LATEST
‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย
ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]
สำรวจสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไทย-ไต้หวัน ในนิทรรศการ ‘Infinity Ground’ วันที่ 18 ก.ค. – 6 ส.ค. ที่หอศิลปฯ (BACC)
นอกจากขึ้นชื่อเรื่องอาหารและศิลปวัฒนธรรมแล้ว ไต้หวันยังโดดเด่นในด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมอาคารสิ่งก่อสร้างไม่แพ้กัน หากใครเคยไปเยือนสักครั้งคงต้องสนุกกับการเดินชมบ้านเมืองของประเทศนี้แน่ๆ ‘Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition’ คืองานนิทรรศการที่รวบรวมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันไว้ในที่เดียว ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับคณะสายออกแบบจาก 4 มหาวิทยาลัยในไทย ถือเป็นครั้งแรกของปีที่มีการจัดแสดงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมจาก 8 บริษัทสถาปนิก ทั้งจากประเทศไทยและไต้หวัน ผ่านมุมมองของ ‘การเลื่อนไหล’ และ ‘การรวมตัว’ ของโลก เพื่อเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาสังคมที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ภายในงาน Infinity Ground แบ่งการนำเสนอสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ ‘การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน’ (Ground Exchanges) และ ‘ความรู้สึกจากผืนดิน’ (Feeling Grounds) ที่แสดงวิถีชีวิตใหม่ของมนุษย์และธรรมชาติผ่านสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานร่วมกัน เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมหาคำตอบถึงอนาคตของหน้าที่สถาปัตยกรรมต่อผืนดินที่ตั้งอยู่ รวมถึงมองหาการบรรจบกันของสถาปัตยกรรมที่สนองต่อบริบทของถิ่นที่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีเสวนาและการบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตย์อีกด้วย ใครที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ forms.gle/C8T22yDZ8dXVaEEu5 […]
ไขปริศนาต้นตอปัญหารถติดในกรุงเทพฯ | Unlock the City EP.30
ในยุคสมัยที่เมืองใหญ่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัย คนกรุงเทพฯ กลับยังต้องปวดหัวและแอบเสียน้ำตาให้การจราจรบนท้องถนนทุกวัน ปัญหาของกรุงเทพฯ ที่หลายคนยกให้เป็นอันดับหนึ่งตลอดกาลคือ ‘รถติด’ ไม่ว่าใครจะพยายามแก้ไขยังไง แต่ปัจจัยอื่นๆ ที่เกาะเกี่ยวอยู่มากมายทำให้ยากที่จะทำสำเร็จ เพราะปัญหารถติดของประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีมากกว่าแค่ปัญหาเรื่องปริมาณรถยนต์หรือระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ครอบคลุม โดยต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เรื่องโครงสร้างเมือง ลำดับของถนน ความยาวของซอย รูปแบบที่อยู่อาศัยของเมือง รวมไปถึงระบบไฟจราจร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ของรายการ Unlock the City จะใช้เลนส์นักผังเมืองมาอธิบายถึงต้นตอปัญหารถติดให้ฟังในเอพิโสดนี้
