กรุงเทพฯ เมืองซับซ้อน

ผมพกกล้อง Compact ตัวเล็กติดตัวออกจากบ้านเสมอไม่ว่าจะไปที่ไหน เพราะระหว่างทางอาจเจอสิ่งที่น่าสนใจ จะได้มีเครื่องเอาไว้บันทึกเรื่องราวได้ หลังจากที่ได้เดินทางไปในหลายพื้นที่ ผมว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ทั้งในแง่อาคารสิ่งก่อสร้าง สีสัน ชีวิต ผู้คน และเรื่องราว ผมจึงรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพฯ ที่มีการซ้อนทับสลับซับซ้อน ผสมผสานกับองค์ประกอบที่มีความเป็นไทย เพื่อนำเสนอเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านมุมมองของผม หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

caf’n co แพลตฟอร์มสำหรับคอกาแฟ ที่รวมเมล็ดกาแฟทั่วไทยมาไว้ในที่เดียว

ปัจจุบันการชงกาแฟดื่มเองที่บ้านสักแก้ว ไม่ใช่แค่การฉีกซองเติมน้ำร้อนเหมือนในอดีตแล้ว เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่างให้เลือกสรร ตั้งแต่วิธีการชงที่หลากหลาย ไปจนถึงการเลือกเมล็ดกาแฟที่ให้กลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันไป ขณะเดียวกัน ทางเลือกที่หลากหลายนี้ก็กลายเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะการเลือกชนิดของเมล็ดกาแฟที่ส่งผลต่อประสาทรับรสและกลิ่นของผู้ดื่มโดยตรง อีกทั้งคอกาแฟก็อยากลองหาเมล็ดกาแฟเทสโน้ต (Taste Note) ที่ตรงใจมากขึ้น หรือมือใหม่ที่ไม่มั่นใจว่ากาแฟแบบไหนจะถูกใจตัวเองที่สุด ‘กัน-กัญณพัชร อยู่สะบาย’ และ ‘ไป๊-ปรณัฐ ชลวร’ สองพาร์ตเนอร์คอกาแฟจึงจับมือกันสร้าง ‘caf’n co’ แพลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลสที่รวบรวมเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วทั่วประเทศ พร้อมคำอธิบายรายละเอียดกลิ่นและรสชาติไว้สำหรับคนรักกาแฟโดยเฉพาะ จุดเริ่มต้นของ caf’n co เริ่มมาจากช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กันที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟเป็นชีวิตจิตใจ ไม่สามารถออกไปซื้อกาแฟดื่มได้ตามปกติ เขาเริ่มหันเข้าวงการชงกาแฟดื่มเองที่บ้าน (Home Brewer) และได้รู้ว่าวิธีการชงและสายพันธุ์กาแฟที่แตกต่างจะให้รสชาติและกลิ่นที่ต่างกันไปด้วย “ปกติถ้าสั่งกาแฟที่ร้าน เราจะสั่งแค่ ‘อเมริกาโน’ ไม่ได้สนใจว่าเมล็ดกาแฟที่ใช้ชงชื่ออะไรหรือปลูกที่ไหน แต่พอเราซื้อเมล็ดกาแฟมาชงดื่มเอง ก็ทำให้ต้องศึกษาเรื่องเมล็ดกาแฟมากขึ้น เพื่อให้ได้กลิ่นและรสชาติที่ตรงกับความชอบของเรามากที่สุด” กันเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการสนใจศึกษาเมล็ดกาแฟ เพราะรายละเอียดเรื่องสายพันธุ์ การคั่ว พื้นที่ และระดับความสูงของดินที่ปลูก ล้วนส่งผลให้เกิดรสชาติและสัมผัสของกาแฟที่ต่างกัน แต่การหาข้อมูลเกี่ยวกับกาแฟแต่ละชนิดกลับเป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่มีใครหรือแพลตฟอร์มไหนรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ในที่เดียว คิดได้ดังนั้น กันและไป๊ก็ตัดสินใจเริ่มทำเว็บไซต์ที่จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางในการรวบรวมข้อมูลของกาแฟแต่ละชนิด และเปิดให้มีการซื้อขายเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วทั่วประเทศขึ้น โดยดึงเอาทักษะจากกันผู้เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ และไป๊ในฐานะโปรแกรมเมอร์มาใช้ หากเข้าไปในเว็บไซต์ของ caf’n […]

