The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040

นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]

Checkmate ซุ้มหมากรุก

‘ไม่ดูตาม้าตาเรือ’ สำนวนสุภาษิตไทยที่เราทุกคนคุ้นเคยและได้ยินกันบ่อยๆ มักใช้กับการตำหนิคนที่ไม่รอบคอบและไม่ระมัดระวัง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าที่มาของสำนวนนี้จะมาจากกีฬาหมากรุก ซีรีส์ภาพถ่าย Lost and Found ประจำสัปดาห์นี้ ขอพาไปพบกับงานอดิเรกที่ทุกคนรู้จักกันดี และเมื่อก่อนเราสามารถพบเห็นกิจกรรมเหล่านี้ได้ตามพื้นที่ต่างๆ ของชุมชน แต่ปัจจุบันเรากลับเห็นภาพนี้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อก่อนตอนมีเวลาว่าง ด้วยความที่เป็นลูกชายคนเดียวของบ้านและไม่มีเพื่อนบ้านที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกันในละแวกนั้นเลย กิจกรรมของผมส่วนใหญ่คือการเดินออกไปที่สะพานเหล็กเพื่อซื้อแผ่นเกม และเดินกลับบ้านมาเล่นเกม ผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันไปกับการเล่นเกม ต้องยอมรับเลยว่าการเล่นเกมนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมไปแล้ว แต่บางครั้งความเหงาก็ก่อกำเนิดขึ้นในจิตใจ เพราะไม่ได้พบเจอ พูดคุยกับเพื่อน หรือกระทั่งเล่นกับเพื่อนตามช่วงชีวิตของเด็กในวัยนั้นที่ควรมี ต้องบอกก่อนว่าในอดีตบ้านของผมที่สำเพ็งเป็นอาคารพาณิชย์สูงห้าชั้น ด้านล่างแบ่งให้ร้านขายผ้าเช่า ผมจึงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ชั้นสามของบ้านเท่านั้น ด้วยความเหงาและอยากหาเพื่อนคุยเล่น ผมตัดสินใจเดินลงไปที่ชั้นหนึ่งของบ้าน และขอร่วมวงเล่นหมากรุกกับพี่ๆ ที่ทำงานอยู่ในร้านขายผ้าตอนนั้น นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมมีประสบการณ์มีเพื่อนต่างวัยเป็นครั้งแรกของชีวิต เวลาล่วงเลยมาเกือบยี่สิบปีที่ผมไม่ได้เล่นหมากรุกเลย ด้วยสภาพสังคมที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป มีกิจกรรมทางเลือกมากขึ้น กิจกรรมที่ผมทำทดแทนการเล่นหมากรุกคือการเล่น Trading Card Game เพียงแค่พกสำรับการ์ดติดตัวเราก็สามารถไปร่วมเล่นและทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ในสถานที่ใหม่ๆ ที่มีอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ผมมองว่ากีฬาหมากรุกก็ไม่ต่างจาก Trading Card Game เท่าไรนัก เพียงแค่ในปัจจุบันพื้นที่ที่ถูกจัดให้เล่นหมากรุกมีน้อยลงจากเมื่อก่อน ด้วยความสงสัยและอยากเล่นอีกครั้ง ผมได้หาข้อมูลจนไปเจอซุ้มหมากรุกสองซุ้มที่น่าสนใจและไม่ไกลจากคอนโดฯ ที่พักอาศัยมากนัก ที่แรกที่ผมเลือกเดินทางไปคือซุ้มใต้สะพานพระราม 8 ในวันนั้นผมเดินทางถึงจุดหมายเวลาประมาณบ่ายสามกว่าๆ สิ่งที่พบเจอคือภาพคุณน้าคุณลุงนั่งเล่นหมากรุกกันอย่างเอาจริงเอาจัง ห้อมล้อมไปด้วยบริเวณด้านข้างที่มีร้านรถเข็นขายอาหารและเครื่องดื่มอยู่พอสมควรตามขนบของสวนสาธารณะที่ต้องมีทุกที่ […]