‘คนร่างไม่ได้เล่น คนเล่นไม่ได้ร่าง’ คุยปัญหา พ.ร.บ.เกมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย
‘คนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการผลักดันจากภาครัฐ’ น่าจะเป็นคำพูดคลาสสิกที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทยแม้กาลเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยิ่งในวันที่บนโลกออนไลน์มีการพูดถึง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) จากคนในวงการภาพยนตร์และเกมไปได้ไม่นาน จนเกิดคำถามว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาคือการส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพคนทำเกมอยู่กันแน่ เพราะกว่าจะวางขายเกม ทำโฆษณา หรือจัดเรตติงได้ ต้องรอทางกระทรวงวัฒนธรรมอนุมัติ ซ้ำร้ายหากมีการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจก็ถือเป็นโทษอาญาที่จำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น เราขอฝ่าดันเจี้ยนบุกไปสนทนากับ ‘ป๊อป-เนนิน อนันต์บัญชาชัย’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association : TGA) กันถึงออฟฟิศบริษัท EXZY Company Limited ที่ป๊อปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ปีกับการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเกมไทยเป็นอย่างไรบ้าง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย’ หรือ ‘TGA’ เป็นสมาคมการค้าไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 บริษัท เป็นการรวมตัวกันของ ‘นักพัฒนาเกม’ (Game Developer) กับ ‘ผู้เผยแพร่เกม’ (Publisher) หรือที่เรียกรวมๆ […]
Swiftlet Bookshop & Coffee ร้านหนังสืออิสระแห่งใหม่ในเมืองพัทลุง กับการเป็นพื้นที่พบปะพูดคุย ดื่มกาแฟ และทำกิจกรรม
จากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ทำให้สังคมออนไลน์เข้ามาเป็นโลกอีกใบของเราไปโดยปริยาย สิ่งต่างๆ ที่เคยได้รับความนิยมกลับค่อยๆ เลือนหายไป หนึ่งในนั้นคือ ‘ร้านหนังสืออิสระ’ ที่แน่นอนว่าเดิมทีก็มีจำนวนน้อยอยู่แล้ว และในปัจจุบันยิ่งเห็นแนวโน้มที่น้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ทว่าก็ยังมีคนหนุ่มสาวอีกไม่น้อยที่ยังคงชื่นชอบการเขียนการอ่าน และนำแพสชันเหล่านั้นมาสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ในบ้านเกิดที่ห่างไกลจากเมืองศูนย์กลางอย่างกรุงเทพฯ เรากำลังพูดถึงร้านหนังสืออิสระแห่งใหม่ในเมืองพัทลุงที่มีชื่อว่า ‘ร้านหนังสือนกนางแอ่น Swiftlet Bookshop & Coffee’ ที่ดำเนินการโดย ‘แด๊กซ์-ปรัชวิชญ์ บุญยะวันตัง’ นักเขียนหน้าใหม่ผู้มีบทกวีรวมเล่มชื่อ ‘การเดินอากาศบางประการ’ จากสำนักพิมพ์เหล็กหมาด “เราเป็นวัยรุ่นที่เรียนที่นี่มาตั้งแต่เกิด พบว่าพัทลุงแทบไม่มีร้านหนังสือแล้ว ผิดกับเมื่อก่อนที่มีทั้งร้านขายหนังสือการ์ตูนและร้านขายนิตยสาร” แด๊กซ์บอกเล่าจุดประสงค์หนึ่งของการเปิดร้านหนังสือขนาดอบอุ่นของเขา ย้อนกลับไปช่วงชีวิตมหาวิทยาลัยในเมืองหลวง แด๊กซ์ได้ทำความรู้จักกับหนังสือวรรณกรรมที่น่าสนใจมากมาย ส่งผลให้การอ่านการเขียนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จนท้ายที่สุดต้นทุนต่างๆ ที่สะสมมาในช่วงวัยแสวงหาก็ส่งไม้ต่อให้เขาได้ทำสิ่งที่อยากทำในวันที่กลับมาอยู่บ้าน ร้านหนังสือแห่งนี้อุดมไปด้วยหนังสือน่าสนใจหลายประเภทที่เจ้าของร้านคัดสรรมานำเสนอ เช่น วรรณกรรมทั้งไทยและต่างประเทศ หนังสือเกี่ยวกับการเมือง หนังสือหมวดเฉพาะสำหรับคนเสื้อแดง หนังสือปรัชญา บทกวีทั้งงานไทยและงานแปล หนังสือทำมือ และหนังสือจากนักเขียนอิสระที่พิมพ์เองขายเอง “มีคนเข้ามาที่ร้านแล้วบอกว่า เมื่อก่อนชอบอ่านหนังสือ แต่ไม่ได้เป็นนักเขียนเพราะว่าต้องเรียน แต่ตอนนี้ลูกทำงานหมดแล้ว เขาเลยเหมือนได้สานต่อความฝันของเขาในการอ่านหนังสือที่ชอบ มันเป็นความสุขที่ส่งมาถึงเรา” นอกจากกลิ่นของหนังสือแล้ว เมื่อเปิดประตูเข้าไปในร้าน ผู้มาเยือนจะได้กลิ่นกาแฟที่อบอวลสร้างบรรยากาศสงบเงียบ มีสมาธิ และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ซึ่งเจ้าของร้านเลือกสนับสนุนเมล็ดของเกษตรกรไทย […]
Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม
ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]
‘STROM’ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย ที่นอกจากช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังปรับแต่งการใช้งานได้ทั้งคัน
ไม่ใช่แค่รถยนต์ไฟฟ้าที่กลายเป็นทางเลือกใหม่ของคนใช้รถใช้ถนน เพราะตอนนี้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเองก็กำลังเป็นที่สนใจไม่แพ้กัน แต่ด้วยรูปร่างหน้าตาที่มีให้เลือกไม่มากนัก และอาจดูไม่สวยงามเหมือนมอเตอร์ไซค์ทั่วไป ทำให้หลายคนยังตัดสินใจซื้อไม่ได้ เพราะเข้าใจ Pain Point นี้ ‘STROM’ แบรนด์มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของไทยจึงเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งทั้งหน้าตาและการใช้งานของตัวรถได้อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ขั้นตอนการประกอบเครื่องเลยทีเดียว STROM คือรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบ BEV 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่และขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพียงแค่เสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้านแบบ 220V โดยไม่ต้องรอให้แบตเตอรี่หมดก่อนก็ได้ นอกจากใช้พลังงานสะอาดและชาร์จไฟได้อย่างสะดวกสบาย STROM ยังเป็นแบรนด์มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพียงแบรนด์เดียวที่มีบริการให้ลูกค้าปรับแต่งรถของตัวเองได้ตามใจชอบ เพื่อเสริมฟังก์ชันและปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานตั้งแต่ที่โรงงานโดยไม่ต้องไปเสียเงินตกแต่งเพิ่มเติมจากร้านภายนอก และไม่ต้องกลัวว่าจะเสียสิทธิ์การรับประกันจากแบรนด์ สำหรับการปรับแต่งรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะมี 2 โปรแกรมให้เลือก คือ STROM VA Custom Project (Visual Appearance) ตกแต่งอุปกรณ์เพื่อความสวยงามด้วยการเพิ่มอรรถประโยชน์ในการใช้งานอย่างครบทุกรูปแบบ และ STROM OP Custom Project (Optimum Performance) ที่สามารถปรับสมรรถนะของรถให้ถูกใจและเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่หลากหลายของผู้ใช้งาน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง stromthailand.com