‘บุญรอด นาคศิธร’ ช่างทำว่าวจุฬาแห่งแม่กลอง ประธานชมรมว่าวไทยจังหวัดสมุทรสงคราม

‘ฬ’ คือพยัญชนะตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย มีรูปร่างคล้ายคลึงกับดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นลักษณะของว่าวจุฬาที่คนไทยในสมัยก่อนละเล่นกัน และมาถึงวันนี้ว่าวจุฬาก็เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เนื่องด้วยเทคโนโลยีหรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เราไม่ได้พูดถึงแค่ตัวว่าว แต่อาชีพช่างทำว่าวก็กำลังกลายเป็นแค่ความทรงจำเช่นกัน “ถ้าเราเรียนหนังสือ ท่อง ก-ฮ จะมี ฬ จุฬา ท่าผยอง เพราะพ่อขุนรามฯ เป็นคนประดิษฐ์อักษรไทย ว่าวตัวนี้น่าจะมาก่อนพ่อขุนรามฯ “เมื่อเราตายไป ถ้าเราไม่สอนไว้ ไอ้ ฬ จุฬา ท่าผยอง คงจะหายไปจากอักษรไทย” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘บุญรอด นาคศิธร’ ประธานชมรมว่าวไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ชุบชีวิตการทำว่าวจุฬาไทยในจังหวัดสมุทรสงครามให้ยังคงถลาล่องลอยติดลมบน แม้ในวันที่แทบไม่มีใครสนใจเงยหน้ามองท้องฟ้าอีกแล้ว

แพ็กกระเป๋าเข้าป่า สู่ปฐมบทแดนอีสานโรงเรียนนักเดินป่าของนักเรียนเดินป่ารุ่นที่ 1 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง

ชีวิตในเมืองที่ทำให้เราเผชิญอยู่กับจังหวะที่เร่งรีบของชีวิตประจำวัน ความวุ่นวาย ตึกสูง และการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวที่น้อยลง อาจทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติดูห่างไกลออกไป พร้อมๆ กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราและผู้คนรอบตัว หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเราเอง มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกหลีกหนีจากความวุ่นวายและชีวิตที่รีบเร่งนี้ ออกเดินทางหาความสงบสุขและรื่นรมย์จากธรรมชาติ ให้ตัวเองได้ผ่อนลมหายใจ และได้รับการปลอบประโลมจากทิวเขา ต้นไม้ หรือท้องทะเล ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทย และประเทศไทยเองก็มีอัตราการท่องเที่ยวในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น อุทยานแห่งชาติต่างๆ ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี แต่ด้วยจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ย่อมส่งผลให้ธรรมชาติถูกรบกวนมากขึ้น ขยะที่เพิ่มปริมาณขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์และความสวยงามของธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว ปฐมบทการเดินทาง จากปัญหาและความกังวลเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นโรงเรียนนักเดินป่าขึ้นมา โดยการนำของ ‘ใหญ่-ธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย’ ที่ปัจจุบันเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำพอง และ ‘พี่งบ-ธัชรวี หาริกุล’ ผู้ก่อตั้ง Thailand Outdoor ที่นอกจากมาร่วมบุกเบิกเส้นทางการเดินป่าแห่งนี้แล้ว ยังช่วยออกข้อสอบให้เหล่านักเรียนได้ผ่านด่านทดสอบด่านแรกก่อนการสมัครจริงอีกด้วย ร่วมด้วยเหล่าพี่ๆ น้องๆ ที่เชื่อในอุดมการณ์ที่ว่า ‘การเดินป่าที่ถูกต้องสร้างได้’ และส่วนสำคัญที่สุดคือแรงกายแรงใจสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า เจ้าหน้าที่อุทยาน และศิษย์เก่า ที่พร้อมใจมาเป็นครูผู้ช่วยถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง และทำให้พื้นที่แห่งนี้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และส่งต่อทัศนคติที่ดีในการเคารพธรรมชาติให้เกิดขึ้นระหว่างนักเดินป่ามือใหม่และนักเดินป่ามากประสบการณ์ ผ่านแนวคิด ‘เราจะเดินป่าโดยสร้างผลกระทบให้ธรรมชาติให้น้อยที่สุดได้อย่างไร’ ในครั้งนี้เราได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในนักเรียนจำนวน 20 คนของโรงเรียนนักเดินป่า อุทยานแห่งชาติน้ำพอง […]

Friends of Inconvenience ชวนเพื่อนๆ มาขับเคลื่อนต้านโลกร้อน ชิมอาหารปลอดสารพิษ ช้อปผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ ‘ตลาดคุณปู่ @หนองจอก’

