“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” มวลความเศร้าที่ไม่มีคำตอบใน ‘ควรจะทำยังไง’ ของภัค fluffypak

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” หลังจากฟังท่อนสุดท้ายของเพลง ‘ควรจะทำยังไง (Dead End)’ ซิงเกิลล่าสุดของ fluffypak จบ เรารู้สึกถึงอะไรบางอย่าง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย อาจจะเป็นความเศร้า หรือความอึดอัดใจบางอย่างซ่อนอยู่ลึกๆ ในใจของคนฟังอย่างเราที่เพลงนี้นำพาให้เอ่อล้นขึ้นมาก็เป็นได้ ด้วยเนื้อเพลงตรงไปตรงมา และเสียง Synthesizer กระแทกใจเหมือนเจ้าของเพลงอยากจะระเบิดอารมณ์ออกมาในตอนท้าย ทำให้ต้องกดฟังเพลงนี้ซ้ำอีกครั้งเพื่อหาคำตอบ การพบกันครั้งแรกของเรากับเจ้าของเพลงอย่าง ณภัค นิธิพัสกร หรือ ‘ภัค fluffypak’ นั้นแตกต่างจากความรู้สึกแรกที่เราได้ฟังเพลงเนื้อหาเร้าอารมณ์นี้อย่างสิ้นเชิง ภัคมาถึงสถานที่สัมภาษณ์อย่างรีบร้อน แต่ก็ทักทายทุกคนในห้องด้วยความสดใส fluffypak ศิลปินจาก MILK! Artist Service Platform โปรเจกต์สนับสนุนศิลปินอิสระของค่าย What The Duck “ดนตรีเป็นเหมือน Safe Space ของเราที่ทำให้เรารู้สึกไปตามเสียงดนตรี ได้ระบาย ได้อยู่กับตัวเอง” ตั้งแต่มัธยมต้นภัคชอบฟังเพลงร็อก และมีวงดนตรีที่ชอบคือ Bodyslam พอเพลงป็อปเกาหลีเข้ามาก็ฟังตามเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นขาร็อกเพราะภัคก็ยังฟังวงดนตรี Brit-rock อย่าง Arctic Monkeys ด้วย แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ชมภาพยนตร์ […]

คุณพ่อจิตรกรญี่ปุ่นคืนไฟศิลปินให้ตัวเอง ด้วยการแกะสลักเรื่องราวของลูกสาว เป็นของขวัญวันเกิดเธอทุกๆ ปี

เรื่องราวแสนอบอุ่นเริ่มต้นเมื่อ 12 ปีก่อน Tomoaki Ichikawa จิตรกรชาวญี่ปุ่น ผู้ผิดหวังกับผลงานศิลปะที่ผ่านมาในช่วงชีวิตของเขา แต่อีกหนึ่งบทบาทของการได้เป็น ‘พ่อ’ กลับทำให้เขามีไฟและมีกำลังใจในการสร้างผลงานศิลปะอีกครั้ง เมื่อ Ichikawa หันไปมองลูกสาวในวัยเกือบขวบปี เขาจึงอยากมอบของขวัญสุดพิเศษให้กับเธอชิ้นหนึ่ง จึงเริ่มแกะสลักไม้ให้กลายเป็นรูปร่างของลูกสาวตัวน้อยเป็นครั้งแรก เพื่อบันทึกความเปลี่ยนแปลงของลูกสาวผ่านผลงานของเขา ซึ่งทำต่อเนื่องมาแล้วกว่า 12 ปี โดยตุ๊กตาแต่ละตัวถูกแกะสลักอย่างประณีตด้วยหัวใจของคุณพ่อที่มีต่อลูกสาวเรื่อยมา ความน่าสนใจคือเหล่าคาแรกเตอร์ของตุ๊กตาในแต่ละปีจะแตกต่างกัน เพื่อสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของลูกสาวในปีนั้นๆ ยกตัวอย่างในปีที่ลูกสาวอายุครบ 7 ขวบ เธออยากได้แมวน้อยสักตัว คุณพ่อจึงรังสรรค์แมวให้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน หรือในวันเกิดปีที่ 11 เป็นช่วงเวลาที่เธอต้องเฉลิมฉลองวันเกิดท่ามกลางการแพร่ระบาดใหญ่ คุณพ่อจึงดีไซน์หมวกใบพิเศษที่มีรูปร่างเหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ครึ่งปลา ครึ่งคนที่ชื่อว่า ‘Amabie’ ปีศาจจากนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นที่มีความเชื่อว่าสามารถพยากรณ์โรคระบาด และปกป้องผู้คนจากโรคภัยไข้เจ็บได้  กลายเป็นเรื่องราวแสนอบอุ่นที่คุณพ่อได้บันทึกเรื่องราวสำคัญในชีวิตของลูกสาวด้วยมือของตัวเอง และมากไปกว่านั้นในฐานะจิตรกรเขายังได้เห็นถึงพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของตัวเองในแต่ละปีเช่นเดียวกัน ซึ่งเขาหวังว่าจะได้แกะสลักชีวิตและเรื่องราวของเธอไปจนกว่าเขาจะหมดเรี่ยวแรงทำมัน Source : Vice | https://bit.ly/3jBSv2A