‘นิรันดร์’ พวงหรีดรักษ์โลกจากผ้าห่อศพ สวดศพเสร็จ บริจาคต่อ ไม่ก่อให้เกิดขยะ
ใครจะไปคิดว่าพวงหรีดที่เราส่งไปแสดงความเสียใจในงานศพ จะสามารถแปลงร่างออกมาเป็นผ้าห่อศพผืนใหญ่สำหรับใช้งานต่อหลังจบงานได้ และ ‘นิรันดร์’ คือเจ้าของไอเดียสุดล้ำนี้ ก่อนหน้านี้มีร้านพวงหรีดหลายเจ้าที่พยายามปรับรูปแบบของสินค้าจากเดิมที่เป็นเพียงดอกไม้สดให้หลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ พัดลมตั้งพื้น เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ ส่วนนิรันดร์เป็นแบรนด์พวงหรีดน้องใหม่ที่เพิ่งกระโดดเข้ามาในวงการได้ไม่นาน แต่ด้วยคอนเซปต์สุดกรีนอย่างการนำผ้าห่อศพมาจัดเป็นพวงหรีดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นิรันดร์จึงกลายเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว พวงหรีดผ้าห่อศพจากนิรันดร์มีให้เลือกทั้งหมด 2 ขนาด คือ พวงหรีดแบบใช้ผ้า 5 ผืน ราคา 1,900 บาท และพวงหรีดแบบใช้ผ้า 10 ผืน ราคา 2,900 บาท ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อตามการใช้งาน ความเหมาะสม และงบประมาณส่วนตัวได้ โดยทางนิรันดร์ยังมีบริการพรินต์ป้ายติดพวงหรีด และส่งสินค้าให้ฟรีถึงงานศพในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากสั่งก่อนเวลา 15.00 น. ของทุกวัน ทางร้านสามารถจัดส่งให้ภายในวันเดียวกันได้ ส่วนใครที่กังวลว่าคนรับจะไม่รู้ว่าพวงหรีดที่เราส่งไปทำมาจากผ้าห่อศพที่สามารถใช้งานหรือบริจาคต่อได้ ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะพวงหรีดทุกอันจะมีป้ายแขวนที่บอกรายละเอียดของผ้าห่อศพ รวมถึงแนะนำสถานที่บริจาคติดไปด้วย สำหรับใครที่ไม่มีเวลาไปบริจาคผ้าห่อศพด้วยตัวเอง ก็สามารถแจ้งทางเพจเฟซบุ๊กของทางนิรันดร์เพิ่มเติมได้เลย เพราะนอกจากที่นิรันดร์จะขายพวงหรีดจากผ้าห่อศพแล้ว ทางแบรนด์ยังเปิดเพจเฟซบุ๊กในชื่อ ‘ห่มบุญ’ สำหรับเป็นสายพานบุญในการนำส่งผ้าห่อศพไปยังหน่วยงานที่ต้องการด้วย ใครสนใจอยากสั่งซื้อพวงหรีดผ้าห่อศพจากทางนิรันดร์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Niran นิรันดร์ พวงหรีดรักษ์โลก
ซัพพอร์ตท้องถิ่น เสพงานคราฟต์เมืองนคร กับเทศกาล CREATIVE NAKHON วันที่ 6 – 9 ก.ค. 66 ที่บวรนคร จ.นครศรีฯ
นครศรีธรรมราช คือหนึ่งในจังหวัดที่มีซีนงานสร้างสรรค์โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ วัฒนธรรม หรืองานคราฟต์ ยกตัวอย่าง หัตถกรรมจักสานจากกระจูด ร้อยลูกปัดมโนราห์ ผ้ามัดย้อม ผ้าบาติก Urban Creature ชวนคนรักงานคราฟต์ไปเทศกาลงานศิลป์เมืองนครศรีธรรมราช ‘CREATIVE NAKHON 5’ (เทศกาลครีเอทีฟนคร ครั้งที่ 5) ภายใต้แนวคิด ‘คลั่งคราฟท์’ โดยกลุ่มครีเอทีฟนคร ร่วมกับสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช บวรนคร ภายใต้การสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA, และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB และภาคีเครือข่าย ความร่วมมือนี้มีเป้าหมายเพื่อผลักดันเทศกาลครีเอทีฟนครสู่การเป็น