LATEST
เจาะเวลาหาอดีตที่ถูกลบเลือน อนาคตที่ไร้หนทาง และความหวังที่จะก้าวต่อไป ในหนังไซไฟไทย ‘Taklee Genesis ตาคลี เจเนซิส’
การเดินทางข้ามเวลา ไคจู ไดโนเสาร์ โลกอนาคต ความไซไฟทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาดูเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏบนประวัติศาสตร์หนังไทย และน้อยครั้งมากที่จะประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรายได้ หลายครั้งที่คนทำหนังไทยริอ่านท้าทายขนบ ทะเยอทะยานจินตนาการถึงสิ่งเหล่านี้ แต่สุดท้ายล้วนแล้วแต่ออกมาเป็นภาพที่เกินฝันชาวไทยเสมอ และต้องเจอข้อครหามากมายรอบด้านจนต้องละทิ้งความฝันนี้ไปในที่สุด ทั้งที่หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไซไฟเชื้อสายไทยนั้นก็ไม่ได้มีให้พบเห็นบ่อยมากอยู่แล้ว นับตั้งแต่ ‘มันมากับความมืด’ (2514), ‘ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ’ (2532), ‘กาเหว่าที่บางเพลง’ (2537), ‘สลิธ โปรเจกต์ล่า’ (2566) มาจนถึง ‘Uranus 2324’ (2567) แต่ดูเหมือนความฝันในการพยายามเนรมิตไซไฟแบบไทยๆ จะยังไม่หมดลงแต่อย่างใด ผู้กำกับ ‘มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล’ ที่แม้จะเพิ่งผ่านผลงานที่มีความเป็นไซไฟผสมอยู่อย่าง ‘มอนโด รัก | โพสต์ | ลบ | ลืม’ (2566) มาไม่นาน ก็ขอสานต่อความกล้าที่จะท้าทายผู้ชมชาวไทยด้วยผลงานไซไฟเต็มรูปแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ‘Taklee Genesis’ ซึ่งถือว่าเป็นวาระสำคัญของประวัติศาสตร์หนังไทย ที่จะมีทั้งผู้กำกับไทย และค่ายหนังอย่าง ‘เนรมิตรหนัง ฟิล์ม’ ร่วมด้วยสตูดิโอระดับโลกอย่าง ‘Warner Bros.’ ที่กล้าบ้าบิ่นกันขนาดนี้ […]
ปูบนพื้น มุงหลังคา ใช้ในงานก่อสร้าง ตีความสังคมผ่านผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว ในนิทรรศการภาพถ่าย The Fabric of Society
เคยสังเกตตัวเองมั้ย เวลาเจอผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว แล้วสมองจะนึกโยงไปถึงอะไรก่อน ไซต์ก่อสร้าง หลังคาชั่วคราวของคนไร้บ้าน หรือเครื่องมือคลุมของของร้านรวงริมถนน ฯลฯ ที่เป็นแบบนั้นเพราะไม่ว่าจะเป็นของเล็กน้อยหรือใหญ่โต ล้วนมีบริบทการใช้งานและชนชั้นผูกอยู่ด้วยเสมอ เหมือนที่ Barry Macdonald ช่างภาพอิสระชาวอังกฤษ มีมุมมองต่อเจ้าผืนผ้าใบนี้ในหลากหลายมิติ นำมาสู่นิทรรศการภาพถ่าย ‘The Fabric of Society’ หรือ ‘ผืนผ้าของสังคม’ ที่จะจัดแสดงระหว่างวันที่ 21 กันยายน ถึง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.30 – 19.00 น. ณ Front Lobby ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าผ้าใบมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานอันหลากหลาย ตั้งแต่ความคงทน ราคาย่อมเยา เข้าถึงง่าย ทำให้เราเชื่อมโยงกับผ้าใบนี้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนใช้งานโดยตรงก็ตาม เนื่องจากยังไงเราก็ต้องเคยเดินผ่านเห็นมันบ้างอยู่แล้ว ไม่ว่าจะใช้ในงานก่อสร้าง การขนส่ง หรือการนำมาดัดแปลงสร้างสรรค์ให้เป็นของดีไซน์แบบไทยๆ แบบที่จะอยู่ในคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอของ Urban Creature เช่น […]
เมื่อศิลปินที่รักดันไม่เป็นอย่างที่คิด พาไปดูวิธีการรักคนดังยังไงให้เซฟใจตัวเองไปด้วย
‘ถ้าสองคนนี้เลิกกันนะ ฉันจะไม่เชื่อเรื่องความรักอีกแล้ว’ หลายคนน่าจะเคยคิดอะไรแบบนี้ จากการเฝ้ามองคู่รักคนดังที่ตัวเองชื่นชอบ ที่ลุ้นให้พวกเขารักกันยั่งยืน แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอดถึงฝั่งฝัน การได้รับรู้ข่าวเลิกราของคู่ที่เราเชียร์มานาน มันบาดใจเหมือนเราเจ็บแทนเขา ทั้งๆ ที่ ก็ไม่มีใครรู้จักชีวิตส่วนตัวของคู่รักคนดังอย่างลึกซึ้งและละเอียดเท่าเจ้าตัวเอง ต่อให้คนดังเหล่านั้นจะเล่าเรื่องความรักของตัวเองออกสื่อบ่อยแค่ไหนก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดูมีเส้นขีดไว้ชัดเจน แต่ความรู้สึกเราเลยเถิดออกไปได้ยังไง ‘เธอไม่รู้จักเขาจริงๆ ด้วยซ้ำ’ อาจเป็นสิ่งที่คนนอกมองเข้ามา ด้วยความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่หลงใหลคนดังอย่างหัวปักหัวปำ ทั้งในแง่ตัวตนที่เขานำเสนอออกมา หรือความคิดสร้างสรรค์อันสวยงามจากผลงานของเขา คอยติดตามชีวิตตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คอยเป็นกำลังใจหรือออกตัวปกป้อง หากศิลปินในดวงใจเจอความทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เสียดแทงใจเหมือนตัวเองเจ็บแทน เว็บไซต์ findapsychologist.org อธิบายความสัมพันธ์พิเศษที่มีชื่อเรียกว่า Parasocial Relationship ว่า เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียว ที่คนหนึ่งมอบทั้งพลังงานด้านอารมณ์ ความสนใจ และเวลาให้ โดยที่อีกคนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งมักเกิดในความสัมพันธ์ที่แฟนคลับมีต่อศิลปินหรือทีมกีฬา อย่างในตอนนี้ อีกหนึ่งกลุ่มคนดังที่หลายคนเลือกมีความสัมพันธ์แบบ Parasocial ด้วยคือนักการเมือง ‘ความคุ้นชิน’ ทำให้เกิดความผูกพัน เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราผูกพันกับอะไร เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่า เรารู้จักคนคนนี้หรือสิ่งสิ่งนี้ดีพอ ยกตัวอย่าง พ่อแม่หลายคนที่คิดว่าตัวเองรู้จักนิสัยใจคอหรือความฝันของลูกดี ซึ่งเขาไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น เพราะอยู่ด้วยกันในบ้านทุกวัน แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายเรื่องที่ลูกเลือกจะไม่แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น ไม่ต่างจากศิลปินหรือคนดังที่เราหลงรัก ขนาดตัวอย่างแรกที่ยกมาเมื่อตอนเปิดเรื่อง แม้ตัวเองอาจไม่ได้เป็นแฟนคลับเหนียวแน่น แต่การแค่เห็นใครคนหนึ่งผ่านสื่อบ่อยๆ […]
พบความล้ำหน้าของระบบไฟทั่วโลกในงาน Lighting Fair Autumn และ Outdoor & Tech Light Expo วันที่ 27 ต.ค. – 1 พ.ย. ที่เกาะฮ่องกง
แสงไฟและความสว่าง ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ด้วยเทรนด์ต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายคอยอัปเดตนวัตกรรมใหม่ๆ และนำเสนอความล้ำหน้าเหล่านี้ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสว่างหลากหลายรูปแบบ ใครที่สนใจและอินเรื่องนี้เป็นพิเศษ เราจะบอกว่าทุกการอัปเดตเรื่องเทรนด์และเทคโนโลยีระบบไฟจะอยู่ในมหกรรม ‘Hong Kong International Lighting Fair (Autumn Edition)’ และ ‘Hong Kong International Outdoor and Tech Light Expo’ ที่จัดขึ้นโดย Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) ในธีม ‘Light and Life’ ทั้งสองงานนี้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันด้านแสงสว่าง ที่แสดงให้เห็นถึงเทรนด์ใหม่ๆ และความทันสมัยในการออกแบบกับการใช้งานแสงสว่างต่างๆ โดยในปีนี้จะมีผู้แสดงสินค้ามากกว่า 3,000 รายจากทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นตลาดด้านแสงสว่างชั้นนำของโลกเลยทีเดียว นอกจากการแสดงสินค้าแล้ว ภายในงานยังมี ‘Innovative Lighting Design Forum’ และ ‘Connected Lighting Forum’ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจะมีนักออกแบบชั้นนำและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมแสงสว่างมาร่วมแบ่งปันเทรนด์ตลาดและการใช้งานจากหลากหลายภูมิภาคและอุตสาหกรรม พร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ มากมาย […]