Ambulance Taxi รับส่งผู้ป่วยโควิดฟรี ลดระยะเวลารอรถฉุกเฉิน ลดการแพร่เชื้อในขนส่งสาธารณะ

โรงพยาบาลราชวิถี นำร่องโครงการ Ambulance Taxi หรือแท็กซี่ฉุกเฉิน เพื่อย่นระยะเวลารอรถพยาบาลของผู้ป่วยโควิด-19 ช่วยรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อในระบบขนส่งสาธารณะ โดยทำการประสานผู้ป่วยจากบ้านสู่โรงพยาบาลหรือ Hospitel ทุกแห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  การลำเลียงผู้ป่วยโควิด-19 กำลังประสบปัญหาด้านการจราจรอย่างหนัก นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ปัญหาใหญ่คือก่อนที่ผู้ป่วยจะมาถึงมือแพทย์ ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการรอรถฉุกเฉิน แม้จะให้บริการกันตลอด 24 ชม. แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงทำการปรับปรุงโครงสร้างรถแท็กซี่เพื่อให้เชื้อโรคจากผู้ป่วยไม่กระจาย และเหล่าแท็กซี่ฮีโร่ ที่เป็นจิตอาสาก็ได้รับการฝึกฝนด้านความปลอดภัยจากโรงพยาบาลด้วย  Ambulance Taxi จะมี 6 มาตรการความปลอดภัย คือ  1. สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาระหว่างการเดินทาง 2. งดหรือลดการคุยโทรศัพท์ ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น 3. ห้ามรับประทานอาหารระหว่างการเดินทาง 4. ไม่พูดคุยกับผู้โดยสารที่ร่วมโดยสารระหว่างการเดินทาง 5. งดการสัมผัสพลาสติกที่กั้นระหว่างผู้นั่งและผู้ขับ 6. ไม่พยายามเคาะเรียกผู้ขับระหว่างการเดินทาง แท็กซี่ฉุกเฉินยังเป็นการช่วยลดการใช้งานรถพยาบาลฉุกเฉินไว้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องอาศัยเครื่องมือช่วยพยุงชีวิต และลดการใช้งานชุด PPE ที่ยังจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตการณ์อีกด้วย สามารถติดต่อแท็กซี่ฉุกเฉินได้ที่เบอร์ 09-6771-1687 โดยจะต้องประสานผ่านโรงพยาบาลที่ทำการรักษาอยู่เท่านั้น และต้องขอรับบริการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 […]

แค่ยืนชมวิวหรือโดดสะพาน AI เกาหลีช่วยป้องกันได้ ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมจากกล้องวงจรปิด

