต ปล่อยพลังไปกับ ATARASHII GAKKO!

เต้น เต้น เต้น เต้นเข้าไป เพราะมีชีวิต เราจึงเต้น  ภาพ 4 สาวในชุดนักเรียนญี่ปุ่นที่กำลังเต้นในท่าทางแหวกแนว หลุดโลกอย่างพร้อมเพรียง ขัดกับภาพลักษณ์คุ้นตาของไอดอลญี่ปุ่นที่ต้องเต้นอย่างแข็งแรงและสวยงาม ทว่าเมื่อประกอบกับคาแรกเตอร์และเสียงร้องที่โดดเด่นของสมาชิกทั้ง 4 คน ได้แก่ SUZUKA, MIZYU, KANON และ RIN องค์ประกอบเหล่านี้ได้ยำรวมกันเกิดเป็น ‘ATARASHII GAKKO!’ วงไอดอลเกิร์ลกรุ๊ปแนวโปรเกรสซีฟ-ป็อปสัญชาติญี่ปุ่น ที่หลายคนอาจเคยเห็นผ่านตามาบ้างจากเพลง OTONABLUE ที่เป็นไวรัลไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คอนเซปต์ของวงคือ พวกเธอจะขออาสาเป็น ‘หัวหน้านักเรียน’ ตัวแทนของวัยรุ่นที่พร้อมแหกขนบ สู้ ชนกับสังคมภายใต้อำนาจนิยมแบบญี่ปุ่นที่บีบบังคับให้คนอยู่ในกรอบ ทำทุกอย่างเหมือนๆ กันไปหมด ผ่านเสียงเพลงและท่าเต้นหลุดโลกที่ปลุกให้เราอยากสู้ อยากลุยไปในโลกบ้าๆ ใบนี้ ‘AG! Calling’ เป็นอัลบั้มเดบิวต์อย่างเป็นทางการจากแก๊งหัวหน้านักเรียน ที่คำว่า ‘Calling’ ในชื่ออัลบั้มเป็นการเล่นเสียงกับคำว่า ‘Korin (降臨)’ ในภาษาญี่ปุ่น ที่หมายถึงการเรียกร้อง การมาถึง หรือการอุบัติขึ้น เพื่อเป็นการประกาศกร้าวตั้งแต่ชื่ออัลบั้มว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ไหน ถ้าอยากแสดงถึงตัวตน อยากสร้างจุดยืนในสังคมที่บิดเบี้ยว […]

Kyoto, our first early spring in memory แม่ และช่วงเวลาก่อนซากุระบานที่เกียวโต

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราสองแม่ลูกตัดสินใจไปเที่ยวด้วยกัน 2 คนครั้งแรก และเป็นทริปแรกของแม่ที่ไปเที่ยวต่างประเทศ เราเคยถามแม่ว่า ‘ถ้าแม่อยากออกไปเห็นที่ไหนสักที่หนึ่งบนโลกใบนี้ แม่อยากไปที่ไหน’ และจากลิสต์ที่แม่ไล่มา ญี่ปุ่นดูมีความเป็นไปได้ที่สุดของพวกเราในตอนนี้ ทำให้เกิดเป็นทริปของสองเราในดินแดนแห่งซากุระ ในช่วงเวลาก่อนที่จะผลิบาน และรอคอยให้ความอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิเข้ามาทักทาย อากาศที่ยังหนาวเย็น ส่งผลให้ทัศนียภาพของเมืองหลวงเก่าแก่แห่งนี้ถูกย้อมไปด้วยสีเทาและน้ำตาล แต่ก็มีใบไม้และดอกไม้ที่เริ่มผลิบานมาให้เราได้ชื่นใจ และฝนปรอยๆ ที่เข้ามาทักทายในวันแรก และกล่าวลาในวันสุดท้ายของทริป สร้างความหนาวเย็นและชุ่มฉ่ำในเวลาเดียวกัน  พวกเราใช้เวลาด้วยกัน เป็นบ้านของกันและกัน ในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย ออกไปสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม เมืองที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมิตรภาพ ความโอบอ้อมอารีของคนที่นี่ทำให้เราอบอุ่นและปลอดภัย และถึงจะเจออุปสรรคบ้าง หลงทางบ้าง แต่รอยยิ้มของแม่ทำให้เราที่ตึงเครียดอยู่ผ่อนคลาย ความเหนื่อยล้าที่เคยได้เห็นบนใบหน้าของแม่แทนที่ด้วยความมีชีวิตชีวาและสดใส แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไปคือความโรยรา และร่องรอยของกาลเวลาของชีวิตที่กำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง หากมองย้อนกลับไป ทุกอย่างได้กลายเป็นความทรงจำที่มีค่าของพวกเราสองคนเมื่อเวลาผ่านไป เราดีใจที่ได้ใช้เวลาด้วยกันกับคนที่เรารักและเป็นบ้านของเรา การผจญภัยและการอยู่ไกลบ้านของแม่ในวัย 60 ทำให้เรารู้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน เราก็สามารถตื่นเต้นกับสิ่งที่พบเจอ มีความสุขกับสิ่งเล็กๆ ได้ ตราบใดที่ยังไม่ลืมความเป็นเด็กที่ผลิบานในตัวของเราเอง หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ค้นหาความพิเศษของวันธรรมดาในหนังเรื่อง Perfect Days

