ชิมช้อปความอร่อยที่ ‘ตลาดตรอกหม้อ’ ฟังเรื่องราวของตลาดสดยามเช้าใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์

เกาะรัตนโกสินทร์ใช่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วมุมโลกมาเยี่ยมเยือน แต่เมืองเก่าแห่งนี้เป็นเมืองที่ยังมีชีวิต ประกอบด้วยบ้านเรือนและผู้คนในย่านต่างๆ รวมอยู่ด้วย และส่วนหนึ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านคือตลาดสด ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนทุกวันเสมอมา ‘ตลาดตรอกหม้อ’ เป็นตลาดที่ซ่อนตัวอยู่เงียบๆ ท่ามกลางย่านฮิตในเขตโอลด์ทาวน์ที่โอบล้อมอยู่ทั่วทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นสามแพร่ง เสาชิงช้า วังบูรพา หรือสามยอด ซึ่งวันนี้มีคาเฟ่รุ่นใหม่เกิดขึ้นในอาคารเก่าจำนวนมาก ตามกระแสเที่ยวเมืองเก่าที่ทำให้ย่านเหล่านี้คลาคล่ำไปด้วยคน นอกจากความอันซีน ความพิเศษของตลาดแห่งนี้คือ เป็นตลาดสดที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด (หรือแห่งสุดท้าย) บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังคงทำหน้าที่เป็นที่ฝากท้องยามหิวให้กับคนท้องถิ่นและคนทำงานในหน่วยงานข้างเคียงอยู่ รวมถึงพ่อค้าร้านอาหารที่มีร้านอยู่รอบๆ ที่มาจับจ่ายซื้อหาของสดไปเป็นวัตถุดิบ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้พาไปทำความรู้จักกับตลาดตรอกหม้อ ดูวิถีชีวิตของชาวบ้านร้านตลาดในย่านเมืองเก่า แวะพูดคุยกับคนในชุมชนราชบพิธพัฒนา ถึงความอบอุ่นของเด็กตลาดในวันวานและวันนี้ที่ไม่เคยจางหายไปจากซอยเทศา ‘ตรอกหม้อ’ ตลาดสดเก่าแก่ใจกลางพระนคร นาฬิกาในโทรศัพท์ขึ้นเวลาว่าเกือบ 10 โมงแล้ว นี่อาจไม่ใช่เวลาที่ควรจะเดินตลาดนัก โดยเฉพาะตลาดสดที่เริ่มเปิดแผงกันตั้งแต่แสงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมาสะท้อนผิวถนน สายป่านนี้จึงเป็นชั่วโมงท้ายๆ แล้วของกิจกรรมทุกเช้าของชาวบ้านย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ขณะที่บางร้านเริ่มขนของกลับบ้าน เราเดินสวนเข้าตลาดเพราะนัดหมายกับเจ้าถิ่นที่ยินดีพาเดินและพูดคุยกับเหล่าผู้คนในตรอกหม้อ ‘พี่ริน-สุรินทร์ อมรชัชวาลกุล’ เป็นชาวตรอกหม้อแต่กำเนิด ถึงแม้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นนานหลายปีแล้ว แต่ยังมีคุณแม่และบ้านเก่าอยู่ ทำให้เขาแวะเวียนมาที่ตลาดแห่งนี้แทบทุกสัปดาห์ “แต่ก่อนตลาดไม่ถึงตรงนี้ ตลาดจริงๆ อยู่ทางนั้น” บทสนทนาเริ่มต้นบริเวณปากตรอกหม้อหรือซอยเทศาฝั่งถนนราชบพิธ พี่รินชี้นิ้วไปสุดซอยแล้วเล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีพ่อค้าแม่ค้ากระจุกตัวอยู่บริเวณปากซอยฝั่งถนนบำรุงเมือง ใกล้กับตลาดเทศา ซึ่งเป็นตลาดเอกชนที่ทุบไปแล้ว ทว่าเมื่อนานวันเข้าจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ […]

รวมคำถามยอดฮิตจากคนเมืองถึงไรเดอร์

“ปักหมุดให้แล้วทำไมยังมาไม่ถูก” “ต้องส่งกี่ออเดอร์ถึงจะพออยู่ได้” “ไรเดอร์รวมตัวกันเรียกร้องอะไร” Urban Creature รวบรวม 108 คำถามยอดฮิตที่คนเมืองสงสัย จนหลายครั้งก็ยังนั่งจับเข่าคุยกับพี่ไรเดอร์ Urban Creature ร่วมกับ @Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