ปี 2020 ที่ผ่านมาตัวเลขผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยทางน้ำของโซลสูงขึ้นกว่า 30% ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาววัย 20 – 30 ปีที่ต้องเผชิญปัญหาว่างงาน และความตึงเครียดจากวิกฤตเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่จึงเร่งดูแลอย่างใกล้ชิด คอยเฝ้ากล้องวงจรปิดอย่างแข็งขัน  แต่บางครั้งการเฝ้าสังเกตและวิเคราะห์ของมนุษย์ก็ผิดพลาดกันได้ ทำให้ไม่สามารถบอกแน่นอนว่าคนที่ยืนอยู่ตรงสะพานนั้นแค่เดินเล่นหรือพยายามจะฆ่าตัวตายกันแน่ ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2020 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโซลจึงพัฒนาระบบ AI ให้เรียนรู้พฤติกรรมของบุคคลที่มีแนวโน้มว่าจะกระโดดสะพานจากบันทึกของหน่วยกู้ภัยทางน้ำของโซลและภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิด เช่นท่าทีแสดงความลังเล เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทีมกู้ภัยรู้และเข้าถึงบุคคลนั้นๆ ได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น เพราะสำหรับภารกิจกู้ภัยแล้วทุกวินาทีนั้นมีค่า เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยทางน้ำของกรุงโซลที่ร่วมมือกับทีมนักวิจัยและสำนักงานใหญ่การจัดการอัคคีภัยและภัยพิบัติกรุงโซลจะได้ทดสอบระบบ AI นี้อย่างเป็นทางการภายในเดือนตุลาคมนี้ เราหวังว่าการร่วมมือกันของมนุษย์และเทคโนโลยีในครั้งนี้จะช่วยชีวิตอีกหลายชีวิตไม่จบลงที่สะพานแม่น้ำฮัน

จากขยะสู่ขุมทรัพย์ เมื่อกากโกโก้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำคัญของไอวอรีโคสต์

โกโก้หนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก กำลังเจอบทบาทใหม่นอกจากมอบรสชาติสุดล้ำลึกเป็นของขวัญแก่มวลมนุษย์ เพราะที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรที่ทำงานด้านนี้กว่า 6 ล้านคน หลังจากที่เติมพลังงานให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน โกโก้ กำลังจะเป็นต้นกำเนิดพลังงานที่จะขับเคลื่อนแดนงาช้างแห่งนี้  ไม่เหมือนกับข้าว ส้ม หรือแอปเปิล บางคนอาจจะนึกภาพต้นหรือโกโก้ไม่ออก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับโกโก้ในฐานะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีมรสโปรด ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาแล้วและวางขายอยู่บนชั้นวางที่ซูเปอร์มาร์เก็ต จากผลสีเหลืองขนาดประมาณฝ่ามือมีแต่ ‘เมล็ดโกโก้’ ที่ถูกมองว่าเป็นทอง ส่วนที่เหลือคือตะกอนดินที่ทิ้งไปได้ในทันที ทำให้ปริมาณกากโกโก้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  แต่ของเหลือทิ้งเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็นขุมทรัพย์ทางด้านพลังงานหมุนเวียนของไอวอรีโคสต์ หลังจากประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง ไอวอรีโคสต์ จึงเริ่มเดินเครื่องในโรงงานชีวมวลที่ผลิตไฟฟ้าจากกากของโกโก้ ที่ตั้งอยู่ใน Divo นครเอกของการผลิตโกโก้ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า  กากโกโก้เหล่านี้จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับกังหันลม ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป โดยโรงงานเพียงแห่งเดียวจะผลิตกำลังไฟได้เทียบเท่ากับความต้องการใช้งานของ 1.7 ล้านคน ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวน 46 – 70 เมกะวัตต์ต่อปี และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบการผลิตแบบดั้งเดิม  เพิ่มพลังไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก  ไม่ต่างจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะเป็นประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก ไอวอรีโคสต์หวังว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ […]

