EAT

ฝ่าวิกฤตน้ำน้อย​ วิธีรับมือภัยแล้ง​ 63

น้ำแล้งยันน้ำเค็ม คือผลพวงที่มาคู่กันอยู่เสมอ นับว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจหนีได้ ซึ่งหากมีการจัดการระบบน้ำอย่างจริงจังก็คงจะหลุดพ้นบ่วงนี้ไปโดยไม่ยาก แต่มักจะกระตุกบ่อยตรงคำว่างบประมาณ… เอาล่ะ ! ในเมื่อยังไม่มีทางแก้ไขปัญหาน้ำประปากร่อย รวมถึงแม่น้ำลำคลองเค็มอย่างยั่งยืน แถมประชาชนและเกษตรกรยังต้องตั้งท่ารับแล้วเฝ้าระวังอยู่ไม่ห่าง เราเลยจะพามาทำความเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นของความเค็มความกร่อย วิธีรับมือที่พอจะทำได้ รวมถึงทางออกที่อยากให้เกิดขึ้นจริง ‘น้ำเค็ม’ มีเหตุผล  เรื่องนี้มีที่มา… น้ำเค็มที่เกิดจากน้ำทะเลหนุน เป็นสิ่งที่วนเวียนตามเวลาเสมอ แต่มักจะได้น้ำจืดมาเป็นผู้ช่วยคอยผลักดันน้ำทะเลไม่ให้เข้ามาใกล้พื้นที่ต่างๆ ยิ่งเป็นโซนของชาวสวนชาวไร่ยิ่งต้องระวังเป็นอย่างมาก แต่ปีนี้เคราะห์ซ้ำกรรมซัด กลับเกิดภัยแล้งและน้ำทะเลหนุนสูงมากกว่าปกติ ทำให้หลายพื้นที่เต็มไปด้วยน้ำเค็ม น้ำประปาจึงมีค่าความเค็มสูงขึ้นเล็กน้อย และมีรสชาติกร่อย  ส่วนน้ำเค็มนั้นไม่ได้อยู่กับคนไทยตลอดไป อาจจะต้องตั้งท่ารอให้น้ำจืดมาช่วย หรือรอให้ฝนตกแต่คงอีกหลายเดือน และน้ำเค็มก็มีขึ้นลงตามปฎิทินดวงจันทร์ จะเค็มมากหรือน้อยคงแล้วแต่วัน อย่างไรก็ดีตอนนี้บางจุดถือว่าเป็นผู้ประสบภัย จำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือและปรับตัวกับภัยแล้งครั้งนี้  คนทั่วไปได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เริ่มจากประชาชนตาดำๆ อย่างเราก่อน เมื่อน้ำเค็มกระทบเข้ามา น้ำประปาจึงมีค่าความเค็มสูงขึ้นแต่ไม่มากอย่างที่คิด โดยปัจจุบันโซเดียมที่แทรกซึมอยู่ในน้ำประปามีค่าประมาณ 100–150 มิลลิกรัมต่อลิตร  ซึ่งไม่เกินความเค็มในรูปคลอไรด์ 250 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือเทียบกับโซเดียม 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และหากเกินค่าดังกล่าวจะสูงกว่าคำแนะนำที่ขององค์การอนามัยโลกกำหนด สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี บางจุดจะเจอน้ำประปารสชาติกร่อย ซึ่งเป็นรสชาติที่ไม่น่าดื่มสักเท่าไหร่ แต่ทางแพทย์ได้ออกมายืนยันแล้วว่า คนปกติที่ไม่มีอาการป่วยแทรกซ้อน สามารถดื่มได้ไม่มีอันตรายแน่นอน […]

‘ศรีธัญญา’ โรงพยาบาลที่ไม่ใช่คนจิตป่วยก็มารักษาได้

‘ศรีธัญญา = ที่ของคนจิตป่วย’ สมการซึ่งสังคมเป็นคนสร้างภาพจำ ว่าใครก็ตามที่มาใช้บริการโรงพยาบาลศรีธัญญานั้น ต้องมีอาการผิดปกติทางจิต ทั้งที่ความจริงแล้ว ศรีธัญญามีอะไรมากกว่าที่เรารับรู้ เพราะที่นี่คือโรงพยาบาลสำหรับดูแลด้านสุขภาพจิต และจิตเวช

‘111 Social Club’ คาเฟ่หัวหินเปิดใหม่ ผสมรสอร่อยของขนมไทยและไอศกรีม Guss Damn Good

สายตามล่าของหวานต้องไม่พลาดมาลิ้มลองความอร่อยที่ ‘111 Social Club’ คาเฟ่หัวหินเปิดใหม่ เสิร์ฟเมนูสร้างสรรค์ไม่ซ้ำใคร ผสมผสานไอศกรีม ‘Guss Damn Good’ เข้ากับ ‘ร้านขนมไทย’ ชื่อดังท้องถิ่นในเมืองหัวหิน

“เมื่อโลกภายนอกหมุนเร็ว โลกภายในต้องมั่นคง” เช็กเสาหลัก 4 อย่างของใจ เพื่อสัมผัสความสุขในตัวเราเอง

ผ่านปีใหม่มาได้ไม่นาน หลายคนคงมีปณิธานที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ไม่เพียงได้ย้อนมองตัวเองในปีที่ผ่านมา ยังหมายมั่นว่าปีหน้าต้องดีกว่าเดิม แต่สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตก็คือ เราได้เห็นความสำเร็จของคนอื่นผ่านสเตตัสเฟซบุ๊ก ที่บางครั้งก็อดเปรียบเทียบกับตัวเองไม่ได้ ในชีวิตที่มีปัจจัยภายนอกมาบีบคั้นให้เราต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เราเคยถามตัวเองไหมว่า “สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คืออะไร ?”