ไม่เกินจริงแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า Perfect Days คือหนังที่มอบการมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวันในการใช้ชีวิต และเป็นความสุขให้การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ดีดั่งฝัน วันที่ผิดหวังเกินทน วันหลังจากนี้ หรือวันนี้ในชั่วขณะที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม ทุกๆ วันคือวันวันหนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่าฟังดูคลิเชและไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่หนังญี่ปุ่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องนี้กลับมอบประสบการณ์ที่ต่างออกไปให้ผู้ชมอย่างเราได้ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครชายผู้ประกอบอาชีพเป็นคนทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นงานหนักหนาที่หลายคนในสังคมแสนรังเกียจ ดูไม่น่ามีความสุขได้เลย แต่เรากลับมองเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการออกไปทำงานในแต่ละวันอย่างเปี่ยมล้นจนน่าประหลาดใจ รู้ตัวอีกที การได้เฝ้ามองเขาทำสิ่งต่างๆ ก็กลายเป็นความเพลิดเพลินใจอย่างที่หาไม่ได้ในหนังเรื่องไหนมาก่อน ไม่ว่าแต่ละวันจะเป็นวันที่ดี วันที่ผิดหวัง วันที่ผ่านไปแล้ว หรือวันที่ยังมาไม่ถึง ตัวละครนั้นยังคงมีจิตใจที่อยู่กับปัจจุบันชั่วขณะนั้น แม้ฟังดูเรียบง่ายและไร้ซึ่งแก่นสาร แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอันธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษแต่อย่างใดนั้นกลับสอนใจเราให้ลองหยุดชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นและละทิ้งทุกสิ่งไว้ก่อน  อะไรที่ทำให้ผู้กำกับชาวเยอรมันถ่ายทอดหนังที่สะท้อนชีวิตของชายชาวญี่ปุ่นออกมาแบบนั้น คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจแนวคิดและวิถีการทำงานของคนญี่ปุ่นใน Perfect Days กัน วันธรรมดาที่เปลี่ยนไปเพราะวิธีคิดในการใช้ชีวิต เมื่อมองดูชั้นหนังสือตามร้านหนังสือบ้านเรา บรรดาหนังสือพัฒนาตนเองในชั้นเหล่านั้นมักเป็นหนังสือที่หยิบยกคำญี่ปุ่นมาใช้เป็นชื่อหนังสือปรัชญาชีวิต ไม่ว่าจะ ‘อิคิไก’, ‘อิจิโกะ-อิจิเอะ’ หรือ ‘มตไตไน’ เป็นต้น แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคงจะมองเป็นคำทั่วๆ ไป เป็นวิถีชีวิตที่พวกเขาใช้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะมันฝังรากลึกในทุกสิ่งที่คนญี่ปุ่นเป็น ซึ่งคงยากที่จะสอนสิ่งเหล่านี้หรืออธิบายให้เข้าใจได้อย่างที่พวกเขาเข้าใจ แม้แต่จะอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ออกมาให้คนญี่ปุ่นฟังเองยังเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของพวกเขา น่าสนใจที่คนญี่ปุ่นให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน […]

‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์จากบ้านญี่ปุ่น 80 ปี ที่ช่วยเพิ่มการท่องเที่ยวและลดจำนวนบ้านร้างในประเทศ

