เวิลด์ทัวร์โฉมใหม่ของ Coldplay ตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอน 50% และใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งคอนเสิร์ต

หลังจาก Coldplay ประกาศหยุดทัวร์คอนเสิร์ตมาตั้งแต่ปี 2019 เพื่อหาทางจัดคอนเสิร์ตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากที่สุด เพราะการออกทัวร์แต่ละครั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุของ Climate Change จากการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยใช้เครื่องบิน การขนส่งวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการแสดงบนเวที การใช้ไฟฟ้าต่อครั้งในปริมาณมาก หรือการผลิตสินค้าที่ระลึก  เนื่องจากสถานการณ์หลายๆ อย่างยังไม่เป็นใจ ทำให้ Coldplay ใช้เวลากว่า 2 ปี ทั้งศึกษาข้อมูล พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการออกแบบคอนเสิร์ตให้ ‘ยั่งยืนที่สุด’ เท่าที่จะเป็นไปได้ และในที่สุดพ่อก็คัมแบ็กด้วยการประกาศเวิลด์ทัวร์ ‘Music of the Spheres’ ในปี 2022 พร้อมตั้งเป้าว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ตลอดทัวร์ลง 50% หรือเป็นศูนย์ให้จงได้! โดยแผนของพี่ในครั้งนี้ คือ Coldplay จะใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ จักรยานไฟฟ้า และพื้นพลังงานจลน์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและเก็บไว้ในแบตเตอรี่ที่เคลื่อนย้ายได้ ซึ่งร่วมมือกับ BMW สำหรับใช้ในคอนเสิร์ต ถัดมาพวกเขายังสนับสนุนให้แฟนๆ เดินทางไป-กลับด้วยการใช้ขนส่งแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะคำนวณปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากการเดินทางแต่ละครั้งผ่านแอปฯ ทัวร์  รวมถึง Coldplay จะหลีกเลี่ยงเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ และจ่ายเงินเพิ่มเพื่อใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ส่วนตัวเวทีจะสร้างจากวัสดุใช้ซ้ำและยั่งยืน เช่น […]

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

‘รถเข็นประเทศไทย’ หนังสั้นแสนสิริ ที่ชวนทุกคนช่วยกันฝ่าวิกฤตให้ประเทศเดินหน้าต่อได้

การแพร่ระบาดของโควิดได้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนทั่วโลก และยิ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมันกลายเป็นฝันร้ายของคนชั้นกลางและชั้นล่าง คุณอาจจะโชคดีหากเป็นคนที่มีฐานะ มีทุนเยอะ มีกำลังมากกว่า และสามารถเข้าถึงโอกาสในการรักษา การป้องกัน และหาหนทางรอดมากกว่า คนตัวเล็กๆ หรือธุรกิจรายย่อยที่กำลังเขามีต้นทุนน้อย ที่ต้องพยายามดิ้นรนประคองตัวเองให้รอดในแต่ละวัน แต่ถ้าหากคนที่แข็งแรงหันมาช่วยเหลือกัน ยื่นมือเข้ามาช่วยผู้ที่กำลังล้ม และพากันไปข้างหน้าด้วยกันจนพ้นจากวิกฤติก็คงจะดีไม่น้อย นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ No One Left Behind แสนสิริไม่ทอดทิ้งใคร ที่มองว่าสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบวงกว้างเช่นนี้ ไม่ควรจะมีใครสักคนเดียวถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง ไม่ว่าคนหรือองค์กรนั้นจะเป็นใคร หากเขากำลังประสบปัญหาอยู่ ก็ควรจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่มีกำลังกว่า มีโอกาสรอดมากกว่า ไม่ใช่ใช้โอกาสที่มีเอาตัวรอดอยู่คนเดียว หากเป็นเช่นนั้นประเทศก็จะล้ม แสนสิริจึงตั้งใจที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เริ่มต้นแคมเปญต่างๆ ที่เข้าไปช่วยเหลือผู้คนในภาคส่วนต่างๆ ให้ได้มากที่สุด และชวนให้ทุกคนที่ยังมีกำลัง มีโอกาส ร่วมมือกันช่วยเหลือประเทศให้รอดจากสถานการณ์โรคระบาดนี้ไปด้วยกันทุกคน ความตั้งใจที่จะพาทุกคนให้รอดไปด้วยกันนี้ได้ถูกถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสั้นเรื่อง ‘รถเข็นประเทศไทย’ ซึ่งได้ผู้กำกับอย่าง สวิฟท์-กฤษฏิ์สมัชญ์ เอื้อละพันธุ์ ที่เคยลงพื้นที่เข้าไปนำเสนอเรื่องราวปัญหาของผู้คนไร้บ้านที่ถูกสังคมซ่อนไว้ในมุมมืด ในสายตาของผู้กำกับที่มองเห็นคุณค่าของผู้คนทุกคน หนังเรื่องนี้ของเขาจะช่วยทำให้คนดูเห็นถึงคุณค่าของกันและกัน และลุกขึ้นมาช่วยเหลือกันให้รอดจากวิกฤติโรคระบาดนี้ไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไอเดียเบื้องหลังหนังเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร มีสัญญะอะไรที่ถูกใส่ไว้และมีความหมายอย่างไรบ้าง วันนี้เราจึงชวนสวิฟท์มานั่งพูดคุยกัน ผู้กำกับพร้อมแล้ว คนอ่านพร้อม กล้องพร้อม ไมค์พร้อม ไฟพร้อม ตีสเลต…แอ็กชัน! โจทย์จากแสนสิริที่สวิฟท์ได้รับคือหนังจะต้องมองเลยไปถึงตอนที่โรคระบาดผ่านพ้นไปแล้ว […]