หนังสั้นปลูก ‘เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน’ 100 ปี ของซีพี ที่ส่งต่อคุณค่าได้ไม่สิ้นสุดสะท้อนการทำเพื่อผู้อื่นที่ไม่มีวันหมดอายุ

การกระทำความดีเล็กๆ น้อยๆ ที่เราอาจคิดว่าไม่สำคัญในวันนี้ แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าเวลาผ่านไปเรื่อยๆ การกระทำเหล่านี้จะเปรียบเหมือน ‘เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน’ เล็กๆ ที่จะฝังปลูกอยู่ในใจใครหลายคน เช่นเดียวกับ ‘เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)’ ที่เพิ่งครบรอบ 100 ปี และกำลังก้าวเดินต่อไปในอนาคตสู่ศตวรรษที่ 2 โดยมีเป้าหมายให้สังคมเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างประโยชน์ให้ทุกคนเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ซีพีได้สร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นชื่อ ‘เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน’ ขึ้น โดยย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นในการดำเนินธุรกิจที่ร้าน ‘เจียไต้จึง’ ซึ่งระบุวันหมดอายุของเมล็ดพันธุ์ลงบนทุกๆ ซองผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน และยินดีรับเมล็ดพันธุ์ที่หมดอายุคืน ถือเป็นต้นกำเนิดของปรัชญา ‘การทำเพื่อผู้อื่น สร้างคุณค่าได้ ตลอดไป ไม่สิ้นสุด’ ทางซีพีหวังว่า ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มต้นทำความดีจากสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัว สร้างสังคมแห่งการให้ที่ส่งต่อคุณค่าได้อย่างไม่สิ้นสุด เพื่อสร้างพรุ่งนี้ที่ดีกว่าไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ถ้าอยากรู้ว่า ‘เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน’ ที่สะท้อนถึง ‘การทำเพื่อผู้อื่น ไม่มีวันหมดอายุ’ ของซีพีใน 100 ปีที่ผ่านมา หรือในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันได้ที่

The Body Shop แบรนด์สกินแคร์สายกรีน ลมหายใจเฮือกสุดท้ายกับจิตวิญญาณที่ยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องประทินผิวหลายแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากการรณรงค์งดใช้กลิตเตอร์ผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อลดการเกิดขยะไมโครพลาสติก หรือการยกเลิกการทารุณกรรมสัตว์จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องประทินผิวและเครื่องสำอาง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ที่ผ่านมามีแบรนด์เครื่องประทินผิวแบรนด์หนึ่งที่ยึดมั่นและมุ่งมั่นทำเพื่อสิ่งแวดล้อมมาก่อนกาล จนต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมทางธุรกิจ ล้มพับหน้าร้านในหลายประเทศทั่วโลกไป หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นตากับแบรนด์ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ชื่อดังจากสหราชอาณาจักร The Body Shop ที่วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศไทยและทั่วโลก แต่หลังจากที่บริษัทประกาศล้มละลายไปเมื่อต้นปี 2024 ทำให้ต้องปิดสาขากว่า 198 สาขาในสหราชอาณาจักร และปัจจุบันในประเทศไทยก็ไม่มีสาขาเหลืออยู่แล้ว จะหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น ในช่วงเวลาที่ผู้คนหันมาใส่ใจความโปร่งใสเรื่องความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น Urban Creature ขอพาไปสำรวจที่มาที่ไปของแบรนด์ที่เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจรักษ์โลกมาช้านาน และสิ่งที่พวกเขาพยายามขับเคลื่อนพร้อมกับการทำธุรกิจ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ล้มละลาย The Body Shop แบรนด์สกินแคร์ที่แคร์โลก ย้อนกลับไปเมื่อปี 1976 ร้าน The Body Shop แห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้นริมถนนเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ โดย ‘แอนนิตา ร็อดดิก’ (Anita Roddick) ผู้ขับเคลื่อนวงการเครื่องสำอางในยุคนั้น แอนนิตามีแนวคิดที่อยากมอบทั้งความงามจากภายในสู่ภายนอก ไปพร้อมๆ กับให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพราะเธอเชื่อมั่นว่า การทำธุรกิจนั้นสามารถเป็นแรงผลักดันไปสู่สิ่งดีๆ ได้ ภายใต้อุดมการณ์ ‘การค้าปลีกอย่างมีจริยธรรม’ (Ethical Retailing) ว่าด้วยการสร้างแบรนด์ที่เป็นธรรม ยึดถือความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อลูกค้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ […]