แคมเปญฟุตบอลทรงสี่เหลี่ยม เรียกร้องความไม่เท่าเทียมทางเพศในวงการฟุตบอลที่ครอบครองโดยผู้ชาย

แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ‘ฟุตบอลหญิง’ จะได้รับการพูดถึงและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงมีพื้นที่ในสื่อกระแสหลักผ่านการนำเสนอของสโมสรระดับโลก แต่เมื่อเทียบกับ ‘ฟุตบอลชาย’ ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นหลักร้อยปี นักฟุตบอลหญิงหรือคนทำงานผู้หญิงก็ยังดูต้องต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักในวงการกีฬาประเภทนี้ คู่หูนักออกแบบ ‘Oliver Binnian’ ชาวอังกฤษ และ ‘Willem Slegers’ ชาวดัตช์ ได้สร้างสรรค์ผลงาน ‘UNPLAYABALL’ ซึ่งเป็นฟุตบอลรูปทรงสี่เหลี่ยมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงปี 2023 ที่ใกล้มาถึง เพื่อสื่อสารถึงอุปสรรคที่ผู้หญิงต้องเผชิญทุกครั้งเวลาลงสนาม ตามนัยแล้ว UNPLAYABALL หน้าตาไม่เหมือนลูกบอลทรงกลมที่เราคุ้นเคย เนื่องจากสองนักออกแบบต้องการทำลายบรรทัดฐานเดิมๆ ด้วยทรงสี่เหลี่ยม เพื่อทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความไม่เท่าเทียมทางเพศในวงการกีฬา “อุปสรรคที่นักฟุตบอลหญิงต้องเผชิญนั้นมีมหาศาล ทั้งจากการสเตอริโอไทป์เรื่องเพศ การไม่มีตัวตนบนพื้นที่สื่อ ซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนโครงสร้างที่สนับสนุนพวกเขา มันไม่ต่างจากเตะฟุตบอลทรงสี่เหลี่ยมนั่นแหละ” โอลิเวอร์และวิลเลียมอธิบายถึงแนวคิดการออกแบบงานชิ้นนี้ไว้ในเว็บไซต์ของพวกเขา นอกจากนี้ ทั้งคู่ยังแสดงความเห็นว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันฟุตบอลลูกกลมๆ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสามัคคีและไม่แบ่งแยกของกีฬาชนิดนี้ ซึ่งความสามัคคีที่ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้หญิงยังไม่ได้รับการเคารพและพื้นที่ในการแสดงออกอย่างเท่าเทียมทั้งในและนอกสนาม Sources :Designboom | tinyurl.com/2yokuudkOliver and Willem | oliverandwillem.com/11/Yanko Design | tinyurl.com/2aow6mvd

เพื่อสุขภาพดีทั้งร่างกายจิตใจ ‘ASICS’ เปิดตัว Autumn/Winter 2023 คอลเลกชันที่ตอบโจทย์ทั้งกีฬาและไลฟ์สไตล์

