LATEST
‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’
เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]
ประติมากรรม ‘LOV’ ที่ไม่สมบูรณ์ งานศิลปะที่สื่อถึงความรักแบบไร้ Ego ใจกลาง Union Square ในแมนแฮตตัน
นอกจาก ‘I ♥︎ NY’ หรือ ‘We ♥︎ NY’ ที่พบเจอได้ทั่วไปในนิวยอร์กแล้ว ตอนนี้ในเมืองก็มีงานประติมากรรม ‘LOV’ ใน Union Square Park ที่เชิญชวนให้ทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาได้ถกเถียงและแสดงความเห็นต่องานศิลปะแห่งความรักที่ไม่สมบูรณ์แบบชิ้นนี้ Love – Ego = LOV เป็นผลงานของ ‘Pasha Radetzki’ ที่ได้รับการคัดเลือกจาก NYC Parks และ Union Square Partnership เพื่อนำมาจัดแสดงภายใต้โครงการ Unity on Union Square ของ Union Square ผลงานนี้ทำขึ้นจากไม้อัดที่แต่งแต้มสีสันโดดเด่น สร้างชีวิตชีวาให้กับบริเวณรอบข้าง ประกอบด้วยตัว ‘L’ สีเขียว ‘O’ สีเหลือง และ ‘V’ สีชมพู วางเรียงกันเป็นคำว่า ‘LOV’ ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นคำที่ไม่สมบูรณ์ แต่ทุกคนก็เข้าใจได้ว่าหมายความว่าอะไร คำว่า LOVE […]
รู้จักกับ ‘The Offline Club’ คอมมูนิตี้ที่พาทุกคนห่างไกลจากมือถือ และกลับไปใกล้ชิดกับตัวเองและคนใกล้ตัว
มนุษย์ปัจจุบันนี้ใช้เครื่องมือสื่อสารท่องโลกออนไลน์เป็นความเคยชิน จนบางทีเราติดกับการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานโดยไม่ได้คำนึงถึงโลกภายนอก ‘The Offline Club’ คือคอมมูนิตี้สุดเจ๋งที่ ‘Ilya Kneppelhout’ และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง ‘Valentijn Klok’ และ ‘Jordy van Bennekom’ ริเริ่มขึ้นในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ พวกเขานิยามไอเดียของคอมมูนิตี้นี้ว่า ‘Swap screen time for real time.’ ที่หมายถึง เปลี่ยนเวลาที่อยู่หน้าจอให้เป็นเวลาในชีวิตจริง โดย The Offline Club จะนัดรวมตัวกันที่คาเฟ่ต่างๆ แล้วเบรกตัวเองจากการใช้โทรศัพท์มาลองทำกิจกรรมออฟไลน์อื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ พูดคุยกับคนใหม่ๆ วาดภาพ เป็นต้น โดยกิจกรรมในแต่ละครั้งของ The Offline Club จะเริ่มจากการให้ผู้คนได้พูดคุยกันในตอนแรก ต่อด้วยการอยู่กับตัวเองภายใน 45 นาที และใช้เวลาอีก 1 ชั่วโมงให้เราเชื่อมต่อกับบรรยากาศของผู้คน รวมถึงใช้เวลาอยู่เงียบๆ กับตัวเองในช่วง 30 นาทีสุดท้าย เหล่าผู้ก่อตั้งคอมมูนิตี้นี้เชื่อว่า The Offline […]
‘Waste War’ บอร์ดเกมสอนแยกขยะแบบง่ายๆ ที่ทั้งสนุกและได้เรียนรู้เรื่องรีไซเคิลไปพร้อมกัน
การแยกขยะ เป็นการกระทำหนึ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ยั่งยืนได้ แต่ขณะเดียวกัน หลายคนก็มองว่าการแยกขยะมีวิธีที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ทำให้อาจมองข้ามการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไป ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘KongGreenGreen’ คอนเทนต์ครีเอเตอร์สายสิ่งแวดล้อมที่ให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะมานาน ร่วมมือกับ ‘ไจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ นักออกแบบและเจ้าของแบรนด์ ‘Qualy’ ในการทำ ‘Waste War’ บอร์ดเกมที่จะทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และนอกจากจะเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแล้ว ยังสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของขยะอีกด้วย ก้องเล่าให้เราฟังว่า บอร์ดเกมนี้เป็นการต่อยอดเนื้อหาจากช่อง KongGreenGreen ที่ต้องการทำให้การรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และทำตามได้จริง ผ่านหลักคิดที่ว่า ‘แค่เราปรับเพียงนิดหน่อยก็ช่วยโลกได้มาก’ ซึ่งเอกลักษณ์ของช่องคือ การแนะนำวิธีการแยกขยะเบื้องต้น การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการรีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ ผ่าน The Recycle Series รายการที่นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่กระป๋องที่ถูกใช้งาน จนผ่านกระบวนการรีไซเคิลต่างๆ กลับมาเป็นกระป๋องที่สามารถนำมาบรรจุเครื่องดื่มได้อีกครั้ง นอกจากนั้น ด้วยความที่เขายังเป็นผู้นำกระบวนการเวิร์กช็อปเรื่องแยกขยะตามหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่สนใจเรื่อง Zero Waste ทำให้ต้องคิดเกมหรือกิจกรรมเพื่อที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้สนุกสนานพร้อมกับได้รับความรู้ไปด้วย ก้องจึงนำเอาประสบการณ์จากการทำกิจกรรมเหล่านั้นมาปรับใช้เป็นบอร์ดเกมชิ้นนี้ ที่แม้จะดูเป็นสื่อการสอนที่ดี แต่ก็อยากให้เป็นเกมที่เล่นได้ยามว่าง เพราะ Waste War […]
จับตา สว. โหวต ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ในวาระ 2 และ 3 หลังสภาให้ไฟเขียวในวาระ 1 พรุ่งนี้ 18 มิ.ย. 67 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป
หนึ่งประเด็นทางการเมืองที่น่าจับตามองคงหนีไม่พ้น ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา หลังผ่านร่างกฎหมายในสภาไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ด้วยคะแนน 147 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ถือเป็นก้าวสำคัญของความเท่าเทียม หลังจากมีการถกเถียงและเรียกร้องกันมาอย่างยาวนาน โดยจุดสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การแก้ไขให้บุคคลสองคนทุกเพศ รวมถึงคนที่มีเพศเดียวกัน สามารถสมรส จัดการทรัพย์สิน และรับบุตรบุญธรรมได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในกรณีของการรับบุตรบุญธรรม การกำหนดอายุและบริบทของสังคมยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ในสภา จึงเป็นเรื่องที่เหล่านักออกกฎหมายต้องแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมมากกว่าเดิมแบบไม่มีช่องว่าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าหลังจากที่มีการโหวตผ่านโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ไปก่อนหน้า แต่ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ 18 มิถุนายน ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุมโดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) และจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สว.ชุดรักษาการ โดยมีเสียงเห็นชอบทั้งฉบับลงมติชี้ขาดในที่ประชุม ถึงจะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ แต่หากไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายจะถูกยับยั้งและส่งกลับไปยังสภาผู้แทนฯ ก่อนร่างกฎหมายจะถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้หลังพ้นไปแล้ว 180 วัน หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน นี่จะเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของทุกคนต้อนรับเดือน Pride Month อย่างแน่นอน เพราะถือเป็นอีกหนึ่งขั้นในระยะทางยาวนานกว่า 12 […]
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนเมือง ในนิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิ.ย. 67 ที่พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ
เรามักได้ยินว่า เมืองเป็นอย่างไร คนที่อยู่อาศัยก็เป็นอย่างนั้น แต่ขณะเดียวกัน คนเองก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงเมืองได้ เห็นได้จากกระแสสังคมที่ผ่านๆ มา ที่จุดประกายให้เมืองต้องปรับตัวตาม ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และตัวเราเองในฐานะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้จะมีส่วนเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ อย่างไร ตามไปสำรวจและหาคำตอบกันได้ที่ นิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิถุนายน 2567 ที่อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (MRT ศูนย์สิริกิติ์) เวลา 09.00 – 21.00 น. ภายในงานจะมีนิทรรศการมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เมืองดีขึ้น ตั้งแต่คนที่ช่วยกันดูแลเมืองคนละไม้คนละมือ รายงานปัญหาผ่าน Traffy Fondue, แยกขยะในครัวเรือน, ไม่กีดขวางทางเท้า, ช่วยกันรักษาความสะอาดให้เมือง ฯลฯ หรือการทำหน้าที่เป็นภาคีเครือข่าย ที่นำความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ แพสชัน มาช่วยพัฒนาเมืองผ่านโปรเจกต์ต่างๆ ไปจนถึงการเข้าร่วมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่และบุคลากรของ กทม. ที่ทำงานอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ใช้เทคโนโลยี […]
รัฐทมิฬนาฑู ชีวิตในดินแดนใต้สุดของอินเดีย
คลื่นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เกินจะทน ถนนหนทางที่อัดแน่นไปด้วยผู้คนและสิงสาราสัตว์ที่เดินกันอย่างไม่เกรงกลัวใคร เสียงจ้อกแจ้กจอแจที่คลอเคลียตลอดสายผสมผสานกับแตรรถที่อึกทึกครึกโครม ภาพเหล่านี้คงเป็นบรรยากาศแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดของใครหลายคนเมื่อกล่าวถึงประเทศ ‘อินเดีย’ แต่หาใช่กับ ‘รัฐทมิฬนาฑู’ ทมิฬนาฑู คือรัฐทางตอนใต้สุดของอนุทวีปอินเดีย เมืองติดทะเลแสนสงบที่มีชายหาดยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งยังมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ทำให้ผู้คนส่วนมากในพื้นที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก เริ่มตั้งแต่กิจการเล็กๆ อย่างการขายดอกไม้ เครื่องประดับ ผ้าทอมือ อาหารคาวหวาน ของตกแต่งบ้าน ไปจนถึงของขึ้นชื่อประจำเมืองอย่างรถจักรยานยนต์ Royal Enfield ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้เศรษฐกิจของรัฐทมิฬนาฑูเฟื่องฟูเป็นอันดับ 2 ของอินเดีย และผู้คนในพื้นที่ล้วนมีน้ำใจไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใส และช่างพูดคุยอยู่เสมอ เนื่องจากต้องใช้การเจรจาประกอบอาชีพนั่นเอง นอกจากความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจแล้ว ทมิฬนาฑูยังเป็นพื้นที่แห่งอารยธรรม โดยในรัฐแห่งนี้ประกอบไปด้วยวัดทั้งหมด 38,165 วัด อีกทั้งยังมีศาสนสถานสำคัญที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกถึง 8 แห่ง ทำให้ตลอดการเดินทาง เราจะเห็นตึกรามบ้านช่องและร้านอาหารที่ทันสมัยสลับสับเปลี่ยนร่วมไปกับสถาปัตยกรรมโบราณที่ถูกทำนุบำรุงรักษาไว้ นอกจากนี้ ผู้คนในพื้นที่ยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เครื่องแต่งกายประจำชาติและภาษาทมิฬที่ถูกสืบทอดต่อกันมานานกว่า 2,500 ปีอีกด้วย หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
AG! Calling ในวันที่แย่ก็ยังมีแก๊งหัวหน้านักเรียนคอยช่วยเรา อัลบั้มบูสต์เอเนอร์จีในการใช้ชีวิต ปล่อยพลังไปกับ ATARASHII GAKKO!