บ้านที่ถูกทิ้งร้างเป็นปัญหาใหญ่ของหลายพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้รัฐบาลต้องมองหาวิธีแก้ไขเพื่อลดปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของบ้านร้างในประเทศ ซึ่งในเมืองโยบุโกะ จังหวัดซากะ ก็มีบ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมอายุกว่า 80 ปีถูกทิ้งร้างเอาไว้เหมือนกัน สถาปนิกจาก ‘CASE-REAL’ จึงได้ออกแบบและเปลี่ยนบ้านเก่าให้กลายเป็น ‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมือง โดยเมืองโยบุโกะนั้นเป็นที่รู้จักในเรื่องการล่าวาฬในสมัยเอโดะ และมีชื่อเสียงในเรื่องการตกหมึก แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน จำนวนประชากรในย่านนี้ก็ลดน้อยลงเนื่องจากการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้มีบ้านถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการนำบ้านว่างหลังนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามากขึ้น และหวังว่าจะช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองมากกว่าเดิม บ้านที่ CASE-REAL เลือกนั้นตั้งอยู่ริมถนนโยบุโกะ ถนนที่เต็มไปด้วยอาหารทะเลท้องถิ่นและมีแผงขายสินค้าตั้งอยู่ทุกเช้า และแม้ว่าบ้านหลังนี้จะทรุดโทรมและมีปัญหาด้านโครงสร้างอยู่บ้าง แต่ CASE-REAL ได้สำรวจและเลือกจุดแข็งของบ้านมาปรับปรุงให้เป็นโครงสร้างและฟังก์ชันที่เหมาะสมกับการทำโรงเบียร์ โดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ ภายในอาคารประกอบไปด้วยพื้นที่ผลิตเบียร์ในห้องโถงแบบเปิด ส่วนด้านหน้าเป็นกระจกทั้งสองชั้นเพื่อให้ด้านในมองเห็นถนนด้านนอก ส่วนด้านนอกก็สามารถมองเข้ามาเห็นบรรยากาศในโรงเบียร์ที่ประกอบด้วยโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงนำสเตนเลสมาใช้สำหรับองค์ประกอบต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์และที่จับ เพื่อสะท้อนถึงอุปกรณ์ในการต้มเบียร์ด้วย Sources :CASE-REAL | tinyurl.com/wymyf2f6Designboom | tinyurl.com/4dekx5d4

‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]

Nippan Group Tokyo Headquarter ออกแบบห้องสมุดส่วนกลางให้เป็นพื้นที่ทำงาน ที่รวมหนังสือจากคนทำงานพร้อมโน้ตบอกเหตุผล

การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานดีตามไปด้วย แต่สำหรับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว การเติมข้อมูลให้กับตัวเองอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้ ‘Nippan Group Tokyo’ บริษัทขายส่งหนังสือที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นจึงได้ลงทุนออกแบบห้องสมุดส่วนกลางของ ‘Nippan Group Tokyo Headquarter’ ให้ตอบโจทย์คนทำงานมากที่สุด จากฝีมือของ ‘KOKUYO’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่น KOKUYO เปลี่ยนพื้นห้องที่มีระนาบเดียวให้กลายเป็นเนินขั้นบันไดเล็กๆ โดยแต่ละขั้นบันไดจะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานและชั้นหนังสือแบบลดหลั่นกันไป ทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพื้นที่และหนังสือที่ว่าอยู่บนชั้นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วห้องมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่ใช้ในการออกแบบก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์ภายในพื้นที่ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุออร์แกนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ อิฐ ไม้ กรวด ไปจนถึงนิตยสารและกระดาษที่ใช้แล้ว แถมในการดีไซน์พื้นที่ยังคำนึงถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่การทำทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ไปจนถึงการกำหนดความสูงของชั้นหนังสือให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เพื่อให้หนังสือทุกเล่มสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือชาย-หญิงที่มีความสูงแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ความพิเศษของหนังสือกว่า 2,000 เล่มภายใน Nippan Group Tokyo Headquarter แห่งนี้ยังคัดเลือกโดยพนักงานภายในออฟฟิศแห่งนี้ด้วยกันเอง โดยหนังสือแต่ละเล่มจะมาพร้อมโน้ตคำแนะนำหรือเหตุผลสั้นๆ ในการเลือกหนังสือเล่มนั้นๆ จากเจ้าของตัวจริง ถือเป็นกิมมิกเล็กที่ทำให้การอ่านน่าสนใจและเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสในการค้นหาเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการ ‘สร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร’ ที่พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกันเองและหนังสือภายในห้องมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เวลา และกฎแบบเดิมๆ […]

‘Dream Stadium สนามของเด็กมีฝัน’ โปรเจกต์ฟื้นฟูสนามฟุตบอลทรุดโทรมด้วยลายกัปตันซึบาสะและนักบอลไทย