Warhammer 40K สำรวจ Hive City มหานครแห่งสหัสวรรษที่ 41 ในจักรวาลที่มีแต่สงครามและความมืดมิด
‘จงลืมเรื่องความก้าวหน้าและความเข้าใจใดๆ สงครามคือสิ่งเดียวในอนาคตอันมืดมิด จะไม่มีสันติสุขใดในมวลหมู่ดาว มีเพียงความบ้าคลั่งของสงครามนิรันดร์ และเสียงหัวเราะของทวยเทพผู้หิวกระหาย’ ตอนนี้จักรวาลของ Warhammer 40K ได้เฉิดฉายขึ้นมาเป็นกระแสหลัก หลังจากการปล่อยเกม Warhammer 40K : Space Marine 2 และการประกาศฉายแอนิเมชัน Secret Level บนสตรีมมิง Amazon Prime Warhammer 40K เล่าถึงช่วงสหัสวรรษที่ 41 หลังจากที่มวลมนุษยชาติได้เดินทางสู่ห้วงอวกาศอันไร้ที่สิ้นสุด เหล่ามนุษย์ก่อตั้งอาณานิคมบนหมู่ดาวนับล้านดวง แต่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มวลมนุษย์ในจักรวาลถูกตัดขาดจากกัน ชายผู้หนึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิแห่งมวลมนุษย์ (The Emperor of Mankind) โดยมีพันธกิจอันยิ่งใหญ่ ตั้งใจรวบรวมมนุษย์ที่กระจัดกระจายอยู่ในจักรวาลให้กลับมาอยู่ภายใต้ธงผืนเดียวกัน ร่วมกับกองทัพชายหญิงผู้กล้าหาญในจักรวาลที่มีแต่ภยันตรายรอบด้าน คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ เราจะมารับบทนักวิชาการแห่งหน่วยงาน Adeptus Administratum เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคมเมืองในสหัสวรรษที่ 41 ในมหานครซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของมนุษย์ เรียกกันว่า ‘Hive City’ เมืองหอคอย Hive City เป็นมหานครแนวตั้งขนาดใหญ่ […]
Tesla เปิดตัว ‘Giga Train’ รถไฟขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ให้บริการโดยสารฟรีในเยอรมนี
‘Giga Train’ คือรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ขบวนแรกจากบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ‘Tesla’ ที่ออกตัวแล่นอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาในประเทศเยอรมนี รถไฟขบวนนี้เปิดให้บริการตั้งแต่สถานี Erkner ทางทิศตะวันออกของเบอร์ลิน ในรัฐบรันเดนบูร์ก (Brandenburg) ไปจนถึงสถานี Tesla Süd ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ของ Tesla ในเมือง Grünheide ด้วยระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แม้ Giga Train จะเป็นรถไฟสายที่มุ่งหน้าสู่โรงงานของ Tesla แต่รถไฟขบวนนี้ไม่ได้สงวนไว้สำหรับพนักงานของ Tesla เท่านั้น เพราะเปิดให้บริการฟรีแก่ประชาชนทุกคนที่ต้องการโดยสารผ่านเส้นทางดังกล่าว ภายในรถไฟประกอบด้วยที่นั่งจำนวน 120 ที่นั่ง รองรับผู้โดยสารได้มากถึง 500 คน พร้อมพื้นที่จอดจักรยาน สำหรับใครที่ใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางต่อ นอกจากนี้ การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ Siemens Mobility Mireo B ใน Giga Train ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถไฟดีเซลแบบเดิม เนื่องจากสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 50 ตันต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับรถไฟขบวนอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมันและค่าบำรุงรักษาอีกด้วย […]
