‘AriAround’ แพลตฟอร์มเพื่อชาวอารีย์ ที่เชื่อว่าการเชื่อมโยงระหว่างกันจะทำให้ย่านและพื้นที่รอบๆ ดีขึ้นได้

เมื่อลองพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า ‘ย่านอารีย์’ ผลลัพธ์บนหน้าจอย่อมปรากฏรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารขึ้นเต็มไปหมด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งของเหล่าคนชิกๆ แต่นอกจากจะเป็นย่านคนเก๋แล้ว อารีย์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการที่คนในย่านเองยังไม่รู้ด้วยเช่นกัน ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ คือชาวอารีย์ที่อยากให้ความน่าสนใจเหล่านั้นในย่านได้รับการค้นพบ และให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งผู้อยู่อาศัย มาทำงาน หรือมาท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่าน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนได้เชื่อมโยงกัน โดยเธอได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ สร้าง ‘AriAround’ แพลตฟอร์มสื่อกลางสำหรับเชื่อมคนย่านอารีย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนกับชุมชน เป็นสื่อในการให้ข้อมูลของย่านในเชิงลึก ทั้งมิติประวัติศาสตร์ หรือกิจกรรมที่ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงกับย่านอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่คนในย่านอยากเห็น เพราะคนในย่านมีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ และคนนอกย่านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ย่านได้เติบโต คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองจึงอยากชวนทุกคนจับรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์ ตามไปพูดคุยกับ AriAround ถึงการทำงานของแพลตฟอร์มที่ยกให้คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างย่านให้น่าอยู่ โดยมี AriAround เป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชนให้เข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น เพราะชื่นชอบจึงอยากทำให้ย่านอารีย์ดีกว่าเดิม ปกติแล้วหากจะมีการพัฒนาพื้นที่ใดสักพื้นที่หนึ่ง เรามักคิดว่าคนที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคงต้องเป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด แต่กับ ‘AriAround’ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะความจริงแล้วอรุณีเองไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ดั้งเดิม เพียงแต่เธอมีความสนใจในย่านอารีย์ และเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่น่าจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ “AriAround มีความเป็นมาจากการที่เราชอบย่านนี้ และเราก็อยากทำอะไรบางอย่างกับย่านนี้” อรุณีบอกกับเรา ส่วนความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงย่านของเธอนั้นเกิดจากการที่ได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่างประเทศในระยะหนึ่ง ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชุมชน และการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จนเธอรู้สึกว่าอยากจะเห็นมูฟเมนต์เหล่านั้นเกิดขึ้นที่ประเทศไทยบ้าง  ประกอบกับงาน Bangkok Design Week […]

‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก

หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]

สั่งสมความรู้รับมือโลกที่เปลี่ยนแปลงใน Learning Fest Bangkok 2024 วันที่ 1 – 4 ส.ค. ที่ TK Park และสถานที่ต่างๆ ทั่ว กทม.

เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แม้จะผ่านพ้นช่วงใส่ชุดนักเรียนหรือชุดนักศึกษา ในวันที่ 1 – 4 สิงหาคมนี้ Urban Creature อยากชวนทุกคนสั่งสมขุมพลังความรู้ให้ตัวเองกับ ‘Learning Fest Bangkok 2024’ เทศกาลส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศกาล Learning Fest Bangkok 2024 จัดขึ้นโดยอุทยานการเรียนรู้ TK Park โดยปีนี้จัดในธีม ‘เปลี่ยน.อยู่.คือ – I change, therefore I am’ สะท้อนว่าการเรียนรู้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้กับร่างกายหรือจิตใจตัวเอง หรือในระดับยิ่งใหญ่อย่างสังคม และการเรียนรู้ยังช่วยเพิ่มพูนต้นทุนให้เราพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอด 4 วันของเทศกาล ทาง TK Park เตรียมขบวนกิจกรรมที่มากระตุ้นต่อมความใคร่รู้ ทั้งเวิร์กช็อป การแสดง นิทรรศการ หรืองานเสวนา เช่น TK Chat Walk: Ratchaprasong Time Machine งานทัวร์ตามรอยประวัติศาสตร์ย่านราชประสงค์, TK FORUM […]

The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040

นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนเมือง ในนิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิ.ย. 67 ที่พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ

เรามักได้ยินว่า เมืองเป็นอย่างไร คนที่อยู่อาศัยก็เป็นอย่างนั้น แต่ขณะเดียวกัน คนเองก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงเมืองได้ เห็นได้จากกระแสสังคมที่ผ่านๆ มา ที่จุดประกายให้เมืองต้องปรับตัวตาม ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และตัวเราเองในฐานะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้จะมีส่วนเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ อย่างไร ตามไปสำรวจและหาคำตอบกันได้ที่ นิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิถุนายน 2567 ที่อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (MRT ศูนย์สิริกิติ์) เวลา 09.00 – 21.00 น. ภายในงานจะมีนิทรรศการมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เมืองดีขึ้น ตั้งแต่คนที่ช่วยกันดูแลเมืองคนละไม้คนละมือ รายงานปัญหาผ่าน Traffy Fondue, แยกขยะในครัวเรือน, ไม่กีดขวางทางเท้า, ช่วยกันรักษาความสะอาดให้เมือง ฯลฯ หรือการทำหน้าที่เป็นภาคีเครือข่าย ที่นำความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ แพสชัน มาช่วยพัฒนาเมืองผ่านโปรเจกต์ต่างๆ ไปจนถึงการเข้าร่วมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่และบุคลากรของ กทม. ที่ทำงานอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ใช้เทคโนโลยี […]

‘Photography Never Lies – ภาพถ่ายไม่โกหก’ นิทรรศการที่จะตั้งคำถามว่า รู้ได้อย่างไร ภาพถ่ายตรงหน้าคือภาพของความจริง

ว่ากันว่าภาพถ่ายคือเครื่องมือที่สะท้อนความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา สิ่งที่อยู่ในภาพคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่จ้อจี้ แต่มันจริงเหรอ ‘Photography Never Lies – ภาพถ่ายไม่โกหก’ คือนิทรรศการที่ภัณฑารักษ์ ‘อัครา นักทำนา’ รวบรวมผลงานจากศิลปินนานาชาติกว่า 13 ท่านที่มาท้าทายความเชื่ออันยาวนานของเราว่า ‘ภาพถ่ายคือเครื่องมือสะท้อนความจริง’ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่ผ่านการซ้อนทับเติมแต่งองค์ประกอบ ภาพที่สรรค์สร้างจาก AI หรือแม้แต่ภาพที่เกิดจากการถ่ายธรรมดาๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ผลงานภาพในนิทรรศการล้วนเกิดขึ้นมาผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ดัดแปลง และมุมมองเฉพาะตัวของศิลปิน ซึ่งสิ่งนี้ชวนเรากลับมาทบทวนบทบาทของภาพถ่ายกันอีกครั้ง เพราะภาพถ่ายอาจไม่ใช่เพียงภาพสะท้อนความจริง แต่เป็นเครื่องมือแสดงความคิดและตัวตนของศิลปินหลังเลนส์ หรือเป็นเครื่องมือรับใช้ของใครบางคน พิสูจน์ความจริงกับตาของตัวเองในนิทรรศการ Photography Never Lies – ภาพถ่ายไม่โกหก จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – 8 กันยายน 2567 ที่ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ปลีกตัวจากโลกที่วุ่นวาย ไปหาความหมายของความว่างเปล่า ใน ‘ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness’

‘ความว่างเปล่า’ ไม่ได้แปลว่า ไม่มีอะไร แต่อาจหมายถึงสภาวะที่เราเลิกยึดติด ปล่อยวางตัวเองไปจากบางสิ่งบางอย่าง หรือเป็นการสูญสลายไปของสิ่งของต่างๆ ก็ได้ ‘ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness’ เป็นนิทรรศการศิลปะเดี่ยวจาก ‘สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์’ โดยมี ‘กฤษฎา ดุษฎีวนิช’ เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ชักชวนให้เราหลีกหนีจากโลกอันวุ่นวาย แล้วเข้าไปสงบกาย สงบใจ กับงานศิลปะที่จำลองโลกแห่งความว่างเปล่า พร้อมสำรวจความหมายของ ‘ความว่างเปล่า’ ในหลากหลายแง่มุม รวมถึงแง่มุมสัจธรรมที่ว่าทุกสิ่งนั้นตั้งอยู่แล้วดับไป ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 8 มิถุนายน 2567 ที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)

งาน Big Bad Wolf Books กลับมาอีกครั้ง พร้อมหนังสือ 2 ล้านเล่ม ลดราคากว่า 95% ที่ The Market Bangkok วันที่ 23 พ.ค. – 4 มิ.ย. 67