บราวนี่อึแมวจากสิงคโปร์ ไอเดียแกล้งกันวันฮาโลวีน

คุณก็รู้ว่าเดือนตุลาคมของทุกปีคือเดือนปล่อยผี ซึ่งนอกจากทั่วโลกจะเต็มไปด้วยบรรยากาศของธีมสยองขวัญแบบฉบับเทศกาลฮาโลวีน แต่อีกด้านหนึ่งยังมีความหอมหวานของขนมต่างๆ ที่ผู้คนหยิบยื่นให้แก่กัน ตามธรรมเนียมแล้วจะมีเด็กๆ หลายคนตั้งตารอการได้รับขนมหวานเต็มถัง และในฐานะผู้ใหญ่ หลายๆ คนต้องเป็นคนแจกขนมต่างๆ ให้เหล่าเด็กๆ แต่โจทย์ของ Nasty Cookie จะทำให้การมอบขนมให้แก่กันสนุกและขบขันขึ้นยิ่งกว่าเดิม เพราะ Nasty Cookie ร้านคุกกี้ที่มีอยู่หลายสาขาในประเทศสิงคโปร์ได้เปิดตัวบราวนี่ตัวล่าสุดที่ชื่อ Cat Poop Brownies ซึ่งเป็นขนมที่มีรูปลักษณ์เหมือนขี้แมว ใช่ เหมือนมากๆ จนเราก็ตกใจ ซึ่งความหัวใสนี้มาจากความตั้งใจดีไซน์ให้การมอบของหวานในฮาโลวีนปีนี้แปลกใหม่ สนุกล้ำขนาดที่มีคำเชิญชวนจากทางร้านว่า “ฮาโลวีนนี้ขอเชิญคุณมากินอึ” ตรงกับที่ Mothership สำนักข่าวในสิงคโปร์รายงานว่าร้านคุกกี้แห่งนี้ได้ส่งข่าวประชาสัมพันธ์การเปิดตัวสินค้าดังกล่าวมาทางอีเมลด้วยข้อความเดียวกัน สำหรับลูกค้าที่สนใจจะซื้อบราวนี่ Cat Poop ต้องจ่ายเงินจำนวน 5 ดอลลาร์สิงคโปร์ (คิดเป็นเงินไทยจำนวน 120 กว่าบาท) โดยคุณจะได้รับกล่องขนมบรรจุบราวนี่อึน้องแมวที่เสิร์ฟมาบน ‘ทรายแมว’ ซึ่งทำจากเศษผง สตรูเซล อันประกอบไปด้วยส่วนผสมของแป้ง เนย และน้ำตาล เรียกได้ว่าดีเทลหน้าตาของมันเต็มไปด้วยความใส่ใจในรายละเอียดจนมีความสมจริงอย่างไร้ที่ติ ชนิดที่ว่าถ้าคนที่ได้รับเป็นของขวัญไม่ขำหรือร้องหยีก็ให้มันรู้ไป ถ้าอยากจะลิ้มลองขนมอึชนิดนี้ เจ้าบราวนี่ขี้แมวของ Nasty Cookie จะวางจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และในร้านค้าตั้งแต่วันที่ 16 […]

ญี่ปุ่นใช้ AR สอนเด็กประถม เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน

ถ้าอยากให้เด็กโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ก็ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เนิ่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีหลายโรงเรียนที่นำเรื่อง ‘ภัยพิบัติ’ เข้าไปอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างจริงจัง เพื่อให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) ได้เผยแพร่ภาพโรงเรียนประถมในญี่ปุ่นกำลังทำเวิร์กช็อปกับนักเรียน ในการเรียนรู้เรื่องน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในญี่ปุ่นหลังจากเกิดแผ่นดินไหว  โดยจะใช้แท็บเล็ตที่มีเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) จำลองภาพน้ำท่วมเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพเสมือนจริง ไม่ต่างจากการเล่นเกม Pokémon Go และประเมินความเสี่ยงได้ว่าหากเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันขึ้นจริงๆ ระดับน้ำจะท่วมสูงมากแค่ไหน และพวกเขาควรทำอย่างไรบ้างเมื่อเจอสถานการณ์นี้ ทำให้เด็กได้อยู่ในสถานการณ์จำลอง เรียนรู้การวางแผนเอาตัวรอด และที่สำคัญคือช่วยลดความตระหนกเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริงในอนาคต ซึ่งเด็กนักเรียนอายุ 6 ปีที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปนี้ยังบอกว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก เพราะทำให้เขาเข้าใจเรื่องน้ำท่วมได้มากกว่าวิธีแบบอื่นๆ ผลงานการออกแบบ AR ชุดนี้เป็นของโทโมกิ อิตามิยะ (Tomoki Itamiya) ศาสตราจารย์ด้านการพัฒนาหลักสูตรประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทันตกรรมคานางาวะ เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้พัฒนา AR ในการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติมาแล้วหลายชิ้น เช่น น้ำท่วม สึนามิ […]

เยอรมนีเปิดตัวระบบเดินรถไฟใต้ดินแบบใหม่ เปลี่ยนรถไฟเก่าเป็นรถไฟอัตโนมัติ ใช้รางเดิมได้ ช่วยประหยัดเวลาและพลังงาน

เยอรมนีเปิดตัวระบบที่เปลี่ยนรถไฟใต้ดินไฟฟ้าธรรมดาให้กลายเป็นรถไฟที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ โดยเริ่มที่รถไฟใต้ดินสาย S-Bahn ในเมืองฮัมบูร์ก ชูจุดเด่นด้วยการมีประสิทธิภาพมากกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่าทั้งในด้านการเร่งความเร็วและการเบรก ระบบนี้ยังช่วยให้รถไฟตรงต่อเวลามากขึ้น และสามารถทำให้รถไฟวิ่งในรางเดียวกันด้วยความปลอดภัยกว่าเดิม  “เทคโนโลยีนี้ทำให้เราสามารถขนส่งผู้คนได้มากถึงสามสิบเปอร์เซ็นต์ ประหยัดพลังงานได้มากกว่าสามสิบเปอร์เซ็นต์ และมีผลอย่างมากต่อการเดินรถให้ตรงตามตารางเวลา” Roland Busch ในฐานะ CEO ของ Siemens AG กลุ่มบริษัทพลังงานที่ร่วมพัฒนาระบบกล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้  มีการคาดเดาว่าเมืองจะแออัดมากขึ้นในอนาคต ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและเป็นระบบอัตโนมัติ จะช่วยลดทั้งความแออัดในการเดินทาง และช่วยทุเลาภาวะโลกร้อน ทว่าก่อนหน้านี้รถไฟอัตโนมัติยังตอบโจทย์การใช้งานจริงได้ไม่ดีพอ เพราะต้องวิ่งบนรางที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากตามไปด้วย  ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเก็บสถิติในปี 2018 พบว่ารถไฟใต้ดินระบบอัตโนมัติทั่วโลกมีให้บริการเพียง 64 สายเท่านั้น นับจากเปิดตัวขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 1981 แต่ตัวเลขเหล่านี้อาจจะเพิ่มขึ้น และประเทศไทยเองก็มีสิทธิ์เหมือนกันเพราะเทคโนโลยีที่ Siemens พัฒนาร่วมกับ Deutsche Bahn สามารถติดตั้งได้ที่รางดั้งเดิมของรถไฟฟ้าเพื่อให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติได้ทันที และสามารถใช้งานควบคู่กับรถไฟแบบเดิมได้ด้วย  พวกเขาได้สาธิตเทคโนโลยีใหม่นี้ที่ฮัมบูร์กในงาน Intelligent Transport Systems World congress ที่จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนจะเปิดให้ใช้งานจริงบางส่วนในเดือนธันวาคม และฮัมบูร์กคาดว่าจะทำให้รถไฟสาย S-Bahn ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1907 กลายเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดภายในปี 2030