ไอดอลที่เรายกให้เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตไม่ได้มีแค่คนที่มีอยู่จริงเท่านั้น แต่อาจเป็นตัวละครจากหนังสือ หนัง การ์ตูน หรือสื่อบันเทิงต่างๆ ที่เป็นตัวจุดประกายทำให้เกิดแรงบันดาลใจและสร้างความฝันให้ใครหลายคน ‘กัปตันซึบาสะ’ มังงะฟุตบอลชื่อดังก็ถือว่าเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่าคนรักกีฬาฟุตบอล และถูกนำมาใช้เป็นไอเดียโปรเจกต์ ‘Dream Stadium…สนามของเด็กมีฝัน’ เพื่อต่อยอดความหวัง ความฝัน และความมุ่งมั่นในเส้นทางฟุตบอลของเด็กไทย ‘Dream Stadium…สนามของเด็กมีฝัน’ เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่าง Think Curve – คิดไซด์โค้ง, บิ๊กวัน กรุ๊ป (Big One Group), แกรนด์สปอร์ต และสโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในการฟื้นฟูสนามฟุตบอลที่ทรุดโทรมทั่วกรุงเทพฯ ให้กลับมาสวยงาม ด้วยการนำเอาป็อปคัลเจอร์และกีฬามาดึงดูดให้คนในชุมชนกลับมาเล่นฟุตบอลกันอีกครั้ง ผ่านการแต่งเติมภาพ ‘กัปตันซึบาสะ’ มังงะฟุตบอลชื่อดังผลงานของ ‘อ.โยอิจิ ทาคาฮาชิ’ ลงบนสนาม ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปี 2564 หลายคนอาจเคยเห็น ‘กัปตันซึบาสะ’ ที่สนามฟุตบอลใน ‘สวนเฉลิมหล้า เขตราชเทวี’ ซึ่งเป็นการโปรโมตการแข่งขันเจลีกมาบ้างแล้ว แต่คราวนี้กัปตันซึบาสะมาปรากฏตัวที่สนามฟุตบอลในชุมชนแฟลตห้วยขวาง พร้อมกับ ‘บุนนาค สิงห์ประเสริฐ’ กัปตันทีมชาติไทย และ ‘สามพี่น้องกรสวัสดิ์ ฟ้าลั่น-สกุล-ชนะ’ […]

Komae-yu โรงอาบน้ำสาธารณะในญี่ปุ่น พื้นที่แห่งความสะอาดและสดชื่นของชุมชน

ถ้าพูดถึงเรื่องการอาบน้ำร่วมกัน ประเทศที่เราต้องคิดถึงอันดับแรกเลยคือ ‘ญี่ปุ่น’ เพราะว่าโรงอาบน้ำสาธารณะและออนเซ็นนับเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในวัฒนธรรมการอาบน้ำของผู้คนในแดนปลาดิบ ยิ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดโรงอาบน้ำสาธารณะขึ้นหลายแห่งเพื่อปรับปรุงสุขอนามัยสาธารณะ และโรงอาบน้ำยังทำหน้าที่เป็นสถานที่นัดหมายพบปะของผู้คนด้วย กว่าครึ่งศตวรรษต่อมา โรงอาบน้ำสาธารณะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยเนื่องจากทุกครัวเรือนมีห้องและอ่างอาบน้ำเป็นของตัวเอง ทำให้การอาบน้ำกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ส่งผลให้โรงอาบน้ำหายไปจากเมืองในชั่วพริบตาเดียว เพื่อสืบทอดให้โรงอาบน้ำสาธารณะยังเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มอบความสดชื่นให้กับชาวบ้านชาวเมือง แผนฟื้นฟูโรงอาบน้ำจึงเกิดขึ้นโดยสตูดิโอสถาปนิกอย่าง Schemata ที่เคยรีโนเวต Koganeyu ซึ่งเป็นเซนโตท้องถิ่นแห่งหนึ่งในโตเกียวที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จนกลายเป็นโรงอาบน้ำหลังเก่าที่มีหน้าตาสวยงามและน่าใช้ มาคราวนี้ Schemata ได้ออกแบบโรงอาบน้ำสาธารณะแห่งที่สองอย่าง ‘Komae-yu’ ซึ่งเป็นโรงอาบน้ำสาธารณะแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีพื้นที่ใช้สอยชั้นบน และมี ‘Bandai’ หรือเคาน์เตอร์ที่มีไว้ต้อนรับผู้ใช้บริการ จะจิบเบียร์ ดื่มนม หรือรับประทานอาหารก็ทำได้ ทั้งยังได้พักผ่อนหย่อนใจไปกับวิวภูเขาไฟฟูจิบนผนังกระเบื้องได้ด้วย และเนื่องจากสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ในชานเมืองของโคมาเอะซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางและมีธรรมชาติที่ชุ่มฉ่ำ ทางเจ้าของและสถาปนิกจึงได้ออกแบบโรงอาบน้ำสาธารณะด้วยการผสมผสานความสดชื่นของสีเขียวเข้ากับห้องซาวน่าแสนสบาย เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัว นอกเหนือจากสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องของการอาบน้ำ สถานที่แห่งนี้ยังตั้งอยู่ในชุมชนและอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟ ความสะดวกทั้งเรื่องการใช้งานและการเดินทางนับตั้งแต่เปิดให้บริการ ทำให้โรงอาบน้ำแห่งนี้ค่อยๆ กลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยแท้จริง Source : ArchDaily | bit.ly/3O3jWjr

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.