ล้วงลึกโลกของยาเสพติด จากประสบการณ์ ‘หมอบำบัดผู้ติดยา’

ชวนจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเสพติด มาฉายด้านมืดของยาเสพติดให้กระจ่างขึ้น

‘Exit Here’ ร้านหีบศพในลอนดอน ที่เปิดให้คุณออกแบบโลงศพเองก่อนตาย

‘Exit Here’ คือธุรกิจการวางแผนช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตที่ให้คุณเตรียมพร้อม โดยที่ไม่ต้องรบกวนคนที่ยังอยู่ข้างหลัง สร้างให้เป็นของขวัญชิ้นสำคัญ ที่จะเป็นตัวแทนของผู้ตายส่งต่อถึงบุคคลอันเป็นที่ที่รัก

‘ถ้ามะเร็งหายเหมือนไข้หวัด’ เปิดแล็บวิจัยรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายให้หายขาด

จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการรักษา ‘โรคมะเร็งเมล็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ALL’
จากการนำ ‘Synbiotic’ หรือเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ ที่นำมาซึ่งความหวังในอนาคตว่า ‘เทคโนโลยี’ กับ ‘การแพทย์’ จะช่วยให้คนไทยอายุยืนขึ้นได้

Music Therapist คลายทุกข์บำบัดใจ

ยินดีต้อนรับกลับเข้าสู่โหมดการทำงานอีกครั้ง ท่ามกลางความวุ่นวายในเมืองใหญ่ เสียงที่ได้ยินทุกวันอาจทำให้เครียดโดยไม่รู้ตัว แต่เสียงที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ทำให้เครียดเสมอไป ยังมี ‘เสียงที่กลายเป็นนักบำบัด’ ให้เราได้เช่นกัน

เมื่อเยาวชนถิ่นใต้คิดโปรเจกต์สร้างสันติภาพชายแดนใต้ด้วย ‘ขนมอาซูรอ’

คุยกับ ‘Local Chef’s to Peace Project’ แชมป์จากการแข่งขันโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 ที่หยิบรสอร่อยของอาหารถิ่น มาสร้างสันติภาพในภาคใต้ เปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นความสงบ

ชิมผักปลอดสาร ที่สวนผักบนดาดฟ้าห้างฯ เซ็นเตอร์วันลองทำปุ๋ยจากเศษอาหารที่ช่วยลดขยะ

เยือน ‘wastegetable’ สวนผักบนดาดฟ้าใจกลางเมือง ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์วัน Center One ที่มาเสิร์ฟความสดใหม่ด้วยผักสลัดออร์แกนิค.

เพราะโลกร้อนขึ้น ‘ไวรัสโคโรนา’ จึงแข็งแกร่ง ?

ความฝุ่นยังไม่ทันหาย ความวุ่นวายของ ‘ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019’ (Novel Coronavirus) ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามันพัฒนาขึ้นมาจากตัวเดิม ก็เข้ามาแทรก ซึ่งทำเอาหลายคนรับมือแทบไม่ทัน ขนาดพี่จีนที่เป็นประเทศต้นทางของการแพร่ระบาด ยังออกมาประกาศสภาวะฉุกเฉินกันเลยทีเดียว ในขณะเดียวกัน ‘ภาวะโลกร้อน’ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของโลกใบนี้ และเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่จุดไฟให้ไวรัสแข็งแกร่ง อึดถึกทน และระบาดได้อย่างรุนแรงยิ่งขึ้น

‘ประสานมิตร’ ย่านกลางเมืองที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

‘ถนนอโศกมนตรี’ เดิมทีนั้นมีชื่อเรียกว่า ‘ถนนอโศก’ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นถนนอโศกมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2547 ตามข้อเสนอของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พระอโศกมนตรี (เรียม เศวตเศรณี) ที่ได้อุทิศที่ดินร่วมกับเจ้าของที่ดินรายอื่นและซื้อที่ดินที่เป็นตลาดเดิมมอบให้กรุงเทพฯ เพื่อนำมาสร้างเป็นถนนแห่งนี้ ปัจจุบันถนนอโศกมนตรี หรือที่คนแถวนั้นเรียกกันติดปากว่าย่าน ‘ประสานมิตร’ ถือเป็นหนึ่งทำเลยอดฮิตที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ

1 301 302 303 304 305 348

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.