ไทยติด 10 ประเทศอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผู้หญิง

ผลสำรวจจาก World Population Review ปี 2022 เผยว่า ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 10 เมืองอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้หญิง จากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สำรวจความคิดเห็นผู้หญิงชาวอเมริกันที่เคยเดินทางท่องเที่ยวภายในหนึ่งปี ไม่ว่าจะไปคนเดียวหรือไปหลายคน ทั้งหมดประมาณ 32 ล้านคน  เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก เช่น ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย ความรุนแรงทางเพศ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ และทัศนคติต่อความรุนแรง ซึ่งคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน โดยผลสรุป 10 อันดับแรกจากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ – อันดับ 1 แอฟริกาใต้ 772 คะแนน – อันดับ 2 บราซิล 624 คะแนน – อันดับ 3 รัสเซีย 593 คะแนน – อันดับ 4 เม็กซิโก […]

UNDP ชวนหาสาเหตุความรุนแรง เมื่อความสุดโต่งและปัจจัยเชิงโครงสร้าง คือบ่อเกิดของการใช้ความรุนแรง

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นภาพความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศไทยและรอบโลก การกลับมาของฝ่ายขวาจัดและแนวคิดนิยมเผด็จการ และที่อีกด้าน ผู้คนออกไปเรียกร้องความเท่าเทียมและความยุติธรรม บางครั้งพวกเขาได้รับการรับฟังและบรรลุเป้าหมายได้ด้วยสันติวิธี แต่ก็มีอีกหลายครั้งที่เกิดความรุนแรงเพราะรัฐเมินเฉยจนทำให้สถานการณ์ยิ่งปะทุ หรือรัฐลงมือปราบอย่างรุนแรง  หลายกลุ่มเลือกลงมือก่อการร้ายเพราะความคับแค้นใจที่เผชิญมาเป็นเวลานานและเชื่อว่าความรุนแรงจะเป็นคำตอบ เสียงของอาวุธปืนและระเบิดอาจทำให้ได้รับความสนใจจากสังคม แต่นั่นคือทางออกจริงหรือ   ในสังคมประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากการเคารพความหลากหลาย ไม่ผิดหากจะมีแนวคิดสุดโต่ง (Extremism) ที่หมายถึงยึดถือในอุดมการณ์/ความเชื่อ/ความศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งนั้นอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้นได้ เช่น การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของชาติพันธุ์หรือสิทธิสตรี แต่ถ้าหากแนวคิดสุดโต่งนั้นกลายเป็นแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง (Violent Extremism) เมื่อใด กลุ่มบุคคลนั้นจะมองว่าการใช้ความรุนแรงไม่ผิดและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และเมื่อนั้น การสูญเสียก็จะเกิดขึ้น ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะเกิดความสูญเสียขึ้น สาเหตุที่แท้จริงของมันคืออะไร? คนเราไม่ได้มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงขึ้นมาได้ง่าย ๆ ที่ด้านหนึ่ง มันถูกฟูมฟักขึ้นมาจากความขัดแย้งทางศาสนา ชาติพันธุ์หรือเพศ และความเดือดร้อนต่าง ๆ ที่มาจากการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมเพราะไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองและไม่ถูกมองเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ชนกลุ่มน้อยที่ถูกกีดกันทางกฎหมายในเรื่องสัญชาติและโอกาสทางเศรษฐกิจ หรือบุคคลที่มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างจากส่วนกลางทำให้รู้สึกเป็นอื่น ส่วนที่อีกด้าน ความรุนแรงอาจมาจากกลุ่มที่ไม่ได้ตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายและไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย (Minority) ในสังคมก็ได้ เช่น กลุ่มหัวรุนแรงขวาจัด (Right-Wing Extremists) ในหลายประเทศและผู้ที่สมาทานแนวคิดที่ว่าคนขาวเหนือกว่าคนกลุ่มอื่น (White Supremacy) ที่สหรัฐอเมริกา พวกเขาเชื่อว่าคนกลุ่มอื่นจะทำให้สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาสั่นคลอนจึงลงมือใช้ความรุนแรงเพราะต้องการปกป้องสถานภาพและผลประโยชน์ของตัวเองเอาไว้ หากอยากตัดไฟความรุนแรงแต่ต้นลม เราจะทำอย่างไรได้บ้าง? โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ […]