Flagship Event ตามแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการจัดงานเทศกาล (Festival Economy) ปั้นนครศรีธรรมราชสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน ภายในงานมี 5 นิทรรศการงานคราฟต์พื้นเมือง ดังนี้ – Local Creative นิทรรศการงานสร้างสรรค์ที่มีโจทย์ให้นักสร้างสรรค์ในท้องถิ่นนำแรงบันดาลใจจากทักษะงานฝีมือในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ผลงาน – The Craft Master […]
Urban Eyes 41/50 เขตหลักสี่
ภาพจำเขตหลักสี่ของใครหลายคนน่าจะเป็นเขตที่มีศูนย์ราชการเต็มไปหมด ตอนแรกแอบท้อหน่อยว่าจะไปถ่ายภาพตรงไหนดี แต่พอหาข้อมูลก็ยิ่งท้อหนักเข้าไปใหญ่ เพราะไม่ค่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับเขตนี้เท่าไหร่ โชคดีหน่อยที่ใน Google Maps มีฟังก์ชันบอกจำนวนความหนาแน่นประชากร ทำให้เราพอคาดเดาได้ว่าตรงไหนเป็นแหล่งชุมชน เพราะส่วนใหญ่คนมักจะออกมาทำกิจกรรมกัน และทำให้เราได้ภาพถ่ายดีๆ ไปด้วย ซึ่งหลังจากลงพื้นที่แล้ว เราก็รู้สึกเซอร์ไพรส์เหมือนกันว่าหลักสี่มีอะไรมากกว่าการเป็นแหล่งศูนย์ราชการ วัดหลักสี่ ━ วัดใหญ่ที่อยู่ติดกับถนนใหญ่ เจดีย์ที่อยู่ข้างหลังยังไม่เปิดให้ใช้งาน แต่เราเข้าไปกราบไหว้ที่ตัววิหารด้านหน้าได้ บรรยากาศรอบนอกมีต้นไม้เป็นแนวยาว ใกล้ๆ กันนั้นเป็นห้างฯ ใหญ่ IT Square ชุมชนหลักสี่พัฒนา99 ━ ชุมชนข้างหลังห้างฯ IT Square ตัวพื้นที่ติดกับคลองเปรม ประชากรบริเวณนี้มีบ้านที่ร่วมอยู่ในโครงการบ้านมั่นคง ถ้าชาวบ้านต้องการสร้างบ้านใหม่ก็ยื่นข้อเสนอขอให้รัฐสร้างได้ โดยต้องจ่ายรายเดือนไปเรื่อยๆ จนกว่าค่าสร้างบ้านจะครบ แต่ถึงแม้จะจ่ายครบแล้วก็ไม่ได้โฉนดที่ดินนะ เพราะตรงนี้เป็นพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนมาอยู่เฉยๆ บางบ้านไม่ต้องการจ่ายรายเดือนก็ปฏิเสธโครงการบ้านมั่นคงได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นบ้านไม้แบบเก่าและบ้านที่เป็นตึกสไตล์ร่วมสมัยสลับกันไปมาตลอดเส้นทางชุมชน ตลาดท่าทราย ━ แหล่งนัดพบของชุมชน มีทั้งตลาดเช้าและช่วงเย็นเป็นตลาดนัดกางร่ม สนามฟุตบอลพื้นหญ้าขนาดใหญ่ สนามฟุตซอล สนามแบดมินตันใต้หลังคา รวมถึงสนามเด็กเล่นให้เด็กในชุมชนมารวมตัวเล่นกันอย่างสนุกสนาน ตลาดเมืองทอง 1 ━ ตลาดที่มีหลังคาปิดมิดชิด แสงช่วงเย็นมักส่องลงมาทางข้างหน้าตัวตลาด เกิดเป็นซีนที่สวยงาม สวนสาธารณะบึงสีกัน ━ […]
‘SCOPE Promsri’ คอนโดมิเนียมย่านสุขุมวิท ที่ยก Cenotes จากเม็กซิโกมาไว้ใจกลางเมือง
ปัญหาของการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่คือการถูกล้อมรอบด้วยตึกและอาคาร จนอาจทำให้ห่างไกลจากธรรมชาติ แต่ ‘SCOPE Promsri’ ได้คำนึงถึงความสำคัญในการอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ จึงได้ยกแหล่งธรรมชาติที่สวยงามมาไว้ภายในโครงการ เพื่อเป็นพื้นที่แห่งความสงบ ใช้หลบหนีความวุ่นวายในเมือง SCOPE Promsri คือคอนโดมิเนียมในซอยสุขุมวิทที่ตั้งใจให้ผู้พักอาศัยสัมผัสถึงธรรมชาติได้มากขึ้นแม้อยู่ใจกลางเมือง พื้นที่ต่างๆ ภายในโครงการจะมีร่มเงาจากต้นไม้พืชเขตร้อน