ถึงเวลาแล้วที่หนอนหนังสือทุกคนจะเติมกองดองให้สูงกว่าเดิม เพราะเทศกาล Big Bad Wolf Books ขนทัพหนังสือภาษาอังกฤษมาให้เลือกสรรกันมากถึง 2 ล้านเล่ม! ไม่ว่าสนใจหนังสือแนวไหน ภายในเทศกาลก็มีหนังสือมาให้จับจองกันอย่างครอบคลุม ตั้งแต่นิยาย หนังสือดีไซน์ หนังสือพัฒนาตัวเอง หนังสือธุรกิจ หนังสือภาพ หรือหนังสือท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีโปรโมชันล่อตาล่อใจอย่างราคาหนังสือที่เริ่มต้นเพียง 49 บาท และส่วนลดพิเศษที่ลดสูงสุด 95 เปอร์เซ็นต์ เตรียมเงินในกระเป๋าไว้ให้ดี แล้วเจอกันที่ The Market ราชประสงค์ ระหว่างวันที่ 23 พ.ค. – 4 มิ.ย. งานนี้เปิดให้ช้อปกันยาวๆ ตั้งแต่ 10.00 น. จนถึง 00.00 น. ติดตามรายละเอียดของงานเพิ่มเติมได้ที่ Big Bad Wolf Books

กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

‘สะพานเหล็ก’ ตลาดค้าของเล่นในความทรงจำ

หากมีสถานที่ไหนสักแห่งที่พาย้อนกลับไปวัยเด็กในโลกก่อนยุคดิจิทัล ท่องโลกตัวการ์ตูนหรือคาแรกเตอร์ในหนังผ่านโมเดลแบบต่างๆ ได้เลือกหาเครื่องเล่นและแผ่นเกมกลับบ้าน หรือฮีลใจด้วยการหาหุ่นฟิกเกอร์มาเติมเต็มตัวที่ยังขาดในคอลเลกชัน ‘สะพานเหล็ก’ น่าจะเป็นคำตอบที่แทรกอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน แม้วันนี้ย้ายมาอยู่ในสถานที่ใหม่ ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า แต่ย่านการค้าของเล่นระดับตำนานของประเทศยังคงกลิ่นอายความคลาสสิกแทบไม่ต่างกัน และยังคงเป็นสวรรค์ของคนรักของเล่นและนักสะสมเหมือนเคย ยิ่งตลอดปีนี้ อาร์ตทอยและกล่องสุ่มกำลังมาแรง เหล่าศิลปินต่างสร้างสรรค์ออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ จนผู้คนเลือกซื้อสะสมกันไม่หวาดไม่ไหว เป็นอีกกระแสใหม่ของวงการทอยบ้านเราที่ส่งผลกระเทือนถึงย่านสะพานเหล็กด้วย คอลัมน์ Neighboroot ชวนตะลุยสะพานเหล็ก อาณาจักรของเล่นใหญ่ในกรุงเทพฯ ย้อนวันวานไปกับชาวย่าน กลับไปหาต้นตอของร้านรวง แล้วข้ามถนนไป Mega Plaza อัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ของวงการของเล่นปัจจุบัน ด่านแรกของร้านของเล่นนำเข้า ก่อนจะไปสำรวจย่านสะพานเหล็ก ขอพาไปฟังที่มาที่ไปของปลายทางในฝันของเด็กๆ และเหล่านักสะสมกันก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมธุรกิจของเล่นถึงมาลงหลักปักฐานอยู่ในย่านวังบูรพาแห่งนี้ได้ ‘เจ็กสมชัย กวางทองพานิชย์’ นักประวัติศาสตร์ของย่านเยาวราช-สำเพ็ง เป็นหนึ่งในคนที่เรานึกถึง แม้จุดหมายในวันนี้อยู่เกือบชายขอบของชุมชนคนจีนใหญ่ของพระนคร แต่คิดว่าเจ็กน่าจะสัมผัสและพอรู้เรื่องราวในฐานะคนบ้านใกล้เรือนเคียงกับย่านนี้บ้าง ทว่าพอได้มานั่งคุยกับเจ็กที่ร้านในซอยวานิช 1 ก็ทำให้เรารู้สึกว่ามารบกวนไม่ผิดคน เพราะนอกจากเป็นพ่อค้าและนักประวัติศาสตร์ เจ็กสมชัยในวัย 60 กว่ายังพ่วงตำแหน่งนักสะสมของเล่นตัวยงด้วย “สำเพ็งเป็นศูนย์รวมทุกอย่าง ของเล่นยุโรปก็มี แต่ที่เจ็กโตมาคือของเล่นญี่ปุ่นกับฮ่องกง ของเล่นยุโรปเกิดไม่ทัน แต่ทันแมตช์บ็อกซ์ของฮ่องกง และทินทอยของญี่ปุ่น” นักประวัติศาสตร์ประจำย่านเท้าความถึงจุดกำเนิดร้านของเล่น ภาพจำสะพานเหล็กฉบับออริจินัล มาพร้อมกับภาพซอยเล็กๆ เบียดเสียด เนืองแน่นไปด้วยผู้คน […]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.