ฟังเสียง 17 ปีความเจ็บปวดของคนสามจังหวัดชายแดนใต้

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นวันครบรอบ 17 ปี ของเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หนึ่งในโศกนาฏกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสร้างแรงกระเพื่อมให้กับชีวิตของผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 17 ปีแล้ว ที่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ยังคงคุกรุ่นเสมอมา และ 17 คือจำนวนปีทั้งหมดที่รัฐไทยตัดสินใจใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ ก่อนปรับเป็นการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ซึ่งยังคงถูกบังคับใช้ และต่ออายุทุกๆ 3 เดือนจนกระทั่งปัจจุบัน และช่วงเวลาอันยาวนานนี้เองที่ผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดฯ ไม่เคยได้เลือกกำหนดชีวิตตัวเอง และอยู่ภายใต้ความ ‘ผิดปกติ’ จนกลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ นำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่าเราทุกคนเคยรู้ไหมว่า #คนที่สามจังหวัดเป็นยังไงบ้าง ในมุมมองของคนเมืองอย่างเราๆ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือคำว่า ‘ความรุนแรง’ ที่เกือบทั้งหมดระบุไม่ได้ชัดเจนว่า ความรุนแรงนี้เกิดจากใคร? ฝ่ายใดเป็นผู้กระทำผิด? หรือควรมีทางออกร่วมกันอย่างไร? ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงอยู่ภายใต้พื้นที่สีเทาที่คลุมเครือ เพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกพูดถึง ทำความเข้าใจ และร่วมหาทางแก้ไขมากขึ้น ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ (Peace Resource Collaborative; PRC) จึงอยากให้ทุกคนเริ่มต้นรับฟัง […]

Land of lost ภาพสะท้อนชีวิตคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ที่ไม่อาจเติบโตเพราะเหตุการณ์ความรุนแรง

เด็กสาว ระเบิด และพื้นที่บ้านเกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต คือผลงานภาพถ่ายของ สกีฟา วิถีกุล มุสลิมปลายด้ามขวานที่อยากบอกเล่าถึงความผิดปกติที่กลายเป็นความปกติในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย จนทำให้เธอ และคนรุ่นใหม่ เสียหลายโอกาสในอีกช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต จนไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคง เธอจึงอยากใช้ภาพถ่ายชุดนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่เกิดให้คนนอกด้ามขวานรับรู้ แม้จะรู้ว่าต่อให้ใช้ภาพมากมายเท่าไร ความรุนแรงที่เกิดคงไม่สงบลง “‘จะต้องมีสักคนทำเรื่องนี้ คนที่จะกล้าแสดงมันออกมาไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม’ คือคำแนะนำจากอาจารย์ซึ่งเป็นชนวนของการขุดคุ้ยความอัดอั้นตันใจต่อความรุนแรงที่เกิด ในพื้นที่บ้านเกิดจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงเก็บเอาประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอในรูปแบบของการถ่ายภาพเชิงศิลป์ “Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต จึงกลายเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สาขาการถ่ายภาพ ที่บอกเล่ามุมมองของตัวเราเอง พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ ความเคยชินที่เราอยู่กับการไร้อิสรภาพ การถูกกักขัง ความกลัว ความเจ็บปวด หรือแม้แต่ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดกับพี่น้องในพื้นที่ ประกอบเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แทนค่าสิ่งนามธรรมจนเกิดเป็นรูปธรรมในผลงานชิ้นนี้ “ความไม่สงบใน ‘ดินแดน’ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้ ‘ต้นกล้า’ ต้นเล็กอย่างเราไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคงเท่านั้น เมื่อมองให้กว้างขึ้น เราจะเห็นต้นกล้าที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ไม่อาจเบ่งบานได้อย่างที่ควรเป็น เราต่างหวาดกลัวที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จนไม่กล้าที่จะริเริ่ม หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำให้เสียโอกาสในช่วงชีวิตที่ดีที่สุดไป “เมื่อเหตุการณ์ยังคงอยู่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.