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่เราต่างให้ความสำคัญกันมาในทุกช่วงเวลา ยิ่งปัจจุบันที่เทคโนโลยีและความทันสมัยก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้อุปกรณ์กีฬามอบฟังก์ชันต่างๆ ที่ช่วยให้การออกกำลังกายเป็นไปได้อย่างใจนึก ทำให้หลากหลายแบรนด์ได้นำเรื่องของแฟชั่นดีไซน์เข้ามาผสมผสานเพื่อรองรับทุกไลฟ์สไตล์ หนึ่งในนั้นคือ ‘ASICS’ (เอสิคซ์) แบรนด์กีฬาชั้นนำระดับโลกที่ได้เปิดตัวคอลเลกชันล่าสุด ‘Autumn/Winter 2023’ ในงาน ASICS Autumn Winter 2023 Media Preview Day จัดขึ้น ณ Urban Yard Bangkok เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้เราได้เห็นว่า ASICS เป็นแบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์รองรับหลากหลายประเภทกีฬาและไลฟ์สไตล์ ทั้งคนชอบวิ่ง ชาวนักกีฬาบนคอร์ต สายแฟชั่นและสปอร์ตสไตล์ หรือเหล่าผู้ชื่นชอบเสื้อผ้าก็ยังตอบโจทย์ “ASICS มีที่มาจากปรัชญา A Sound Mind in a Sound Body โดยเราเชื่อในการยกระดับร่างกายและจิตใจผ่านการเคลื่อนไหวด้วยกีฬาและการออกกำลังกาย ดังนั้นในคอลเลกชันใหม่ Autumn/Winter 2023 นี้จึงมีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ออกมาเคลื่อนไหวออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ” โยเกซ คานธี กรรมการผู้จัดการประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว ทั้งนี้ ASICS เองยังเป็นแบรนด์ที่สนับสนุนเรื่องของความยั่งยืนเสมอมา โดยในงานเปิดตัวครั้งนี้ยังได้ร่วมมือกับ ‘WISHULADA’ […]

ปักหมุดสนามกีฬาสวนเบญจกิติช่วงทดลอง เปิดให้บริการฟรี จองไปเล่นได้ทุกวัน เช้ามืดยันสามทุ่ม

‘สวนเบญจกิติ’ น่าจะกลายเป็นหนึ่งในหมุดหมายยอดฮิตของคนเมืองไปแล้ว หลังจากที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว นอกจากเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน เดินเล่น วิ่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน ฯลฯ สวนแห่งนี้ก็มีส่วนอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการคนกรุงเทพฯ อยู่เรื่อยๆ เช่น อีเวนต์ เวิร์กช็อปต่างๆ ล่าสุดสวนเบญจกิติเปิดสนามกีฬาแห่งใหม่ให้ทดลองใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เล่นได้ตั้งแต่พิกเคิลบอล เทเบิลเทนนิส ฟุตซอล แบดมินตัน บาสเกตบอล และเทคบอล แถมใช้งานฟรีจนคนต่อคิวแน่นวันต่อวัน ใครที่สนใจลองไปใช้บริการกันได้ ไหนๆ ไปพักผ่อนที่สวนแล้ว ลองเพิ่มแพลนออกกำลังกายไปด้วย ร่างกายจะได้แข็งแรงขึ้น ส่วนใครไม่อยากไปต่อคิวรอนาน ทางกองการกีฬา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวก็เปิดให้จองคิวแล้วที่ xn--12cas8d9a1a5d5bza8a8f.com ติดต่อสอบถามได้ที่ Line https://line.me/ti/p/REE_m1gN5j สนามกีฬาเบญจกิติ ตั้งอยู่ในสวนเบญจกิติ ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ (goo.gl/maps/TuJAZ1cKSgigbXcc9) เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 21.00 น.

FYI

‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ โครงการเติมฝันและมอบโอกาสด้านกีฬาให้เยาวชนไทย