อากาศร้อนเปรี้ยง ระเบิดอารมณ์ปัง! รับมืออารมณ์ของเราในหน้าร้อนอย่างไร ไม่ให้ต้องเสียใจภายหลัง

อากาศที่ร้อนจนเราหงุดหงิด เดือดปุดๆ ดั่งลาวาที่พร้อมปะทุ กระตุ้นฮอร์โมนความเครียดให้ออกมา นำไปสู่อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจต่างๆ เช่น รู้สึกรำคาญทุกอย่างไปหมด เหนื่อยล้าเหมือนไม่เคยได้พักอย่างเต็มที่ อ่อนไหวง่ายกว่าเดิม โกรธง่าย หมดความอดทน และโอกาสที่เพิ่มสูงขึ้นของความรุนแรงในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางจิตใจ วาจา หรือร่างกาย ในงานวิจัยที่ Psych Central ได้รวบรวมมาบอกว่า ‘Heat (and extreme rain) brings out the worst in people.’ นั่นคือ ไม่ใช่แค่อากาศที่ ‘ร้อน’ มากๆ เท่านั้นที่ทำให้ผู้คนแสดงด้านแย่ที่สุดของตัวเองออกมา แต่ในอากาศที่มีฝนตกอย่างหนักด้วยเหมือนกัน คีย์เวิร์ดสำคัญดูจะอยู่ที่ ‘ความสุดโต่ง’ หรือความ Extreme ของสภาพอากาศข้างนอก ที่จะดึงเอาอารมณ์ข้างในที่สุดโต่งหรือผิดแปลกออกไปจากอารมณ์ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาปกติของเราออกมา คอลัมน์ Mental Help ประจำเดือนนี้ ผู้เขียนเลยขอเขียนบทความนี้เป็นคู่มือฉบับย่อ เพื่อเป็นฮาวทูช่วยดักจับอารมณ์ที่ร้อนระอุ และเปลี่ยนให้ไม่กลายเป็นพฤติกรรมที่เราอาจเสียใจในอนาคต หัดไม่มองอะไรเป็นขาว-ดำ เมื่อรำคาญคนรอบตัวไปเรื่อยอย่างไม่มีเหตุผล อากาศร้อนทำให้ความสามารถในการคัดกรองพฤติกรรมที่แสดงออกไปลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ ซึ่งหนึ่งในอารมณ์ไม่พึงประสงค์คือ ความโกรธที่เกิดจากอคติเป็นทุนเดิม เช่น ฉันไม่ชอบคนนี้อยู่แล้ว […]

‘corn smog ice cream crunch’ ไอศกรีมรสชาติใหม่จาก ‘kintaam’ แรงบันดาลใจจาก PM2.5 ในเชียงใหม่