ไปซูเปอร์มาร์เก็ตก็แก้เหงาได้ เนเธอร์แลนด์เปิดบริการพูดคุยที่แคชเชียร์ เยียวยาใจผู้สูงอายุที่รู้สึกโดดเดี่ยว

ซูเปอร์มาร์เก็ต ‘Jumbo’ ของเนเธอร์แลนด์ผุดไอเดียเปิดแคชเชียร์ที่ลูกค้าสามารถพูดคุยกับพนักงานระหว่างชำระเงินได้ เพื่อช่วยคลายเหงาให้ลูกค้า และทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง บริการนี้มีชื่อภาษาดัตช์ว่า ‘Kletskassa’ หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Chat Checkout’ จริงๆ แล้วซูเปอร์มาร์เก็ต Jumbo เริ่มเปิดให้บริการ Chat Checkout มาตั้งแต่ปี 2019 และกลายเป็นบริการที่ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนตอนนี้มีซูเปอร์มาร์เก็ต Jumbo ราว 200 สาขาทั่วเนเธอร์แลนด์ที่มีบริการนี้ ด้านบริษัท Jumbo เปิดเผยว่า ในฐานะที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นสถานที่นัดพบของผู้คน ทางบริษัทจึงอยากมีบทบาทสำคัญในสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้คนต่อสู้กับความเหงาและความโดดเดี่ยว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ นอกจากนั้น บริการพูดคุยที่จุดชำระเงินยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของกระทรวงสาธารณสุขเนเธอร์แลนด์ ที่มุ่งแก้ปัญหาเรื่องความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุด้วย เพราะตอนนี้เนเธอร์แลนด์มีผู้สูงอายุ 75 ปีขึ้นไปอยู่ราว 1,300,000 คน โดยจากจำนวนนี้ มีผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งที่ยอมรับว่าพวกเขามักรู้สึกโดดเดี่ยว และจำนวนผู้สูงอายุที่รู้สึกอ้างว้างยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด เพราะผู้คนต้องใช้เวลาส่วนใหญ่กักตัวอยู่ที่บ้านและทำกิจกรรมทางสังคมน้อยลง ความสำเร็จของบริการ Chat Checkout ทำให้บริษัท Jumbo มีแผนที่จะเปิดบริการนี้ให้กับซูเปอร์มาร์เก็ตอีก 200 สาขาภายในสิ้นปีหน้า และยังมีแผนที่จะเปิดให้บริการ ‘Chat […]

‘ศูนย์พักคอยตันปัน’ เปลี่ยนตึก 30 ปีเป็นที่ที่ผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้วไม่เครียดกว่าเดิม

01 ปัดฝุ่นตึกเก่าอายุ 30 ปี ให้เป็นพื้นที่ช่วยคน 30 กว่าปีที่แล้ว อาคารสูง 8 ชั้น ประดับด้วยเสา และฟอร์มสไตล์โรมันตั้งเด่นอยู่ทางเข้าย่านสถานบันเทิง RCA เคยเป็นสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงาน ที่หนุ่มสาวแถวนั้นแวะเวียนมาใช้บริการเมื่อถึงวันสำคัญ และตึกนี้ยังเป็นตึกแรกในชีวิตที่ ตัน ภาสกรนที ซื้อมาทำธุรกิจส่วนตัว “ตึกนี้ติดถนนใหญ่ ชั้นละสี่ร้อยตารางเมตร มีดาดฟ้า และ Penthouse เล็กๆ ข้างบน ผมใช้สอยพื้นที่เป็นร้านถ่ายรูปแต่งงานได้สบาย โดยกลุ่มลูกค้าเราก็คือคนที่มาเที่ยว RCA ที่วันหนึ่งแต่งงานก็จะนึกถึงเรา แต่พอเวลาผ่านไป ผมพบว่าจริงๆ ตึกนี้ไม่ใช่สไตล์ผมเลย ขัดกับตัวเองสุดๆ ก็เลยปล่อยเช่าไปยาวๆ” นักธุรกิจอย่างเขา ปล่อยเช่าให้คนอื่นทำธุรกิจแทนจนแทบไม่ได้ไปเหยียบตึกเก่าที่เคยซื้อไว้ในอดีต กระทั่งได้ยิน สรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรายการ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตัวเลขคนตายไม่ได้มีแค่ที่โรงพยาบาล แต่ตายที่บ้านก็มี ตายข้างถนนก็มี  “สถานการณ์ในประเทศหดหู่มาก ประชาชนพบปัญหาเดียวกันคือไม่มีเตียง เพื่อนผมเองก็โทรมาถามว่า คุณตันรู้จักใครไหม ช่วยหาเตียงหน่อย ซึ่งเราก็หาให้เขาไม่ได้ ผมก็คิดว่า ถ้าเป็นผมที่ติด จะไปหาเตียงที่ไหน […]