ช่วงบ่ายที่สภาพอากาศร้อนจัดและแสงแดดจ้า บรรยากาศรอบๆ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่ปกติเงียบสงบ มีผู้คนบางตา วันนี้กลับคึกคักไปด้วยนักเรียนและคนในท้องถิ่นที่มารวมตัวกัน แถมยังมีเสียงดังกระหึ่มจากการตีกลองและการแสดงศิลปะพื้นบ้านของเหล่านักเรียนเป็นระยะๆ ดูเป็นไดนามิกของพื้นที่ที่ต่างไปจากทุกวัน เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของพิธีมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลภายใต้โครงการ ‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ จัดโดย ‘คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย’ ภายใต้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ซึ่งโรงเรียนบ้านแซววิทยาคมคือโรงเรียนแห่งที่ 88 ที่ได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมขนาด 7 คนเล่นจากโครงการนี้ โดยปีนี้ถือเป็นปีที่ 5 ที่ทางกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เดินหน้ามอบสนามฟุตบอลมาตรฐานระดับสากล ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศไทย ภายใต้คอนเซปต์ ‘THE POWER OF POSSIBILITIES ชีวิตไม่หยุดค้นหาความเป็นไปได้’ Urban Creature อยากพาทุกคนลงสำรวจพื้นที่เล็กๆ ของจังหวัดเชียงรายอย่างโรงเรียนบ้านแซววิทยาคม เพื่อสัมผัสบรรยากาศที่เปลี่ยนไปหลังได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแห่งใหม่ รวมถึงพูดคุยกับคนในพื้นที่ถึงโอกาสในการพัฒนาฝีเท้าของเยาวชนนักเตะไทยให้มีศักยภาพด้านกีฬาฟุตบอลอย่างมีประสิทธิภาพ  สนามฟุตบอลที่จุดประกายและเติมฝันด้านกีฬา ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า โรงเรียนที่จะได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลจากโครงการ 100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย ต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกต่างๆ เช่น […]

ตีลังกาเตะบอลบนโต๊ะปิงปองโค้ง รู้จักกับ ‘Teqball’ กีฬาชนิดใหม่ ขวัญใจคนไทย หัวใจเซปักตะกร้อ

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นคลิปวิดีโอที่นักกีฬาไทยกระโดดตีลังกาเตะลูกฟุตบอลบนโต๊ะที่คล้ายโต๊ะปิงปองแต่มีลักษณะที่โค้งกว่าผ่านหน้าไทม์ไลน์กันไม่น้อย จากแมตช์การแข่งขัน ‘เทคบอล (Teqball)’ กีฬาชนิดใหม่ระหว่างไทยและบราซิล แม้เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่เพิ่งเป็นที่รู้จักขึ้นมาในประเทศไทยได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วกีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศฮังการี ตั้งแต่ปี 2012 โดยเป็นการหยิบเอากีฬาฟุตบอลและปิงปองมาผสมผสานกัน รวมถึงออกแบบโต๊ะที่ใช้ในการเล่นให้มีพื้นผิวโค้ง เพื่อให้วิถีของลูกบอลโค้งรับไปกับเท้าของผู้เล่น เทคบอลถูกบรรจุเป็นกีฬาสากลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2016 โดยมี ‘โรนัลดินโญ’ อดีตนักฟุตบอลชาวบราซิลเป็นหนึ่งในทูตเทคบอล และจัดการแข่งขัน ประจำปีในชื่อ ‘Teqball World Championships’ โดย Fédération Internationale de Teqball (FITEQ) ครั้งแรกขึ้นในปีถัดมา ก่อนได้รับความสนใจขึ้นเรื่อยๆ ส่วนประเทศไทยเองก็ได้ก่อตั้ง ‘สมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย’ ขึ้นในปี 2021 โดยมี ‘พลเอก รณชัย มัญชุสุนทรกุล’ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคม หลังจากเล็งเห็นว่าเป็นกีฬาที่เหมาะกับคนที่มีความคุ้นชินกับกีฬาเซปักตะกร้ออยู่เดิมแล้ว หลังจากฝึกซ้อมได้ไม่นาน ทางสมาคมฯ ก็สามารถส่งนักกีฬาลงสนามไปเมื่อวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และถูกทั่วโลกจับตามองจากทักษะการตีลังกาเตะลูกบอลในสไตล์กีฬาตะกร้อ จนพานักกีฬาประเภทชายคู่ได้รางวัล Favourite Team และลงเล่นใน […]

Forest Green Rovers สโมสรฟุตบอลที่รักโลกพอๆ กับฟุตบอล จนได้เป็นเบอร์ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก

ช่วงปลายปีนี้ คอฟุตบอลทั้งหลายคงกำลังตื่นเต้นและตั้งตารอการแข่งขันรายการใหญ่อย่าง ‘ฟุตบอลโลก 2022’ (FIFA World Cup 2022) ซึ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ โดยที่ผ่านมาก็มีโปรแกรมแข่งขันระดับสูงสุดของอังกฤษอย่าง ‘พรีเมียร์ลีก’ (Premier League) ให้แฟนบอลยอมอดหลับอดนอน เฝ้าหน้าจอเพื่อลุ้นเอาใจช่วยทีมโปรดกันแบบตัวโก่ง หลายๆ คนคงรู้จักสโมสรดังๆ ในพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว แต่วันนี้ Urban Creature อยากพาทุกคนขยับไปยังดิวิชันที่เล็กลงมาอย่าง ‘อีเอฟแอลลีกวัน’ (EFL League One) เพื่อทำความรู้จักกับสโมสร ‘Forest Green Rovers (FGR)’ ที่นอกจากเป็นทีมฟุตบอลเก่าแก่อายุกว่า 133 ปี ที่นี่ยังได้รับการรับรองให้เป็น ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก’ โดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึง ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของโลก’ โดยสหประชาชาติ Forest Green Rovers ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเกือบทุกมิติ ตั้งแต่ตัวสนามฟุตบอลที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ เมนูอาหารที่เป็นวีแกนทั้งหมด จนถึงเสื้อนักกีฬาที่ผลิตจากกากกาแฟ ที่สำคัญ ทีมฟุตบอลเล็กๆ จากเมือง Nailsworth […]

Join the Hidden Club – 6 คลับลับที่พร้อมพาหลบลี้หนีความวุ่นวาย

คาเฟ่ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี สวนสาธารณะ สถานที่เหล่านี้น่าจะเป็นท็อปลิสต์ของชาวเมืองที่ต้องการไปเที่ยว พักผ่อนหลังเลิกงานหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะเดินทางสะดวก เข้าถึงง่าย แต่บางคนก็ไปเนื่องจากคิดไม่ออกว่ามีที่ไหนให้ไปอีก โดยเฉพาะในมหานครแห่งนี้ เพราะอยากเปิดพื้นที่สนุกๆ ที่มีกิจกรรมใหม่ๆ ให้คนอ่าน Urban Creature ได้ลิ้มลอง เพื่อปลดล็อกจากลูปชีวิตเดิมๆ ที่มีแต่การทำงานหนักและกลับมานอนเปื่อยที่บ้าน เราจึงขออาสาเปิดวาร์ป 6 คลับลับที่พร้อมเปิดประสบการณ์แปลกใหม่แบบที่มั่นใจได้ว่าหลายๆ คนอาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่เต้น Swing กับคนแปลกหน้า สวมบทบาทเป็นมือธนูล่าซอมบี้ในตึกร้าง ไปจนถึงตะลุยเล่นเกมหลากประเภทในอาร์เคดมหึมา Gamesmithยิงปืน ขับรถ เล่นบอร์ดเกม กดเกมเก่า ในอาร์เคดยักษ์ ฐานทัพคลับเกมเมอร์ น่าจะเป็นคำจำกัดความที่เหมาะกับที่นี่มากกว่าแค่ร้านเกม เพราะนอกจากพื้นที่อันใหญ่โต และเกมหลากหลายประเภทที่อัดแน่นเต็มทุกมุมอาคารแล้ว Gamesmith ยังเป็นจุดนัดพบของคอเกมทุกเพศทุกวัย เพราะหลายๆ ครั้งพวกเขาต้องแท็กทีมเดียวกัน เพื่อโค่นล้มอีกฝั่งให้ได้ จนเกิดเป็นมิตรภาพขึ้นมา บอร์ดเกมกว่า 200 – 300 เกม เครื่องเกม Console อาทิ PS4, Xbox One, Kinect และ […]

Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน

ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง  ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ  เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม  แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว  ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ  แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง  “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา  “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.