The Hub ศูนย์รวมความบันเทิงสีสันสดใสในอียิปต์ พื้นที่สาธารณะที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิต
พื้นที่สาธารณะลักษณะวงกลมหลากหลายสีสันบน Marassi จุดหมายปลายทางริมชายฝั่งทางเหนือของประเทศอียิปต์ คือสถานที่ที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างมีชีวิตชีวา ซึ่ง ‘The Hub’ คือชื่อเรียกของสถานที่แห่งนั้น The Hub ถูกตั้งเป้าให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความบันเทิงที่ล้ำสมัย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร จากการออกแบบของ ‘100architects’ สตูดิโอออกแบบที่มักดึงเอาสีสันสดใสมาใช้ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ เช่นเดียวกับ The Hub ที่ถูกสร้างสรรค์โดยดึงเอาสีสัน แสงไฟ และการใช้ไดนามิก มาออกแบบด้วยแนวคิด Big Bang ที่จะดึงดูดสายตาผู้เยี่ยมชมให้เดินเข้าสู่พื้นที่วงกลมเล็กใหญ่ที่ถูกจัดวางไว้เป็นโซนหลักทั้งหมด 3 โซน ได้แก่ โซนอเนกประสงค์สำหรับจัดงาน โซนสนามเด็กเล่น และ Kids Town สีสันที่ว่ายังมาพร้อมกับกิจกรรมกลางแจ้งมากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์กลางแจ้ง ลู่โกคาร์ต ลานโรลเลอร์สเกต สนามกีฬา เกมตู้อาเขต และพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานตามความต้องการ ตั้งแต่จัดคอนเสิร์ต ตลาดนัด หรือเวิร์กช็อปศิลปะ ที่ออกแบบมารองรับกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นเด็กและวัยรุ่นเป็นหลัก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สร้างพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งสังสรรค์ และเปิดโอกาสให้กับการแสดงออกของเยาวชน ในขณะที่ยังอยู่ภายใต้การออกแบบที่ผสมผสานระหว่างความสวยงามและความมีชีวิตชีวาได้อย่างลงตัว Sources : 100architects | 100architects.com/project/the-hubDesignboom | […]
4,000 Miles การเดินทางอันแสนยาวไกลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
การเดินทางอันแสนยาวไกลกว่า 4,000 ไมล์ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เราได้พบกับสิ่งที่เหนือความคาดหมาย หลังจากทำงานบ้าระห่ำอย่างแทบเป็นแทบตายในช่วงชีวิตที่เราสามารถซักซ้อมในการเป็นผู้ใหญ่ได้ รู้ตัวอีกทีก็อยู่บนเรือสำราญขนาดยักษ์ที่มีทั้งหมด 12 ชั้น นำพาผู้โดยสาร 4,000 กว่าชีวิตมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันในทริปนี้ ภายในห้องนอนมองเห็นวิวน้ำสีฟ้าของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่องประกายระยิบระยับจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบ ในช่วงฤดูร้อนของยุโรปใต้ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 40 องศาเซลเซียส รูตนี้เริ่มเดินทางจากเมือง Corfu ประเทศกรีซ โดยล่องเรือผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ มุ่งหน้าสู่ประเทศมอลตาที่เป็นเกาะเล็กๆ สีครีม มีขนาดเพียง 316 ตร.กม. อัดแน่นไปด้วยเรือสีขาวน้อยใหญ่ที่จอดเทียบท่าเรียงกันเหมือนรูปในโปสต์การ์ด ในคืนนั้นเอง เรือของเราได้เดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่เมือง Taormina แคว้น Sicily หรือที่รู้จักกันในนามเกาะมาเฟีย ประเทศอิตาลี ต่อด้วยเมือง Crotone ที่เป็นเมืองฮิตในการพักผ่อน เพราะมีทั้งโซนเมืองเก่าและโซนชายหาด ตามรายทางมีขายอาหารทะเลสดๆ บาร์ พร้อมร่มชายหาดสีเขียวสลับเหลืองเรียงเต็มอาณาบริเวณ คืนนั้นเรือของเราแล่นออกจากท่าอีกครั้งเพื่อไปให้ทันพระอาทิตย์ขึ้นที่เมือง Olympia ประเทศกรีซ หากใครเป็นสาย Myth คงฟินน่าดูที่ได้ไปเยือน Olympia ในช่วงที่มีการจัดแข่งขัน Olympics 2024 พอดิบพอดี แหล่งรวมซากปรักหักพังเป็นเครื่องยืนยันว่า ในอดีตบริเวณนี้เคยมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมากขนาดไหน ถัดมาที่เมืองสุดท้ายในวันที่ […]