‘kintaam’ คือร้านไอศกรีมแซนด์วิชจากเชียงใหม่ ที่นอกจากความเอร็ดอร่อยแล้ว ยังเต็มไปด้วยความครีเอทีฟในการสร้างสรรค์รสชาติให้เหล่านักชิมได้ลิ้มลองไอศกรีมรสชาติใหม่ๆ อีกด้วย สำหรับฤดูร้อนนี้ที่คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วทุกพื้นที่ สำทับด้วยปัญหาของ ‘ฝุ่น’ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะ PM2.5 ในเชียงใหม่ที่ยังคงอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง kintaam ได้สะท้อนวิกฤตที่ชาวเชียงใหม่ต้องเจออยู่ทุกวันผ่านไอศกรีมรสชาติใหม่ ‘corn smog ice cream crunch’ corn smog ice cream crunch เป็นไอศกรีมรสนมที่คลุกด้วยคอร์นเฟลกส์อบกรอบผสมคาราเมลชาร์โคล จนได้หน้าตาที่เหมือนกับก้อนฝุ่น ซึ่งคอร์นเฟลกส์นั้นก็เป็นตัวแทนของผลผลิตข้าวโพดที่มีการเผาไร่ข้าวโพดในการทำเกษตรกรรม จนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน ‘น้ำอบ-ถมทอง ไชยจินดา’ และ ‘น้ำทิพย์ ไชยจินดา’ เล่าถึงไอเดียการริเริ่มทำไอศกรีมรสนี้ว่า ปัญหา PM2.5 ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเธอในช่วงปีหลังๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงอยากทำครีเอชันนี้ขึ้นมา เพราะปกติร้านขนมหรือร้านกาแฟมักจะต้องออกเมนูพิเศษใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อ และลูกค้าใหม่ได้รู้จักแบรนด์เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองจึงมองว่าการที่กินตามออกเมนู ‘corn smog’ ในช่วงฤดูฝุ่นนี้ ไม่ได้ต่างจากการออกเมนูพิเศษประจำฤดูกาลอื่นๆ เช่น วาเลนไทน์หรือฮาโลวีน เพราะวิกฤตฝุ่นคือเหตุการณ์พิเศษที่ไม่ได้เกิดในชีวิตประจำวันปกติ แต่ส่งผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาว พวกเธอต้องการสื่อสารว่ามันคือปัญหาที่เราทุกคนเผชิญอยู่ในตอนนี้ ใครที่สนใจ ตามไปชิม […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

เสวนาหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ พร้อมชมนิทรรศการชิ้นงาน 365 ภาพ วันที่ 27 เม.ย. 67 ที่ G-OLD HOUSE คลองสาน

ใครที่อ่านหนังสือ ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ แล้ว หรือเป็นแฟนคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ เพจ Urban Creature หรือกระทั่งสนใจเรื่องเมืองๆ กับไอเดียการดีไอวายสิ่งของในชีวิตประจำวัน อย่าลืมมาพบกับ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Everyday Architect Design Studio ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ #สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด เพราะงานนี้ ชัชจะมาเปิดวงสนทนาพูดคุยถึงที่มาที่ไปของโปรเจกต์นี้ และไอเดียการริเริ่มเก็บภาพสิ่งของเรี่ยราดจนครบ 365 ภาพภายในหนึ่งปี จนออกมาเป็นหนังสือให้อ่านกัน โดยมี ‘เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา’ ผู้ดูแลคอนเทนต์จาก Urban Creature ร่วมพูดคุยในครั้งนี้ด้วย อีกทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังชมผลงาน 365 ภาพจากนิทรรศการ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ที่เคยจัดแสดงไปก่อนหน้านี้ในช่วง Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา ในรูปแบบของ Soft Launch แบบกันเองๆ ใครที่สนใจฟังเสวนาหนังสือหรืออยากชมนิทรรศการอีกครั้ง […]

Hong Kong International Lighting Fair & Smart Lighting Expo พาเดินมหกรรมงานจัดแสดงไฟในฮ่องกง อัปเดตเทรนด์แสงสว่างโลก

ในวันที่เทคโนโลยีของโลกก้าวไปข้างหน้า สิ่งต่างๆ ถูกพัฒนาให้ล้ำขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งอุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่ให้แค่แสงสว่างอาจไม่เพียงพอ เพราะยังต้องช่วยส่งเสริมพื้นที่ เป็นงานศิลปะ หรือกระทั่งทำให้ชีวิตผู้ใช้งานดีขึ้น ถ้าถามว่า แล้วนวัตกรรมแสงสว่างในปัจจุบันก้าวไปถึงไหนแล้ว ในฐานะที่ Urban Creature ได้มีโอกาสบินไปร่วมงาน ‘Hong Kong International Lighting Fair’ และ ‘Smart Lighting Expo’ ที่จัดโดยองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) กันถึงเกาะฮ่องกง เมื่อวันที่ 6 – 9 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา เลยจะขอสรุปรวมความเคลื่อนไหวของแสงไฟที่น่าสนใจมาให้ทุกคนติดตามกันในบทความนี้ Hong Kong Convention and Exhibition Centre (HKCEC) คือสถานที่จัดแสดงงานไฟอย่างยิ่งใหญ่ ที่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทยก็คงคล้ายศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในสเกลใหญ่กว่า ตัวงาน Hong Kong International Lighting Fair และ […]