เต้น เต้น เต้น เต้นเข้าไป เพราะมีชีวิต เราจึงเต้น ภาพ 4 สาวในชุดนักเรียนญี่ปุ่นที่กำลังเต้นในท่าทางแหวกแนว หลุดโลกอย่างพร้อมเพรียง ขัดกับภาพลักษณ์คุ้นตาของไอดอลญี่ปุ่นที่ต้องเต้นอย่างแข็งแรงและสวยงาม ทว่าเมื่อประกอบกับคาแรกเตอร์และเสียงร้องที่โดดเด่นของสมาชิกทั้ง 4 คน ได้แก่ SUZUKA, MIZYU, KANON และ RIN องค์ประกอบเหล่านี้ได้ยำรวมกันเกิดเป็น ‘ATARASHII GAKKO!’ วงไอดอลเกิร์ลกรุ๊ปแนวโปรเกรสซีฟ-ป็อปสัญชาติญี่ปุ่น ที่หลายคนอาจเคยเห็นผ่านตามาบ้างจากเพลง OTONABLUE ที่เป็นไวรัลไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คอนเซปต์ของวงคือ พวกเธอจะขออาสาเป็น ‘หัวหน้านักเรียน’ ตัวแทนของวัยรุ่นที่พร้อมแหกขนบ สู้ ชนกับสังคมภายใต้อำนาจนิยมแบบญี่ปุ่นที่บีบบังคับให้คนอยู่ในกรอบ ทำทุกอย่างเหมือนๆ กันไปหมด ผ่านเสียงเพลงและท่าเต้นหลุดโลกที่ปลุกให้เราอยากสู้ อยากลุยไปในโลกบ้าๆ ใบนี้ ‘AG! Calling’ เป็นอัลบั้มเดบิวต์อย่างเป็นทางการจากแก๊งหัวหน้านักเรียน ที่คำว่า ‘Calling’ ในชื่ออัลบั้มเป็นการเล่นเสียงกับคำว่า ‘Korin (降臨)’ ในภาษาญี่ปุ่น ที่หมายถึงการเรียกร้อง การมาถึง หรือการอุบัติขึ้น เพื่อเป็นการประกาศกร้าวตั้งแต่ชื่ออัลบั้มว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ไหน ถ้าอยากแสดงถึงตัวตน อยากสร้างจุดยืนในสังคมที่บิดเบี้ยว […]
ความเ-ี่ยนไม่เคยหายไป เสวนากับสองผู้กำกับ จาก ‘Doctor Climax ปุจฉาพาเสียว’
เรื่องเซ็กซ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป และการเข้าถึงเรื่องเพศก็ทำได้ง่ายขึ้น ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงสื่อ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการปรึกษาปัญหาเรื่องเพศ ที่เราสามารถหาคำตอบและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน “เซ็กซ์เป็นเรื่องส่วนตัวระดับปัจเจกบุคคลไปถึงครัวเรือน แต่ก็สามารถสะท้อนภาพของสังคมได้ด้วย” Urban Creature ชวนคุยประเด็น ‘เสว’ กับ ‘คงเดช จาตุรันต์รัศมี’ และ ‘ไพรัช คุ้มวัน’ สองผู้กำกับจากซีรีส์ ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการหยิบประเด็นเรื่องเพศอันแสนจัดจ้านที่ถกเถียงในสังคมไทยยุค 70 ที่แม้ว่าเรื่องราวในซีรีส์จะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีบางอย่างที่ยังร่วมสมัยในสังคมยุคปัจจุบัน
WIJIT POP-UP STUDIO นิทรรศการภาพวาดภายใต้แนวคิดนิเวศสุนทรีย์ ใช้ศิลปะยกระดับชุมชนจากศาลเจ้าร้างสู่หอศิลป์ วันนี้ – 23 มิ.ย. ที่ GalileOasis Gallery
หากพูดถึงความหมายของศิลปะ คนส่วนใหญ่มักนึกถึง ‘ความสวยงาม’ เป็นสิ่งแรก แต่ถ้าเราเข้าใจบริบทมากขึ้น หลายครั้งศิลปะมีประโยชน์มากกว่าแค่ความสวยงาม นี่จึงเป็นเหตุผลที่เกิดชื่อเรียกความงามเหล่านี้ว่า ‘สาธารณศิลป์’ ซึ่งหมายถึงการนำศิลปะมาเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของคนและสังคมเมือง เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพวาด ‘WIJIT POP-UP STUDIO’ ของ ‘วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร’ ที่นำแนวคิดนี้มาใช้เช่นเดียวกัน วิจิตรเป็นศิลปินที่เติบโตในครอบครัวคนจีน ทำให้มีโอกาสฝึกวาดภาพเขียนจีนโบราณตั้งแต่เด็ก จนเกิดแรงบันดาลใจอยากนำความรู้ศิลปะที่ตนเองมีมาพัฒนาชุมชนชาวจีนในนครปฐม ภายใต้แนวคิดของ ‘นิเวศสุนทรีย์’ ที่นิยามการนำศิลปะมาแก้ไขปัญหาแทนหลักการของวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ศิลปะกลายเป็นสาธารณศิลป์ นำมาซึ่งหัวใจหลักของนิทรรศการภาพวาดในครั้งนี้ ที่เป็นการรวบรวมผลงานจาก ‘หอศิลป์ศาลเจ้า’ กับการนำศาลเจ้าร้างในจังหวัดนครปฐมมารีโนเวตให้เป็นหอศิลป์ เพื่อที่ผู้คนจะได้กลับมากราบไหว้และเยี่ยมเยียนศาลเจ้าแห่งนี้อีกครั้ง โดยภายในงานจะจัดแสดงผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันที่วาดด้วยเกรียง ซึ่งต้องการสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกผ่านภาพวาดของดอกไม้และสิ่งของ นอกจากนี้ ภายในงานยังจำหน่ายหนังสือ ‘คำสอนศิลป์’ และงานเขียนอื่นๆ รวมไปถึงกิจกรรมสุดพิเศษที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจในงานศิลปะได้สัมผัสงานศิลปะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม ‘สนทนาข้ามโต๊ะกับวิจิตรในแบบสุนทรียสนทนา’ ในวันที่ 13 และ 20 มิถุนายน เวลา 11.30 น. และหากใครที่ซื้อหนังสือภายในงาน สามารถร่วมกิจกรรม ‘วาดภาพสดกับอาจารย์วิจิตร’ ได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 15 – 16 และ 22 […]