ทำไมต่างประเทศถึงรื้อทางด่วน

แท็กซี่ : สวัสดีครับ ไปไหนครับสมศรี : ไปสนามบินดอนเมืองค่ะ ขึ้นทางด่วนเลยนะพี่ หนูรีบ! ในวันที่เร่งรีบ การเดินทางด้วย ‘ทางด่วน’ คงเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่คนเมืองใช้เพื่อหลีกหนีการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ และย่นระยะเวลาให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ซึ่งพอมองดูแล้วการมีทางด่วนก็ทำให้ชีวิตการเดินทางของเราง่ายขึ้นนี่นา แล้วทำไมอยู่ๆ ต่างประเทศถึงลุกขึ้นมารื้อทางด่วนกันนะ ‘ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึง’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ทางด่วน’ (Expressway) เป็นทางหลวงประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งตามหลักแล้วตลอดเส้นทางจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก มีแสงสว่าง จุดพักรถ รวมไปถึงระบบตรวจจับความเร็ว อาจเปิดให้ใช้ในลักษณะถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ได้ ‘ลองไอส์แลนด์มอเตอร์พาร์กเวย์’ (Long Island Motor Parkway) ในเกาะลองไอส์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือทางด่วนเส้นแรกของโลก สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ รวมถึงความต้องการที่จะเดินทางให้รวดเร็วมากขึ้น โดยทางด่วนเส้นนี้เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 1908 เป็นถนนที่ประกอบด้วยฟังก์ชันทันสมัยหลายอย่าง เช่น พื้นเอียงบริเวณทางโค้ง ราวกันอันตราย คอนกรีต และยางมะตอยเสริมแรง มีประโยชน์ขนาดนี้ แล้วทำไมถึงยังรื้อทิ้ง ‘เกาหลีใต้’ เป็นเรื่องที่เราประหลาดใจพอสมควร เมื่อได้ยินข่าวว่าเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจรื้อทางด่วนสายสำคัญในกรุงโซลทิ้ง และแทนที่ด้วยเลนสำหรับรถบัสที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทางด่วนดังกล่าวหรือที่คนเกาหลีเรียกว่า […]

‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า

คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น  ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ  ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี  ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน  “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]

#คืนกลางคืน แคมเปญเลิกรอ เยียวยากันเอง ของนักร้องและร้านอาหารช่วงโควิด-19

ในวันที่ความอดทนขาดผึง การนั่งรออย่างเดียวท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันคงไม่ต่างอะไรกับการอดตาย ทำให้ Junk House Music Bar (อยุธยา) ลุกขึ้นมาแท็กทีมกับศิลปินนักร้องและร้านค้าบางส่วน นำโดย แอมมี่ The Bottom Blues, T_047, ไววิทย์, H3F, เอ้ Beagle Hug, Listn’t (ลพบุรี), Labyrinth Cafe (กทม.) ร่วมทำโปรเจกต์ที่ชื่อว่า ‘คืนกลางคืน’ เพื่อจุนเจือกันและกันให้ยัง ‘รอด’ ต่อไปได้ โดยคืนกลางคืนจะรวมตัวเพื่อจัดคอนเสิร์ต Unplugged ในบรรยากาศเป็นกันเองสุดๆ เพราะจำกัดผู้เข้าฟังเพียง 30 คนเท่านั้น แถมยังเปิดพื้นที่ให้พูดคุยกับศิลปินแบบใกล้ชิดอีกด้วย แน่นอนว่าภายในกิจกรรมยังรักษามาตรการป้องกันโควิด-19 เพราะฉะนั้นอุ่นใจได้เลย  คืนแรกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ก.ค. นี้ ณ Junk House Music Bar ติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้จากร้านอาหารและศิลปินที่เข้าร่วมโปรเจกต์ Sources :https://www.facebook.com/hellofungjaihttps://www.facebook.com/junkhousemusicbar/

Urban Wildlife : กรุงเทพฯ เมืองสัตว์ๆ ออกแบบให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันดียิ่งขึ้น

ชวนเข้าป่าในเมือง พร้อมออกแบบที่ทางให้เหล่าสัตว์ในเมือง เพื่อให้พวกมันได้อยู่ร่วมกันกับพวกเราชาวมนุษย์ได้อย่างสมดุลและดียิ่งขึ้น

1 218 219 220 221 222 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.