เบื้องหลัง USE LOOP REPEAT อีเวนต์โดย Loopers ที่อยากชวนทุกคนมาจอยน์ไลฟ์สไตล์ยั่งยืนอย่างสนุก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Urban Creature มีโอกาสนั่งคุยกับ Loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้าที่อยากให้การซื้อขายเสื้อผ้ามือสองนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่น่ากลัว จำได้ว่าวันที่เราเจอกันครั้งแรก Loopers ยังมีเสื้อผ้าอยู่ในแพลตฟอร์มไม่ถึง 200 ตัว แต่ในขวบปีที่ 3 ‘เกด-พิชามาศ ชัยงาม’ ผู้ก่อตั้งเล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตอนนี้ในแพลตฟอร์มมีเสื้อผ้าทั้งหมดในสต๊อกกว่า 20,000 ตัว มี ‘นักลูป’ ที่กลับมาซื้อขายซ้ำกันมากมาย และมีแผนจะขยับขยายให้ด้อมนักลูปนั้นแข็งแรงกว่าเดิม แต่ความสำเร็จเหล่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่พาให้เรามานั่งคุยกับ Loopers ในวันนี้ อันที่จริงมันคืออีเวนต์ชื่อ USE LOOP REPEAT ที่นับว่าเป็นแผนการขยับขยายที่เกดพูดถึง และสำหรับเธอ อีเวนต์นี้ถือว่าเป็นอีเวนต์แรกของ Loopers ที่มีสเกลใหญ่เกินตัวไปมาก แม้ไม่เคยผ่านงานด้านออร์แกไนเซอร์มาก่อน แต่เธอก็อยากลงมือทำมันให้สำเร็จ อธิบายคร่าวๆ USE LOOP REPEAT คืออีเวนต์ที่รวมทั้งตลาด ทอล์ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับความยั่งยืนมาไว้ในงานเดียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ บน Open House ชั้น […]

‘Coachella Art Installations’ ผลงานศิลปะที่สร้างสีสันให้เทศกาลดนตรีมีชีวิตชีวามากไปกว่าเสียงเพลง

เทศกาลดนตรีประจำปี Coachella ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เรียกได้ว่าแทบจะเป็นเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นงานที่รวบรวมศิลปินชื่อดังจากทั่วโลกมาขึ้นแสดงในช่วงสุดสัปดาห์ตลอดทั้งสองสัปดาห์ สำหรับปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 12 – 14 เมษายน และ 19 – 21 เมษายน ที่ Empire Polo Club เมือง Indio รัฐ California แต่นอกจากไลน์อัปของศิลปินชื่อดังแล้ว ภายในงาน Coachella แต่ละปียังมีงาน Installation Art ที่ช่วยให้เทศกาลมีชีวิตชีวามากขึ้น โดยในปีนี้ โปรดักชันเอเจนซี Public Art Company ได้ร่วมมือกับ Paul Clemente อาร์ตไดเรกเตอร์ของ Coachella และ Goldenvoice ผู้ดำเนินการงานเทศกาล ติดตั้งงานศิลปะสามชิ้นที่ทางงานให้นิยามว่าเป็นการสำรวจขอบเขตระหว่างความเป็นจริงและโลกแห่งจินตนาการ ชิ้นงานแรกคือ ‘Dancing in the Sky’ โดยศิลปิน Morag Myerscough จากลอนดอน ซึ่งเป็นผลงานที่ดึงดูดและเชิญชวนให้ผู้คนเดินเข้าไปสำรวจหอคอยขนาดใหญ่ที่มีลวดลายและสีสันโดดเด่นตัดกับท้องฟ้า โดยมีองค์ประกอบที่เคลื่อนไหวไปตามลมได้ […]

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่คนทำสื่อไม่ได้เล่า

“ตอนแรกคิดว่าเขายื่นฟ้องในนามสื่อ แต่พบว่าเราโดนคนเดียวนี่นา”“เป็นสื่อต้องเสียสละ? ไม่จริง สื่อเองก็อยากจะสุขสบายเหมือนกัน” Urban Untold ชวนคนที่ต้องเล่าเรื่องของคนอื่นเป็นอาชีพอย่างนักสื่อสารมวลชน มาเล่าเรื่องของตัวเอง เรื่องที่คนอาจไม่รู้ หรือมองข้ามเพราะมองว่าเป็นหน้าที่ที่สื่อต้องเสียสละ Urban Creature ร่วมกับ Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

1 25 26 27 28 29 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.