‘Data Driven EV- ชักลาก’ นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะตกค้างด้วย Waste Tech ในชุมชนและพื้นที่ที่รถเก็บขยะเข้าไปไม่ถึง
แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการจัดเก็บขยะอยู่เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพฯ ทำให้มีพื้นที่เส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่การจัดเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยพื้นที่ที่แคบและอยู่ลึก รถขยะจึงเข้าไปไม่ถึง รวมถึงพนักงานเก็บขยะก็ไม่สามารถรวบรวมขยะทั้งหมดออกมาได้ ทำให้เกิดขยะตกค้างในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความสกปรกและส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา จากปัญหานี้ ทำให้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ ร่วมมือกับ ‘GEPP Sa-Ard’ สตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ จัดทำนวัตกรรมแก้ปัญหาการจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่เล็กๆ และอยู่ลึกในชุมชนต่างๆ ที่รถขยะคันใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ‘โดม บุญญานุรักษ์’ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง GEPP Sa-Ard บอกกับเราว่า นอกจากจะมีปัญหาขยะตกค้างแล้ว พนักงานชักลากขยะของทางกรุงเทพมหานครที่ต้องเข้าไปจัดการขยะในพื้นที่เล็กๆ เหล่านั้น ต้องใช้เวลาในการชักลากขยะวันละ 3 – 4 รอบ รอบละ 100 – 200 กิโลกรัม นับเป็นการเสียเวลาในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย เพนพอยต์นี้นำมาสู่ไอเดียการนำ ‘EV-Bike’ มาพัฒนาเข้ากับส่วนพ่วงลาก เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการชักลาก รวมถึงยังมีการทดลองติดตั้งระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น น้ำหนักหรือรายละเอียดขยะแบบแยกชนิดลงไปในตัวพ่วงด้วย โดยทางทีมจะนำปัญหาที่เจอในระยะทดลองช่วงแรกไปพัฒนาประสิทธิภาพการชักลากขยะ และจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมารถชักลากขยะ EV-Bike ถูกนำมาใช้งานนำร่องทดลองในสองพื้นที่ คือ […]
‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ จากแหล่งกระจายเครื่องเทศสู่แหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมอาหาร
นอกจากพลอยและผลไม้ที่เป็นของขึ้นชื่อจังหวัด ‘จันทบุรี’ แล้ว ‘อาหาร’ ก็เป็นอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งตัววัตถุดิบและการปรุง จนทำให้หลายคนติดใจในรสชาติ อยากแวะกลับมาอีกครั้ง มีหลายแหล่งไม่น้อยที่เชื่อว่าจุดเริ่มต้นอาหารของชาวจันทบุรีมาจาก ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์พื้นที่และประวัติศาสตร์อาหาร โดยในอดีตเคยเป็นแหล่งซื้อขายและกระจายเครื่องเทศที่สำคัญ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่รุ่มรวย ทำให้สร้างสรรค์เมนูอาหารที่หลากหลายได้ ซึ่งในปัจจุบันชุมชนก็ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองจันทบุรี คอลัมน์ Neighboroot ครั้งนี้ขอพาไปเดินท่องชุมชนริมน้ำจันทบูร โดยมี ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เป็นคนนำทางไปชมวิถีชีวิตในชุมชนริมน้ำจันทบูร