เลนส์แว่นตากู้หน้าสดจาก JINS ด้วย Cheek Color Lens เลนส์แว่นแก้มแดงแค่ใส่ก็เหมือนแต่งหน้าและผิวดูสุขภาพดี

แก้มแดงอมชมพูเหมือนเลือดสูบฉีด ดูสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก แถมยังดูสดใสอย่างเป็นธรรมชาติด้วย ‘Cheek Color Lens’ เลนส์แว่นตาชนิดใหม่จากแบรนด์ JINS ที่สร้างเอฟเฟกต์สีบริเวณแก้มทั้งสองข้าง เพียงแค่สวมแว่นตาก็ดูเหมือนแต่งหน้าแล้ว!

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

แผนที่ร้านชำทั่วกรุงเทพฯ จากร้านชำใกล้ฉัน พร้อมดาวน์โหลดแล้ว

หลังจากเก็บข้อมูลมาแล้วทั่วกรุง ตอนนี้แผนที่ฉบับทดลองจากร้านชำใกล้ฉันพร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว!  ถึงแม้ช่วงนี้จะคลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ร้านชำใกล้บ้านยังต้องการลูกค้าอยู่เหมือนเดิมนะ ถ้าอยากอุดหนุนร้านเล็กๆ ใกล้บ้าน อยากรู้จักร้านชำใหม่ๆ ทั่วกรุง ลองโหลดแผนที่ร้านชำของ ‘ร้านชำใกล้ฉัน’ ไปติดตั้งได้เลย  ในช่วงการทดลองใช้ ในระบบจะมีร้านชำกว่า 200 ร้านทั่วกรุงเทพมหานคร โดยทุกคนสามารถใช้งานได้ง่าย ผ่านแอปพลิเคชัน Google Maps (รองรับทั้ง iOS, Android) มี 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้  1. กดเข้าไปที่ลิงก์ “แผนที่ร้านชำใกล้ฉัน” : https://bit.ly/3FCcBme 2. ค้นหาโดยพิมพ์ “โซน” หรือพิมพ์ “เขต” ที่ตนเองอยู่ จะมีหมุดร้านชำแสดงในแต่ละพื้นที่โดยแบ่งเป็นสีดังนี้ โซนสีเขียว-ฝั่งธน โซนสีเหลืองส้ม-ฝั่งพระนคร โซนสีแดง-ฝั่งกรุงเทพฯ ตอนเหนือ (โซนปทุมธานี) โซนสีน้ำเงิน-ฝั่งกรุงเทพฯ ตอนใต้ (โซนสมุทรปราการ) 3. เมื่อทุกคนกดไปที่หมุดแล้ว จะแสดง “ชื่อร้าน” และข้อมูลเบื้องต้น ประกอบด้วย วันเวลาเปิด-ปิด เบอร์โทรติดต่อ การชำระเงิน […]

อ่างแก้วใหม่ในสายตา ‘เบิ้ล นนทวัฒน์’ สถานที่เยียวยาจิตใจในประเทศที่มีแต่เรื่องหัวค*ย

‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ด้วยโปรเจกต์งานสารคดีเรื่อง ‘ดินไร้แดน’ ‘ดอยบอย’ และอื่นๆ ที่ทำให้เขาต้องเดินทางมาทำงานที่นี่บ่อยๆ นอกจากลงพื้นที่ทำหนัง เวลาที่เบิ้ลต้องใช้ความคิดหรือเขียนบทเกี่ยวเนื่องกับโปรเจกต์ หรือในบางครั้งที่เขาอยากมาพักใจเฉยๆ เชียงใหม่กลายเป็นปลายทางหนึ่งที่เบิ้ลมาเยี่ยมเยียนแทบตลอดมา และช่วงที่เขาอยากพักผ่อนจากงานตรงหน้า ‘อ่างแก้ว’ คือหนึ่งใน Public Space ปรับปรุงใหม่ที่เขามีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน ในฐานะผู้กำกับหนังและช่างถ่ายภาพ เขาจึงใช้กล้องที่พกติดตัวไปทุกที่ บันทึกภาพสิ่งที่เขาเห็นแล้วชอบกลับมาให้เพื่อนๆ ได้ดู แน่นอน เราแอบขอภาพเขาบางส่วนมาแบ่งปันทุกคนด้วย

1 214 215 216 217 218 377

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.