ในวันที่โลกเดือดขึ้นเรื่อยๆ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น ถือเป็นหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่เริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้อาจจะ ‘หนักที่เรา’ แต่ก็ ‘เบาที่โลก’ ‘ชวนเพื่อนมาลำบาก’ หรือ ‘Friends of Inconvenience’ คือคอนเซปต์ง่ายๆ ของกิจกรรม ‘Bike for Earth’ ปั่นจักรยานรณรงค์หยุดโลกเดือด นำทีมโดย อ.ยักษ์-ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กิจกรรมนี้จะเดินทางแวะทั้งหมด 14 จังหวัด เริ่มจากภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จรดเหนือกันที่จังหวัดน่าน โดยในทุกจุดแวะพักจะมีกิจกรรม เรื่องราวดีๆ และชวนคนในชุมชนมาร่วมถ่ายทอดความรู้ของแต่ละพื้นที่ว่า พวกเขาทำอย่างไรถึงพึ่งพาตนเองได้แบบไม่เบียดเบียนโลก ล่าสุดวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ขบวนนักปั่นได้หยุดแวะพักกันที่ ‘อาสาชาวนามหานคร’ และร่วมทำกิจกรรมที่ ‘Ecovillage บึงน้ำรักษ์’ ที่ถือเป็นชุมชนในแบบนิเวศวิถี พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ งานนี้เลยเกิดเป็น ‘EcoFest : Sustainable & Living Cities’ ฐานเรียนรู้ อาสาชาวนามหานคร กิจกรรมที่ชวนนักปั่นและผู้ร่วมงานมาร่วมดำนา ปลูกป่า ปล่อยปลา พายเรือ เล่นน้ำ […]

CEA จับมือ MUJI ผลักดันสินค้าท้องถิ่น ดึง 2 สตูดิโอเซรามิกจากเชียงใหม่เข้าโครงการ Found MUJI Thailand

‘Found MUJI’ คือโครงการของ MUJI ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2003 ผ่านการวางจำหน่ายสินค้าในร้าน Found MUJI Aoyama ในย่านอาโอยามะ กรุงโตเกียว ก่อนจะกระจายไปตามร้านสาขาทั่วญี่ปุ่นและในต่างประเทศ ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการเฟ้นหาสินค้าคุณภาพจากท้องถิ่นที่รักษาคุณค่าของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมจากทั่วทุกมุมโลก มาพัฒนาและวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกของ MUJI ก่อนที่ช่วงปลายปี 2023 โครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นครั้งแรกในไทย โดยทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เข้ามาร่วมมือต่อยอด Found MUJI Thailand ผ่านกิจกรรม ‘ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่นผ่านงานหัตถกรรม’ (Collaborative Program to Support Craft Community) ความร่วมมือที่ว่าคือ การเชิญชวนผู้ประกอบการสร้างสรรค์ท้องถิ่นในสาขาเซรามิก กลุ่ม Chiangmai Clayative และกลุ่มผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติมาร่วมทำเวิร์กช็อป เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการนำร่องมาพัฒนาสินค้าร่วมกันกับ MUJI ประเทศไทย ‘InClay Studio’ สตูดิโอเซรามิกของ ‘ชิ-จิรวงษ์ วงษ์ตระหง่าน’ และ ‘ชามเริญ สตูดิโอ (Charm-Learn Studio)’ ของ […]

‘COTTO Cube Design Stage’ เวทีเฟ้นหานักออกแบบรุ่นใหม่ กับโจทย์การออกแบบพื้นที่ลูกบาศก์ ส่งผลงานตั้งแต่วันนี้ – 30 ก.ย. 67