พร้อมเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจในพื้นที่นี้ให้ฟัง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ชุมชนเก่าแก่ แหล่งกระจายเครื่องเทศของจันทบุรี จันทบุรีอาจเป็นจังหวัดที่ไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวมากเท่าไรนัก แต่เพราะว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง จึงมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนตัวอยู่ รอให้เราเข้าไปค้นหา โดยเรื่องราวเหล่านั้นเริ่มต้นพร้อมกับชุมชนเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 300 ปีอย่าง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ที่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ไม่ใช่แค่อยู่มานาน แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่างในจันทบุรี “ถนนที่เรากำลังเดินอยู่นี้เป็นถนนเส้นแรกของจังหวัด เมื่อก่อนชื่อถนนเลียบนที จนมาถึงรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนชื่อเป็นสุขาภิบาล” พี่หมูพาเราเดินชมชุมชนริมน้ำตลอดระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร พร้อมเล่าถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ กับการเป็นศูนย์กลางการค้า เป็นทำเลที่เหมาะสม สะดวกสบายต่อการเดินทาง เนื่องจากอยู่ติดริมแม่น้ำซึ่งเป็นเส้นทางการคมนาคมของคนสมัยก่อน ทำให้มีทั้งคนไทย คนจีน […]
การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat
‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้
บ้านวิกลคนประหลาด Ver. ไทย ที่ต่อให้แปลนไม่วิกล ก็ทำคนอยู่อาศัยประหลาดได้
‘บ้านวิกล (The Floor Plan)’ ที่ทำรายได้อันดับ 1 Box Office ในญี่ปุ่นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กวาดรายได้ถล่มทลายไปกว่า 4 พันล้านเยน คือภาพยนตร์ที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายแนวสืบสวนสอบสวนที่เป็นกระแสไวรัลในโลกออนไลน์ หนังสือที่ว่าชื่อ ‘บ้านวิกลคนประหลาด’ จากปลายปากกาของ ‘อุเก็ตสึ’ (Uketsu) เป็นเรื่องราวว่าด้วยการจับพลัดจับผลูให้ตัวเอกของเรื่องเข้าไปพัวพันกับคดีปริศนา หลังพบเข้ากับแปลนบ้านอันแสนแปลกประหลาด ที่ดูเหมือนว่าจะมีความลับอะไรบางอย่างซุกซ่อนอยู่ และเมื่อพูดถึงการออกแบบแปลนบ้านประหลาด หรือการจัดวางสิ่งของในบ้านสุดแปลก จริงๆ บ้านของพวกเราชาวไทยเองก็มีไอเดียสุดบรรเจิดไม่แพ้กัน ชนิดที่ว่าไม่ต้องบินไปถึงประเทศญี่ปุ่น ไม่ต้องมีคดีสุดลึกลับ ก็เป็นบ้านวิกลจนคนประหลาดได้ไม่แพ้กัน คอลัมน์ Urban Isekai ประจำเดือนนี้ ขอดึงเอาความประหลาดของบ้านแบบไทยๆ ที่เราอยู่กันจนเคยชินมากางให้ดูว่า มีอะไรบ้างที่เป็นซิกเนเจอร์ของคนไทย ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องสุดเวียร์ดในสายตาเหล่านักสืบ เริ่มจากบ้านที่เป็นแหล่งรวมพหุความเชื่อแบบใหม่แบบสับที่ต่างชาติเห็นเป็นต้องงง เพราะแม้หน้าบ้านจะมีศาลพระภูมิหรือศาลตายายที่กลายเป็น PokéStop หรือบ้านตุ๊กตาในสายตาคนต่างชาติแล้ว ในบ้านของหลายคนยังมีหิ้งพระที่เอาไว้กราบไหว้สารพัดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่พระพุทธรูป พระพิฆเนศ ท้าวเวสสุวรรณ ไปจนถึงไอ้ไข่ หรือพี่กุมาร ที่ดีไม่ดีภายในบ้านอาจจะมีตี่จู้เอี๊ยะสีแดงวางอยู่ด้วย จนทำเอามึนไปเลยว่า สรุปแล้วบ้านนี้นับถืออะไรกันแน่นะ แถมหลายบ้านทั้งประตูหน้าต่างยังถูกออกแบบมาในรูปแบบของลูกกรงเหล็กดัดลวดลายแสนคุ้นตา ที่มองแรกๆ ก็สวยดีอยู่หรอก แต่พออยู่ในบ้านไปนานๆ […]