‘Climate Migrants’ เมื่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป บีบบังคับให้คนต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อการอยู่รอด
วิกฤตโลกร้อนในตอนนี้เรียกได้ว่าก้าวเข้าสู่ภาวะโลกเดือดอย่างเต็มตัว จากกิจกรรมของมนุษย์ทุกคนที่ส่งผลกระทบให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ที่รุนแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน จนทำให้ในหลายพื้นที่ต้องหาทางรับมือให้ได้ และไม่ใช่แค่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่และภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องอพยพจากบ้านเดิมออกไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่ เพราะผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงด้วย ออกจากบ้านเพื่อหลบไปตั้งหลักชั่วคราว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าปัจจุบัน สภาพอากาศกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนต้องบอกลาบ้านเก่าเพื่อหาที่อยู่ใหม่ภายในประเทศ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงกว่าเดิมหรือเกิดบ่อยขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ หรือคลื่นความร้อน จนทำให้ผู้ประสบภัยต้องโยกย้ายถิ่นฐานออกไปตั้งหลักในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เห็นได้ชัดจากรายงาน Global Report on Internal Displacement 2020 โดย Internal Displacement Monitoring Centre (IDMC) ที่ระบุว่า ในปี 2562 มีจำนวนผู้พลัดถิ่นใหม่จากเหตุภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้นกว่า 24.9 ล้านคนใน 140 ประเทศและเขตการปกครองเลยทีเดียว ที่มีจำนวนมหาศาลขนาดนั้นเพราะภัยพิบัติเหล่านี้กระทบการใช้ชีวิตหลายส่วน ทั้งเรื่องของการดำเนินชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ เศรษฐกิจ รวมไปถึงการประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มเกษตรกรที่ต้องเจอกับระบบนิเวศเสียหาย หรือกลุ่มชาวประมงที่ต้องเจอกับทะเลเป็นกรด จนไม่สามารถทำงานได้ เหล่าผู้ได้รับผลกระทบจึงต้องหาทางในการดำเนินชีวิตต่อ การย้ายถิ่นฐานชั่วคราวเพื่อการดำรงชีพเลยกลายเป็นทางเลือกของใครหลายคน รอจนเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่ที่จากมาเริ่มฟื้นฟูเป็นปกติ ถึงจะย้อนกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิม จากการย้ายชั่วคราว อาจกลายเป็นถาวรในอนาคตอันใกล้ […]
เจอแน่! TCDC แห่งใหม่ 10 จังหวัดทั่วไทย พื้นที่แห่งโอกาส รองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยให้ไปกันต่อ
ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ แต่เป็นทั้งประเทศไทยที่จะได้ ‘โลดแล่นไปกับจินตนาการเพื่อเปลี่ยนชีวิตคุณ’ หรือ ‘Dance with your imagination and change your life’ กับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center : TCDC) เพราะตอนนี้ TCDC กำลังเดินหน้าไปสู่ส่วนภูมิภาค ด้วยการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ (New TCDC) ใน 10 จังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเมือง และเป็นการกระจายองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ส่วนภูมิภาค โดยรายชื่อของ New TCDC มีดังนี้ 1) TCDC Chiang Rai (ถ.สิงหไคล อ.เมือง จ.เชียงราย)2) TCDC Korat (ถ.จอมพล อ.เมือง จ.นครราชสีมา)3) TCDC Pattani (ถ.ปัตตานีภิรมย์ ย่านอา-รมย์-ดี อ.เมือง จ.ปัตตานี)4) TCDC Phitsanulok […]