หลังจากประสบความสำเร็จจาก ‘COTTO Design Contest’ เวทีการประกวดออกแบบ Public Space ในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนของเมืองเมื่อปีที่แล้ว ‘COTTO’ ผู้นำแบรนด์กระเบื้องและสุขภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ก็กลับมาเปิดพื้นที่ให้นักออกแบบได้โชว์ผลงานกันอีกครั้ง ปีนี้ COTTO กลับมาพร้อมกับเวทีประกวดรูปแบบใหม่ ‘COTTO Cube Design Stage’ ในการเฟ้นหานิสิตนักศึกษานักออกแบบรุ่นใหม่ที่คำนึงถึงการออกแบบได้อย่างครบถ้วนทุกมิติ บนพื้นที่ ‘ลูกบาศก์’ (Cube) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้สังคม ผ่านการนำเสนอในรูปแบบของการรวมงานประกวดแบบและงาน Showcase เข้าไว้ด้วยกัน การประกวดครั้งนี้เปิดรับผลงานนักศึกษาสายออกแบบ ไม่จำกัดสถาบัน ภาควิชา และชั้นปี ร่วมออกแบบผลงานได้ทั้งรูปแบบเดี่ยวและแบบทีมจำนวนไม่เกิน 3 คน ภายใต้โจทย์ ‘Reimagine Self-Tainable Living : เปลี่ยนมุมมองให้พื้นที่ชีวิตยั่งยืนในแบบของตัวเอง’ สำหรับการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อแก้ปัญหาของผู้คน พื้นที่ หรือวิกฤตในปัจจุบันโดยไม่จำกัดขนาดพื้นที่ และต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ COTTO อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ พร้อมนำเสนอแนวความคิดหลักด้วย Cube Presentation อย่างครบถ้วน โดยความยั่งยืนที่นำเสนอนั้นต้องสอดคล้องกับลักษณะของชีวิตในพื้นที่นั้นอย่างแท้จริง งานนี้ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับแบรนด์ดังเท่านั้น แต่ผู้เข้าร่วมการประกวดยังจะได้แสดงฝีมือ จัดแสดงผลงาน […]

สำรวจการแก้ปัญหาริมถนนแบบบ้านๆ ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ TCDC กรุงเทพฯ วันที่ 6 ส.ค. – 8 ก.ย. 67

ก้อนอิฐเทิร์นขาโต๊ะให้ได้ระดับเท่ากัน ผ้าใบที่ผูกไว้กับร่มเพื่อบังแดด โครงเก้าอี้เปล่าที่มีเชือกร้อยรึงกลายเป็นเบาะ เหล่านี้คืองานออกแบบริมท้องถนนที่ ‘Everyday Architect Design Studio’ นิยามไว้ว่า ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ และได้รวบรวมมาจัดแสดงในรูปแบบภาพวาดกว่า 365 ภาพ ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ เพราะเป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีเซเลบคนไหนมาสร้าง แถมวาง ‘เรี่ยราด’ ริมถนนอย่างไม่มีแบบแผน สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดจึงถูกละเลยและไม่ค่อยมีใครเห็นประโยชน์เสียเท่าไหร่ แต่จากความหลงใหลในความสร้างสรรค์ของการแก้ปัญหาริมถนน Everyday Architect Design Studio จึงตามบันทึกสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดมาตลอดหลายปี พร้อมจัดเรียงหมวดหมู่ให้เป็นระบบ จนทำให้เห็นมุมมองแสนบรรเจิดของนักสร้างสรรค์นิรนาม และสะท้อนถึงปัญหาการออกแบบเมืองไปในตัว ไปสำรวจการแก้ปัญหาแบบบ้านๆ ที่เผยให้เห็นมุมมองเหนือความคาดหมาย เทคนิคการก่อสร้างเหนือการคาดเดา ในนิทรรศการสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 6 สิงหาคม – 8 กันยายน พ.ศ. 2567 ที่ TCDC กรุงเทพฯ บริเวณทางเดินด้านหน้า Public Rooftop Garden ชั้น 5 เข้าชมนิทรรศการได้ฟรี

‘Immersive Resilience Garden’ โครงการสวนเขาวงกต ใจกลางกรุงโซล ที่ช่วยพาให้ผู้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

ความวุ่นวายเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เราสามารถพักผ่อนและหลบหนีจากความวุ่นวายในระยะสั้นๆ ได้บ้างด้วยการมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว ในประเทศเกาหลีใต้ที่ให้ความสำคัญกับสวนสาธารณะ มีโครงการ ‘Immersive Resilience Garden’ ภายในสวนสาธารณะ TTukseom Hanriver ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คนพลุกพล่านมากที่สุดในโซล เพื่อให้ผู้คนได้หลีกหนีความวุ่นวายด้วยการเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติใจกลางเมืองแบบ 360 องศากันอย่างเต็มที่ โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกและสร้างขึ้นสำหรับงาน International Garden Fair ปี 2024 ซึ่งจัดโดยรัฐบาลกรุงโซลผ่านการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยจะจัดตั้งไปจนถึงวันที่ 8 ตุลาคมปีนี้ Studio ReBuild เจ้าของผลงานเล่าว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจในการออกแบบสวนแห่งนี้จากปฏิสัมพันธ์ของผึ้ง แมลงปีกแข็ง และผีเสื้อกับธรรมชาติ ทำให้ตัวสวนออกมาในโครงสร้างแบบชั้นที่สร้างพื้นที่ปิด เพื่อหลบหนีจากสภาพแวดล้อมในเมือง รวมถึงมีลักษณะคล้ายกับเขาวงกต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ทอดยาวในพื้นที่กว่า 400 เมตร ภายในสวนยังประกอบไปด้วยกลุ่มพืชที่แตกต่างกัน 3 ชั้น โดยไล่ระดับตามความสูง เราจึงจะเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามขอบนอกของสวน ส่วนชั้นถัดมาเป็นต้นไม้ขนาดกลาง และชั้นในสุดจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก นอกจากนี้ ที่นี่ก็มีโต๊ะและเก้าอี้ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามานั่งพักผ่อนท่ามกลางการโอบล้อมของต้นไม้ เพื่อให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างเต็มที่ รับรองว่าหากเข้าไปอยู่ด้านในของเขาวงกตแห่งนี้แล้ว จะแทบลืมไปเลยว่ากำลังอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงของเกาหลีใต้ Sources :Designboom […]