และความสะดุดตาตรงบริเวณพื้นที่ส่วนกลางด้วย ‘Cenote Court’ ซึ่งเปรียบเหมือนกับโอเอซิสจากเขตร้อนที่เป็นพื้นที่สำหรับสูดอากาศและพักผ่อนหย่อนใจด้วยเสียงของน้ำ ทั้งหมดนี้ได้แรงบันดาลใจจาก ‘Cenotes’ สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติคาบสมุทรยูคาทาน ในประเทศเม็กซิโก ดีไซน์ที่สวยงามไม่ได้อยู่แค่การตกแต่งเท่านั้น แต่วัสดุ อุปกรณ์ และเฟอร์นิเจอร์ภายในโครงการยังคำนึงถึงการออกแบบ คุณภาพ และฟังก์ชันการใช้งานอย่างครบถ้วน ผ่านการคัดสรรจากแบรนด์ชั้นนำตามมาตรฐานระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเตาไฟฟ้า ไมโครเวฟ ตู้เย็น อ่างล้างจาน โซฟา และโต๊ะรุ่นพิเศษที่แบรนด์ Ligne Roset ออกแบบและผลิตให้ SCOPE Promsri ที่เดียวเท่านั้น
Day/DM Cafe คาเฟ่ย่านเยาวราช โดยคู่รักนักเพศวิทยาที่อยากให้คนกล้าคุยเรื่องเพศตอนกลางวัน
ตอนที่เดินไปยังสถานที่นัดหมาย ทุกตึกบนถนนเส้นนั้นหน้าตาดูเหมือนกันไปหมด แต่สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่าประตูบานนี้เป็นของร้าน Day/DM Cafe แน่นอนคือ ธงสีรุ้งและสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศที่ประดับประดาอยู่ รวมถึงโลเคชันที่อยู่ตรงข้ามศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวตามคำบอกเล่าของเจ้าของร้าน พอเดินเข้าไปในร้าน ความรู้สึกที่ค่อยๆ เข้ามาเกาะในใจเราคือ บรรยากาศอบอุ่นที่เหมือนกับเรามาเที่ยวบ้านเพื่อน อาจจะเป็นเพราะการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ กลิ่นหอมจากเมล็ดกาแฟ รวมถึงเจ้าของร้านทั้งสองที่ชวนคุยอย่างสนิทสนม ‘เอช-ประติมา รักษาชนม์’ และ ‘แต๋ม-วิสุทธิ์รัตน์ รุ่งนพคุณศรี’ คือคู่รักนักเพศวิทยาเจ้าของที่นี่ ผู้ร่วมกันสร้างคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน พื้นที่ปลอดภัยที่ว่าคือ พื้นที่ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยถึงหัวข้อยากๆ ที่ไม่รู้จะไปคุยกับใครอย่างเรื่องเพศและเรื่องเซ็กซ์ ต่อให้เป็นเรื่องรสนิยมทางเพศ ประจำเดือนไม่มา เคยมีอะไรกับแฟนแล้วไม่อยากมี อยากลองเล่น Sex Toy ฯลฯ ทั้งสองคนก็พร้อมให้คำปรึกษาจากองค์ความรู้ด้านนี้ที่ร่ำเรียนมา คาเฟ่ที่เกิดจากความสนใจเรื่องเพศ ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนที่ทั้งคู่ยังเรียนอยู่ เอชและแต๋มเรียนจบในคณะที่ตัวเองวาดหวังไว้ แต่ถึงจะเป็นแบบนั้นเส้นทางของทั้งคู่ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เอชที่เรียนคณะครุศาสตร์ เอกศิลปะ ต้องประสบกับปัญหาเงินๆ ทองๆ จนต้องทำงานส่งตัวเองเรียน บวกกับเคยถูกบุลลี่เพียงเพราะรูปร่างหน้าตาไม่ตรงตามมาตรฐานที่สังคมตั้งไว้ แถมพอจบออกมาทำงานในสำนักพิมพ์ก็ถูกกดเงินเดือน ส่วนแต๋มที่เรียนจบวิศวกรรมอุตสาหการ ก็ต้องไปเผชิญสังคมการทำงานที่ปิดกั้นโอกาสผู้หญิง ทั้งที่เธอมีความสามารถ อยากลองทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่แค่เพราะ ‘เพศ’ ที่เป็นเหมือนเพดานแก้วบางๆ ทำให้หญิงสาวไม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ ชีวิตของทั้งสองคนพบเจออะไรหลายๆ […]