SKY BOWL เปลี่ยนหลังคาห้างฯ ให้กลายเป็นโรงละครครึ่งวงกลม ที่เปิดให้ชมละครพร้อมดูวิวอ่าวชิงเต่าไปด้วย

‘Hisense’ คือห้างสรรพสินค้าใกล้อ่าวชิงเต่า ในประเทศจีน ที่มีการปรับเปลี่ยนหลังคาของห้างฯ เดิมให้กลายเป็น ‘SKY BOWL’ โรงละครในรูปแบบอัฒจันทร์กลางแจ้งครึ่งวงกลม ที่ผสมผสานพื้นที่เชิงพาณิชย์เข้ากับพื้นที่สาธารณะของเมืองได้อย่างลงตัว SKY BOWL ถือเป็นตัวอย่างอันล้ำสมัยของการฟื้นฟูเมืองชิงเต่า ที่เผยให้เห็นถึงความท้าทายในการสร้างพื้นที่สาธารณะในรูปแบบของโรงละครไว้บนพื้นที่สูง สำหรับสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับการดูการแสดง SKY BOWL ประกอบด้วยพื้นลักษณะวงกลมสำหรับทำการแสดง ที่เปิดโอกาสให้กับการแสดงทุกรูปแบบ และอัฒจันทร์แบบครึ่งวงกลมที่มีที่นั่งแบบขั้นบันได ให้ความรู้สึกเหมือนโรงละครแห่งนี้เป็นถ้วยใหญ่ยักษ์ครึ่งใบ ที่เมื่อประกอบเข้ากับการแสดงบริเวณตรงกลางและวิวหลักล้านของอ่าวชิงเต่า ก็ยิ่งทำให้ถ้วยใบนี้สมบูรณ์แบบขึ้นในที่สุด ห้างฯ Hisense ตั้งเป้าที่จะทำให้ SKY BOWL เป็นตัวเชื่อมระหว่างห้างฯ และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ พลิกฟื้นพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้กลายเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและโอกาสใหม่ๆ คอยดึงดูดผู้คนในเมืองให้เข้ามาใช้งานพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่นี้มากขึ้น และค่อยๆ เติบโตขึ้นตามกาลเวลาไปพร้อมกับเมือง Sources : ArchDaily | t.ly/bs51a Designboom | t.ly/7hjst SOPA | t.ly/yWUhV

จากภูเขาถึงทะเล บันทึกความทรงจำผ่านธรรมชาติเมื่อครั้งยังเด็ก

เมื่อครั้งยังเด็ก บ้านของฉันโอบล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และหมอกจางๆ ในฤดูหนาว อีกทั้งยังห่างไกลจากตัวเมืองมากพอสมควร แต่ที่นั่นฉันก็มีความสุขดี และในขณะเดียวกัน ทะเลก็คือโลกอีกฟากหนึ่งที่หัวใจและความไร้เดียงสาในวันนั้นถวิลหาทุกค่ำเช้า ภาพถ่ายชุดนี้เปรียบเสมือนการเดินทางย้อนเวลากลับไปปะติดปะต่อร่องรอย เพื่อรื้อฟื้นเรื่องราวและซ่อมแซมความทรงจำเหล่านั้นที่ถูกทิ้งไว้ในกาลเวลาจนชำรุดทรุดโทรมให้กลับมามีสีสันสดใส มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง สะท้อนถึงความทรงจำเมื่อครั้งยังเด็กที่แสนอบอุ่นและมีความสุขอย่างเรียบง่าย ไร้ซึ่งความซับซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่

ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]

1 26 27 28 29 30 370

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.